เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > คุยเฟื่องเรื่องดำน้ำ

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-08-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default มาทำความรู้จักกับ ...Decompression Sickness ( DCS )... อีกซักครั้ง

มาทำความรู้จักกับ ...Decompression Sickness ( DCS )... อีกซักครั้ง


สุขภาพกับการดำน้ำ โดยหมอเอ๋เมื่อ 2 สิงหาคม 2011 เวลา 22:33 น.

.................................................................................


Decompression Sickness ขอเรียกสั้นๆ ว่า DCS ก็แล้วกันนะครับ ... ส่วนคำว่าโรคน้ำหนีบ นั้นเข้าใจว่า จะเป็นคำที่ตั้งกันเองจากพวก ชาวเล หรือชาวบ้านที่มีอาชีพดำน้ำหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ...ส่วนราชบัณฑิต กำหนดคำแล้วรึยัง อันนี้ไม่แน่ใจครับ แต่มีคำที่ใช้เรียก DCS ในกฏกระทรวงแรงงานว่า " โรคเหตุลดความกด " .............. แต่ผมว่า ให้เกียรติเจ้าของภาษาดีกว่าครับ อย่าไปแปลมันเลย DCS ง่ายที่สุดครับ


เหตุปัจจัยที่นำไปสู่ DCS มันก็มาจาก ก๊าซที่เป็นส่วนผสมของอากาศที่เราหายใจเข้าไปนี่แหละครับ ...... ที่เป็นส่วนประกอบหลักๆ ก็ ไนโตรเจนและ ออกซิเจน ... DCS ที่เราจะคุยกันก็นี้ ก็มีเจ้าไนโตรเจนนี่่แหละครับที่เป็นตัวการ ส่วนออกซิเจนนั้นเป็นก๊าซที่เรานำไปใช้ประโยชน์ ในกิจกรรมเผาผลาญให้เกิดพลังงานและกิจกรรมของร่างกาย ซึ่งก็จะมีประเด็นเรื่องการเกิดพิษของออกซิเจนเหมือนกัน แต่จะเกิดกับนักดำน้ำที่ใช้ อากาศผสมพวก Nitrox หรือพวกที่ใช้ Trimix มากกว่า ถ้าเป็นนักดำ Sport diving ที่ใช้อากาศอัดธรรมดา มักไม่มีปัญหาครับ เอาไว้คุยกันในเรื่อง พิษจากออกซิเจนในครั้งหน้าจะดีกว่าครับ


จากพื้นฐานเรื่องกฏของก๊าซที่เราทราบกันดี ในตอนที่เรียน Open water ครับ กฏของเฮนรี่ ที่กล่าวว่า หากแรงดันบรรยากาศเพิ่มขึ้น ความสามารถของการละลายของก๊าซ ลงสู่ของเหลวนั้นจะมากขึ้น ......ด้วยกฏของก๊าซข้อนี้ จึงเป็นเหตุให้ ขณะที่ดำน้ำ ไนโตรเจนที่เราหายใจเข้าไป จึงละลายลงสู่กระแสเลือด และ แพร่เข้าสู่เนื้อเยื่อปลายทางได้มากขึ้นกว่าภาวะปกติ ที่เราอยู่บนบกหรือที่ผิวน้ำ ยิ่งความลึกเพิ่มมากขึ้น ความดันสูงขึ้น ยิ่งมีการละลายมากขึ้น เนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อยที่ร่างกายไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ใด ... มันจึงเพียงแค่ละลายเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย และ รอเวลาถูกปลดปล่อยคืนออกมาเมื่อมีการลดความกดบรรยากาศ ระยะเวลาของการปลดปล่อยไนโตรเจนออกจากเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ก็ไม่เท่ากันครับ เนื้อเยื่อไหนที่มีองค์ประกอบเป็นไขมันเยอะ ( ไนโตรเจนชอบละลายในไขมัน ) เช่น สมอง ไขสันหลัง หรือ ชั้นไขมันในที่ต่างๆของร่างกาย ก็จะมีไนโตรเจนสะสมมาก ใช้เวลานานกว่าจะปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาจนสู่นะดับปกติ นอกจากนี้ เนื้อเยื่อที่มีระบบไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงน้อย เช่น บริเวณเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือ เอ็นที่ยึดกระดูกกับกระดูก , ผังผืดและแคปซูลที่หุ้มตามข้อต่อต่างๆ เนื้อเยื่อเหล่านี้ ก็จะมีการปลดปล่อยไนโตรเจนออกได้ช้าเช่นกัน ( ทั้งสองกลุ่ม จะใช้เวลานานกว่าที่ไนโตรเจนจะละลายถึงจุดอิ่มตัว และ ใช้เวลานานกว่าจะปลดปล่อยไนโตรเจนออกมา เหมือนกัน ) ดังนั้น อาการของ DCS จึงมักแสดงอาการที่ อวัยวะต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ( ในส่วนของ DCS Type II นั้นอธิบายด้วยเหตุผลที่มากกว่านี้ จะยกไปอธิบายต่างหากในครั้งต่อไปครับ )



ที่นี้ DCS นั้นแบ่งเป็น 3 Type ครับ


DCS Type I ( limp and joint pain only ) หรือที่มีชื่อเรียกว่า เบนด์ ( Bend ) ที่นักดำน้ำชอบเรียกกัน อาการแสดงคืออาการปวดตามข้อ ตามกล้ามเนื้อครับ เช่นปวดข้อศอก หัวไหล่ ข้อมือ หัวเข่า ข้อเท้า ฯ เน้นว่า มีแค่อาการปวดอย่างเดียวเท่านั้นนะครับ ถ้าเมื่อไหร่มีอาการทางระบบประสาทเช่น มีอาการชา หรือ อาการอ่อนแรงร่วมด้วย จะปัดให้เป็น Type 2 หรือ เป็น Type I with neurological symptom ทันทีครับ


DCS Type II (cardiovascular and neurological involvement ) ชนิดนี้ถือว่าเป็นชนิดที่รุนแรงครับ อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Spinal cord DCS หรือ Spinal cord hit ก็ได้ครับ อาการจะเริ่มจาก มีอาการจุกแน่นหน้าอก นำมาก่อน อาจมีอาการไอ ร่วมด้วยเล็กน้อย จากนั้น จะเริ่มมีอาการทางระบบประสาท ( ไขสันหลัง ) เช่น รู้สึกว่าฝ่าเท้าเหมือนมีเข็มเล็กๆมาจิ้ม ต่อมาจะรู้สึกเหมือนฝ่าเท้าหนาขึ้น ชามากขึ้น อาจมีอาการปวดบริเวณรอบๆทวารหนัก , ปวดบริวณอัณฑะในเพศชาย หรือรอบๆปากช่องคลอดในเพศหญิง , ขาเริ่มอ่อนแรง ,ปัสสาวะไม่ออก ,ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ อาการทางระบบประสาทนี้ มักจะเกิดอาการตั้งแต่ระดับไขสันหลังตั้งแต่ ช่วงลิ้นปี่ไล่ลงไป (มีบางกรณีที่เกิดในระดับสูงกว่านั้น ) ... ถ้าอาการรุนแรงมาก ก็จะแสดงอาการชัดเจนจนเป็นอัมพาตของลำตัวช่วงล่าง อย่างที่กล่าวข้างต้น แต่ถ้าอาการน้อย อาจมีอาการของแค่การอ่อนแรง ของขาหรือ มีอาการชา .... ทั้งสองกรณีถือเป็น DCS Type II ทั้งสิ้นครับ


DCS Type III คือ DCS Type II + Cerebral arterial gas embolism เกิดร่วมกันครับ คือต้องมีอาการของการบาดเจ็บของเนื้อปอด มีถุงลมฉีกขาด มีฟองอากาศหลุดเข้าระบบไหลเวียนไปยังสมอง และมีอาการทางสมองร่วมด้วยเช่น ภาวะรู้สติลดลง มีอาการสับสน พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว หนังตาตก หรือ มีอาการชัก ... ซึ่ง ผมคิดว่าการแบ่งเป็น Type III นี้ ในระดับนักดำน้ำทั่วไป คงไม่ต้องจดจำเพื่อจำแนกครับ เอาแค่ 2 Type แรกก็พอครับผม

ฝากหลักการแยก โรค DCS กับ CAGE (Cerebral arterial gas embolism) ไว้นิดนึงครับว่า อาการอะไรที่เกิดขึ้นก่อนถึงผิวน้ำเล็กน้อย หรือ ทันทีที่ถึงผิวน้ำ ( หรือใช้เวลาแสดงอาการภายใน 5-10 นาที ที่ขึ้นจากน้ำ ) เช่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก(ถุงลมในปอดฉีกขาด) หมดสติ ( มีฟองอากาศหลุดเข้าหลอดเลือดฝอยที่ปอดไหลกลับไปหัวใจแล้วเดินทางต่อไปยังสมอง) ให้นึกถึง โรค CAGE ไว้ก่อนครับ


แต่ อาการใดๆก็ตามเช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่างๆ ที่เกิดหลักจากขึ้นจากน้ำเป็นเวลาหลัก ชั่วโมงขึ้นไปและไม่เกิน 36 ชั่วโมงหลังขึ้นจากน้ำ ให้นึกถึง DCS ครับ .....


การช่วยเหลือเบื้องต้น ( First Aid )


ในกรณีที่ มีการเจ็บป่วยจากการดำน้ำ ที่คาดว่าอาจจะเป็น Decompression sickness หรือ Cerebral Gas Embolism หรือ จากเหตุอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถระบุชัดได้นั้น หลักในการให้การดูแลรักษา ใช้วิธีเดียวกันดังนี้ครับ

First Aid

1 นำผู้ป่วย ขึ้นจากน้ำ โดยให้ปฏิบัติเหมือการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทั่วไป คือ ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยระลึกเสมอว่าอาจมีการบาดเจ็บกระดูกสันหลังป้องกันไม่ให้มีการบาดเจ็บของ กระดูกสันหลัง กระดูกคอ ไม่ให้บาดเจ็บมากขึ้น


2 จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบ เพื่อป้องกันกรณีที่อาจมีฟองก๊าซในกระแสเลือด การนอนราบจะป้องกันไม่ใ้ห้ฟองก๊าซเคลื่อนตัวไปที่สมอง เนื่องจากฟองก๊าซมักลอยขึ้นสู่ที่สูงตามกฏ Buoyancy ( การนอนศีรษะต่ำนั้นไม่แนะนำ เพราะจะทำให้แรงดันในสมองสูงขึ้น อาการผู้ป่วยจะแย่ลง )


3 ให้ oxygen 100 % แก่ผู้ป่วย ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงมือแพทย์ หรือ ถึงHyperbaric chamber unit


4 แก้ไขภาวะ Dehydration ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ให้ดื่มน้ำจนกว่าจะปัสสาวะออก แต่ถ้าไม่รู้สึกตัว ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือด กลุ่ม Isotonic ( เป็นหน้าที่ของแพทย์,พยาบาล )


5 เตรียมการเคลื่อยย้าย ส่งกลับผู้ป่วย ซึ่งมีหลายทางเช่น

- รถ หรือ เรือพยาบาล

- อากาศยาน เช่น เฮลิคอปเตอร์ ( ห้องโดยสารปรับความดันบรรยากาศไม่ได้ ดังนั้นต้อง บอกนักบินว่า ให้ใช้เพดานบิน ไม่เกิน 1000 ฟุต เพราะถ้าเกินนี้ ก๊าซจะขยายตัวมากขึ้น )

........................................................................

ขอบคุณคุณหมอเอ๋ ไว้ ณ. ที่นี้ค่ะ..
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-02-2024 เมื่อ 17:33
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:05


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger