เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-08-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default ทำความรู้จักชื่อ "พายุ"


ทำความรู้จักชื่อ "พายุ" ความหมาย ชาติไหน(ผู้)ตั้ง



เล่นเอาช่วงนี้หลายจังหวัดทางตอนเหนือ และอีสาน ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครอ่วมไปตามๆกัน เมื่ออิทธิพลของพายุนกเตน ที่ซัดเข้าถล่มหลายๆประเทศ เริ่มจากฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว รวมถึงไทย ให้ต้องช้ำระกำหนักกับฝนที่ตกไม่หยุด ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสร้างความเดือดร้อนอย่างมากถึงมากที่สุดให้กับบ้านเรือนประชาชน รวมถึงพื้นที่ทำการเกษตร สาธารณูปโภค และถนนหนทางได้รับความเสียหาย ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จวบเข้าต้นสิงหาคม

หลายคนคงสงสัย กับความแปลกของเจ้าพายุโซนร้อนที่ชื่อ นกเตน นี้ ว่ามันมีที่มาอย่างไร เกี่ยวอะไรกับนกหรือไม่ แล้วเกณฑ์ในการตั้งชื่อเอามาจากไหน ?? และทำไมพายุบางลูกถึงมีระดับรุนแรง ขณะที่บางลูกถึงแผ่วเบา ฯลฯ

ทุกอย่างล้วนมาที่มาเกี่ยวกันอย่างไร ?


เกณฑ์การตั้งชื่อพายุ

การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ตามหลักการ เดิมพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในแถบทะเลแคริบเบียนนั้นจะตั้งชื่อนักบุญเป็นภาษาสเปน แต่ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ก็มีนักพยากรณ์อากาศชาวออสเตรเลียชื่อ คลีเมนต์ แรกกี (Clement Wragge) เกิดความคิดในการตั้งชื่อพายุโดยใช้ชื่อคนทั่วไป โดยมี 2 แบบ แบบที่ 1 ใช้ชื่อสตรี ซึ่งเข้าใจว่าต้องการให้ฟังดูอ่อนโยน ส่วนแบบที่ 2 ใช้ชื่อนักการเมือง เพื่อเปรียบเปรยว่านักการเมืองคนนั้นนำความหายนะมาให้เช่นเดียวกับพายุหมุน

เมื่อถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดานักอุตุนิยมวิทยาในกองทัพอเมริกันซึ่งชอบใจวิธีตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนตามชื่อสตรี ด้วยความคิดถึงก็นำชื่อของคู่รักหรือภรรยาของตนมาใช้เป็นชื่อพายุ แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิสตรีในสหรัฐฯออกมาประท้วงว่าการตั้งชื่อพายุทำให้ภาพลักษณ์ของผู้หญิงโหดร้าย ภายหลังจึงมีการตั้งชื่อผู้ชายด้วย

จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ โดยแต่ละประเทศ (หรือดินแดน) ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนมาให้ประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งสิ้นได้ 140 ชื่อ กำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

สำหรับชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ เรียงตามชื่อประเทศของลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุในภาษาไทยที่ที่ประชุมของ "ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม" (Joint Typhoon Warning Center (JTWC) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบ และขนุน







(มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-08-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ทำความรู้จักชื่อ "พายุ" ความหมาย ชาติไหน(ผู้)ตั้ง .......... (ต่อ)












กฎน่ารู้

สำหรับชื่อพายุลูกใดที่มีความรุนแรงมากจนสร้างความเสียหายในบริเวณกว้างจะถูกยกเลิกไป และตั้งชื่อใหม่


ข้อตกลง พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบันคือ นกเตน ลูกต่อไปก็จะชื่อ หมุ่ยฟ้า, เมอร์บุก, ... ไล่ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จากนั้นนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 กลับมาใช้ซ้ำอีก


เมื่อ "นกเตน" ชื่อพายุจากประเทศลาว อ่อนกำลังลง เราคงต้องจับตา "หมุ่ยฟ้า" ซึ่งตั้งจาก "มาเก๊า" ที่เขาว่า อาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยให้เผชิญฝนตกอีก(แล้ว)ก็คงได้แต่ภาวนา ให้อิทธิพล ลมฟ้า ลมฝน เพลาๆ ความรุนแรง เพื่อให้พี่น้องชาวไทยในหลายๆจังหวัดไม่ต้องเดือดร้อน เคราะห์ซ้ำ กรรมซัด กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นๆ อย่างที่เป็นสักทีเถิด...




จาก ....................... มติชน วันที่ 3 สิงหาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 03-08-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



รู้ไว้ใช่ว่า....ใส่บ่าแบกหาม

ขอบคุณมากค่ะ...คุณสายน้ำ

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 05-08-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


พายุ "นกเต็น" ชื่อลาวแผลงฤทธิ์ไปแล้ว อีกไม่นานก็ถึงคิวพายุชื่อไทย "กุหลาบ"



จากสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก ประเทศไทยก็ไม่พ้นไปจากอากาศวิปริตในปีนี้เช่นกัน ปัญหาอุทกภัยจากฝนตกหนักในไทยมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนหรือตุลาคมแทบทุกปี แต่ปี พ.ศ.2554 นี้ฝนฟ้าได้จัดหนักกว่าทุกปีมาเร็วกว่าทุกปี ทำให้ภาคเหนือและภาคอีสาน รวมถึงภาคกลาง ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างไม่คาดคิดมาก่อน อย่างเช่นฤทธิ์เดชของพายุ ”นกเต็น” ที่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ดังที่ได้รับทราบจากข่าวคราวในเวลานี้ รวมทั้งได้สร้างความเสียหายให้แก่อีกหลายประเทศในเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ เกาหลี เป็นต้น

เมื่อพายุ “นกเต็น” ได้ผ่านพ้นไป ก็มีพายุอีกลูกที่ชื่อว่า “หมุ่ยฟ้า” ที่กำลังอาละวาดแผลงฤทธิ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกในชณะนี้ ซึ่งคาดกันว่าพายุลูกนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเหมือนอย่างพายุ “นกเต็น” แต่ประเทศไทยก็จะต้องเจอพายุในปี พ.ศ.2554 นี้อีกประมาณ 19-20 ลูกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมิใช่พายุทั้งหมดจะพัดถล่มประเทศไทย จากการคาดการณ์จะมีพายุเพียง 2-3 ลูกเท่านั้นที่จะส่งผลกระทบถึงประเทศไทยที่ยังไม่มีใครทราบล่วงหน้าได้ว่าจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหน

สำหรับพายุที่พัดเข้าประเทศไทยนั้น จะเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแหซิฟิก พายุไต้ฝุ่นนี้ไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปีก็ว่าได้ พายุใต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก

หลายๆคนอาจจะสงสัยชื่อพายุตามแถบภูมิภาคของโลกที่ต่างกันนั้น ที่เรียกว่าเฮอร์ริเคนบ้าง ไซโคลนบ้าง มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความจริงนั้นก็คือพายุหมุนเขตร้อนชนิดเดียวกัน แต่ที่มีชื่อเรียกต่างกันนั้นก็เป็นไปตามถิ่นที่เกิดของพายุเท่านั้น โดยมีชื่อเรียกกลางๆ คือ “พายุหมุนเขตร้อน” (Tropical cyclone)

ขอจำแนกถิ่นที่กำเนิดพายุหมุนเขตร้อนที่มีการเรียกชื่อต่างกันดังนี้
- ถ้าเกิดขึ้นในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกว่า เฮอร์ริแคน (Hurricane)
- ถ้าเกิดขึ้นในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน (Cyclone)
- ถ้าเกิดขึ้นแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี่-วิลลี่ (Willy-willy)
- ถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)
- แต่ถ้าเกิดขึ้นในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)

ใครที่ได้ติดตามชื่อของพายุมานานนม คงพอจะทราบว่าเมื่อก่อนนี้ชื่อของพายุนั้น มักจะเป็นชื่อฝรั่งเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งก็เป็นชื่อที่อ่านแล้วก็รู้ว่าเป็นชื่อของสตรี ซึ่งวัตถุประสงค์คงต้องการให้ฟังดูแล้วอ่อนโยน จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่างๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ได้มีการจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ โดยแต่ละประเทศ ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งหมด 140 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ ได้แก่ กัมพูชา จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

สำหรับชื่อพายุที่ประเทศต่างๆส่งชื่อมาให้นั้นจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ เรียงตามชื่อประเทศตามลำดับของตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

สำหรับประเทศไทยนั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเสนอชื่อพายุในภาษาไทย จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบ และขนุน

พายุ “นกเตน” (Nok-ten) ได้รับรู้กันแล้วจากทางสื่อต่างๆว่า เป็นชื่อพายุที่ประเทศลาวเป็นผู้ตั้งชื่อไว้เป็นชื่อพายุอยู่ในอันดับ 6 ซึ่ง “นกเตน” ก็คือ นกกระเต็นที่คนไทยเรียกกันนั่นเอง ส่วนพายุ “หมุ่ยฟ้า” (Muifa) เป็นชื่อพายุในอันดับ 7 ที่แผลงฤทธิ์อยู่ในเวลานี้ เป็นชื่อที่ทาง “มาเก๊า” เป็นผู้ตั้งชื่อมีความหมายว่า “ดอกบ๊วย” ส่วนชื่อพายุลูกถัดไปที่เป็นชื่ออันดับ 8 ถึงคิวชื่อของประเทศมาเลเซีย ตั้งชื่อไว้ว่า “เมอร์บุก” (Merbok) ซึ่งเป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง

ชื่อพายุที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้ใช้ชื่อว่า “กุหลาบ” อยู่ในอันดับที่ 11 คาดว่าอีกไม่นานเกินรอพายุ”กุหลาบ” คงจะได้ก่อตัวขึ้นมาในมหาสมุทรแปซิฟิก และประชาชนคนไทยจะต้องเฝ้าติดตามดูว่า “พายุกุหลาบ” ที่มีชื่อไทยจะพัดถล่มทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ หรือพัดถล่มเข้าประเทศอื่นแทน.




จาก ...................... เดลินิวส์ วันที่ 4 สิงหาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
เก่า 27-03-2017
moon1245
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายน้ำ.
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:30


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger