เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 14-04-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 14 เมษายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 14 - 15 เม.ย. 64 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 19 เม.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีลมตะวันตกพัดปกคลุมทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 16 ? 19 เม.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 14-04-2021 เมื่อ 03:13
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 14-04-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีลงมหาสมุทรแปซิฟิก

รัฐบาลญี่ปุ่นมีมติปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟุกุชิมะมากกว่า 1 ล้านตันลงสู่มหาสมุทรภายใน 2 ปี หลังจากเก็บกักไว้นานเป็นสิบปี นับตั้งแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม 2011 ท่ามกลางความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อชาวประมงและประเทศเพื่อนบ้าน



นายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 เมษายน ว่า การตัดสินใจปล่อยน้ำลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดแล้ว และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการฟื้นฟูฟุกุชิมะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกำจัดน้ำเสียจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะถูกเลื่อนมาหลายครั้งแล้ว จากเสียงคัดค้านและความกังวลด้านความปลอดภัย แต่เนื่องจากพื้นที่เก็บน้ำจะหมดลงในปีหน้า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตัดสินใจ ทั้งนี้ รัฐบาลจะปล่อยน้ำออกมาสู่มหาสมุทรก็ต่อเมื่อแน่ใจว่ามันปลอดภัย โดยจะเริ่มปล่อยน้ำใน 2 ปีข้างหน้า โดยคาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาหลายสิบปี

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่และสึนามิที่ญี่ปุ่นเมื่อ 11 มีนาคม 2011 คร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 19,000 คน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งจากทั้งหมด 6 แห่งได้รับความเสียหาย จนถูกจัดให้เป็นหายนะจากนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลในรัสเซีย ประชาชนนับหมื่นคนต้องอพยพออกจากพื้นที่ และยังมีผู้ที่ยังกลับไปไม่ได้อีกจำนวนมาก แม้จะผ่านมา 10 ปีแล้ว แต่การเก็บกวาดในพื้นที่โรงงานที่ได้รับความเสียหายยังไม่แล้วเสร็จ มีการหล่อน้ำเลี้ยงเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไม่ให้ละลายด้วยการปั๊มน้ำเข้าไปอย่างต่อเนื่อง ตัวกรองน้ำสามารถกำจัดสารกัมมันตรังสีอื่นๆ ได้ ยกเว้นทริเทียมเท่านั้น และน้ำเหล่านี้ถูกเก็บไว้ในโรงงาน

บริษัท โตเกียว อิเล็กทริค พาวเวอร์ หรือ เทปโก (TEPCO) และรัฐบาลระบุว่า ไม่สามารถนำสารทริเทียม-ซึ่งเป็นหนึ่งในสารกัมมันตรังสีที่ไม่เป็นอันตรายในกรณีที่มีปริมาณน้อย-ออกจากน้ำได้ แต่สารกัมมันตรังสีอื่นๆ สามารถลดระดับลงจนสามารถปล่อยทิ้งได้ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (The International Atomic Energy Agency) สนับสนุนการตัดสินใจครั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่า เป็นไปตามมาตรฐานของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก

ด้านชาวประมงกังวลว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากผู้บริโภคไม่มั่นใจ หัวหน้าสหพันธ์สหกรณ์ประมงแห่งชาติญี่ปุ่น เรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการที่ป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคปฏิเสธอาหารทะเลของญี่ปุ่น พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมาต้องทำงานหนักหลายปีเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้คนกลับมาบริโภคอาหารทะเลจากท้องถิ่นนี้ กรีนพีซ ญี่ปุ่น องค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมประณามการตัดสินใจของรัฐบาล โดยระบุว่า ละเลยสิทธิมนุษยชนและกฎหมายพาณิชยนาวีระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเลือกวิธีที่ถูกที่สุด แทนที่จะใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อลดปริมาณสารกัมมันตรังสี

ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ต่างคัดค้านการตัดสินใจนี้ และกังวลผลกระทบจากการปล่อยทริเทียมสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จีนและเกาหลีใต้เป็น 1 ใน 15 ประเทศที่จำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากภัยพิบัติฟุกุชิมะ


https://www.thairath.co.th/news/fore...PANORAMA_TOPIC


*********************************************************************************************************************************************************


คิดค้นการทำพลาสติก ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากเศษปลา



โพลียูรีเทน (Polyurethanes) เป็นหนึ่งในพลาสติกชนิดที่มีอยู่แทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้า เสื้อผ้า ตู้เย็นและวัสดุก่อสร้าง แต่วัสดุที่มีความหลากหลายเหล่านี้กลับมีข้อเสียสำคัญ เพราะมาจากน้ำมันดิบซึ่งสร้างมลพิษและพิษสิ่งแวดล้อมจากการสลายตัวช้าของโพลียูรีเทน

ล่าสุด ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวฟาวแลนด์ ในแคนาดา เผยว่า คิดค้นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าในการย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งได้มาจากเศษซากปลาอย่างหัว กระดูก ไส้ ผิวหนัง ทีมวิจัยทดลองกับปลาแซลมอนแอตแลนติกในการสร้างวัสดุใหม่ หลังจากที่ปลาถูกแล่เตรียมขายให้กับผู้บริโภค ซากที่เหลือมักจะถูกทิ้ง แต่บางครั้งก็มีการสกัดน้ำมันออกมา ทีมจึงพัฒนากระบวนการเปลี่ยนน้ำมันปลา ให้เป็นโพลียูรีเทน ขั้นแรกคือเติมออกซิเจนลงในน้ำมันปลาด้วยวิธีควบคุมเพื่อสร้างอีพอกไซด์ (Epoxides) อันเป็นโมเลกุลที่คล้ายกับในอีพ็อกซี่ เรซิ่น (epoxy resin) ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทานกว่าเรซิ่นชนิดอื่นๆ ทั้งยึดเกาะและป้องกันรอยขีดข่วนได้ดีกว่า ซึ่งหลังจากอีพอกไซด์ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว พวกมันจะเชื่อมโยงโมเลกุลที่เกิดขึ้นพร้อมกับเอมีน (amines) ที่มีไนโตรเจนเพื่อสร้างวัสดุใหม่ขึ้นมา

ก่อนหน้านี้มีนักวิจัยพัฒนาโพลียูรีเทนแบบใหม่โดยใช้น้ำมันจากพืชเพื่อทดแทนปิโตรเลียม แต่สิ่งเหล่านี้ก็มาพร้อมกับข้อบกพร่องเช่นกัน เพราะพืชผลซึ่งมักเป็นถั่วเหลืองที่ผลิตน้ำมันได้นั้น ต้องการพื้นที่ในการปลูก ทว่าหากพัฒนาโพลียูรีเทนที่ทำจากน้ำมันปลาสำเร็จ ก็จะตอบสนองความต้องการใช้พลาสติกที่ยั่งยืนมากขึ้น.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2068156

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:22


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger