#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมต ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 5 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 66 ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลร้ายที่ส่งถึงทุกชีวิต! ส่องปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รุนแรง เลวร้าย ที่กระทบทุกชีวิต หากไม่ร่วมมือแก้ไข จะส่งผลเสียระยะยาว... ต้องยอมรับว่า เวลานี้โลกเรากำลัง "แปรปรวน" จากภัยธรรมชาติ โดยมีสาเหตุหลักมาจาก ?ภาวะโลกร้อน? ที่มีต้นตอจาก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยฝีมือมนุษย์ จากข้อมูล สหประชาชาติ ประเทศไทย (thailand.un.org/th) ระบุว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น ส่งผลร้ายแรงถึงทุกชีวิตบนโลก และมีความเสี่ยงที่สัตว์นับล้านชนิด เสี่ยงจะสูญพันธุ์ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เริ่มเห็นชัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 จากการใช้พลังงาน เผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้น "ก๊าซเรือนกระจก" เปรียบลักษณะเหมือน ผ้าห่อคลุมโลกไว้ ทำให้ความร้อนไม่ระบายออก เป็นสาเหตุให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ซึ่งก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ และ มีเทน โดยแหล่งปล่อยก๊าซใหญ่มาจากภาคพลังงาน อุตสาหกรรม ขนส่ง รวมไปถึงเกษตร ที่ผ่านมา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้วางเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และ ความตกลงปารีส ไว้ 3 ข้อกว้างๆ คือ ลดการปล่อยก๊าซ ปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบด้านสภาพอากาศ และจัดหางบประมาณสำหรับการปรับเปลี่ยนที่จำเป็น หมุดหมายสำคัญคือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต้องเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 แต่ก่อนอื่นต้องลดให้ได้ครึ่งหนึ่งก่อนภายในปี 2030 เพื่อควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่...ในทศวรรษที่ผ่านมา ค.ศ. 2011-2020 อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นแล้ว 1.1 องศา นับตั้งแต่ปี 1800 ซึ่งถือว่ามาถึงจุดที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีบันทึกไว้แล้ว... ผลกระทบ ที่เกิดจากโลกร้อน รุนแรง กระทบทุกชีวิต อุณหภูมิสูงขึ้น : เกือบทุกภูมิภาคบนโลกต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนมากขึ้น ปี 2020 เป็นปีที่อากาศร้อนที่สุดในประวัติการณ์ อุณภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากความร้อน การทำงานหรือการเดินทางลำบากขึ้น ไฟป่าก็จะเกิดง่าย อุณหภูมิในบริเวณขั้วโลกเหนือสูงขึ้นด้วยความเร็วอย่างน้อย 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก พายุรุนแรงขึ้น : การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิส่งผลต่อปริมาณฝน โดยทำให้เกิดพายุที่รุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม ภัยแล้งสาหัสขึ้น : หลายภูมิภาคเริ่มขาดแคลนน้ำ ความแห้งแล้งจะยิ่งทำให้พายุฝุ่นและพายุทรายรุนแรง ทะเลทรายที่ขยายตัวทำให้พื้นที่ในการเพาะปลูกลดลง ผู้คนมากมายไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต น้ำทะเลร้อนและสูงขึ้น : มหาสมุทรต้องดูดซับความร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้น้ำแข็งละลายและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นภัยต่อชุมชนริมชายฝั่งและบนเกาะต่างๆ นอกจากความร้อน มหาสมุทรยังต้องดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ จนทำให้น้ำทะเลเป็นกรดและเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำ เกิดสภาพภูมิอากาศที่สุดขั้ว เกิดการแพร่กระจายของแมลงศัตรูพืชและโรคระบาด สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจย้ายถิ่นอาศัยเพื่อความอยู่รอด แต่บางชนิดอาจตายและสูญพันธุ์ ในอัตราที่เร็วกว่าช่วงเวลาใดๆ ที่เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ถึง 1,000 เท่า โดยมี สิ่งมีชีวิตกว่า 1 ล้านชนิดเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อาหารขาดแคลน : สภาพอากาศที่แปรปรวนและรุนแรงซ้ำเติมปัญหาความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ ตลอดจนสร้างความเสียหายต่อการประมง การเพาะปลูก และปศุสัตว์ เพราะความร้อนทำให้แหล่งน้ำแห้งและพื้นที่ทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ลดลง มหาสมุทรที่เป็นกรดมากขึ้นสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลที่ใช้หล่อเลี้ยงผู้คนหลายพันล้านคน ขณะที่ การเปลี่ยนแปลงของหิมะและน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกเหนือส่งผลกระทบอย่างหนักต่อปริมาณอาหารที่มาจากการเลี้ยงปศุสัตว์ การล่าสัตว์ และการประมง ความร้อนที่สูงยังทำให้ปริมาณน้ำและทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์หดหาย กระทบต่อปริมาณพืชผลและปศุสัตว์ ปัญหาสุขภาพ : การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากขึ้น เช่น โรคมาลาเรีย ส่งผลให้ผู้คนเจ็บป่วยเสียชีวิตจำนวนมากจนระบบสุขภาพไม่อาจรองรับได้ พื้นที่เพาะปลูกไม่เพียงพอกับผู้คน ส่งผลต่อการขาดแคลนอาหาร ความยากจนและการพลัดถิ่น : การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นตัวกระตุ้นปัจจัยที่นำไปสู่ความยากจน เช่น อุทกภัยที่สร้างความเสียหายแก่ชุมชนแออัดในตัวเมือง บ้านเรือน ตลอดจนชีวิตของผู้คน และความร้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานกลางแจ้ง ภัยพิบัติที่เกิดจากความร้อนทำให้ในแต่ละปีมีผู้คนต้องพลัดถิ่นถึง 23 ล้านคน และอีกนับไม่ถ้วนต้องเผชิญความยากจน ต้องร่วมมือแก้ปัญหา ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย (ในชีวิตจริง) สำหรับแนวทางการแก้วิกฤติ ที่สหประชาชาติระบุไว้ มี 10 แนวทางประกอบด้วย ประหยัดพลังงานที่บ้าน : การผลิตไฟฟ้าและความร้อนส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ เราสามารถใช้พลังงานให้น้อยลงได้โดยการปรับระดับการทำความร้อนและความเย็นให้ต่ำลง เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED และเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน ซักผ้าด้วยน้ำเย็น หรือตากผ้าแทนการใช้เครื่องอบผ้า เดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะ : ถนนทั่วโลกน้ำมันดีเซลหรือเบนซินเป็นเชื้อเพลิง การเดินหรือขี่จักรยานแทนการขับรถจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพและความแข็งแรงอีกด้วย หากคุณต้องเดินทางไกล ลองเปลี่ยนมาโดยสารรถไฟหรือรถประจำทาง และติดรถไปกับผู้อื่นเมื่อทำได้ รับประทานผักให้มากขึ้น : แค่รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดพืชมากขึ้น และลดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมให้น้อยลง คุณก็สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก โดยทั่วไปกระบวนการผลิตอาหารที่มาจากพืชจะสร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้พลังงาน ที่ดิน และน้ำน้อยกว่า เลือกวิธีเดินทาง : เครื่องบินใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล และปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก การนั่งเครื่องบินให้น้อยลงจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่เร็วที่สุดในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากทำได้ ให้คุณนัดพบกันในทางออนไลน์ ขึ้นรถไฟ หรือยกเลิกการเดินทางระยะไกลนั้นไปเลย รับประทานอาหารให้หมด : ทุกครั้งที่คุณทิ้งอาหาร คุณกำลังทิ้งทรัพยากรและพลังงานที่ใช้ในการเพาะปลูก/เลี้ยง ผลิต บรรจุ และขนส่งอาหารนั้นๆ และอาหารที่บูดเน่าอยู่ในบ่อขยะก็จะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงมาก ดังนั้น รับประทานอาหารที่คุณซื้อมาให้หมดและส่วนที่เหลือให้หมักทำปุ๋ย ลด ใช้ซ้ำ ซ่อมแซม และรีไซเคิล : อุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้า และสินค้าอื่นๆ ที่เราซื้อล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ณ จุดใดจุดหนึ่งของการผลิต ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิต และการขนส่งสินค้าสู่ตลาด คุณสามารถช่วยรักษาสภาพอากาศของเราด้วยการซื้อของให้น้อยลง ซื้อของมือสอง ซ่อมของหากซ่อมได้ และรีไซเคิล เปลี่ยนแหล่งพลังงานในบ้าน : สอบถามบริษัทสาธารณูปโภคของคุณว่าพลังงานที่คุณใช้ในบ้านนั้นผลิตมาจากน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ ให้ลองเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น ลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์ หรือติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อผลิตพลังงานให้บ้านของคุณ เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า : หากคุณวางแผนที่จะซื้อรถยนต์ ลองเลือกดูรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งตอนนี้มีหลายรุ่นและราคาถูกลง แม้ว่าไฟฟ้าที่ใช้จะยังผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ แต่รถยนต์ไฟฟ้าก็ช่วยลดมลพิษทางอากาศและปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้แก๊สหรือดีเซลอย่างมีนัยสำคัญ เลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม : ทุกการใช้จ่ายของเราส่งผลกระทบต่อโลกทั้งสิ้น คุณมีอำนาจว่าจะเลือกสนับสนุนสินค้าและบริการใดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้คุณซื้ออาหารตามฤดูกาลที่ผลิตในท้องถิ่น เลือกผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและของเสีย เป็นกระบอกเสียง : เปล่งเสียงของคุณและชักชวนผู้อื่นให้ร่วมลงมือด้วยกัน นี่เป็นหนึ่งในวิธีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ชักชวนเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของคุณ บอกให้ธุรกิจต่างๆ รู้ว่าคุณต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่กล้าหาญและชัดเจน ตลอดจนเรียกร้องให้ผู้นำท้องถิ่นและระดับโลกดำเนินการในทันที ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรเป็น "วาระแห่งชาติ" รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวกับทีมข่าวเฉพาะกิจว่า ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ควรจะเป็นเรื่อง "วาระแห่งชาติ" มานานแล้ว เพราะการแก้ปัญหาจำเป็นต้องใช้เงิน และระยะเวลา ตอนนี้ทั่วโลก กำลังเจอภาวะ "เอลนีโญ" จากงานวิจัย พบว่าความเสียหายหลังจากนี้ไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011-2050 มูลค่าความเสียหายโดยรวมอาจจะสูงถึง 6 แสนล้านบาท ถึง 2.85 ล้านล้านบาท คือเกือบเท่างบประมาณแผ่นดิน นี่คือ...ผลกระทบหากเราไม่ลงทุนในการแก้ปัญหา แต่ปัญหาดังกล่าว ไม่ได้กระทบแค่ภาคเกษตรอย่างเดียว ยังกระทบทุกๆ ด้านอื่นๆ ด้วย เช่น สุขภาพ ค่าใช้จ่าย ปัญหากับธุรกิจที่ทำงานกลางแจ้ง แรงงานกลางแจ้ง อาจต้องลดเวลาทำงาน ทุกอย่างเชื่อมโยงในทุกมิติ แม้แต่การท่องเที่ยว ซึ่งระบบนิเวศนั้นมีขีดจำกัด https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2704827
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
อ.ธรณ์ เผย แหล่งหญ้าทะเลลึกลับ ณ "เกาะท่าไร่" เรียลอันซีนของนครศรีธรรมราช เลคเชอร์ทะเลไทย อ.ธรณ์ เผย แหล่งหญ้าทะเลลึกลับขนาดใหญ่ ณ "เกาะท่าไร่" เรียลอันซีนของนครศรีธรรมราช สำคัญมากต่อโลมาและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วันที่ 29 มิถุนายน 2566 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณี "แหล่งหญ้าทะเลลึกลับ" ที่อยู่ในประเทศไทย โดยระบุข้อความว่า ใกล้เย็นย่ำ ถึงเวลาเลคเชอร์ทะเลไทยกับอาจารย์ธรณ์ วันนี้ผมจะพาพวกเราไปพบกับแหล่งหญ้าทะเลลึกลับ ถือเป็นเรียลอันซีนของนครศรีธรรมราช เชื่อว่าเด็กคอนหลายคนยังไม่รู้จักด้วยซ้ำครับ ชายฝั่งนครศรีธรรมราชยาว 237 กม. แต่มีแหล่งหญ้าทะเลขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียว ผมจึงพาทีมบลูคาร์บอน/สัตว์หายากของคณะประมงมาสำรวจ ที่นี่เรียกว่า "เกาะท่าไร่" อยู่บนรอยต่อสุราษฎร์/นคร บริเวณดอนสัก/ขนอม ในภาพจะมองเห็นท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสักไปเกาะสมุยอยู่ถัดไป ในอ่าวนางกำที่พบโลมาเป็นประจำ เมื่อเทียบกับสุราษฎร์แล้ว นครมีหญ้าทะเลน้อยกว่ามาก แต่มีแห่งเดียวก็ยืนหนึ่งได้ เพราะที่นี่มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ปี 2539 มีรายงาน 14 ไร่ มาถึงปี 63 กรมทะเลพบหญ้า 80 ไร่ (พื้นที่ศักยภาพ 146 ไร่) ปัญหาคือแถวนี้น้ำขุ่นมาก ดำน้ำสำรวจแทบไม่เห็น จึงต้องรอจังหวะน้ำลงต่ำแล้วสำรวจทางอากาศ ลองดูภาพเพื่อนธรณ์จะเห็นแนวดำคล้ำยาวเลียบฝั่ง พวกนั้นคือหญ้าทะเลทั้งหมด ไม่ใช่แนวปะการังเพราะขุ่นและพื้นเป็นเลน หญ้าชนิดหลักคือหญ้าคาทะเล มีหญ้าขนาดเล็กพันธุ์อื่นปะปนอยู่บ้าง เคยมีรายงานว่าพบร่องรอยของพะยูนเข้ามากินหญ้าแถวนี้ พะยูนในอ่าวบ้านดอนมี 5+ ตัว พบตั้งแต่ไชยาลงมาถึงแถวนี้ ยังเคยมีรายงานตามเกาะต่างๆ ที่มีหญ้าทะเลเยอะ เช่น เกาะพะงัน ที่สำคัญคือแม่ลูก 1 คู่ เพิ่งสำรวจพบเมื่อไม่นานมานี้ ว่ายอยู่แถวนี้แหละ โตเร็วๆ นะน้องพะยูน แต่ที่มีแน่และว่ายอยู่ใกล้ๆ เป็นประจำคือโลมาหลังโหนก (โลมาสีชมพู) ตอนผมไปสำรวจก็ว่ายอยู่แถวท่าเฟอร์รี่ เรียกว่าแทบเป็นแหล่งที่พบโลมาบ่อยสุดในชายฝั่งแถบนี้ หญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่มีสัตว์น้ำอยู่เยอะมากแม้จะไม่หลากหลายเท่าแนวปะการัง ปลาต่างๆ จากแหล่งหญ้าเกาะท่าไร่ก็ว่ายออกไปอยู่บริเวณอ่าวติดกัน ทำให้โลมาชอบ เมื่อดูจากภัยคุกคาม บนเกาะไม่มีปัญหาเนื่องจากไม่มีใครอยู่ ยังเป็นเขตอุทยานขนอม/หมู่เกาะทะเลใต้ (เตรียมประกาศมานานแสนนาน) ปัญหาอาจมาจากการพัฒนาชายฝั่งใกล้ๆ และการขุดลอกร่องน้ำในอนาคต ถ้าหากจำเป็นต้องระวังให้มาก เพราะภัยคุกคามอันดับหนึ่งของหญ้าทะเลในเมืองไทยคือเรื่องนี้แหละ สำหรับผลกระทบจากโลกร้อนเหมือนที่เกิดกับแหล่งหญ้าบางแห่ง เท่าที่สำรวจยังไม่พบชัดเจน การสะสมของทรายจากคลื่นลมก็ไม่ค่อยมีเพราะเป็นพื้นที่อับลม หญ้าส่วนใหญ่อยู่ที่ลึกหน่อยเมื่อเทียบกับตามเกาะ ทำให้ไม่ค่อยโผล่พ้นน้ำโดนแดดเผา ทราบมาว่าชาวบ้านมีเครือข่ายอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลไม่ให้มีการประมงที่โหดร้ายต่อหญ้าทะเลมากเกินไป ซึ่งนั่นเป็นเรื่องดีมากครับ เพราะแหล่งหญ้าเกาะท่าไร่นอกจากเป็นแหล่งใหญ่แห่งเดียวของนคร ยังสำคัญมากต่อน้องโลมาและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แม้แทบไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ถ้าให้ผมจัดลำดับความสำคัญด้าน Ecosystem Service ที่นี่ได้แรงก์ A แน่นอน จุดเด่นคือหายาก ทั้งจังหวัดมีแห่งเดียว เป็นที่หากินของพะยูน เกี่ยวข้องกับโลมา เป็นพื้นฐานของรายได้สำหรับชาวบ้าน ทั้งการประมงและการท่องเที่ยว จึงฝากเกาะท่าไร่ไว้ให้คนนครดูแล ขอให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็พอแล้ว อย่าให้มีการพัฒนาใดๆ มาคุกคามเกินเหตุ เพราะถ้าเกิดแบบนั้นแล้ว บอกเลยว่าฟื้นฟูยาก ปลูกหญ้าทะเลไม่ง่ายแน่นอน จะวัดผลกันก็ต้องผ่านเวลาไป 3 ปีว่ารอดขนาดไหนจะเล่าเรื่องบลูคาร์บอนและการฟื้นฟูหญ้าทะเลให้เพื่อนธรณ์ฟังแบบยาวๆ อีกครั้ง แต่ตอนนี้ขอฝากแหล่งหญ้าทะเลเกาะท่าไร่ไว้ในอ้อมใจคนนครและคนไทยครับ. https://www.thairath.co.th/news/local/2705741
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
นักวิจัยเผย โลกร้อนขึ้น 1 องศาเซลเซียส ทำให้ฝนตกหนักขึ้น 15% นักวิจัยหลายคนกล่าวว่า ภาวะโลกร้อนทำให้ฝนตกหนักขึ้น ตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรราว 2,000 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขา หรือปลายน้ำที่ไหลจากภูเขา มีความเสี่ยงที่จะเผชิญอุทกภัยและดินถล่มมากขึ้น สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ว่า รายงานในวารสาร Nature ระบุว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุกองศาเซลเซียส จะเพิ่มความหนาแน่นของฝนตกหนักขึ้น 15% ที่ระดับความสูงมากกว่า 2,000 เมตร และความสูงที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1,000 เมตร จะเพิ่มปริมาณน้ำฝนอีก 1% หรืออีกนัยหนึ่งคือ หากโลกร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม มันจะมีความเป็นไปได้ของการเกิดอุทกภัยที่รุนแรงกว่าเดิมเกือบครึ่งหนึ่ง ผู้เขียนรายงานกล่าวเตือนว่า การค้นพบดังกล่าวเน้นย้ำถึงความเปราะบางของโครงสร้างพื้นฐาน ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้ทนต่อเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรง ขณะที่รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (ไอพีซีซี) ระบุเสริมว่า จากแนวโน้มในปัจจุบัน โลกจะร้อนขึ้น 2.8 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ งานศึกษาชิ้นใหม่ ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา และการประมาณการตามแบบจำลองสภาพอากาศ พบปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 2 อย่าง ที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นในเหตุการณ์ฝนตกหนักบนพื้นที่สูง ในโลกที่ร้อนขึ้น โดยประการแรกคือ การมีน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งบรรดานักวิทยาศาสตร์รู้มานานแล้วว่า อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 องศาเซลเซียส จะเพิ่มปริมาณความชื้นในชั้นบรรยากาศได้ถึง 7% ทว่าปัจจัยประการที่สองนั้นน่าประหลาดใจยิ่งกว่า เพราะนักวิจัยต้องดูว่าเหตุการณ์นั้นเป็นฝนตกหนัก หรือหิมะตกหนัก เนื่องจากน้ำฝนทำให้เกิดการไหลบ่าอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุทกภัย, ดินถล่ม และการพังทลายของดิน อนึ่ง พื้นที่ภูเขา และที่ราบน้ำท่วมถึงที่อยู่ติดกัน มีแนวโน้มที่จะประสบกับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากฝนตกหนัก ทั้งบริเวณในและรอบ ๆ เทือกเขาหิมาลัย และเทือกเขาฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ควรเตรียมแผนการปรับตัวด้านสภาพอากาศที่มั่นคง "พวกเราจำเป็นต้องพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์ฝนตกหนัก ในการออกแบบและสร้างเขื่อน, ทางหลวง, ทางรถไฟ และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ หากเราต้องงการทำให้แน่ใจว่า สิ่งเหล่านั้นจะคงอยู่อย่างยั่งยืนในสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น" นายโมฮัมเหม็ด ออมบาดี นักวิจัย และผู้เขียนนำของรายงาน กล่าว https://www.dailynews.co.th/news/2486329/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ตัวที่ 6 ของปี พะยูนตายในทะเลกระบี่ กระบี่ - ตัวที่ 6 ของปี เศร้า! พบพะยูนเพศเมียขนาดโตเต็มวัย ตายลอยติดชายหาด ทับแขก ต.หนองทะเล จ.กระบี่ ไม่พบบาดแผลฉกรรจ์ ส่งซากให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตอย่างแน่ชัดต่อไป เมื่อเวลา 11.40 น.วันนี้ (29 มิ.ย.) นางรักชนก แพน้อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.4 (ทับแขก) ว่า พบซากพะยูน เพศเมีย น้ำหนักประมาณ 140 กิโลกรัม ความยาว 204 เซนติเมตร ลอยตายอยู่บริเวณหน้าหาดทับแขก อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาสดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หลังรับแจ้งจึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ จากการตรวจสอบเบื้องต้น สภาพซากยังสมบูรณ์ ไม่พบบาดแผลฉกรรจ์บริเวณภายนอก มีเพียงรอยแผลถลอก เป็นแผลตื้นจากการโดนโขดหิน จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายซากพะยูนมาไว้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เพื่อมอบซากพะยูน ให้ทางศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อนำซากไปวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตอย่างแน่ชัดต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากข้อมูลพบว่าปีนี้พบพะยูนตาย ในทะเลกระบี่ พบที่เกาะลันตา เกาะศรีบอหยา อำเภอเหนือคลอง ตำบลเขาคราม และตำบลหนองทะเล อำเภอเมืองกระบี่ รวมแล้ว จำนวน 6 ตัว มีทั้งลูกพะยูน และพะยูนโตเต็มวัย https://mgronline.com/south/detail/9660000059183
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|