#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งภาคตะวันออก ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมฝ่ายตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 9 ? 10 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทยตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมฝ่ายตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่ จ.ระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จ.พังงาลงไป และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 ? 14 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 11 ? 14 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ป.ป.ช.ชี้โพงพางทะเลสาบสงขลา ผิดกฎหมายจริง แนะรัฐควรเจรจาแก้ปัญหาแบบสันติวิธี ป.ป.ช.สงขลา เชิญกลุ่มชาวประมง ต.หัวเขา อ.สิงหนคร ประชุมปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย กรณี โพงพางในทะเลสาบสงขลา โดย ผอ.เผยผลการหารือ ชี้ ชาวบ้านเปิดใจยอมรับว่าผิดกฎหมายจริง แต่ภาครัฐควรเจรจาแก้ไขแบบสันติวิธี พร้อมหาแนวทางเยียวยาเพื่อหาอาชีพใหม่ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลา เชิญกลุ่มชาวประมง ต.หัวเขา อ.สิงหนคร ร่วมการประชุมปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกรณีการใช้เครื่องมือโพงพางทำการประมงดักจับสัตว์น้ำที่กีดขวางทางสัญจรในการเดินเรือทะเลสาบสงขลา ณ โรงแรมลีการเด้นท์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมี นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ประจำจังหวัดสงขลา เป็นประธานและได้ร่วมหารือพูดคุยร่วมกับกลุ่มชาวประมงต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น รวมถึงแลกเปลี่ยนมุมมองต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ทั้งในส่วนของการจับกุม และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรื้อถอนโพงพางในระยะร่องน้ำ ความยาว 5 กิโลเมตร ตามประกาศของสำนักงานเจ้าท่าจังหวัดสงขลา จนนำมาสู่ข้อขัดแย้งระหว่างรัฐและประชาชนในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าในปี 2558 จะได้มีการรื้อถอนโพงพางไปบางส่วน และมีการช่วยเหลือเยียวยาไปแล้วนั้น แต่ปัจจุบันยังคงปรากฏการทำประมงด้วยเครื่องมือโพงพางอยู่ นำไปสู่การตั้งคำถามว่า การบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการแก้ไขปัญหาร่วมกับกลุ่มประมงอย่างยั่งยืน อาจไม่ปรากฏชัดเป็นรูปธรรม ข้อเท็จจริงจากกลุ่มประมงตำบลหัวเขา ระบุว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมายจากภาครัฐแล้วนั้น การรับฟังปัญหาที่แท้จริงจากกลุ่มชาวประมงยังไม่เกิดขึ้น เพราะการประกอบอาชีพโพงพางนั่นคือวิถีวิตของกลุ่มชุมชนบริเวณหัวเขา หากในครั้งนี้มีการรื้อถอนก็จำเป็นที่จะต้องมีพูดคุยถึงการเยียวยาอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงการมอบเงินเยียวยา และที่ดินทำกินเพียงเท่านั้น กล่าวคือหากมีหน่วยงานภาครัฐที่สามารถหนุนเสริม ทั้งการมอบองค์ความรู้ สร้างอาชีพใหม่ และการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้กลุ่มชาวประมงสามารถเปลี่ยนแปลงการทำกินได้อย่างแท้จริง ไม่ได้เป็นเพียงการแก้ไขปัญหามิติเดียวเหมือนในอดีต อีกทั้งหากมีการแก้ไขกฎหมาย หรือกำหนดแนวเขตพื้นที่ประมงพิเศษ ตามที่เคยได้ยื่นข้อเสนอต่อจังหวัดไปแล้วนั้น หน่วยงานภาครัฐก็จะต้องการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพราะระยะเวลาที่ผ่านมามีการรื้อถอนออกและไม่ได้มีการจับกุมใดๆ จนกระทั่งปี 2567 ที่กลับมามีการประกาศการรื้อถอนอีกครั้ง จึงหวังเพียงว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ควรใช้วิธี "หักด้ามพร้าด้วยหัวเข่า" อย่างที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดสงขลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยจะรวบรวมนำข้อเสนอแนะจากการพูดคุยทั้งสามฝ่าย ประกอบด้วย กลุ่มประมงหัวเขา หน่วยงานราชการ และกลุ่มอนุรักษ์ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป ด้าน นายราม วสุธนภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ระจำจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ที่จริงในส่วนของกระบวนการเราต้องพูกถึงในเชิงสภาพปัจจุบันก่อนว่า ในเมื่อ โพงพางถูกกำหนดว่าเป็นเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ดังนั้นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่โดยตรงในการดูแลไม่ว่ากรมประมง หน่วยงานกรมเจ้าท่า ที่โพงพางเป็นสิ่งที่กีดขวางลำน้ำ เขาก็ต้องทำตามกฎหมายปัจจุบันที่มีอยู่ ถ้าไม่ทำก็เทียบเท่าการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ แต่หลังจากที่ทำแล้วต้องมีกระบวนการต่อไป คือ การเยียวยาอย่างไรให้กับชาวบ้านที่เขามีวิถีชีวิตแบบนี้ ในการประกอบอาชีพในอนาคต เพราะว่าชาวบ้านเองต้องดำรงชีวิตไป เพราะว่าโพงพางเป็นบริบทหนึ่งที่ชาวบ้านต้องใช้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ถ้าหากชาวบ้านไม่มีโพงพางแล้วในอนาคตชาวบ้านจะประกอบอาชีพอะไรในการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ผู้อำนวยการ ป.ป.ช.สงขลา กล่าวต่อว่า หลังจากที่ฟังเสียงชาวบ้านตนเข้าใจว่าพวกเขาเข้าใจและทราบปัญหา ชาวบ้านยินดีพร้อมที่จะถอยไปตามแนวร่องน้ำที่มีเครื่องมือโพงพาง แต่ชาวบ้านก็มีคำถามต่อว่า รัฐจะดูแลกระบวนการเยียวยาชาวบ้านต่อไปอย่างไร เพราะว่าชาวบ้านมองว่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่ดั้งเดิม ย้อนกลับไปตั้งแต่อดีตว่าโพงพางครั้งนึงไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันผิดกฎหมาย เพราะว่าโพงพางเป็นส่วนหนึ่งที่เขาใช้ประกอบอาชีพ เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ เขามีพื้นที่ใช้ประกอบอาชีพ แต่ชาวบ้านโซนในกลุ่มนี้ไม่มีพื้นที่ทำกินในการประกอบอาชีพจริงๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งเหตุผลที่ชาวบ้านพยายามยื้อไม่ให้มีการรื้อโพงพาง ถ้าหากไม่มีโพงพางชาวบ้านก็รับได้ แต่รัฐควรจะมีอะไรหรือมีกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ชาวบ้านจับต้องได้เป็นรูปธรรม "ปัญหาของชาวบ้านนั้น โพงพางมันเป็นสิ่งจำเป็นที่ประกอบอาชีพ ชาวบ้านรายหนึ่งบอกว่า ถึงแม้ตนจะโดนจับ ตนก็ยังจะกลับมาประกอบอาชีพโพงพางเหมือนเดิม โดยตรงนี้มันเป็นวิถีของชาวบ้านจริงๆ ดังนั้นควรหาทางออกมากกว่าการบังคับใช้กระบวนการตามกฎหมายอย่างเดียว เพราะว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาตามกฎหมายเป็นการแก้ปัญหากระบรวนการนึง ถ้าหากรัฐมีกรอบหรือแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีชาวบ้านก็รับได้นะ เช่น ชาวบ้านได้พูดถึงที่ดินทำกิน สมมติว่า 'ที่ดินสวนปาล์มที่รัฐมีให้ชาวบ้านไปสัมปทานได้ไหม ให้ชาวบ้านไปดูแลต่อและก็แบ่งกันระหว่างรัฐกับชาวบ้าน เขารับในส่วนอื่นด้วย ซึ่งตรงนี้มันอาจจะหลากหลาย บางส่วนอาจจะรับเป็นตัวเงินเพราะว่าตัวเงินบางคนที่บริหารจัดการเงินไม่เป็นมันอาจจะหมดได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามีอย่างอื่นที่มันมากกว่านั้น อย่างเช่นที่ดินมันอาจจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่า" นายราม กล่าว ผู้อำนวยการ ป.ป.ช.สงขลา กล่าวอีกว่า โพงพาง เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดรายได้ค่อนข้างที่จับต้องได้ จำนวนที่มันเห็นค่อนข้างที่จะเยอะ ดังนั้นถ้ารัฐคิดจะแก้ปัญหาควรพูดคุยในเชิงลึกรัฐต้องมองหา โมเดลที่เป็นไปได้และ มันเป็นไปได้แต่ละกลุ่มแต่ละประเภทของชาวบ้านซึ่งดูแล้วชาวบ้านค่อนข้างหลากหลายอยู่ เลยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภายในระยะเวลาอันสั้นยกตัวอย่างเช่นโมเดลทางภาคเหนือของกระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ในหลวง ร.9 ท่านทรงแก้ไขปัญหา ซึ่งมันเป็นปัญหาที่ตนมองว่ามันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยาก แต่ท่านทรงแก้ไขปัญหาได้ อันนี้ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านก็มองว่ารัฐให้ความสำคัญกับเขาจริงๆ มันก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ นายราม กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวมองว่าตอนนี้ชาวบ้านเปิดใจรับฟัง ไม่ใช่ว่าไม่ยอมรับฟังอะไรเลย ชาวบ้านยอมรับ ฉะนั้นตนเชื่อว่าทุกฝ่ายหน่วยงานภาครัฐ เข้มแข็ง ตั้งใจ ในเรื่องทำตามข้อกฎหมายที่กำหนด ชาวบ้านเองยินดีที่จะทำตามกฎหมาย อันไหนที่ผิดก็ถอยออกไป และเรื่องกระบวนการของรัฐที่จะมาดูแลในเรื่องของการเยียวยาชาวบ้าน ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาโพงพางแบบยั่งยืน ไม่ต้องมีผลกระทบของการรื้อถอน แล้วชาวบ้านต้องออกมาประท้วงต่างๆ ซึ่งมันจะมีผลกระทบต่อพื้นที่จังหวัดสงขลา. https://www.thairath.co.th/agricultu...policy/2806598
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ญี่ปุ่นแผ่นดินไหวแรง 7.1 แต่สึนามิลูกเล็ก เสียหายเล็กน้อย แผ่นดินไหวขนาด 7.1 สะเทือนภาคใต้ญี่ปุ่น แต่ไม่มีรายงานความเสียหายใหญ่ มีเพียงสึนามิค่อนข้างเล็กซัดชายฝั่ง สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานข้อมวลจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) เมื่อเวลา 16.42 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 14.42 น. ตามเวลาประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งคิวชูทางภาคใต้ของประเทศ ที่ความลึก 25 กิโลเมตร ตอนแรกยูเอสจีเอสรายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงสองครั้งระดับ 6.9 และ 7.1 แต่ต่อมาแจ้งว่ามีแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว สอดคล้องกับสำนักงานแผ่นดินไหววิทยาของญี่ปุ่น (เจเอ็มเอ) ที่รายงานว่ามีแผ่นดินไหวระดับ 7.1 เพียงครั้งเดียว ภาพข่าวจากสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคเผยให้เห็นไฟจราจรสั่นไหวรุนแรงในเมืองมิยาซากิ ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะคิวชู "ผิวน้ำทะเลเป็นระลอก ผมรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหยรุนแรงตอนเกิดแผ่นดินไหวซึ่งนานประมาณ 30 วินาที-1 นาที" ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวกับเอ็นเอชเค นายโยชิมาสะ ฮายาชิ โฆษกรัฐบาลเผยว่า ทางการได้รับแจ้งผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยหนึ่งคน และอีกสองคนบาดเจ็บโดยไม่ได้ระบุอาการ ไม่มีรายงานโครงสร้างพื้นฐานปั่นป่วนไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ประปา และการคมนาคม เจเอ็มเอรายงานว่า อาจเกิดสึนามิเล็กๆ ได้ใน จ.ชิบะ ซึี่งห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวออกไป 850 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม มีรายงานเกิดสึนามิในบางพื้นที่ขนาด 50, 20 และ 10 เซนติเมตรเท่านั้น เช่นที่ท่าเรือมิยาซากิ ซึ่งเกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวแล้วกว่าหนึ่งชั่วโมง https://www.bangkokbiznews.com/world/1139451
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|