|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#1
|
||||
|
||||
Sos Saveoursea - Save Our Losin ถิ่นฉลามวาฬ ..... โดย Wachara Au
สรุปผลการปฏิบัติการเก็บกู้อวนล้อม ณ เกาะโลซิน 16 มิ.ย. 64 ... สายเรียกเข้าจากพี่จ่อมเข้ามาตั้งแต่ 8 โมงเช้า "น้องอู สะดวกไปเก็บอวนโลซินไหม วันที่ 18-22 มิย. " ..... ได้ครับ" .....ตอบไปแบบไม่ทันคิด ไม่ว่าจะเรื่องวันลา และโควิด และยังไม่รุ้เรื่องว่าไปโลซินทำไม เพราะเพิ่งออกมาจากป่า โดยทาง SOS ส่งสมาชิกจำนวน 5 คน ประกอบด้วยผม ดร.พร ครูก้อย ครูใต้ และครูติ๊ก ซึ่งในบ่ายวันเดียวกัน ได้มีการเรียกประชุมออนไลน์ร่วมกับคณะทำงานเฉพาะกิจที่มีทั้งภาครัฐทั้งนักวิจัย ดร.หลายคน ทช ทร. และภาคีเครือข่ายนักดำน้ำ เข้าร่วมการประชุมเพื่อสรุปข้อมูลและภารกิจที่จะต้องไปทำในวันที่ 18 - 22 มิย. 17 มิ.ย. 64 ... ได้รับแจ้งจากครูติ๊ก ไม่สามารถเข้าร่วมปฏิบัติการได้แล้วเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโควิด เนื่องจากลูกน้องติดเชื้อ 18 มิ.ย. 64 .... เครื่องบินที่สนามบินหาดใหญ่ช่วงบ่าย โดยมาสมทบกับพี่อัญและ ดร.พร โดยทีมวิจัยสงขลามารับไป รพ. เพื่อทำการสวอบเชื้อกลุ่มที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อคัดกรองคนที่จะเข้าร่วมการปฏิบัติงานร่วมกันบนเรืออิสระตลอดเวลา 3 วัน โดยมีพิธีปล่อยขบวนเรือซึ่งประกอบด้วยเรือรบ 2 ลำ เรืออิสระ และเรือประมง 1 ลำ เมื่อพิธีการเสร็จ แยกย้ายขึ้นเรือตามรายชื่อ สิ่งที่คิดไว้ก็เกิดขึ้น เมื่อจำนวนคนขึ้นเรืออิสระมากกว่ารายชื่อที่ส่งมาตอนแรก บางคนเบื่องบนส่งมา บ้างก็ว่าต้องทำงานเป็นทีม เสียเวลาไปเป็น ชม. กว่าจะเคลียร์กันลงตัวเพื่อให้เรือออกเดินทางได้ ซึ่งในคืนนั้นก็ได้มีการบรีฟวิธี และแผนการทำงาน หน้าที่รับผิดชอบของแต่ละกลุ่ม โดยนักดำน้ำอาสาจำนวน 4 ทีม และมีทีมทหารเรือสนับสนุนอีก 12 นาย หมุนเวียนกันครั้งละ 6 นาย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 24-06-2021 เมื่อ 08:22 |
#2
|
||||
|
||||
19 มิ.ย. 64.... เรือถึงจุดหมายประมาณ 8 โมง โดยภารกิจแรกคือ การลงสำรวจพื้นที่เสียหายและพื้นที่โดยรอบโลซิน กลุ่ม SOS ทำงานร่วมกลุ่มกับทีมวิจัย ทช โดยเป็นกลุ่มที่ 1 และ 2 ซึ่งได้รับหน้าที่ในการสำรวจพื้นที่ปกคลุมของอวนตามภารกิจหลัก ส่วนกลุ่ม 3 สำรวจพื้นที่ด้านทิศเหนือไปตะวันออก และกลุ่มที่ 4 รับไปสำรวจกองลึก
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
จากการลงดำสำรวจพื้นที่อวนปกคลุมพบว่ามีระยะทางเกือบ 300 ม. และช่วงปกคลุมกว้างสุดเกือบ 50 ม. ถือว่างานใหญ่เอาเรือง จากนั้นได้มีการประชุมแบ่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยทำการแบ่งพื้นที่อวนตามระดับความลึกตลอดระยะทาง 300 ม. ออกเป็น 6 พื้นที่ โดยกลุ่ม 1 SOS และ กลุ่มที่ 2 (นักวิจัย) รับผิดชอบ 2 พื้นที่ระดับความลึก 18-14 ม. กลุ่ม 3 รับผิดขอบ 2 พื้นที่ ระดับ 18-22 และ 10-14 ม. ส่วนกลุ่ม 4 รับ 2 พื้นที่ ระดับ 26-22 และ 8-10 ม.
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
จากนั้นก็เริ่มปฏิบัติงานกัน ซึ่งในวันแรกสามารถเก็บกู้อวนได้เพียง 1 ไดฟ ได้งานประมาณ 30% เนื่องจากการประสานงาน จำนวนไดฟเวอร์เพิ่มมา (จากไหนไม่รู้) ทำให้เวลาเลทมากจนเย็นมากไม่สามารถทำงานต่อได้ และในระหว่างไดฟเจ้าจุดน้อยขนาดประมาณ 3.5 ม. ก็มาเวียนว่ายอยู่บนหัวพวกเรา (ผมไม่มีหลักฐานใต้น้ำเพราะกล้องไม่ได้เอาลงและเมามันกับการกู้อวน) ซึ่งในเย็นวันเดียวกันน้องก็กลับมาหา วนเล่นอยู่ร่วมๆ 20 นาที เป็นของขวัญให้กับทุกท่านทีอาสามารักษาท้องทะเล ทำให้โลซินยังคงสมกับฉายา "ถิ่นฉลามวาฬ"
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
20 มิ.ย. 64 .... การปฏิบัติการวันนี้ เริ่มแต่เช้า โดยที่ยังคงเป็นการทำงานในพื้นที่ตัวเอง แต่เนื่องจากกลุ่ม 1 และ 2 เคลียร์อวนในพื้นที่ขอตัวเองได้เรียบร้อยในไดฟ์แรก จึงได้ให้ทีมนักวิจัย เริ่มทำการเก็บข้อมูลเพราะปริมาณงานในส่วนของทีมที่ 3 นั้นเหลือไม่มาก ในไดฟที่ 2 ทีม SOS จึงเข้าไปร่วมเก็บกู้อวนที่เหลือในพื้นที่ของกลุ่มที่ 3 และ 4 ตั้งแต่ระดับความลึก 8-22 ม. จนหมดเกลี้ยง โดยอวนขนาดยักษ์ที่ถูกรวบรวมไม่มีการแบ่งชิ้นที่ความลึก 8-10 ม. จึงต้องนำออกมานอกแนวโดยใช้ลิฟท์แบคขนาด 200 กก. แต่ปรากฏว่าสายที่พันเอาไว้มันดันไปดึงเอาสายปล่อยอากาศมาด้วย มันทำให้แรงยกลดลงเรื่อยๆ ในระหว่างการนำออกมาจากนอกแนวพื้นที่ปะการังสุดท้ายไม่สามารถรั้งเอาไว้ได้ แม้จะใช้เชือกเรือยางผูกไว้ มันจึงกลับลงไปนอนที่พื้นที่ระดับความลึกมากกว่าเดิมที่ 22 ม. ประกอบกับอวนชุดล่างในพื้นที่ความลึก 22-26 ม. ไม่มีความคืบหน้าของงาน มีเพียงการยิงลิฟแบคกอปแก๊ป ทิ้งไว้เพียงเท่านั้น
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#8
|
||||
|
||||
ภาระกิจในไดฟที่ 3 จึงมี 3 อย่าง 1. งานกู้อวนก้อนที่ความลึก 22 ม. จุดนี้ผมรับอาสาไปปฏิบัติงานร่วมกับทหาร จากการที่บรีฟกันอย่างดีจะมี จนท. 3 นาย สุดท้ายกลายเป็นฉายเดี่ยว พี่ทหารท่านเดียวที่มีอยู่กับผมได้ประมาณสิบกว่านาที ปาดคอขอขึ้นซะแล้ว...สุดท้ายลิฟท์แบค 100 กก. ไม่ขยับเลย ต้องรับสภาพถอนตัวโดยทำหมายให้ทหารรับภาระกิจนี้ไปดำเนินการเก็บกู้ต่อด้วยการใช้ลิฟท์แบคขนาด 200 กก. ไปยกแลใช้เรือยางลากออกไปทิ้งให้เป็นบ้านปลานอกแนวปะการัง เนื่องจากมีเศษปะการังตายในนั้นทำให้มีน้ำหนักมาก ที่ระดับความลึก 42 ม. (เห็นว่าเรือยางเกือบล่มเพราะลิฟท์แบคดันแตก) 2. งานเก็บอวนแปลงสุดท้ายที่ความลึก 22-26 ม. โดยให้สมาชิกกลุ่ม 1-3-4 ไปรุมเก็บกู้ และเป็นไปตามคาด 20 นาที อวนฝืนสุดท้ายก็ถูกนำขึ้นมาจากแนวปะการังเป็นที่เรียบร้อย 3. งานฟื้นฟูคืนสภาพปะการังที่หัก?กลุ่มนักวิจัยแยกไปทำการยึดเศษปะการังเข้ากับแนวปะการังเดิมให้มากที่สุดจำนวเท่าไหร่คงต้องติดตามจากผลการดำเนินการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#9
|
||||
|
||||
สุดท้าย?ภารกิจเก็บกู้อวน ประมาณ 800 กก. ณ เกาะโลซิน ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ถึงแม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมีประมาณ 10% (จากข้อสังเกตส่วนตัว) ซึ่งถ้าหากการเก็บกู้อวนเกิดขึ้นช้ากว่านี้ประมาณ 1-4 อาทิตย์ งานนี้จะเพิ่มความยากอีกเท่าตัวทันที เพราะจากการเก็บกู้ พบว่าอวนถูกปะการังเคลือบแล้วประมาณ 1-3 ซม. ซึ่งคาดว่าอวนฝืนนี้น่าจะปกคลุมปะการังมาแล้วร่วมๆ 45 วัน ซึ่งมีสมมติฐานและหลักฐานที่ค่อนข้างสอดคล้องกัน ทั้งนี้ข้อมูลที่ทราบจากหน้างาน น่าจะเป็นเรือประมงท้องถิ่นขนาดกลางจากนราธิวาส มาล้อมหาปลาโฉมงามโดยเฉพาะ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#10
|
||||
|
||||
ขอขอบคุณ Save Our Sea สำหรับโอกาสและประสบการณ์งานด้านการอนุรักษ์ ทั้งพี่น้อย Nangnoy Yossundara และพี่จ่อม Jom Yossundara ฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่๒ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง PTTEP Issara Liveaboard ที่ให้โอกาสได้มาเป็นส่วนเล็กๆที่ทำให้ธรรมชาติกลับมาคงความงามดังเดิมและเล็งเห็นความสำคัญของวิกฤตของโลซินในครั้งนี้ จากบทเรียนจากวิกฤตในครั้งนี้ น่าจะเป็นตัวอย่างการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วน ด้วยความรวดเร็ว จะสามารถลดความรุนแรง ความเสียหายของทรัพยากรได้เป็นอย่างดี รวมถึงการที่มีนักท่องเที่ยวช่วยสอดส่องดูแลทรัพยากรจะเป็นหนทางที่ช่วยให้ทรัพยากรเรายังคงปลอดภัยจากภัยคุกคามได้ ลำพังกำลัง จนท. ภาครัฐ คงไม่เพียงพอที่จะดูแลทรัพยากรทั้งหมด ซึ่งงานนี้ถ้าสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษเพื่อเป็นแบบอย่างของการกระทำความผิดได้ด้วยแล้ว น่าจะช่วยลดจำนวนผู้ที่คิดจะกระทำผิดลงได้บ้างไม่มากก็น้อย สุดท้าย ข้อสั่งการของท่าน รมต. ขอให้อาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นระดับ Dive master / Instructor นั้น ไม่ได้แปรผันตรงกับความปลอดภัย ความสามารถ และประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตสำนึกในการอนุรักษ์อย่างแท้จริง เสียดายโอกาสแทนสมาชิก SOS หลายคน ที่อยากจะมาช่วยใจจะขาด รวมถึงกลุ่มดำน้ำสมิหลาหรือจิตอาสาอีกหลายๆ ท่าน ที่ถูกตัดสิทธิ์เพียงเพราะติดเงื่อนไขคำว่า ครูและDM เพราะจากประสบการณ์ที่ผมพบเจอมา คนถือบัตร ADV. Open water Diver บางคนมีประสบการณ์ ทักษะ และจิตสาธารณะของการอนุรักษ์ มากกว่าบางคนที่เรียกตัวเองว่า ครู หรือ DM เสียอีก โอกาสที่จะได้ไปปฏิบัติภารกิจแบบนี้ไม่ได้มีหยิบยื่นให้กับทุกคน อย่าเสียใจไปครับ เพราะทุกคนสามารถหยิบยื่นโอกาสการอนุรักษ์ให้กับตัวเองได้ หากพบขยะ อวน หรือการกระทำผิดกฏหมาย ก็สามารถช่วยเหลือทรัพยากรได้ด้วยการบอกกล่าว ประกาศ หรือลงมือตัด เก็บด้วยตัวท่านเองก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง เพียเท่านี้คุณก็มีโอกาสช่วยรักษาทรัพยากรเอาไว้ได้แล้ว แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าเค้าทำกันยังไง ลองมาร่วมกิจกรรมกับ @saveoursea ดูสักครั้งครับ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|