#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้ว กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 17 - 18 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 ? 22 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับยังคงมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่ในช่วงวันที่ 21 ? 22 มิ.ย. 67 จะมีร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 19 - 22 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือพังงา แหล่งเรียนรู้คุณค่าของ "เต่าทะเลไทย" บรรยากาศริมทะเล โล่งโปร่งสบายและเงียบสงบในพื้นที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีโรงเรือนขนาดย่อมกระจัดกระจาย โดยมีบรรดาเต่าหลากสายพันธุ์แหลวกว่ายอย่างสบายอารมณ์ ที่นี่คือ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะแก่การเรียนรู้เรื่อง "เต่าทะเล" ของไทย "ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือพังงา" ถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญเรื่องการอนุรักษ์เต่าทะเลไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ทางกองทัพเรือได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พันเต่าทะเลฝั่งอันดามัน โดยได้มอบให้ทางกองทัพเรือภาคที่ 3 ในการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลขึ้นมา ซึ่งได้กำหนดจุดอนุบาลเต่าทะเล จำนวน 2 จุด ในพื้นที่แรกเป็นการอนุรักษ์เพาะฟักไข่เต่าในพื้นที่เกาะ 1 หรือเกาะหูยง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ส่วนพื้นที่ ที่ 2 เป็นพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลบริเวณศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือพังงา ซึ่งจากการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลที่ผ่านมา ทำให้มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เป็นจำนวนมาก และรอดชีวิตกลับคืนสู่ท้องทะเล ซึ่งเป็นการชี้วัดว่าในท้องทะเลมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลหลังจากนั้น 6 เดือน ก็นำไปปล่อยคืนทะเลสู่ทะเล ภายในศูนย์มีโรงเพาะเลี้ยงเต่าเป็นโรงเรือนริมทะเล มีบ่อขนาด 2?3 เมตร อยู่เกือบ 20 บ่อ แบ่งเป็นบ่อเลี้ยงเต่าตนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า มีทั้งเต่าที่มาจากอ่าวไทยแถบสัตหีบ และจากทะเลอันดามัน ส่วนใหญ่เป็นเต่าขนาดใหญ่ อายุประมาณ 4-5 ปี ศูนย์ก่อตั้งเพื่อการอนุรักษ์ ทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจากการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลที่ผ่านมา ทำให้มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เป็นจำนวนมาก และรอดชีวิตกลับคืนสู่ท้องทะเล เป็นการชี้วัดว่าในท้องทะเลมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลหลังจากนั้น 6 เดือน ก็นำไปปล่อยคืนทะเลสู่ธรรมชาติ นักท่องเที่ยวสามารถชมบ่ออนุบาลเต่า เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการปฏิบัติงานการอนุรักษ์เต่าทะเลของกองทัพเรือ มีการอนุบาลเต่าหลากหลายสายพันธุ์ โดยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม อาจมีลูกเต่าที่นำมาอนุบาลก่อนปล่อยลงทะเลให้ชมด้วย ซึ่วนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อล่วงหน้าเพื่อทำการปล่อยเต่าได้ (มีค่าใช้จ่าย) ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถเข้าชมได้และไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ตั้ง ฐานทัพเรือพังงา ทัพเรือภาคที่ 3 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา สอบถาม โทร. 076-453342-3 https://mgronline.com/travel/detail/9670000051529
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
"เกาะสมุย" ปังไม่พัก! คว้าอันดับ 1 เกาะที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก "เกาะสมุย" คว้าอันดับที่ 1 เกาะที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก จากการประกาศรางวัล T+L Luxury Awards Asia Pacific 2024 ที่จัดโดยนิตยสารท่องเที่ยวระดับแนวหน้าของเอเชีย นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี) และนายรัชชพร พูลสวัสดิ์ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย เป็นตัวแทนร่วมกันขึ้นรับรางวัล T+L Luxury Awards Asia Pacific 2024 โดยอำเภอเกาะสมุยได้รับรางวัลอันดับที่ 1 Best Islands in Asia Pacific นอกจากนั้นสถานประกอบการบนเกาะสมุยยังติดการจัดอันดับในสาขาต่างๆ อีกด้วย โดยทางสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุยได้รวบรวมรายชื่อที่ได้รับรางวัลตามประเภทสาขาต่างๆในปี 2024 ดังนี้ ประเภท Best Island + Beach Hotels อันดับที่ 2 Cape Fahn Hotel อันดับที่ 3 Four Seasons Resort Koh Samui อันดับที่ 5 Silavadee Pool Spa Resort อันดับที่ 7 Centara Reserve Samui ประเภท Best Hotel Spas อันดับที่ 9 Six Senses Samui ประเภท Transportation Best Airports อันดับที่ 4 Samui International Airport สำหรับ "T+L Luxury Awards Asia Pacific 2024" เป็นรางวัลที่จัดขึ้นโดย นิตยสาร Travel + Leisure Southeast Asia, Hong Kong and Macau นิตยสารท่องเที่ยว และ ไลฟ์สไตล์ระดับแนวหน้าของเอเชีย เพื่อมอบรางวัลให้กับโรงแรม และหมวดหมู่ต่างๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ได้รับคะแนนโหวตจากผู้อ่านนิตยสาร Travel + Leisure มากที่สุดในสาขาต่าง ๆ ซึ่งในปีนี้จัดเป็นปีที่ 3 แล้ว ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเปิดโหวต (เดือนมกราคม-มีนาคม 2024) มีนักอ่านสายเที่ยวร่วมโหวตมากกว่า 200,000 คะแนน https://mgronline.com/travel/detail/9670000051081
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
'เมืองพัทยา' เคลียร์! คราบสีดำที่พบในทะเล ไม่ใช่คราบน้ำมัน ความคืบหน้ากรณีมีคลิปเรือที่วิ่งอยู่ในทะเลบริเวณอ่าวพัทยา จ.ชลบุรี พบคราบน้ำมันจำนวนมาก ลอยปะปนกับน้ำทะเล โดยในคลิปมีการพูดถึงว่าเป็นคราบน้ำมันที่เกี่ยวกับเรือน้ำมันที่หายไปหรือไม่ เมื่อตรวจสอบบริเวณชายฝั่งที่ติดอ่าวพัทยา พบว่าบริเวณแหลมบาลีฮาย มีสิ่งปนเปื้อนคล้ายคราบดำ ส่วนบริเวณกลางทะเลมีคราบคล้ายน้ำมันปะปนในน้ำทะเลเป็นจำนวนมาก ล่าสุดวันนี้ (16 มิ.ย.67) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบอีกครั้ง พบคราบดำบริเวณแหลมบาลีฮายเริ่มไม่มีสีดำ แต่ยังเป็นน้ำทะเลขุ่นๆอยู่ ส่วนระบบบำบัดน้ำเสียเริ่มเปิดใช้งานได้ตามปกติ นายมาโนช หนองใหญ่ รองนายกเมืองพัทยา กล่าวว่า หลังจากที่มีภาพคราบสีดำลอยบริเวณอ่าวพัทยา แหลมบาลีฮาย ทางเมืองพัทยาได้ลงพื้นที่สำรวจแล้ว พบว่า คราบที่พบลอยบริเวณอ่าวพัทยาเป็นคราบน้ำเสียของบ่อบำบัดน้ำเสียบริเวณแหลมบาลีฮาย เนื่องจากท่อส่งน้ำเสียเกิดชำรุดกะทันหัน จึงต้องปิดระบบบ่อสูบน้ำ PS1 ที่จะสูบน้ำจากพัทยาใต้ไปบ่อบำบัดน้ำเสียหนองใหญ่ โดยมีการปิดระบบตั้งแต่เวลา 17.00 น. เพื่อซ่อมแซม ซึ่งช่วงนั้นไม่สามารถจะสูบน้ำออกไปได้ ทำให้น้ำเสียบางส่วนไหลออกสู่ทะเล ทำให้เกิดภาพคราบสีดำอย่างที่ปรากฏขึ้น ซึ่งคราบสีดำดังกล่าวไม่ใช่คราบน้ำมัน แต่เป็นคราบน้ำที่ล้นออกจากบ่อไหลลงสู่ทะเล เมืองพัทยาได้ดำเนินการซ่อมแซมนานกว่า 4 ชั่วโมง ซึ่งในเวลา 23.00 น.วันที่ 15 มิ.ย.67 สามารถสูบน้ำเข้าสู่ระบบได้เป็นปกติ https://www.naewna.com/local/810814
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ใหญ่กว่าคาด! ผลกระทบโลกร้อนต่อเศรษฐกิจมหภาค ....... โดย ธราธร รัตนนฤมิตศร สถาบันอนาคตไทยศึกษา เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ล่าสุดศึกษาพบว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจมหภาคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีขนาดใหญ่กว่าที่เคยคาดการณ์ไว้มาก นักวิจัยเศรษฐศาสตร์ได้ประมาณว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทั่วโลก 1 องศาเซลเซียสจะนำไปสู่การลดลงของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) โลกถึง 12% ซึ่งมากกว่าการประมาณการก่อนหน้านี้ถึง 6 เท่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นของ Adrien Bilal และ Diego R. K?nzig ในชื่อ ?The Macroeconomic Impact of Climate Change: Global vs. Local Temperature? ได้นำเสนอการวิเคราะห์ ที่ครอบคลุมถึงวิธีที่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั่วโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก งานวิจัยนี้ท้าทายผลการประมาณการก่อนหน้านี้ และให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากขึ้นมาก นักวิจัยได้ใช้วิธีการใหม่ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความผันผวนตามธรรมชาติของอุณหภูมิทั่วโลกเพื่อประเมินผลกระทบต่อ GDP ซึ่งสามารถจับภาพผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเพิ่มความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วได้ การศึกษายังได้คำนวณ "ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน" (Social Cost of Carbon หรือ SCC) ไว้ว่าเท่ากับประมาณ 1,056 ดอลลาร์ต่อหนึ่งตันของคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสูงกว่าการประมาณการก่อนหน้านี้ที่ต้นทุนอยู่ระหว่าง 51 ถึง 190 ดอลลาร์ต่อเมตริกตันมาก การประเมินต้นทุนทางสังคมของคาร์บอนที่สูงขึ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบทางการเงินจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนนั้นรุนแรงกว่าที่เคยคิด ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอนที่สูงขึ้นนี้ ทำให้ต้องกลับมาพิจารณานโยบายการลดการปล่อยคาร์บอน (Mitigation Policy) หลายๆ นโยบายที่เคยถูกมองว่าอาจไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจภายใต้การประมาณการก่อนหน้านี้ กลับมีความเป็นไปได้ในกรณีต้นทุนทางสังคมสูงขนาดนี้ ทั้งนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกในปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 37.55 พันล้านเมตริกตัน ตามข้อมูลจาก Statista ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากตัวเลขนี้กับต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน จะพบว่าภาระทางการเงินจากระดับการปล่อยก๊าซในปัจจุบันนั้นสูงมาก ดังนั้น การที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่องนั้น ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับหายนะทางเศรษฐกิจ งานวิจัยฉบับนี้ยังเตือนว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้จะนำไปสู่การลดลงอย่างรวดเร็วของผลผลิต ทุน และการบริโภคเกินกว่า 50% ภายในปลายศตวรรษนี้ ผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาวของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงดูจะมีแนวโน้มจะเป็นฉากทัศน์เศรษฐกิจที่เลวร้ายในอนาคต งานวิจัยนี้เป็นเสียงเตือนครั้งสำคัญต่อความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการระดับโลก เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับประเทศไทยถือว่ามีความเปราะบางสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากไทยเราพึ่งพาภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวรวมกันประมาณ 25% ของ GDP นั้น เป็นภาคเศรษฐกิจที่มีอ่อนไหวและมีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากโลกร้อนเป็นอย่างมาก ภาคเกษตรกรรมมีประชากรส่วนใหญ่และมีส่วนสำคัญต่อ GDP มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและรูปแบบการตกของฝน ความถี่ที่เพิ่มขึ้นของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น น้ำท่วมและภัยแล้ง อาจทำให้ผลผลิตทางการเกษตรหยุดชะงักอย่างรุนแรง นำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอาหารและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวก็มีความเสี่ยงเช่นกัน อุณหภูมิที่สูงขึ้นและเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมาเที่ยว การฟอกขาวของปะการังเนื่องจากอุณหภูมิทะเลที่สูงขึ้น ยังเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและความน่าดึงดูดของแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงของประเทศ นอกจากนี้ ภูมิภาคชายฝั่งรวมถึงกรุงเทพมหานคร มีความเสี่ยงอย่างมากจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นและพายุที่รุนแรงขึ้น กรุงเทพมหานครซึ่งกำลังจมเนื่องจากการทรุดตัวของพื้นดิน อาจเผชิญกับความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจที่รุนแรง มิติผลกระทบทางสังคมก็มีความสำคัญเช่นกัน อากาศที่ร้อนจัดและการเกิดเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วบ่อยครั้งสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ ประชากรกลุ่มเสี่ยง รวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และชุมชนที่มีรายได้น้อยมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ การตกต่ำทางเศรษฐกิจที่เกิดจากผลกระทบของสภาพอากาศอาจนำไปสู่ความยากจนและความไม่สงบทางสังคมได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องระยะยาวก็จริง แต่เราก็เริ่มได้รับผลกระทบระยะสั้นกันแล้ว การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดี จำเป็นที่รัฐบาลทุกชุดต่อจากนี้จะต้องมีการนำปัจจัย "โลกร้อน" เข้าไปอยู่ในสมการการขับเคลื่อนของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น การวางนโยบายและลงทุนเพื่อการปรับตัวรองรับผลกระทบอย่างจริงจัง การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบเศรษฐกิจให้ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการมีช่องว่างพื้นที่ทางการคลังและพื้นที่ว่างสำรองสำหรับการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มได้ในอนาคตหากมีวิกฤติจากโลกร้อน ประเทศอาจจำเป็นต้องคิดถึงการตั้ง "กระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" เพื่อบูรณาการและขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อนอย่างจริงจังในอนาคตอันใกล้นี้. https://www.bangkokbiznews.com/environment/1131479
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation
สิงคโปร์เร่งกำจัดคราบน้ำมันตามชายฝั่ง หลังรั่วไหลจากเรือชนกัน สิงคโปร์เร่งกำจัดคราบน้ำในบริเวณชายฝั่งภาคใต้ ที่รวมไปถึงเกาะเซนโตซา แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม หลังจากเรือขุดชนกับเรือเติมน้ำมันเมื่อวันศุกร์ ทำให้น้ำมันรั่วไหล ท่ามกลางความวิตกว่าจะกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล เรือขุด "วอกซ์ แมกซิมา" ที่ติดธงเนเธอร์แลนด์ ชนกับเรือเติมน้ำมัน "มารีน ออเนอร์" ที่ท่าเรือของสิงคโปร์เมื่อวันศุกร์ ทำให้ถังน้ำมันได้รับความเสียหาย และน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล และเจ้าหน้าที่ยังคงเร่งใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมันในทะเลในวันอาทิตย์ หลังจากสามารถหยุดการรั่วไหลได้แล้วเมื่อวันเสาร์ แต่เนื่องจากกระแสน้ำขึ้น ทำให้คราบน้ำมันเหล่านั้นถูกซัดขึ้นไปบนชายฝั่ง รวมถึงที่เกาะเซนโตซา แหล่งท่องเที่ยยอดนิยม และเกาะอื่น ๆ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ และสวนสาธารณะริมหาด และชายหาดบางส่วนถูกปิดเพื่อให้เจ้าหน้าที่เร่งเก็บกวาดคราบน้ำมันตามชายหาด นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ใช้เรือ 18 ลำ เพื่อกำจัดคราบน้ำมัน และใช้ทุ่นลอยน้ำยาว 1,500 เมตรเพื่อดูดซับน้ำมันในทะเลด้วย โดยคาดว่าจะเพิ่มจำนวนทุ่นอีกในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันแพร่กระจายเข้าสู่ชายฝั่ง และน้ำมันที่อยู่บนชายหาดไม่กลับลงสู่ทะเลอีก ด้านนักชีววิทยาและนักอนุรักษ์กำลังเฝ้าระวังเพื่อสำรวจความเสียหายที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตในทะเลและสัตว์ป่า และกลุ่มมารี สจวร์ดส์ เปิดเผยว่า มีภาพซากปลาและนากถูกเคลือบด้วยคราบน้ำมัน และกลิ่นน้ำมันฟุ้งกระจายส่งผลกระทบต่อปลา นก และสัตว์ทะเลอื่น ๆ ที่ต้องลอยขึ้นสู่พื้นผิวเพื่อหายใจ เช่น เต่า และโลมา https://www.nationtv.tv/foreign/378944927
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
"ส.ค.เป็นต้นไป ฤทธิ์ลานีญารอบใหม่ ฝนมากผิดปกติ " ผู้เชี่ยวชาญเตือนรับมือ "หลังจากลานีญาเพิ่มกำลัง ส่งผลให้อากาศร้อนทุบสถิติโลกในรอบ 175 ปีในช่วง ม.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมา ตอนนี้เข้าสู่ภาวะปกติเต็มตัว (มิ.ย.-ก.ค.) ก่อนจะเปลี่ยนเข้าสู่ลานีญาในช่วง ส.ค. เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้ฝนมากกว่าปกติ เริ่ม ก.ค. เตือนให้ตั้งรับภัยจาก "น้ำท่วม?พายุรุนแรง" ทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้" ดร.วิษณุ อรรถวานิช ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ (ภาพ : NOAA) "ล่าสุดองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) รายการว่าอุณหภูมิช่วง ม.ค. ? พ.ค. 67 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 175 ปี เมื่อกับช่วงเวลาเดียวกัน โดยอุณหภูมิภาคพื้นดิน (Land Temperature) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.63 องศาเซลเซียสในเดือน พ.ค. 67 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.92 องศาเซลเซียส! ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. 67 นอกจากนั้น ทะเลก็เดือดขึ้น โดยอุณหภูมิในมหาสมุทร (Ocean Temperature) สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 0.98 องศาเซลเซียสในเดือน พ.ค. 67 และสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมถึง 1.02 องศาเซลเซียส! ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. 67" ดร.วิษณุ นักเศรษฐศาสตร์ที่ติดตามความเคลื่อนไหวด้านการคาดการณ์และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด เปิดเผยผลการคาดการณ์ของทีมนักวิทยาศาสสตร์โลกและไทย ผ่านโพสต์เฟสบุ๊กวันนี้ (16 มิ.ย. 2567) "Climate Prediction Center (NOAA) รายงานว่าเอลนีโญได้จบลงเรียบร้อย และเราได้เข้าสู่เฟสกลาง (Neutral Phase) หรือภาวะปกติเต็มตัวในเดือน มิ.ย. 67 และจะเปลี่ยนสู่ลานีญาราวเดือน ส.ค. 67 และคาดว่ากำลังลานีญาจะเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุดช่วง พ.ย. 67 ? ม.ค. 68 โดยกำลังลานีญาในรอบนี้ มีโอกาสอยู่ในระดับอ่อน?ปานกลางมากที่สุด ขณะที่กำลังลานีญาระดับรุนแรงขึ้นไปยังมีโอกาสราว 27% ต้องจับตาด้วยความไม่ประมาท ช่วง ก.ย.-ธ.ค. 67 ต้องระวังน้ำท่วมและพายุให้มาก" ดร.วิษณุ ระบุ "เดือน ก.ค. 67 ค่าเฉลี่ยผลพยากรณ์ของสำนักอุตุนิยมวิทยา 9 สำนักทั่วโลกบ่งชี้ว่าปริมาณฝนจะกลับมาสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อยเกือบทั่วประเทศ (ยกเว้นภาคตะวันตก ตะวันออก และกลางตอนล่าง)" "เดือน ส.ค. 67 ค่าเฉลี่ยผลพยากรณ์ของสำนักอุตุนิยมวิทยา 9 สำนักทั่วโลกบ่งชี้ว่าปริมาณฝนจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติต่อเนื่องในเกือบทุกภูมิภาค ภาคใต้ฝนจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติมากกว่าภูมิภาคอื่น" "เดือน ก.ย. 67 ปริมาณฝนทุกพื้นที่ของประเทศจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ต้องระวังน้ำท่วมและพายุที่จะสร้างความเสียหายให้มากในทุกภูมิภาค (ยกเว้นภาคใต้) เนื่องจากเป็นเดือนที่มักมีปริมาณฝนสูงสุดในรอบปี" "เดือน ต.ค. 67 ผลพยากรณ์จากอุตุนิยมวิทยา 9 สำนักทั่วโลกยังบ่งชี้ว่าทุกพื้นที่ของประเทศจะมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ทุกภูมิภาคต้องระวังน้ำท่วมและพายุให้มาก โดยเฉพาะภาคใต้และภาคตะวันตก" "เดือนพ.ย. 67 ปริมาณฝนจะลดลงกลับเข้าสู่ภาวะปกติในเกือบทุกภูมิภาคยกเว้นภาคใต้ซึ่งจะยังคงมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติภาคใต้ต้องระวังพายุและน้ำท่วมให้มากเนื่องจากเป็นเดือนที่มักมีปริมาณฝนสูงสุดในรอบปี" "เดือน ธ.ค. 67 รูปแบบฝนคล้ายกับเดือน พ.ย. 67 โดยปริมาณฝนจะกลับสู่ภาวะปกติในทุกภูมิภาค (ยกเว้นภาคใต้) ภาคใต้ยังคงต้องระวังพายุและน้ำท่วมให้มาก โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างซึ่งน่าจะยังมีปริมาณฝนมากกว่าภูมิภาคอื่น IRI มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา พยากรณ์ว่าภาคใต้และภาคตะวันออกจะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ลากยาวตั้งแต่ ก.ค.-ธ.ค. 67 ขณะที่ภาคกลางจะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติช่วง ส.ค.-ธ.ค. 67 ภาคเหนือและอีสานจะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติตั้งแต่ ก.ย.-ธ.ค. 67 โดยช่วง ก.ย.-พ.ย. 67 ต้องระวังน้ำท่วมให้มากในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่สีเขียวเข้ม (ตะวันออก กลาง ตะวันตก อีสานตอนล่าง และใต้)" ดร.วิษณุ ระบุ "เตรียมกับมือกับปริมาณฝนที่จะค่อยๆเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติจากนี้ไปกันนะครับ เตรียมทางระบายน้ำให้ดีเพื่อป้องกันน้ำท่วมระวังขยะอุดตันทางระบายน้ำต้องเร่งขุดลอกคูคลองที่ตื้นเขินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำและต้องหาทางเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้งปีหน้ากันด้วยอย่าปล่อยให้ไหลลงทะเลไปจนหมด เกษตรกรผู้ปลูกข้าวต้องระวังข้าวล้มช่วงใกล้ฤดูเก็บเกี่ยวด้วยนะครับ ภาคเกษตรต้องระวังโรคและศัตรูพืชที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงที่ฝนตกต่อเนื่องมากกว่าปกติกันด้วย ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สูงต้องระวังดินถล่ม โดยตั้งแต่ ก.ย. 67 ต้องระวังพายุที่จะสร้างความเสียหาย และรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ" ดร. วิษณุ ระบุ https://greennews.agency/?p=38113
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|