#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 ก.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 14 - 16 ก.ค. 66 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
จีนเดินหน้าวิจัยโครงสร้างส่วนลึกของ 'ทะเลจีนใต้' คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหนานฟาง ในนครเซินเจิ้น สร้างความคืบหน้าครั้งใหม่ในการศึกษาโครงสร้างส่วนลึกของทะเลจีนใต้ ตลอดเวลา 100 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นเปลือกโลกจำนวนมากได้มุดตัวลงสู่ส่วนลึกของทะเลจีนใต้ ทว่าข้อจำกัดในการลงไปสังเกตการณ์บริเวณก้นทะเล ทำให้การทำความเข้าใจโครงสร้างส่วนลึกของทะเลแห่งนี้เป็นเรื่องยาก ทีมวิจัยใช้ข้อมูลจากการทดลองแผ่นดินไหวแบบพาสซีฟ หรือการสำรวจที่มีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวจากสิ่งแวดล้อม โดยใช้เครื่องวัดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร ร่วมกับสถานีภาคพื้นดิน เพื่อหาโครงสร้างแผ่นดินไหวสามมิติที่มีความละเอียดสูงของแอ่งย่อยทางตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลจีนใต้ บทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ คอมมิวนิเคชันส์ (Nature Communications) ระบุว่า นักวิจัยค้นพบพื้นที่ผิดปกติที่ความลึก 40-80 กิโลเมตรทางตอนใต้ของแอ่งดังกล่าว ซึ่งมีความเร็วแรงเฉือนของแผ่นดินไหวต่ำอย่างเห็นได้ชัด และความผิดปกตินี้ชัดเจนที่สุดที่ความลึกราว 50 กิโลเมตร หลังจากการวิเคราะห์เชิงอุณหพลศาสตร์ (thermodynamic) และธรณีเคมีของหิน ทีมวิจัยได้รับหลักฐานทางธรณีวิทยาฟิสิกส์ว่าชั้นเนื้อโลกตอนบนในทะเลจีนใต้ทางตอนใต้มีน้ำค่อนข้างมาก โดยแสดงให้เห็นความไม่สมดุลของโครงสร้างความเร็วคลื่นไหวสะเทือนในแนวเหนือ-ใต้ บริเวณส่วนลึกของทะเลดังกล่าว อนึ่ง การศึกษานี้มีนัยสำคัญต่อการเปิดเผยโครงสร้างส่วนลึกของแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัว การกำเนิดของภูเขาไฟและแนวปะการังหลายแห่งในทะเลจีนใต้ รวมถึงวัฏจักรน้ำในเขตมุดตัวของโลก https://mgronline.com/china/detail/9660000062064 ****************************************************************************************************** อ่าวมาหยา "สวรรค์ของฉลามครีบดำ" เตรียมผลักดันเป็นพื้นที่ในการอนุรักษ์และวิจัย ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลฯ จ.ตรัง เผยผลสำรวจจำนวนและพฤติกรรมตามธรรมชาติของฉลามครีบดำในอ่าวมาหยา เตรียมผลักดันให้พื้นนำร่องในการอนุรักษ์และวิจัย "อ่าวมาหยา" จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวโด่งดังระดับโลก โดยเฉพาะการเปิดตัวสู่สายตาชาวโลกจากการเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Beach ที่ทำให้นักท่องเที่ยวแห่แหนกันมาเยือนไม่เคยว่างเว้น จนกระทั่งช่วงเวลาหนึ่งเกิดปัญหาปริมาณนักท่องเที่ยวมากเกินความพอดี และอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ได้ประกาศปิดอ่าวมาหยา เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2565 ยาวนานเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน ปัจจุบัน "อ่าวมาหยา" กลับมาเปิดให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความงดงามได้ตามปกติแล้ว ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์เรื่องการจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยว ตลอดจนการจัดระเบียบเรือรับส่งนักท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลจากการฟื้นฟูดังกล่าว ทำให้อ่าวสวยระดับโลกแห่งนี้ กลายเป็น "สวรรค์ของฉลามครีบดำ" เมื่อเร็วๆนี้ แฟนเพจส่วนอุทยานแห่งชาติ สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจในประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า อ่าวมาหยาเกาะพีพีเล เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี อ่าวมาหยาเป็นอ่าวขนาดเล็กโอบล้อมด้วยเขาหินปูน มีหาดทรายที่ขาวละเอียด ล้อมรอบด้วยทิวทัศน์สวยงาม ที่แห่งนี้ยังเป็นบ้านอันอบอุ่นของเหล่าฉลามครีบดำ นายจินดา ศรีสุพพัตพงษ์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของการสำรวจติดตามประชากรและพฤติกรรมของฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) ภายใต้โครงการสำรวจจำนวนและพฤติกรรมตามธรรมชาติของฉลามครีบดำในอ่าวมาหยา อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา - หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ (Shark Watch Project) ว่า การสำรวจฉลามครีบดำที่อ่าวมาหยา เกิดจากช่วงอ่าวมาหยาได้ทำการปิดอ่าวเพื่อฟื้นฟูเเนวปะการัง และพบว่ามีฉลามครีบดำเข้ามาดำรงชีวิตในเเนวปะการัง และพบจำนวนฉลามครีบดำมากที่สุดประมาณ 100 ตัว ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2563 ที่ผ่านมา "หลังจากทำการเปิดอ่าวมาหยาให้สามารถกลับมาท่องเที่ยวได้พบว่า จำนวนฉลามในอ่าวมาหยามีจำนวนที่ลดลง จึงได้ทำการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต พฤติกรรมของฉลามครีบดำ รวมไปถึงจำนวนของฉลามครีบดำในเเต่ละรอบเดือน และผลักดันให้พื้นที่อ่าวมาหยาเป็นพื้นที่นำร่องในการอนุรักษ์และวิจัย เพื่อให้พื้นที่อ่าวมาหยาเป็นพื้นที่ที่พิเศษ สำหรับเป็นแหล่งผสมพันธุ์หรือหาอาหารของฉลามวัยอ่อน อีกทั้งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยว เวลามาท่องเที่ยวอ่าวมาหยาแล้วสามารถพบเห็นฉลามในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ" หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลฯ เล่าอีกว่า โดยจะมีวิธีสำรวจด้วยการบินโดรน วันละ 3 เวลา เช้า-กลางวัน-เย็น เพื่อนับประชากรฉลาม และตั้งกล้องถ่ายใต้น้ำ BRUVS (Baited Remote Underwater Video Station) โดยใช้เหยื่อล่อ เพื่อสังเกตพฤติกรรมฉลาม วันละ 4 เวลา (เช้า-กลางวัน-เย็น และค่ำ) และมีการวัดคุณภาพน้ำ ติดตั้ง Data Logger เพื่อเก็บข้อมูลอุณหภูมิรายชั่วโมงและข้อมูลแสง เป็นต้น จากการสำรวจนี้ยังพบว่า จำนวนในการพบฉลามครีบดำในเเต่ละช่วงการสำรวจไม่เหมือนกัน จึงยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า มีฉลามครีบดำ เพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงใด เนื่องจากมีหลายปัจจัย เช่น จำนวนเรือ นักท่องเที่ยว สภาพอากาศ และสภาพพื้นที่เเนวปะการัง เป็นต้น การสำรวจฉลามครีบดำที่อ่าวมาหยานี้ จึงเป็นก้าวแรกของการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ "ฉลามครีบดำ" แห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจสัตว์ผู้ล่าแห่งท้องทะเลอันสง่างามชนิดนี้ และหาแนวทางอนุรักษ์ได้ต่อไป https://mgronline.com/travel/detail/9660000062207
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
แห่แชร์คลิป! วาฬสีเทาอ้อนขอให้คนช่วยหยิบเหาออก แถมติดใจว่ายมาใกล้บ่อยๆ แห่แชร์คลิป! สุดเอ็นดู วาฬสีเทาอ้อนขอให้คนช่วยหยิบเหาออก เงยหัวขึ้นจากน้ำมาหาถึงที่ แถมติดใจว่ายมาใกล้บ่อยๆ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน ปาโก จิเมเนซ ฟรังโก้ กัปตันเรือดูวาฬในน่านน้ำของทะเลสาบ Ojo de Liebre นอกชายฝั่งบาฮากาลิฟอร์เนีย ประเทศเม็กซิโก สังเกตเห็นว่าวาฬบางตัวมีเหาวาฬ ซึ่งเป็นปรสิตทั่วไปที่เกาะตัวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายวาฬ ซึ่งภาพวิดีโอที่บันทึกพฤติกรรมล่าสุด แสดงให้เห็นว่าวาฬสีเทาเรียนรู้ที่เข้ามาใกล้เรือราวกับขอความช่วยเหลือให้มนุษย์เอาปรสิตออก ซึ่งทางปาโกจึงหยิบปรสิตต่าง ๆ ออกจากตัววาฬ "เมื่อผมหยิบตัวแรกออก มันก็เข้ามาหาอีกครั้งเพื่อที่ผมจะได้ทำต่อไป" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วาฬตัวเดิมนั้นชอบไปเยี่ยมปาโกแถว ๆ บริเวณบนเรือของเขาเพื่อให้กำจัดเหา เมื่อเข้ามาใกล้ วาฬจะเงยหัวขึ้นจากน้ำในระยะที่ปาโกเอื้อมถึง "ผมทำแบบนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับวาฬตัวเดิมและตัวอื่น ๆ มันน่าตื่นเต้นมากสำหรับผม" ปาโก จิเมเนซ ฟรังโกบอกกับเว็บไซต์ข่าวของสหรัฐฯ ซึ่งจากประสบการณ์ของปาโกที่ได้รับเลือกให้เป็น "ผู้ทำความสะอาด" ที่เชื่อถือได้สำหรับวาฬ การเผชิญหน้าแบบใกล้ชิดเหล่านี้ทำให้ปาโกรู้สึกซาบซึ้งในตัววาฬมากขึ้นเท่านั้น "ผมได้เรียนรู้จากการดูพฤติกรรมของพวกเขาว่ามีความสง่างามบางอย่างในตัวพวกเขา" แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีการห้ามจับหรือสัมผัสวาฬในหลาย ๆ แห่งทั่วโลก แต่ภายในพื้นที่ที่กำหนดตามแนวชายฝั่งของบาฮากาลิฟอร์เนียมีการกล่าวกันว่า ในกรณีเช่นนี้ได้รับอนุญาต เพราะตัววาฬเองเป็นผู้เริ่มปฏิสัมพันธ์ เหาวาฬหรือไซยามิดสัตว์สีซีดคล้ายปูที่คลานไปมาบนหัวของสัตว์ สามารถเป็นประโยชน์สำหรับวาฬ โดยกินสาหร่ายบนตัววาฬ แต่อาจเกิดการกินผิวหนังที่ลอกเป็นขุยและบริเวณที่มีบาดแผล อย่างไรก็ตาม มีการสันนิษฐานว่าเหาวาฬทำให้วาฬเกิดความระคายเคือง มาร์ค คาร์วาร์ดีน นักสัตววิทยาชาวอังกฤษผู้มีประสบการณ์มากมายในภูมิภาคนี้กล่าวว่า "ผมคิดว่าวาฬสีเทามีความสัมพันธ์แบบรัก ๆ เลิก ๆ กับเหาวาฬของพวกมัน พวกมันมีผิวหนังที่บอบบางมาก และสัตว์ตัวเล็ก ๆ หลายพันตัวเหล่านี้จับแน่นหรือเคลื่อนไหวไปมาด้วยกรงเล็บที่โค้งงอและแหลมคมสุด ๆ วาฬอาจเจ็บจริง ๆ เมื่อเหาวาฬจับนิ้วของคุณ มันให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเข็มหมุดเล็กๆ" แม้ว่าไม่สามารถยืนยันได้ว่า การเข้าใกล้มนุษย์เพื่อขอความช่วยเหลือก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ในวาฬหรือไม่ แต่มาร์คกล่าวว่า เขาไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งพฤติกรรมการกรูมมิ่งใหม่อาจพิจารณาได้ว่าเป็นการอยู่ร่วมกันแบบเดียวกัน เนื่องจากวาฬสีเทาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 80 ปี จึงเป็นไปได้ว่าสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงที่มีการล่าได้ปรับตัวให้ได้รับประโยชน์จากการมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7757622
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
หลักฐานจากดาวเทียมชี้ชัดการเกิด 'เอลนีโญ' หน้าหนาวเกิดสูงสุด 90% หลักฐานจากดามเทียมชี้ชัดปรากฏการณ์ 'เอลนีโญ' เก็บข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล ความสูงของน้ำทะเล ข้อมูลระบุช่วงหน้าหนาวเกิดสูงสุด 90% ส่วนปรากฎการณ์ Enso กระทบปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ อุณหภูมิสูงขึ้น ปรากฏการณ์เอลนีโญ ผลกระทบที่หลายหน่วยงานเริ่มจับตามอง และวิเคราะห์ความเสี่ยง และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบกับปริมาณน้ำฝน หรือ ความแปรปรวนของอุณหภูมิ เพื่อเตรียมแผนการรองรับในช่วงที่ "เอลนีโญ" เริ่มกระทบรุนแรง ซึ่งหากมีข้อมูลที่แม่นย้ำมากเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้สามารถคาดการณ์และวางแผนเตรียมรับมือได้มากเท่านั้น อีกทั้งการที่มีข้อมูลย้อนหลัง เพื่อให้ทราบว่า พื้นที่ทำการเกษตรบริเวณใดเคยเผชิญปัญหาภัยแล้ง จนเกิดความเสียหายต่อผลผลิตก็จะทำให้การวางแผนเพาะปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแล้งได้ด้วย ดร.ประเมศ แก้วมีศรี นักวิจัยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ (GISTDA) เปิดเผยข้อมูล การใช้ดาวเทียมตรวจจับเอลนีโญ ว่า สำหรับการตรวจวัด ปรากฎการณ์เอลนีโญจาก ดาวเทียมหลักๆ สามารถเก็บข้อมูลที่หลักฐานที่มีความเกี่ยวเนื่องกับการเกิด "เอลนีโญ" ในมหาสมุทร ซึ่งการเก็บข้อมูล ความสูงผิวน้ำทะเลที่สอดคล้องกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ช่วงที่เกิดปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" โดยเป็นการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบกันในระกว่าง ปี 1997 ปี 2015 และปี 2023 โดยข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-6 Michael Freilich มีการเก็บข้อมูลในช่วงระหว่างต้นเดือนมี.ค.-สิ้นเดือน เม.ย. 2023 โดยพบว่ามีการสะสมน้ำอุ่นในมหาสมุทรที่เพิ่มมากขึ้น และมีการยกตัวของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โดยสามารถตรวจจับคลื่นเคลวิน หรือการตรวจวัด ของอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสง ด้วยเครื่องวัดความสูงเรดาร์ซึ่งใช้สัญญาณไมโครเวฟ เพื่อวัดความสูงของพื้นผิวมหาสมุทร เมื่อเครื่องวัดความสูงผ่านพื้นที่ที่อุ่นกว่าที่อื่นข้อมูลจะแสดงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทั้งนี้ค่าที่วัดได้นั้นแสดงให้เห็นความสูงของผิวน้ำทะเลที่สอดคล้องกับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลช่ววงที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ในรอบที่ผ่านมา ส่วนการจะระบุว่า เป็นปรากฎการณ์ "เอลนีโญ" จะอยู่ในระดับในจะต้องวัดว่าอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นจากอุณหภูมิปกติมากกว่า 0.5 องศา ระยะเวลาติดต่อกันนานเกิน 5 ครั้งหรือไม่ รวมไปถึงการพิจารณา ปรากฎการณ์ Enso ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ด้วยว่าโลกกำลังเผชิญกับ "เอลนีโญ" ในระดับใด แล้ว ปรากฎการณ์ Enso เกี่ยวข้องกับการเกิด "เอลนีโญ" อย่างไร ดร.ประเมศ อธิบาย ว่า ปรากฎการณ์ Enso เป็นคำที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในแปซิฟิก จึงนับว่าเป็นปรากฎการณ์บ่งชี้การเกิดของเอลนีโญและลานีญา โดยในปี 2023 พบว่า มีการคาดการณ์ปรากฎการณ์ Enso ซึ่งพบว่าในช่วงฤดูหนาวระหว่างปี 2023-2024 มีโอกาสเกิดเอลนีโญสูงถึง 90% และเกือบทุกแบบจำลองระบุว่ามีโอกาสสูงมากที่จะเกิดเอลนีโญในช่วงฤดูหนาว https://www.komchadluek.net/quality-...ronment/553249
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
ไข่ขาว อาหารที่มีคุณสมบัติกรองไมโครพลาสติก ทดสอบแล้วในน้ำทะเล กรองได้ถึง 99% ไข่ขาว เป็นวัสดุใหม่ที่มีประโยชน์ในกรองไมโครพลาสติกในน้ำทะเลได้ หัวหน้าทีมวิจัยได้ไอเดียจากอาหารเช้า ที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ หลังสิ้นกระบวนโครงสร้างโปรตีน ไข่ขาวจะกลายเป็นแผ่นคาร์บอนบา งๆ ที่ใช้ในกรองไม่โครพลาสติกออกจากน้ำ วัสดุจากไข่ขาวแข็งและเบาที่สุดในโลกงานวิจัยหลายชิ้นเผยว่า มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในแหล่งอาหารและทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในท้องทะเลซึ่งไมโครพลาสติก กำลังเป็นปัญหามลพิษอยู่ในขณะนี้ และยังมีงานวิจัยเผยอีกว่ามนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่ายกายมากกว่า 2,000 ชิ้นต่อสัปดาห์ ไมโครพลาสติก มีขนาดเล็กมากซึ่งยากต่อการเก็บและยังย่อยสลายยากอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองไมโครพลาสติกจึงมีการแพร่กระจาย ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะสะสมในดิน แหล่งน้ำจืด และในมหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ หากรับประทานเข้าไปและไมโครพลาสติกสะสมในร่างกายมากๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Princeton สาขาวิศวกรรม ค้นพบวิธีเปลี่ยนอาหารที่เรากินทุกวัน อย่าง ไข่ขาว มีเป็นวัสดุใหม่ที่มีประโยชน์ในกรองไมโครพลาสติกในน้ำทะเลได้ถึง 99% โดย Craig Arnold หัวหน้าทีมวิจัยได้ไอเดียนี้มาจากอาหารเช้าซึ่งมีไข่เป็นส่วนประกอบ โดยทีมนักวิจัยได้ไข่ขาวมา Freeze Drying แล้วนำไปอบในที่ปลอดออกซิเจนที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนโครงสร้างโปรตีนในไข่ขาวจะกลายเป็นแผ่นคาร์บอนบางๆ ที่ใช้ในกรองไมโครพลาสติกออกจากน้ำ ซึ่งวัสดุจากไข่ขาวนี้เป็นวัสดุที่แข็งและเบาที่สุดในโลกหรือ Aerogel หลังจากการทำทดสอบวัสดุที่ทำจากไข่ขาวในการกรองไม่โครพลาสติกในน้ำทะเลพบว่า วัสดุนี้สามารถกรองไมโครพลาสติกได้ 99% กรองเกลือได้ 98% ที่สำคัญวัสดุนี้ยังราคาถูกมาก ซึ่งจะมีการนำวัสดุจากไข่ขาวไปต่อยอดในการพัฒนาเครื่องกรองน้ำทะเลที่มีต้นทุนถูกลง https://www.nationtv.tv/gogreen/378922812
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|