#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย ในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ส่วนยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซียและช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ อนึ่ง พายุโซนร้อน "นัลแก" บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ จะเคลื่อนเข้าขึ้นชายฝั่งมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนในวันนี้ (3 พ.ย. 65) และจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว พายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 3 ? 4 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 ? 2 องศาเซลเซียส สำหรับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 5 ? 8 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1 ? 3 องศาเซลเซียส และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ส่วนบริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตลอดช่วง อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "นัลแก" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในวันที่ 3 พ.ย. 65 และจะลดกำลังลงอย่างรวดเร็ว โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย คาดหมาย ในช่วงวันที่ 3 ? 4 พ.ย. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลง ส่วนในช่วงวันที่ 5 ? 8 พ.ย. 65 สำหรับประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ข้อควรระวัง อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ "นัลแก" ฉบับที่ 8 (309/2565) เมื่อเวลา 4.00 น. ของวันนี้ (3 พ.ย. 65) พายุโซนร้อน "นัลแก" บริเวณใกล้ชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 21.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.0 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในนี้ (วันที่ 3 พ.ย. 65) ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 3 ? 5 พ.ย. 65 ลักษณะเช่นนี้จะทำให้พายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
คนสมุยคัดค้านกำแพงกันคลื่น ชาวบ้านริมชายหาดและผู้ประกอบการท่องเที่ยวบนเกาะสมุยเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างหนัก กรณีกรมโยธาธิการและผังเมืองจะทำโครงการฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่หาดแม่น้ำและหาดบางมะขาม ซึ่งน่าจะเป็นโครงการนำร่องก่อนขยายไปยังหาดอื่นๆ โดยได้เปิดรับฟังความเห็น ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียไปเมื่อวันที่ 27 ก.ย. และ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าทีของกรมโยธาฯบ่งบอกชัดเจนว่าจะทำ กำแพงหรือเขื่อนคอนกรีต ซึ่งเป็นโครงสร้างแข็ง ถึงขนาดจ้างบริษัทเอกชนมาสำรวจออกแบบไว้แล้ว ชาวบ้านจึงส่งตัวแทนในนาม กลุ่มรักษ์หาดเกาะสมุยไปยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมโยธาฯเพื่อขอให้ยุติโครงการดังกล่าว สาเหตุที่ชาวบ้านคัดค้านการสร้างกำแพงกันคลื่นบนชายหาดเนื่องจากชายหาดเกาะสมุยมีลักษณะ เป็นอ่าวที่มีแหลมโอบล้อมอยู่ทั้ง 2 ด้าน และ มีคันแนวปะการังตลอดแนวชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นตามธรรมชาติอยู่แล้ว ต่างกับ ชายหาดที่ทอดยาวบนแผ่นดินใหญ่ ที่มีการกัดเซาะค่อนข้างมาก และการสร้างกำแพงกันคลื่นยังเป็นสาเหตุให้หาดทรายหาย เกิดการกัดเซาะพื้นที่ด้านข้างปลายเขื่อนไปเรื่อยๆ (ส่วนใหญ่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวจึงไม่มีใครออกมาเรียกร้องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) ด้วยสภาพภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ชาวบ้านบนเกาะสมุยจึงไม่ต้องการให้เอาฐานความคิดจากหาดทรายแผ่นดินใหญ่ไปใช้กับหาดทรายตามเกาะแก่ง และด้วยลักษณะทางภูมิอากาศของเกาะสมุย มีอิทธิพลของลมที่พัดเข้าหาเกาะตลอดทั้งปี มีทั้งหมด 8 ทิศ ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงใต้ (ลมตะเภา) ลมใต้ (ลมสลาตัน) ลมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมพัดยา) ลมตะวันตก ลมตะวันตกเฉียงเหนือ (ลมพัดหลวง) ลมเหนือ (ลมว่าว) และลมตะวันออกเฉียงเหนือ (ลมอุตรา) ลมทั้ง 8 ทิศจะช่วยชักนำคลื่นซัดทรายกลับมาเติมบนชายหาดอยู่แล้ว ชายหาดแม่น้ำบริเวณที่ถูกกัดเซาะมีความยาวเพียง 50 เมตร กระแสน้ำคลื่นลมจะฟื้นฟูชายหาดได้เหมือนเดิมในแต่ละรอบปี ไม่มีความจำเป็นต้องไปสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวชายฝั่ง 1.5 กิโลเมตร รวมถึงแนวชายหาดบางมะขาม 2.3 กิโลเมตร ยังมีวิธีอื่นที่รักษาธรรมชาติและประหยัดงบประมาณได้มากกว่า เช่น กำหนดแนวถอยร่น ปลูกต้นมะพร้าว ปักรั้วไม้ดักทราย เป็นต้น โครงสร้างเขื่อนบนชายหาดยังทำให้เกิด การเคลื่อนย้ายตะกอนทราย จนสูญเสียสภาพหาดทรายอย่างถาวร ซึ่งหาดทรายเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตที่ฝังตัวในทราย ทั้งปู หอย กุ้ง เป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหาร เช่น ลูกปลา ลูกปู ลูกกุ้ง เพรียง และเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด การสูญเสียชายหาดย่อมส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อชุมชนประมงชายฝั่ง ทั้งยังกระทบต่อการจัดงานประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิตชุมชนที่ใช้ประโยชน์บนหาดทรายด้วย เกาะสมุยเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลที่มีมูลค่าสูง สร้างรายได้มหาศาลให้กับชุมชนบนเกาะและประเทศไทยมานานหลายสิบปี โดยอาศัย ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ เป็นต้นทุนสำคัญ การทำเขื่อนโครงสร้างแข็งไม่ว่ารูปแบบใดจะเป็นการทำลายต้นทุนทางธรรมชาติ และรายได้จากการท่องเที่ยว กลุ่มรักษ์หาดเกาะสมุยยังได้ไปยื่นหนังสือถึง อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้ช่วย ทำความเห็นแย้ง ไปยังกรมโยธาฯ พร้อม เสนอแนวทางที่เหมาะสมและยั่งยืน ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูชายหาด ถ้าจะแก้ปัญหาอย่างครบวงจร ผมขอเสนอให้เชิญกรมเจ้าท่ามาร่วมพิจารณาด้วย จะได้จัดการเอาผิดเอกชนที่สร้างโรงเรือนรุกล้ำชายหาดทั้งหมดในคราวเดียว. https://www.thairath.co.th/news/loca...0yJnJ1bGU9Mg== ****************************************************************************************************** เรือวิทยาศาสตร์ใต้ทะเลจีนบรรลุเป้าหมาย หนึ่งในโครงการด้านวิทยาศาสตร์ของจีนที่เรียกว่าน่าจับตาไม่น้อยก็คือการสร้างสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์ในทะเลลึกซึ่งอาศัยการปฏิบัติงานของเรือสำรวจวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า "เอ็กซ์พลอเรชัน-2" (Exploration-2) หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ "ถั่นสั่ว-2" (Tansuo-2) เมื่อเร็วๆนี้ สื่อ CGTN ของจีนรายงานว่าเรือ "ถั่นสั่ว-2" ได้เสร็จสิ้นการทดสอบการติดตั้งสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์ในทะเลลึกและเดินทางกลับสู่เมืองชายฝั่งซานย่า ในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ภารกิจนี้ได้รับการอธิบายว่าออกแบบมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่นำไปใช้ใต้น้ำ ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใต้ท้องทะเลลึกของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน และเพื่อใช้กับเทคโนโลยีหลักของโครงการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญอื่นๆที่อยู่ในประเทศจีน และด้วยการร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมทะเลลึกแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีน กับสถาบันเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและกระบวนการชีวภาพชิงเต่า ก็ทำให้การทดสอบครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามเป้า นักวิจัยระบุว่า สถานีฐานมีความจุพลังงานขนาดใหญ่ อีกทั้งการทดลองทางทะเลยังตรวจสอบความสามารถในการนำทางใต้น้ำของสถานีฐานและประสิทธิภาพการเคลื่อนที่แบบอิสระ ซึ่งช่วยให้ติดตั้งสถานีฐานบนพื้นทะเลได้อย่างแม่นยำและดำเนินงานได้ในอีกหลายสถานี โดยสถานีฐานยังรองรับการเชื่อมต่อของแพลตฟอร์มอื่นๆได้ด้วยไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติการในแหล่งกำเนิดและจ่ายพลังงานให้กับแพลตฟอร์มนั้นๆได้. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2540761
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
อธิบดีกรมทะเลและชายฝั่งสั่งตรวจสอบแก้ไขปัญหาทุ่นดักขยะทะเล ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยด่วน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า จากกรณีที่สำนักข่าวอิศรามีการเผยแพร่ข่าวในประเด็นที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ดำเนินการตรวจสอบโครงการบริหารจัดการขยะทะเลบริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยพบปัญหาในขั้นตอนการดำเนินงาน และข้อบกพร่องการโอนครุภัณฑ์ทุ่นดักขยะ ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุ่นดักขยะบางส่วนไม่ได้ใช้ประโยชน์ สูญหาย บางแห่งมีชาวบ้านเข้ามาทำลาย ลักขโมย ทำให้เกิดความเสียหายนั้น เมื่อทราบเหตุดังกล่าว จึงมอบหมายให้สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) และสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 เร่งดำเนินการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการด่วน ทั้งนี้ จากการรายงานเบื้องต้นทราบว่า ที่ผ่านมากรมทะเลและชายฝั่งประสบความสำเร็จในการจัดวางทุ่นดักขยะทะเลในหลายพื้นที่ จึงทำให้จังหวัดสงขลาเล็งเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือให้ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (ศวทล.) เขียนโครงการเพื่อของบประมาณจังหวัดมาใช้ดำเนินการภายในจังหวัดสงขลา เพื่อลดปริมาณขยะที่จะไหลลงสู่ทะเล และได้ผลักดันให้เสนอโครงการบริหารจัดการขยะทะเลบริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยด้วย เพื่อให้ขยะทะเลมีปริมาณลดลงอย่างยั่งยืน โดยขอจากงบประมาณกลุ่มจังหวัดเพื่อดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัดของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ซึ่งก่อนเริ่มดำเนินโครงการนั้น เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ได้ลงสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ที่จะวางทุ่นดักขยะทะเล พร้อมทั้งเข้าพบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อขอความเห็นชอบในการดำเนินการ และได้ประสานงานเบื้องต้นแล้วว่าหากโครงการดังกล่าวมีการดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำมาตรการบริหารจัดการขยะทะเลแล้วเสร็จ จะมอบทุ่นดักขยะไว้ใช้งานในพื้นที่โดยจะส่งมอบตามระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป นายอรรถพล กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2563 ได้รับการอนุมัติงบประมาณจำนวน 21 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การจัดทำมาตรการบริหารจัดการขยะทะเลโดยการวางทุ่นดักขยะ กิจกรรมที่ 2 การดำน้ำเก็บขยะระบบนิเวศแนวปะการังในทะเล กิจกรรมที่ 3 การเก็บขยะชายหาด และกิจกรรมที่ 4 การจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ โดยงบประมาณที่ได้รับเป็นงบลงทุนเพียงอย่างเดียวตามกิจกรรมที่ 1 ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงิน 15,563,000 บาท แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 19 (Covid-19) ทำให้กิจกรรมที่ 2,3,4 ทางจังหวัดสงขลาขอยกเลิกและให้ส่งคืนเงินเพื่อไปช่วยเหลือสถานการณ์แพร่ระบาดในช่วงนั้น การจัดวางทุ่นดักขยะดังกล่าว มีการศึกษาวิจัยข้อมูลขยะ ชนิด จำนวน ประเภทขยะ และแหล่งที่มา ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้นำชี้แจงเพื่อจัดประชุมแสดงความคิดเห็นและจัดทำมาตรการบริหารจัดการขยะ ในพื้นที่ 5 จังหวัด ภายใต้โครงการ "จากปัญหาที่เกิดขึ้นตามข้อตรวจพบของ สตง.นั้น กรมทะเลและชายฝั่ง ได้สั่งการให้ ศวทล. และสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 ดำเนินการประสานงานกับ 5 จังหวัด เพื่อพิจารณาการนำทุ่นดักขยะดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ พร้อมเร่งประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมกับให้พี่น้องเครือข่ายชุมชนชายฝั่งช่วยกันสอดส่องดูแลทุ่นดักขยะ หากพบเห็นว่าอุปกรณ์มีการชำรุดหรือเสียหายให้แจ้งไปยัง ศวทล. เพื่อเข้าทำการซ่อมแซ่มให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมอีกครั้ง สำหรับปัญหาการจัดวางทุ่นดักขยะในบริเวณที่ไม่เหมาะสม กรมทะเลและชายฝั่งพร้อมจะส่งมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปจัดวางในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งต่อไป" นายอรรถพล กล่าวทิ้งท้าย https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_3652512
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
วายป่วง! เรือล่มกลางทะเล ส่งกำลังรุดช่วยเหลือ เร่งสอบสาเหตุการอัปปาง อลหม่านยามดึก เรือสินค้าล่มกลางทะเล ที่จ.ชุมพร รุดนำกำลังไปช่วยเหลือ เก็บตู้สินค้า สั่งสอบสวนหาสาเหตุการอัปปางโดยเร็วแล้ว วันที่ 3 พ.ย.2565 นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรรับแจ้งเหตุเรือสันทัดสมุทร 4 ซึ่งเป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์อัปปางลง ห่างจากหาดทรายรีสวี อ.สวี 4.84 ไมล์ทะเล มีลูกเรือจำนวน 11 คน ตู้คอนเทนเนอร์ 42 ตู้ เบื้องต้นทางจังหวัดได้ขอรับการสนับสนุนเรือจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรและหน่วยข้างเคียง เข้าช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ และให้เจ้าท่าภูมิภาคสาขาชุมพร ดำเนินการประกาศเขตเรือจม และแจ้งเรือในท้องที่ให้ระวังอันตราย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้รุดไปจุดเกิดเหตุพร้อมช่วยเหลือลูกเหลือและเก็บตู้สินค้าที่ลอยกลางทะเล พร้อมทั้งสั่งการให้สอบสวนหาสาเหตุเรือล่มครั้งนี้โดยละเอียดต่อไป https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7345969
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
กรม ทช. เผยแอปฯ แจ้งพิกัด แมงกะพรุนพิษ และคลื่นย้อนกลับ มรสุมฤดูฝน.. ผ่านไป ก็เข้าสู่ฤดูท่องเที่ยวอีกครั้ง และท้องทะเลไทย เป็นอีกหนึ่งพิกัด ที่เต็มไปด้วยความสวยงาม แต่ก็แฝงภัยร้ายไว้ด้วยเช่นกัน กรม ทช. เผยการเตรียมความพร้อม โมบายแอปพลิเคชัน แจ้งเตือนภัย แมงกะพรุนพิษ และคลื่นย้อนกลับ (Rip Currents) หวังเพิ่มความปลอดภัย ให้กับนักท่องเที่ยวทุกท่าน และ Backbone MCOT ได้มัดรวมข้อมูล และพิกัดมาบอกกัน เมื่อวานนี้ (1 พฤศจิกายน 2565) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) เป็นประธานการประชุม ซักซ้อมระบบแจ้งเตือนภัย แมงกะพรุนพิษ และ คลื่นย้อนกลับ Rip Currents ผ่านการแจ้งเตือนบนมือถือ ในรูปแบบ โมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งข่าวพื้นที่ และช่วงเวลาที่เสี่ยงอันตราย ให้แก่นักท่องเที่ยว และประชาชน โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลตำแหน่ง ผ่านแผนที่ออนไลน์ ที่แสดงตำแหน่งพบ แมงกะพรุนพิษ พร้อมตำแหน่งติดตั้งป้าย เสาน้ำส้มสายชู และจุดปฐมพยาบาล และพื้นที่เสี่ยง ต่อการเกิดคลื่นย้อนกลับ (Rip Currents) เพื่อให้ได้รับข่าวสาร ได้อย่างทันท่วงที ในการนี้ มีคณะผู้บริหาร จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานอธิบดี ชั้น 9 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้ Backbone MCOT มีข้อมูลเตือนภัย ที่ระบุพิกัด สถิติการบาดเจ็บรุนแรง (ผู้ป่วยหมดสติ) และเสียชีวิต จากแมงกะพรุนพิษ ซึ่งขอหยิบยก ข้อมูลเฉพาะ เดือน พ.ย. - ธ.ค. ของปีที่ผ่านมา (2564) ซึ่งเป็นช่วงเวลา 2 เดือน ที่กำลังมาถึงของปีนี้ (พ.ศ. 2565) จากเว็บไซต์ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหลังฤดูฝนผ่านไป เชื่อว่า หลายท่าน.. เริ่มวางแผน ทริปท่องเที่ยวทางทะเลกันแล้ว แต่ก่อนเดินทาง.. ขอแจ้งข้อมูล เตือนภัยเรื่องนี้ เพื่อให้การท่องเที่ยวของทุกท่าน ได้สนุกสนานเต็มที่ และเกิดความปลอดภัย ควบคู่ไปพร้อมกัน (ทั้งนี้ ในเดือนอื่น ๆ ก็พบ แมงกะพรุนพิษ ได้หลากหลาย จำนวนไม่น้อยเช่นกัน และขอให้พก.. น้ำส้มสายชู ติดกระเป๋าไปทะเลด้วย.. เมื่อเกิดเหตุ จะช่วยผ่อนหนัก ให้เป็นเบาได้) และข้อมูลแบบย่อ เฉพาะ พ.ย. - ธ.ค. เมื่อปี 2564 มีดังนี้ ชายฝั่ง อ่าวไทย พบที่จังหวัด ตราด, จันทบุรี, ระยอง, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, สมุทรปราการ, กรุงเทพมหานคร, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, สงขลา, ปัตตานี, นราธิวาส + จังหวัดชลบุรี พบที่ หาดบางแสน, หาดจอมเทียน + จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบที่ อ่าวหัวหิน, ปากน้ำปราณบุรี + จังหวัดระยอง พบที่ หาดสวนสน, เกาะมันใน, ปากน้ำประแส (เมื่อ ก.ค. 2563 ชาวประมงไทย เสียชีวิต จากแมงกะพรุนกล่อง บริเวณ แหลมสน ปากน้ำประแส) ชายฝั่ง ทะเลอันดามัน พบที่จังหวัด ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง และสตูล + จังหวัดภูเก็ต พบที่ แหลมยามู, อ่าวสะปำ/แหลมหงา, เกาะรังใหญ่, เกาะมะพร้าว, อ่าวน้ำบ่อ, หาดกะตะ/หาดกะรน, หาดป่าตอง, หาดในทอน + จังหวัดสตูล พบที่ เกาะเปาะออ, เกาะสาหร่าย, หาดทรายยาว, แหลมตันหยงโป, หาดราไว (ปี 2557 คนไทย บาดเจ็บรุนแรง บริเวณเกาะตะรุเตา, ต.ค. 2558 ชาวประมง เสียชีวิต ในทะเลรอยต่อมาเลเซีย) + จังหวัดกระบี่ พบที่ เกาะลันตา, หมู่เกาะห้อง (**เดือน เมษายน พบมากที่สุด หลายพื้นที่ และปี 2551-2560 มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บรุนแรง 7 คน) ข้อมูล : สถาบันวิจัย และพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน วันที่ 19 เมษายน 2565 อ่านข้อมูล (ฉบับเต็ม) ได้ที่หน้าเพจฯ สถานการณ์รายจังหวัด พ.ศ. 2564 https://km.dmcr.go.th/c_247/d_19471 สำหรับประเทศไทย แมงกะพรุนพิษ ที่นักท่องเที่ยว และชาวประมง ได้รับบาดเจ็บรุนแรง และถึงกับเสียชีวิตบ่อย ๆ มีสายพันธุ์อะไร ? เว็บไซต์ คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่ดูเข้าใจง่าย โดยระบุว่า สถิติอันตรายจาก แมงกะพรุนพิษ มีดังนี้ แมงกะพรุนพิษ กลุ่มที่มีพิษรุนแรง เป็นอันตรายต่อชีวิต และความปลอดภัย ในประเทศไทย มีอยู่ 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. แมงกะพรุนกล่อง หนวดหลายเส้น วงศ์ Chirodropidae 2. แมงกะพรุนกล่อง หนวดเส้นเดียว วงศ์ Carukiidae 3. แมงกะพรุนกล่อง หนวดหลายเส้น วงศ์ Chiropsalmidae 4. แมงกะพรุนหัวขวด วงศ์ Physaliidae 5. แมงกะพรุนไฟ วงศ์ Pelagiidae โดยใน แมงกะพรุนพิษ 5 กลุ่มนี้ กลุ่มที่คาดว่า เป็นอันตรายต่อชีวิตของ นักท่องเที่ยว และประชาชน และเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต คือ กลุ่มแมงกะพรุนกล่อง วงศ์ Chirodropidae ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใกล้เคียงกับ ชนิดที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตบ่อยครั้ง ในประเทศออสเตรเลีย จากสถิติของ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2543 ถึงปัจจุบัน พบว่า มีผู้เสียชีวิตจาก พิษแมงกะพรุน 10 ราย และบาดเจ็บรุนแรง ถึงขั้นหมดสติ 38 ราย โดยพบผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตส่วนใหญ่ ในพื้นที่เกาะสมุย - เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงเดือนกรกฎาคม ?พฤศจิกายน ตามด้วยในพื้นที่ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในช่วงเดือนมีนาคม ? มิถุนายน และในพื้นที่ เกาะหมาก - เกาะกูด ในช่วงเดือนธันวาคม ? มีนาคม ซึ่งตรงกับฤดูกาลแพร่กระจายของ แมงกะพรุนกล่อง วงศ์ Chirodropidae สำหรับข้อมูลเรื่อง พิษที่ร้ายกาจของ แมงกะพรุนกล่อง สร้างความเจ็บปวดรุนแรง ได้แค่ไหน ? Backbone MCOT มีข้อมูลเตือนเรื่องนี้ จากเพจเฟซบุ๊ก ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ระบุว่า น้องมีความรู้ดีมากครับ เมื่อโดนแมงกะพรุนกล่อง ต้องรีบราดน้ำส้มสายชู ให้นานเข้าไว้ (อย่างน้อย 30 วินาที แต่นานกว่านั้น ก็ได้นะ) จุดสำคัญ คือ ความเร็ว ยิ่งเร็วเท่าไหร่ ย่ิงดี (หากโดนเยอะมาก คนโดนส่วนใหญ่ อาจเสียชีวิตในช่วง 10 นาทีแรก) **ห้ามใช้น้ำจืด ล้างแผลเด็ดขาด** เพราะจะทำให้เข็มพิษ ทำงานมากขึ้น !!! สังเกตด้วยว่า มีเศษหนวดไหม ให้เขี่ยเศษหนวดออกไปให้หมด แล้วรีบไปหาหมอโดยด่วน (หากไม่เจอใคร ให้รีบร้องขอความช่วยเหลือ จากพี่ ๆ แถวนั้น ปัจจุบัน มีการอบรม อาสาสมัครริมชายหาด ในเรื่องนี้เยอะแล้วครับ) น้ำส้มสายชู มีฤทธิ์ไม่ให้เข็มพิษ ที่อาจติดมาทำงาน แต่ไม่ได้เป็นยาถอนพิษนะครับ จึงราดตั้งแต่ตอนโดนเพียงหนเดียว แมงกะพรุนกล่อง เป็นแมงกะพรุนพิษร้ายสุด อาจถึงเสียชีวิต (มีรายงานในไทย ถึงขั้นนั้นเกือบ 10 ราย) พบทั่วทะเลไทย ในอ่าวไทย พบได้ทุกแห่ง อย่าไปคิดว่า เจอเฉพาะภาคใต้ บางช่วงอาจมีเยอะ บางช่วงอาจน้อย แต่บอกไม่ได้ว่า ช่วงไหนจะมี หรือไม่มีเลย พยายามสังเกต ป้ายตามหาด หากมีเตือน เรื่องแมงกะพรุน ให้ระวัง ใส่เสื้อผ้าปกปิดหน่อย อาจช่วยได้บ้าง หากมีตาข่ายกั้นแมงกะพรุน ให้ไปเล่นน้ำในนั้น (มีบางหาด) สังเกตว่า มีขวดน้ำส้มสายชู ในกล่องปฐมพยาบาล หรือไม่ ? ตามโรงแรมริมหาด ควรติดตั้งน้ำส้มสายชู และป้ายแนะนำ วิธีการปฐมพยาบาลไว้ครับ ทั้งนี้ ภาพบาดแผลจาก พิษแมงกะพรุนกล่อง มาจากเพจ Kingdom Of Tigers โพสต์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ซึ่งระบุว่า ตี๋เต๊ก มาเยี่ยมหลังจากผ่านไป 10 วัน เลยอยากให้เรื่องของเต๊ก เป็นวิทยาทานนะคะ เต๊ก ไปเที่ยวทะเลมา พักรีสอร์ต 5 ดาว แถวจังหวัดตราด เล่นน้ำทะเล ห่างจากชายฝั่งแค่ 200 เมตร ความลึกระดับเอว เต๊กโดนแมงกะพรุนกล่อง ที่มีฤทธิ์ร้ายแรงมาก โชคดีที่เต๊ก มีสติ รีบวิ่งเข้าฝั่ง แล้วใช้น้ำส้มสายชูราดทันที ใน 2 นาที ทำให้สกัดพิษ ที่จะเข้าสู่เส้นเลือดได้ทัน ทำให้ไม่ถึงแก่ชีวิต และเต๊ก ก็ไปโรงพยาบาลทันทีใน 15 นาที คุณหมอฉีดยาเข้าเส้นให้ นอนดูอาการ 1 ชั่วโมง ไม่มีการแพ้ เลยเดินทางกลับกรุงเทพ เต๊ก บอกว่า วันแรก บวมเป็นเท้าช้าง และ ปวดแสบปวดร้อน เหมือนโดนเตารีดร้อน ๆ เลยค่ะ ทั้งนี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ให้ความรู้เรื่อง แมงกะพรุนหัวขวด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ปีที่ผ่านมา (2564) ขอนำข้อมูลมาแนะนำ แบบย่อ ๆ ซึ่งได้ระบุว่า ช่วงนี้ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แรงตลอด พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ทะเลอันดามัน นอกจากจะพาคลื่นลมมาตูมตาม อีกอย่างที่มาคือ "แมงกะพรุนหัวขวด" แมงกะพรุนหัวขวด (Physalia sp.) หรือ แมงกะพรุนไฟ หมวกโปรตุเกส (Portuguese man o' war) เป็นหนึ่งใน แมงกะพรุนพิษแรงครับ จะเป็นรองก็แค่ แมงกะพรุนกล่อง จุดเด่นของหัวขวด คือ มีอากาศอยู่บนหัว ทำให้ลอยตามน้ำตลอดเวลา ดำน้ำไม่ได้ จะลอยไปเรื่อย ๆ ใช้หนวดยาว พิษแรงจับเหยื่อ ช่วงนี้ (ก.ค.) มีรายงานพบเยอะเลย ตามหาดฝั่งตะวันตกของภูเก็ต ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก หัวใหญ่แค่นิ้วแม่โป้ง แต่หนวดยาวกว่าที่คิดเยอะเลย ลองดูภาพประกอบนะครับ อันตราย ไม่ใช่แค่ในทะเล เพราะบางที ลอยมาบนหาด ตัวตายแล้ว แต่หนวดยังมีพิษ คนเผลอไปเหยียบ ก็โดนพิษได้ หลักการง่าย ๆ คือ ใช้น้ำส้มสายชูราดอย่างน้อย 30 วินาที บางคนอาจเคยอ่านเจอว่า ใช้กับพวกนี้ไม่ได้ แต่นั่นเป็นข้อมูลเก่า ตอนนี้ กรมทะเล กับหน่วยงานการแพทย์ ตกลงเห็นตรงกันว่า ใช้ได้ และน้ำส้มสายชู ก็ใช้ได้กับ ทุกแมงกะพรุนเช่นกัน ราดครับ ราดเลย ยิ่งเร็วยิ่งดี จะช่วยหยุดการทำงานของเข็มพิษ จากนั้น หากอาการไม่ดี รู้สึกผิดปรกติ รีบหาแพทย์ด่วน (สามารถค้นหาข้อมูล เพิ่มเติมเรื่องนี้ ได้ในเพจเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ..มีลิงก์ไว้ ด้านล่างบทความ) นอกจากนี้ Backbone MCOT มีข้อมูลวิธีสังเกต และวิธีการเอาชีวิตรอดการจมน้ำ จากคลื่นย้อนกลับ (Rip Currents) หรือ คลื่นทะเลดูด ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แทบทุกหาด และข้อมูลดี ๆ เรื่องนี้ มาจาก กรมควบคุมโรค ได้เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ เพื่อเตือนนักท่องเที่ยว เมื่อ 20 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนนักท่องเที่ยว ช่วงมรสุมไม่ควรลงเล่นน้ำทะเล เนื่องจากมีคลื่นลมแรง และอาจถูกกระแสน้ำย้อนกลับ หรือคลื่นทะเลดูด คลื่นดอกเห็ด พร้อมแนะวิธีสังเกต และวิธีการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ (มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
กรม ทช. เผยแอปฯ แจ้งพิกัด แมงกะพรุนพิษ และคลื่นย้อนกลับ .............. ต่อ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ปลัด สธ.) กล่าวว่า ในช่วงเดือนมิถุนายน จนถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงมรสุม จึงส่งผลให้ระหว่างช่วงเดือนดังกล่าว มีฝนตกชุก ทะเลมีคลื่นลมแรง ไม่สามารถเล่นน้ำได้ ทางกรมควบคุมโรค จึงขอเตือนนักท่องเที่ยว ที่มาเล่นน้ำบริเวณชายหาด ให้ระวังคลื่นลมแรง และกระแสน้ำย้อนกลับ คลื่นทะเลดูด หรือคลื่นดอกเห็ด (Rip Current) ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้แทบทุกหาด กระแสน้ำย้อนกลับ หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า คลื่นทะเลดูด หรือ คลื่นดอกเห็ด (Rip Current) เป็นกระแสน้ำรุนแรง ที่เกิดขึ้นตามชายหาด เกิดจากการที่คลื่นทะเลซัดเข้าหาฝั่ง แล้วไหลออกสู่ทะเล แต่เจอสิ่งกีดขวาง เช่น โขดหิน หรือ สันทรายขวางอยู่ ทำให้น้ำทะเลไหลรวมกัน ผ่านช่องแคบ ๆ ระหว่างสิ่งกีดขวางเหล่านั้น กระแสน้ำ จึงพัดออกจากฝั่งด้วยความแรง ส่วนบริเวณที่เกิดคลื่นทะเลดูด หรือ คลื่นดอกเห็ดนั้น สามารถสังเกตได้จาก 1. สีของน้ำทะเล จะมีสีที่ขุ่นขาว กว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกระแสน้ำ ได้พัดเอาตะกอนใต้น้ำฟุ้งขึ้นมา 2. บริเวณชายหาด จะมีคลื่นแบบ ไม่ปะติดปะต่อกัน มีลักษณะเป็นร่อง แนวคลื่นขาดหาย 3. บริเวณปลายกระแสน้ำ มักเป็นรูปคล้ายดอกเห็ด สำหรับการป้องกัน และ วิธีการเอาชีวิตรอด คือ 1. ควรเล่นน้ำ ในบริเวณที่กำหนดไว้ 2. ห้ามลงเล่นน้ำ ในบริเวณที่มีธงแดง 3. หากตกเข้าไปอยู่ใน กระแสน้ำย้อนกลับ หรือ คลื่นทะเลดูด หรือ คลื่นดอกเห็ด ควรตั้งสติให้ดี ไม่ว่ายทวนกระแสน้ำ เพราะจะทำให้หมดแรง และจมน้ำได้ ควรว่ายน้ำขนานไปกับชายฝั่ง เมื่อพ้นจากแนว กระแสน้ำย้อนกลับแล้ว จึงว่ายกลับเข้าฝั่ง ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค โดย.. กองป้องกันการบาดเจ็บ ได้จัดทำสื่อเรื่องดังกล่าว ในรูปแบบเทคโนโลยีโลกเสมือน (Augmented Reality) หรือสื่อ AR ให้ผู้ใช้งานในระบบ Android สามารถเข้าไปติดตั้ง แอปพลิเคชัน ?ป้องกันจมน้ำ? ได้ที่ Play Store เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และวิธีการเอาชีวิตรอด จากการจมน้ำเพิ่มเติมได้ ข้อมูลจาก : กองป้องกันการบาดเจ็บ / สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค + "เตือนโผล่อีก แมงกะพรุนกล่อง พิษรุนแรง ทะเลเกาะกูด" เมื่อ 1 สิงหาคม 2564 + "แจ้งเตือนภัย ช่วงนี้มาชุก แมงกะพรุนพิษ เกาะพะงัน" เมื่อ 28 สิงหาคม 2564 + "แจ้งเตือนพบ แมงกะพรุนหัวขวด หาดสมิหลา และหาดชลาทัศน์" เมื่อ 6 มกราคม 2565 + "สำรวจประเมินสถานภาพแมงกะพรุน อ่าวไทยตอนล่าง" เมื่อ 21 มกราคม 2565 + "เสริมความปลอดภัยจาก แมงกะพรุนพิษ เขตทะเลเมืองจันทบุรี" เมื่อ 13 กันยายน 2564 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่ 1 (ระยอง) ซ่อมแซมและติดตั้ง จุดเสาน้ำส้มสายชู เพื่อเป็นจุดปฐมพยาบาล พิษแมงกะพรุน พื้นที่ชายหาดแหลมเสด็จ และชายหาดเจ้าหลาว ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี รวม 3 จุด https://www.mcot.net/view/FTUdyZOd
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|