เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 9 มิถุนายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันงดออกจากฝั่งในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 ? 14 มิ.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย อย่างต่อเนื่อง


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่งในระยะนี้









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เปิดตัวโครงการเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่ตายแล้ว ด้วยเทคโนโลยี



แนวปะการังมีความสำคัญคือสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลมากกว่า 25% เปรียบเสมือนอาคารที่พักของสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ โดยอาศัยอยู่ในแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้นใต้ดินจนถึงชั้นบนสุด ทว่าภาวะโลกร้อนมีส่วนทำให้แนวปะการังทั่วโลกลดลง เมื่อเร็วๆนี้ เดบอราห์ บรอสแนน นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เผยสิ่งน่าตื่นตระหนกเมื่อพบว่าแนวปะการังใกล้เกาะแซ็ง-บาร์เตเลมี ในทะเลแคริบเบียน ได้ตายลงและไม่มีสัตว์ทะเลหลงเหลือหลังจากเผชิญกับพายุเฮอริเคนเออร์มาในปี พ.ศ.2560

นักวิทยาศาสตร์พยายามหาหนทางแก้ปัญหา ซึ่งล่าสุดมีโครงการ "โอเชียน-ช็อต" (Ocean-Shot) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก จอห์น พอล เดอโจเรีย เจ้าพ่อผลิตภัณฑ์ด้านเส้นผมพอล มิทช์เชลล์ เปิดตัวเป็นโครงการที่จะฟื้นฟูแนวปะการังใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเลียนแบบการสร้างและเลียนแบบรูปทรงของแนวปะการังตามธรรมชาติ เพื่อให้โอกาสในการตั้งอาณานิคมของปะการังและสัตว์ทะเลอื่นๆ ซึ่งแนวปะการังที่สร้างขึ้นนี้จะช่วยปกป้องชุมชนชายฝั่งใกล้เคียงจากคลื่น พายุ และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

ทั้งนี้ โครงการโอเชียน-ช็อต กำลังเริ่มดำเนินการในพื้นที่ที่มีแนวปะการังที่ตายแล้ว นอกชายฝั่งของประเทศในแถบทะเลแคริบเบียน อย่างแอนติกาและบาร์บูดา และจะทำในแบบเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆ รวมถึงละตินอเมริกา ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จก็จะมีการขยายขอบเขตไปยังภูมิภาคอื่นๆต่อไป.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2110300

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


"SHEBA" เปิดตัว "Hope Reef" โครงการฟื้นฟูปะการังใหญ่สุดในโลก



"SHEBA" เปิดตัว "Hope Reef" โครงการฟื้นฟูปะการังใหญ่สุดในโลก
นายรัชกร เจนพัฒนพงศ์ ผู้จัดการทั่วไปประจำประเทศไทยและอินโดจีน มาร์สไทยแลนด์อิงค์ ผู้ดำเนินธุรกิจอาหารแมวและขนมแมวเกรดพรีเมี่ยมแบรนด์ SHEBA กล่าวว่า แนวปะการังนับว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศในมหาสมุทร เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลจำนวนมาก แต่ปัจจุบันแนวปะการังกำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากการแสวงหาผลประโยชน์ การทำประมงที่ไม่ถูกวิธี รวมไปถึงมลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ มารส์ อินคอร์ปอเรทเต็ดจึงได้ริเริ่มโครงการฟื้นฟูปะการัง Hope Reef ขึ้นในปี 2562 เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังขนาดใหญ่ซึ่งมีผลกับระบบนิเวศที่เกี่ยวเนื่องกัน โดยอาศัยความร่วมมือระดับโลก ทั้งจากรัฐบาล มหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน
ภายใต้โครงการ Hope Reef ได้ดำเนินการฟื้นฟูแนวปะการังบริเวณนอกชายฝั่งซูลาเวซี ประเทศอินโดนีเซีย บนแท่นแนวปะการังซาลิซี เบซาร์ ใกล้กับเกาะบอนโตซัว โดยใช้นวัตกรรม 'Reef Star' ซึ่งเป็นโครงสร้างเหล็กรูปดาวทำด้วยมือ ภายใต้ชื่อ Mars Assisted Reef Restoration System (MARRS) วัสดุของดาวแนวปะการังนั้นมาจากแหล่งในท้องถิ่นและทำด้วยมือของชุมชนท้องถิ่นบอนโตซัว โดย SHEBA?

นายรัชกรกล่าวว่า นอกจากนี้ แนวปะการังดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเป็นตัวสะกดคำว่า H-O-P-E ที่แปลว่า ความหวัง มีขนาด 45?15 เมตร เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้โลกได้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกสามารถเกิดขึ้นได้ภายในช่วงชีวิตของเรา และความหวังนั้นก็สามารถเติบโตได้ ซึ่งสามารถมองเห็นได้จาก Google Earth โดยบริษัทแม่อย่าง มาร์ส อินคอร์ปอเรทเต็ด ได้ตั้งเป้าหมายในการฟื้นฟูแนวปะการังตามจุดต่างๆ ทั่วโลกให้ได้มากกว่า 185,000 ตารางเมตร ซึ่งเท่ากับขนาดของสระว่ายน้ำโอลิมปิกประมาณ 148 สระ ภายในสิ้นปี 2572

"เรียกได้ว่า Hope Reef เป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศที่สำคัญ และเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังสำหรับอนาคตของมหาสมุทร โดยมารส์ หวังว่าโครงการ Hope Reef จะสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วน ได้เห็นความสำคัญของการดูแลระบบนิเวศ และร่วมกันกู้คืนที่อยู่อาศัยและความหลากหลายทางชีวภาพที่สูญเสียไป ซึ่งการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เป็นไปตามแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างความยั่งยืน ซึ่งมารส์ทราบดีว่าผู้บริโภคไม่เพียงคาดหวังอาหารคุณภาพสำหรับสัตว์เลี้ยงของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังต้องการแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย โดยนับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฟื้นฟูปะการัง Hope Reef จนถึงปัจจุบัน แนวปะการังรอบเกาะบอนโตซัว ได้เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 55% ความอุดมสมบูรณ์ของปลาเพิ่มขึ้น 300% อีกทั้งยังได้เห็นสัตว์น้ำสายพันธุ์ต่างๆ เช่น ฉลาม และเต่า กลับมายังพื้นที่นี้ด้วย" นายรัชกร กล่าว

ขอเชิญชวนผู้รักสัตว์เลี้ยงทุกคน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูแนวปะการัง และร่วมสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์เพียงชมและแชร์วิดีโอ #hopegrows: The Film That Grows Coral ผ่านช่อง Youtube ของ SHEBA? โดยทุกยอดการรับชมจะเปลี่ยนเป็นเงินทุนเพื่อการฟื้นฟูแนวปะการัง ผ่านทางองค์กร The Nature Conservancy เนื่องในวันมหาสมุทรโลก SHEBA? ได้เปิดตัวแอพ iOS ตัวแรกที่ชื่อ SHEBA Hope Grows ซึ่งจะพาทุกคนไปสัมผัสประสบการณ์ 3 มิติ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแนวปะการังได้จากทุกที่ทั่วโลก เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและฟื้นฟูแนวปะการังของคุณเอง ด้วยการติดตั้งนวัตกรรม Reef Stars เสมือนจริง หลังจากนั้น สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในบริเวณนั้นจากเศษหินที่แห้งแล้งไปสู่สภาพแวดล้อมทางทะเลที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์


https://www.matichon.co.th/economy/news_2766138


*********************************************************************************************************************************************************


คอลัมน์ แกะรอยต่างแดน : เดนมาร์ก เตรียมสร้างเกาะเทียม "ไลเนตโฮล์ม"



รัฐสภาเดนมาร์ก ได้อนุมัติให้มีการสร้างเกาะเทียม "ไลเนตโฮล์ม" ขึ้น ในกรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก เพื่อทำหน้าที่ในการปกป้องท่าเรือโคเปนเฮนเกน จากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก ที่ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น

โดยจะมีการสร้างถนนวงแหวน อุโมงค์และรถไฟฟ้า เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเกาะเทียม กับเกาะใหญ่ของเดนมาร์ก

ซึ่งเนื้อที่ของเกาะเทียมแห่งนี้ จะอยู่ที่ประมาณ 2.6 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของกรุงโคเปนเฮเกน และรองรับประชากรอยู่อาศัยได้ราว 35,000 คน

รัฐบาลเดนมาร์กระบุว่า โครงการสร้างเกาะเทียมนี้ จะเริ่มต้นการสร้างในช่วงสิ้นปีนี้

โดยจากข้อมูลของนักพัฒนาโครงการนี้ ได้มีการเปิดเผยว่า จะมีการสร้างระบบเขื่อนขึ้นรอบๆบริเวณเกาะแห่งใหม่นี้ เพื่อปกป้องท่าเรือจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งจากสตอร์มเซิร์จ

ซึ่งรัฐบาลเดนมาร์ก ยืนยันว่า โครงสร้างพื้นฐานต่างๆของเกาะเทียมแห่งนี้จะพร้อมภายในปี ค.ศ.2035 ส่วนเกาะจะสร้างเสร็จภายในปี 2070

แม้ว่าเป้าหมายในการสร้างเกาะดูจะเป็นไปด้วยความหวังดี หากแต่ก็มีเสียงจากผู้ไม่เห็นด้วยออกมาต่อต้านการสร้างกันอย่างมาก พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนโครงการนี้เสียใหม่

โดยกลุ่มต่อต้านที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างเกาะเทียมนี้ มีความเป็นห่วงกังวลว่า กรุงโคเปนเฮเกน อาจจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างออกไป ในช่วงที่มีการก่อสร้างเกาะเทียมแห่งนี้ และอาจจะมีผลกระทบต่อมหาสมุทรได้

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เองก็ออกมาแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับเกาะเทียมแห่งนี้ และมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้น ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ในช่วงที่มีการก่อสร้างเกาะเทียม จะต้องมีรถบรรทุกขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก แล่นผ่านกรุงโคเปนเฮเกน และทำให้ผู้คนในเมืองจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษในช่วงเวลาของการก่อสร้าง

แต่กระนั้นก็ตาม ตอนนี้ โครงการนี้ก็ได้รับการอนุมัติแล้ว ผลกระทบที่เกิดจะเป็นไปตามที่ห่วงกังวลหรือไม่ ก็ต้องไปลุ้นกันต่อไป


https://www.matichon.co.th/foreign/indepth/news_2765205

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 09-06-2021 เมื่อ 03:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 09-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


ช่วยโลมาพันธุ์หายากเกยตื้นหาดเขาปิหลาย จ.พังงา

พังงา 8 มิ.ย. ? โลมาฟราเซอร์ ซึ่งเป็นโลมาพันธุ์หายาก ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาดเขาปิหลาย จ.พังงา เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือ



นายสุริยะ สอนเสริม ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 10 (ตะกั่วป่า พังงา) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ลงพื้นที่หาดเขาปิหลาย หมู่ 12 ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา หลังได้รับแจ้งจากนายสุนัย ยะเด็น ผู้ใหญ่บ้าน ว่า ชาวบ้านพบโลมาขนาดใหญ่ 1 ตัว ถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นบริเวณชายหาด เจ้าหน้าที่จึงรีบให้การช่วยเหลือ พบว่าเป็นโลมาฟราเซอร์ เพศเมีย ขนาดโตเต็มวัย มีความยาว 2.2 เมตร ตามลำตัวไม่พบบาดแผล คาดว่าน่าจะหลงทิศ หรือป่วยจนถูกคลื่นลมแรงซัดขึ้นมาเกยตื้นดังกล่าว จึงส่งไปอนุบาลต่อที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จ.ภูเก็ต

โลมาฟราเซอร์ หรือปลาโลมาซาราวัก (Lagenodelphis hosei) เป็นสัตว์จำพวกวาฬในครอบครัว Delphinidae ที่พบในน่านน้ำลึกลงไปในมหาสมุทรแปซิฟิก และในระดับน้อยในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นโลมาพันธุ์ที่ไม่ค่อยได้พบเห็น เนื่องจากอาศัยอยู่ในน้ำลึก ซึ่งที่ผ่านมาพบขึ้นมาเกยตื้นเพียงไม่กี่ครั้ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535.




https://tna.mcot.net/region-713065


*********************************************************************************************************************************************************


รู้รักษ์มหาสมุทร เพื่อวิถีมนุษย์ที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ 8 มิ.ย. ? วันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี สหประชาชาติ กำหนดให้เป็น ?วันทะเลโลก? เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของทะเลต่อการดำรงชีวิต ในปีนี้รณรงค์เรื่องการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างยั่งยืน โดยมีบทพิสูจน์จากการที่กิจกรรมต่างๆ ทางทะเลลดลงมาก ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นผลให้ระบบนิเวศฟื้นตัว และพบเห็นสัตว์ทะเลหายาก ทั้งเต่า วาฬ และโลมา ได้บ่อยขึ้น.




https://tna.mcot.net/business-713081

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 09-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


ชีวิตที่แปรเปลี่ยน ชาวเลมอร์แกน

มีเสียงร่ำลือจากโพ้นทะเลว่า ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยเป็นเจ้าแห่งมหาสมุทร จากที่เคยอาศัยใช้ชีวิตอยู่บนผืนน้ำอันกว้างไกล วันนี้พวกเขาชาวเล มอร์แกน ได้อพยพขึ้นมาอยู่บนแผ่นดินพ้นน้ำ สังคมคนบนน้ำอย่างพวกเขาต้องเผชิญกับความแปรเปลี่ยนที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่รู้จบ...




https://www.mcot.net/view/ObNvCeMz

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:46


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger