#1
|
|||
|
|||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20 -23 พฤษภาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวมะตะบันเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมา เข้าสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนและภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นท กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 19 ? 24 พ.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวมะตะบันเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมา เข้าสู่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 20 ? 23 พ.ค. 65 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ และภาคกลาง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำฉลับพลัน น้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้(มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 20 - 23 พฤษภาคม 2565)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวมะตะบันเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมา เข้าสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 20-23 พฤษภาคม 2565 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งภาคใต้ตอนบน ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต ในช่วงวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และอุบลราชธานี 2 / ภาคกลาง... -2- ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง |
#2
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ระดับน้ำทะเลในจีนพุ่งสูงสุดในปี 65 คลื่นซัดความเสียหายหมื่นล้าน (แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนพักผ่อนบนชายหาดในนครเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 12 ธ.ค. 2021) สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีน อ้างอิง รายงานว่าด้วยระดับน้ำทะเลของจีนจากกระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจีน เปิดเผยการตรวจพบระดับน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งเพิ่มสูงขึ้นตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และแตะระดับสูงสุดในปี 2021 โดยเพิ่มสูงขึ้น 84 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเลระหว่างปี 1993-2011 ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวของน้ำทะเล รวมถึงผลจากการละลายของธารน้ำแข็งและครอบน้ำแข็งขั้วโลก อีกทั้งการทรุดตัวของผิวดินยังมีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลในจีนเพิ่มสูงขึ้นด้วย รายงานอีกฉบับจากกระทรวงฯ ระบุว่าเหตุภัยพิบัติทางทะเลของจีนในปี 2021 ส่วนใหญ่ประกอบด้วยคลื่นพายุซัดฝั่งและภัยพิบัติจากคลื่นทะเลและน้ำแข็งในทะเล ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงรวมมากกว่า 3.07 พันล้านหยวน (ราว 1.57 หมื่นล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 36 ของความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนั้น รายงานยังระบุว่าจีนได้ปรับใช้สารพัดมาตรการในการป้องกันภัยพิบัติทางทะเล เช่น ส่งเสริมโครงการป้องกันและควบคุมภัยธรรมชาติ ปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่แถบชายฝั่ง ยกระดับเครือข่ายเฝ้าติดตามทางทะเล และปรับปรุงความสามารถในการแจ้งเตือนล่วงหน้าอย่างต่อเนื่อง |
|
|