#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 - 19 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 23 มิ.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในช่วงวันที่ 21 ? 23 มิ.ย. 67 จะมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 - 23 มิ.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
"ทุ่งหญ้าเขาใหญ่ฟีเวอร์" คนแห่เที่ยวแน่นจนเกิดดราม่า นักท่องเที่ยวไร้สำนึกลงไปเดินฉ่ำใน "โป่งสัตว์" ดราม่า นักท่องเที่ยวเที่ยวทุ่งหญ้า แต่ลงไปเดินใน ?โป่งสัตว์? ทั้งที่มีป้ายห้าม (ภาพ : เพจ ผ้าขาวม้าติ่งป่า) ปรากฏการณ์ "ทุ่งหญ้าฟีเวอร์" ทำเขาใหญ่แทบแตก หลังนักท่องเที่ยวแห่เช็กอินแน่น ขณะที่นักท่องเที่ยวไร้สำนึกจำนวนหนึ่งไม่สนกฎระเบียบ ลงไปเดินใน "โป่งสัตว์" ทั้งที่มีป้ายห้าม จนเกิดเป็นดราม่าให้คอมเม้นต์กันสนั่นบนโลกโซเชียล ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในช่วงต้นฤดูฝนของบ้านเรา สำหรับวิวทิวทัศน์ของ "ทุ่งหญ้าเขาใหญ่" หรือ "ทุ่งหญ้าคาที่เขาใหญ่" ซึ่งหลังสายฝนโปรยสายท้องทุ่งหญ้ากว้างใหญ่หลาย ๆ จุดในพื้นที่ "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" จะเติบโตเขียวขจี ก่อนจะออกดอกสีขาวโพลน ยามต้องสายลมจะโบกพลิ้วไสวดูโรแมนติก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปถ่ายรูปจุดเช็กอินกันเป็นจำนวนมาก "หญ้าคา" (Imperata cylindrica Beauv.) แม้จะเป็นพืชต่างถิ่นรุกราน (invasive alien species) เป็นวัชพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ดูไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจในสายตาของใครหลาย ๆ คน แต่สำหรับทุ่งหญ้าคาเขาใหญ่ที่วันนี้นอกจากจะกลายเป็นจุดเช็กอินยอดฮิตแล้ว ในบริเวณทุ่งหญ้าคายังเป็นแหล่งอาหารสำคัญของสัตว์กีบและสัตว์กินพืช ไม่ว่าจะเป็น ช้าง กระทิง เก้ง กวาง เนื่องจากอุดมไปด้วยธาตุอาหาร ดังนั้นเราจึงเห็นภาพสัตว์ต่าง ๆ ลงไปหากินในทุ่งหญ้าคากันจนชินตา รวมถึงมีโป่งสัตว์อยู่ในพื้นที่ทุ่งหญ้าคาบนเขาใหญ่ด้วย สำหรับจุดชมวิวของทุ่งหญ้าที่เขาใหญ่หลัก ๆ นั้นก็นำโดย "ทุ่งหญ้าที่หนองผักชี" หรือ "หอส่องสัตว์หนองผักชี" ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีวิวทิวทัศน์งดงาม และมีหลากหลายจุดสวย ๆ ให้เลือกถ่ายรูปกันตามใจชอบ นอกจากนี้ก็ยังมีจุดเช็กอินวิวทุ่งหญ้าบริเวณ "โป่งชมรมเพื่อน" เป็นอีกหนึ่งจุดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเช่นกัน ในช่วงต้นฤดูฝนของปีนี้ (2567) จุดชมวิวทุ่งหญ้าที่เขาใหญ่ได้เกิดเป็นกระแสไวรัลที่มาแรงสุด ๆ บนโลกโซเชียล ทำให้ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีคนเดินทางไปถ่ายรูปทุ่งดอกหญ้ากันอย่างเนืองแน่น จนดูคล้ายกับมาตลาดนัดหรือเทศกาลที่เขาใหญ่ อย่างไรก็ดี งานนี้มีนักท่องเที่ยวไร้จิตสำนึกที่ไม่เคารพกฎระเบียบจำนวนหนึ่งที่มาเที่ยวทุ่งหญ้าคา แล้วสร้าง "ชื่อเสีย" ให้เป็นที่โจษจัน ด้วยการลงไปเดินเล่นในพื้นที่ "โป่งสัตว์" ทั้ง ๆ ที่มีป้ายห้ามเดินลงโป่ง ทำให้เกิดดราม่าบนโลกโซเชียล มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นตำหนิพฤติกรรมไร้สำนึกดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะใน เพจ เขาใหญ่ เที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ Khaoyai National Park ที่มีชาวเน็ตคอมเม้นต์กันสนั่น ขณะที่ก่อนหน้านี้เพจ "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ - Khao Yai National Park" ก็ได้เคยโพสต์ข้อความและภาพกราฟฟิก (เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 67) ให้ข้อมูลถึงอันตรายหากนักท่องเที่ยวเดินลงไปในโป่งหรือทุ่งหญ้า ว่า สวยแค่ไหน ก็แอบแฝงมาด้วยความอันตราย... ????โป่ง เป็นแหล่งชุกชุมของสัตว์ป่า เพราะมีสัตว์หลายชนิดที่จะมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่แห่งนี้ หากมีมนุษย์เข้าไปรบกวนบริเวณดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุการกระจายเชื้อโรคจากสัตว์ป่าสู่คนหรือจากคนสู่สัตว์ ????นอกจากโป่งยังมีอีกหนึ่งจุดที่เป็นอันตรายไม่น้อย คือบริเวณทุ่งหญ้าที่แฝงไปด้วยสัตว์ป่าและแมลงที่มีพิษ อาจเกิดอันตรายต่อผู้ที่เดินเข้าไปเช่นกัน ????ด้วยความห่วงใย อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จึงขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเที่ยวบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทางที่กำหนดก่อนได้รับอนุญาต เพราะอาจเกิดอันตรายทั้งคนและสัตว์ป่าได้ https://mgronline.com/travel/detail/9670000051872
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
เที่ยวสตูลชมความงาม'ปูก้ามดาบหยกฟ้า ค่างแว่นถิ่นใต้ ปลาตีนยักษ์สายพันธุ์กระจัง' วันนี้...พาไปชมบรรยากาศการท่องเที่ยวอยู่ใกล้ตัวเมืองสตูล ที่ป่าในเมืองสตูล ตั้งอยู่ในพื้นที่ความดูแลของศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ในพื้นที่ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยพื้นที่นี่มีจุดการเดินชมเส้นทางธรรมชาติของป่าโกงกางที่มีสะพานปูยาวเข้าไปในป่าโกงกางที่มีความยาวประมาณ 1,400 เมตร ที่นี่ได้มีนายอาคม เจ๊ะบ่าว และนายมูฮัมหมัด ซิฟิบิลโอ พนักงานพิทักษ์ป่าศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 ได้พาไปชมปูก้ามดาบหลากหลายสีจำนวนมากที่ขึ้นมาเดินเล่นบนบนโคลนตามป่าโกงกาง มีสีสันสวยงามและสิ่งหนึ่งที่สะดุดตามากที่สุด นั้นคือ ปูก้ามดาบหยกฟ้า เป็นปูก้ามดาบที่หาดูได้ยากมาก จะพบได้เยอะที่จังหวัดสตูล และยังพบปลาตีนยักษ์ มีตัวขนาดใหญ่ประมาณ 2 ขีด สายพันธุ์ ปลาตีนกระจัง ที่คุ้นชินกับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ที่นี่ยังพบมีค่างแว่นถิ่นใต้ ขณะนี้ในพื้นที่มีเพียง 40 กว่าตัวเท่านั้น และสิ่งที่สำคัญค่างแว่นถิ่นใต้ ที่นี่มีความสนิทกับเจ้าหน้าที่ และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม สามารถยืนมือให้จับได้ เป็นความพิเศษและจุดเด่นที่แห่งนี้ ยิ่งวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก หากเป็นวันธรรมดา ก็เปิดให้เที่วชมค้างแว่นถิ่นใต้ ก็จะลงมาเล่นกับนักท่องเที่ยวอีกด้วย นายมูฮัมหมัด ซิฟิบิลโอ พนักงานพิทักษ์ป่าศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 24 กล่าวว่า ปูหยกฟ้า เป็นปูก้ามดาบที่ทั้งตัวเป็นสีฟ้า แวววาวสวยงาม ตัวเล็ก ต้องสังเกตให้ดี จะออกมาเดินอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวได้ชม และที่นี่ยังมีปูหลากหลายสีสัน ไฮไลน์คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ ค่างที่สนิทกับคน ใครไปมามาชม มาจับมือได้ https://www.naewna.com/likesara/810950
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
สถานการณ์เต่าทะเลไทย 67 "เต่าตนุ-กระ แนวโน้มดี สวนทิศเต่าหญ้า-มะเฟือง" (ภาพ : ทช.) "เต่าตนุ?เต่ากระ วางไข่เพิ่มขึ้น ? เต่าหญ้า วางไข่ลดลง ? เต่ามะเฟือง ลดต่อเนื่องเหลือไม่ถึง 10 กำลังติดแทกศึกษาหามาตรการอนุรักษ์-เต่าหัวค้อนยังคงไม่พบขึ้นวางไข่" กรมทะเลเผย แนวโน้มสถานการณ์ 5 เต่าทะเลไทย วาระ "วันเต่าทะเลโลก" (World Sea Turtle Day) 16 มิ.ย. 2567 "ขยะ?เศษอวน?ภัยธรรมชาติ" ยังคงเป็น 3 ปัจจัยคุกคามสำคัญ ? กระทรวงทรัพยากรฯ เล็งใช้เทคโนโลยีช่วยแก้วิกฤต "ใกล้สูญพันธุ์" สถานการณ์?แนวโน้ม 67 "จากการติดตามและเก็บข้อมูลการวางไข่ของเต่าทะเลไทยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561?2566 พบว่าการวางไข่ของเต่าตนุ และเต่ากระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนเต่าหญ้ามีแนวโน้มลดลงพบการวางไข่น้อยมาก ซึ่งหากพบการวางไข่จะมีเพียง 1?2 รังต่อปี ส่วนเต่ามะเฟืองถึงจะมีแนวโน้มการวางไข่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บางปีก็จะไม่พบการวางไข่ เนื่องจากแม่เต่ามะเฟืองจะกลับมาวางไข่อีกครั้งหลังจากวางไข่ไปแล้วในช่วง 3?5 ปี ทั้งนี้พื้นที่การวางไข่ของเต่าตนุและเต่ากระ พบวางไข่ทั้งบนชายหาดของแผ่นดินใหญ่และชายหาดของเกาะ ต่างๆ ทั้งทางฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ส่วนพื้นที่การวางไข่ของเต่ามะเฟืองและเต่าหญ้าจะพบวางไข่ เฉพาะชายหาดบนแผ่นดินใหญ่ทางฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น ณ ขณะนี้ นานาประเทศได้ให้ความสําคัญกับเต่ามะเฟือง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล จึงมี แหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศ จัดเป็นทรัพยากรร่วมของภูมิภาคและระดับโลก จํานวนประชากรพ่อแม่พันธุ์เต่ามะเฟืองที่มาผสมพันธุ์และวางไข่ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือเพียงปีละไม่ถึง 10 ตัว" ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) หรือกรมทะเล เปิดเผยสถานการณ์เต่าทะเลล่าสุด ติดแท็ก 11 เต่ามะเฟือง หามาตรการอนุรักษ์ "กรมฯ ได้จับมือองค์กรอัพเวลล์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจากแคลิฟอร์เนีย เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางของเต่ามะเฟือง โดยได้ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณระบุตําแหน่งผ่านดาวเทียมขนาดเล็กบนหลังเต่ามะเฟืองจากการอนุบาลที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดภูเก็ต จำนวน 11 ตัว ผลจากการติดตามสัญญาณผ่านดาวเทียมแสดงถึงเส้นทางการเดินทางและพฤติกรรมการดำน้ำ โดยพบว่า เต่าบางตัวอยู่ใกล้จุดปล่อย ขณะที่บางตัวเดินทางไปทางตะวันตกสู่หมู่เกาะอันดามัน และดูเหมือนจะวนเวียนอยู่ในวงแหวนมหาสมุทร และอีกตัวหนึ่งเดินทางไปทางใต้สู่เกาะสุมาตรา ข้อมูลที่ได้ทำให้เข้าใจในเส้นทางการเดินทางของเต่ามะเฟืองหลังจากปล่อยจากบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนมาตรการในการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองต่อไป" อธิบดีกรมทะเล กล่าว "ขยะ?เศษอวน?ภัยธรรมชาติ" 3 ปัจจัยคุกคามสำคัญ?เล็งใช้เทคโนโลยีช่วยแก้ "เต่าทะเลคือหนึ่งในประชากรที่มีแนวโน้มจะถูกคุกคามเพิ่มมากขึ้นโดยปัญหาหลักเกิดจากขยะและเศษพลาสติกที่หลุดลอยอยู่ในท้องทะเลทำให้สัตว์ทะเลอาจกินเข้าไปจนถึงแก่ชีวิตอีกทั้งเกิดจากเครื่องมือการทำประมงและจากภัยธรรมชาติ ได้สั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและปลอดภัยในการสำรวจ พร้อมให้ผสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อเร่งศึกษาการวิจัยเรื่องเต่าทะเลในประเทศฯ โดยเฉพาะเต่ามะเฟืองที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากโลก" พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าว "ใกล้สูญพันธุ์" แนวโน้มภาพใหญ่ในไทย "เต่าทะเล" เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่เคยมีหลักฐานพบว่าอาศัยอยู่ทั่วไปในสมัย 130 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่าเคยพบซากโบราณ (fossil) ก่อนหน้านั้นไม่น้อยกว่า 200 ล้านปี ทั่วโลกพบเต่า 7 ชนิด แพร่กระจายอยู่เฉพาะในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น คือ เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) เต่าตนุ (Chelonia mydas) เต่าหลังแบน (Natator depressus) เต่ากระ (Eretmochelys imbricata) เต่าหัวฆ้อน (Caretta caretta) เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) และเต่าหญ้าแคมป์ (Lepidochelys kempi) เต่าทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลกระทบโดยตรงจากมนุษย์ ในอดีตเต่าทะเลจำนวนมากต้องถูกล่าเพื่อนำเนื้อและไขมันมาบริโภค กระดองและซากเต่าทะเล ถูกนำมาแปรรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่ง ไข่เต่าทะเลเกือบทั้งหมดถูกนำมาบริโภค ทำให้เต่าทะเลที่จะเจริญเติบโตไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ลดลงอย่างรวดเร็ว กิจกรรมของมนุษย์บริเวณทะเลและชายฝั่ง ทำให้แหล่งวางไข่ แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งหากินของเต่าทะเลมีจำนวนลดลง ในประเทศไทยพบเต่าทะเลเพียง 5 ชนิด คือ เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่าหัวค้อน โดยเต่าหัวค้อนไม่เคยพบขึ้นวางไข่ในประเทศไทยเลยตลอดระยะ 20 ปี ที่ผ่านมาเพียงแต่มีรายงานพบหากินอยู่ในน่านน้ำไทยเท่านั้น ปัจจุบัน "เต่ามะเฟือง" ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าสงวน ส่วนเต่าทะเลอีก 4 ชนิด อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 สภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงส่งผลให้ประชากรเต่าทะเลมีความอ่อนแอลง ในประเทศไทยสถิติการวางไข่ของเต่าทะเลลดลงมากกว่า 5 เท่า จากจำนวนมากกว่า 2,500 รังต่อปี เหลือเพียงปีละ 300-400 รังต่อปี ในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมาแม้ว่าเต่าทะเลในประเทศไทยจะได้รับความคุ้มครองก็ตามแต่สถิติการลดลงก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเต่าทะเลลดลงจนมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ไปในไม่ช้า สาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลลดลงมีสาเหตุสำคัญ ดังนี้ 1.อัตราการรอดของลูกเต่าทะเลเองในธรรมชาติต่ำมาก และใช้ระยะเวลานานนับ 10 กว่าปีที่จะถึงวัยเจริญพันธุN 2.การลักลอบเก็บไข่เต่าทะเล เนื่องจากค่านิยมในการบริโภคไข่เต่าทะเลของนักท่องเที่ยว ทำให้ปริมาณความต้องการไข่เต่าทะเลสูง ราคาไข่เต่าทะเลจึงสูง การลักลอบเก็บไข่เต่าเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายจึงยังเป็นปัญหาใหญ่ 3.การติดเครื่องมือประมงทั้งที่ไม่เจตนาและโดยตั้งใจ เช่นทำการประมงอวนลาก อวนลอย และเบ็ดราว บริเวณชายฝั่งหน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล หรือ แหล่งหาอาหารของเต่าทะเล โดยเฉพาะในช่วงฤดูการวางไข่เต่าทะเล ซึ่งเครื่องมือทำการประมงเหล่านี้ เป็นตัวการโดยตรง ที่ทำลายพันธุ์เต่าทะเลทั้งที่เจตนาและไม่ได้เจตนา ซึ่งเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอดเมื่อติดอวน หรือ เบ็ดอยู่ใต้น้ำนานๆ ก็จะจมน้ำตายได้ นอกจากนั้นชาวประมงบางกลุ่มทำการดักจับเต่าทะเลโดยเจตนา เพื่อนำเนื้อไปบริโภคหรือฆ่าเพื่อเอาไข่ในท้อง 4. การบุกรุกทำลายแหล่งแพร่ขยายพันธุ์ของเต่าทะเล โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจึงมีการบุกรุกสร้างที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพความเหมาะสมของแหล่งวางไข่เต่าทะเลเสียไป ปัจจุบันแหล่งที่เหมาะสมสำหรับวางไข่เต่าทะเลเหลือน้อยมาก ข้อมูลการวางไข่ของเต่าทะเลในปี 2565 (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2565) พบการวางไข่ของเต่าทะเล 604 รัง ประกอบด้วยเต่าตนุ 348 รัง และเต่ากระ 256 รังไม่พบการวางไข่ของเต่าหญ้าและเต่ามะเฟือง แหล่งวางไข่หลักของเต่าทะเลทางฝั่งอ่าวไทยพบที่เกาะครามจังหวัดชลบุรีและเกาะกระนครศรีธรรมราชส่วนฝั่งทะเลอันดามันพบที่หมู่เกาะสิมิลันพังงา เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลการวางไข่ของเต่าทะเลในอดีตจากข้อมูลการวางไข่ย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560 พบการวางไข่ของเต่าทะเล จำนวน 373 รัง (เต่าตนุ 296 รัง เต่ากระ 73 รัง เต่าหญ้า 2 รัง เต่ามะเฟือง 2 รัง) ปี 2561 พบการวางไข่ของเต่าทะเลจำนวน 413 รัง (เต่าตนุ 246 รัง เต่ากระ 167 รัง ไม่พบการวางไข่ของเต่าหญ้าและเต่ามะเฟือง) ปี 2562 พบการวางไข่ของเต่าทะเลจำนวน 434 รัง (เต่าตนุ 226 รัง เต่ากระ 203 รัง เต่าหญ้า 2 รัง เต่ามะเฟือง 3 รัง) ปี 2563 พบการวางไข่ของเต่าทะเล 491 รัง (เต่าตนุ 240 รัง เต่ากระ 234 รัง เต่าหญ้า 1 รัง เต่ามะเฟือง 16 รัง) ปี 2564 พบการวางไข่ของเต่าทะเล 502 รัง (เต่าตนุ 199 รัง เต่ากระ 283 รัง เต่าหญ้า 2 รัง เต่ามะเฟือง 18 รัง) จากข้อมูลข้างต้นพบว่าพื้นที่การวางไข่ของเต่าตนุและเต่ากระพบวางไข่ทั้งบนชายหาดของแผ่นดินใหญ่และชายหาดของเกาะต่างๆทั้งทางฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แนวโน้มของจำนวนครั้งของการวางไข่ของเต่ากระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนเต่าตนุมีแนวโน้มลดลง สำหรับพื้นที่การวางไข่ของเต่ามะเฟืองและเต่าหญ้าจะพบวางไข่เฉพาะชายหาดบนแผ่นดินใหญ่ทางฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น โดยเต่าหญ้าพบการวางไข่น้อยมาก ซึ่งหากพบการวางไข่จะมีเพียง 1 ? 2 รังต่อปี และมีแนวโน้มการวางไข่ที่ลดลง ในขณะที่เต่ามะเฟืองแม้มีแนวโน้มการวางไข่เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2563 ? 2564 แต่ในปี 2565 ไม่พบการวางไข่ของเต่ามะเฟือง อาจเนื่องจากแม่เต่ามะเฟืองจะกลับมาวางไข่อีกครั้งในช่วง 3 ? 5 ปี (Shanker et al., 2003)" กรมทะเลระบุใน "ระบบฐานข้อมูลทัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" อ้างอิงผลสำรวจปี 2565 (ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2567) https://greennews.agency/?p=38130
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ผลิตน้ำในทะเลทราย นวัตกรรมสู้ภัยแล้งที่กำลังคุกคามทั่วโลก SHORT CUT - น้ำในทะเลทราย หาได้ยากเย็นแสนเข็ญ แต่โลกเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อนวัตกรรมสามารถผลิตน้ำไว้ใช้กลางทะเลทรายได้ - การผลิตน้ำใช้ในทะเลทรายใช้วิธีดึงอากาศมาทำเป็นน้ำ ช่วยเยียวยาความแห้งแล้ง - นวัตกรรมยังช่วยแปรสภาพน้ำเค็มในทะเลทรายให้กลายเป็นน้ำจืด ที่เหมาะกับการปลูกพืช ภัยแล้งคุกคามหลายพื้นที่ทั่วโลก บางประเทศแห้งแล้งถึงขนาดที่ประชากรอดอยากเพราะขาดน้ำ แต่นวัตกรรมสามารถเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ โลกเราสามารถผลิตน้ำใช้ในทะเลทรายได้แล้ว และ สามารถเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วย เนื่องในโอกาสวันที่ 17 มิถุนายนของทุกปี ตรงกับวันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก Springnews ได้รวบรวมนวัตกรรมที่น่าสนใจเพื่อการ ?ผลิต? น้ำเอาไว้ใช้กลางทะเลทราย สถานที่ที่ร้อน แล้ง และไร้ฝน ที่มีตั้งแต่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาช่วย ไปจนถึงการดึงอากาศมาทำเป็นน้ำ สูบน้ำจากใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ท่ามกลางทะเลทรายที่มีแสงแดดเจิดจ้าตลอดเวลาอยู่แล้ว บางประเทศก็นิยมใช้ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อปั๊มน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกด้วย ซึ่งนอกจากมันจะช่วยตัดลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าแล้ว มันยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย เปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำปลูกพืช ในทะเลทรายของหลายประเทศจะมีจุดที่พบทะเลสาบในโอเอซิส แต่มันเป็นน้ำเค็ม ไม่ใช่น้ำจืด นอกจากนี้ในบางฤดูกาลก็จะมีเวิ้งน้ำเจิ่งนองในบางแห่ง ซึ่งก็เป็นน้ำเค็มเช่นกัน แต่นวัตกรรมยุคใหม่ก็สามารถเปลี่ยนน้ำเค็มเหล่านั้นให้กลายเป็นน้ำจืดได้ เพื่อนำไปใช้ในการผลิตอาหาร โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้แค่น้ำเค็มและพระอาทิตย์ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์สร้างไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องแปรเปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำจืด และนำน้ำเหล่านั้นไปรดต้นไม้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนิยมปลูกพืชพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ เครื่องผลิตน้ำจากอากาศ สำหรับเครื่องผลิตน้ำจากอากาศ เป็นนวัตกรรมตัวใหม่ที่ตอนนี้มีหลายหน่วยงาน หลายบริษัทพัฒนากัน โดยใช้หลักการคือการดึงความชื้นจากในอากาศมาผลิตเป็นน้ำ อย่างผลงานของวิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ที่ผลิตวัสดุที่ใช้ในการดูดซับความชื้นจากอากาศ โดยวัสดุที่ว่านี้ทำมาจากไฮโดรเจล ซึ่งตามปกติแล้วถูกใช้ในผ้าอ้อมสำเร็จรูป ผู้พัฒนาได้ปรับปรุงการดูดซับโดยผสมไฮโดรเจลเข้ากับลิเทียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นเกลือประเภทที่สามารถดูดความชื้นได้ดีเยี่ยม เมื่อวัสดุดูดซับความชื้นพองตัว มันก็จะสามารถดึงไอระเหยจากอากาศและกักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้ จากนั้นก็จะทำน้ำให้ร้อนและควบแน่น แล้วก็จะได้น้ำบริสุทธิ์ออกมา ด้วยความที่เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้สามารถใช้ได้แม้ความชื้นต่ำเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงเหมาะกับการนำไปใช้กลางทะเลทราย ส่วนบริษัทของไทยเองตอนนี้ก็มีบริษัท การันตี เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด ที่พัฒนาเครื่องผลิตน้ำจากอากาศ โดยหลักการคือการ นำพัดลมเป่าอากาศเข้าไปใช้ เพื่อดึงน้ำที่อยู่ภายในอากาศให้เข้าไปเก็บในแทงค์เก็บน้ำ โดยจะมีฟิลเตอร์ป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองปนกับน้ำ ซึ่งเป็นการป้องกันขั้นแรกเริ่ม หลังจากนั้นก็จะทำการบำบัดน้ำด้วย การกรองน้ำทั้งหมด 5 ชั้น ตามหลักมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แก่ คาร์บอนฟิลเตอร์, เซรามิกฟิลเตอร์, UV และ REVERSE OSMOSIS (OR) เพื่อทำให้ได้น้ำสะอาดพร้อมดื่ม ปัญหาโลกร้อนกำลังทำให้พื้นที่แห้งแล้งและเป็นทะเลทรายเพิ่มขึ้น เคยมีงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change ชี้ว่า พื้นที่กว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของโลกเราจะกลายเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และกลายเป็นทะเลทรายภายในปี 2050 หากว่าเราไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ในการประชุมปารีส คือการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ขณะที่ระหว่างปี 2015-2019 มีรายงานว่า โลกของเราได้สูญเสียพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สามารถเพาะปลูกทำการเกษตรต่างๆได้ถึงปีละอย่างน้อย 625 ล้านไร่ เป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า การทำการเกษตร รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วย ที่มา : https://www.nature.com/articles/d41586-023-03621-2 https://www.newsweek.com/earth-deser...warming-768545 https://www.fao.org/support-to-inves.../en/c/1040460/ https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1033492 https://www.weforum.org/agenda/2023/...er-harvesting/ https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/851004
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|