#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดน้อยลงในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรใช้ความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 ? 19 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดน้อยลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 24 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 ? 24 มิ.ย. 64 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ทึ่ง! นักวิจัย มช. พบ "พะยูนไทย" ในอันดามันมีพันธุกรรมไม่เหมือนที่ใดในโลก นักวิจัย มช. สร้างความตื่นเต้นไปทั่วโลก หลังค้นพบลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมของพะยูนไทยในฝั่งอันดามันที่ไม่เหมือนอื่นใดในโลก ถือเป็นความสำเร็จของงานวิจัย ที่นำไปต่อยอดสู่การอนุรักษ์ประชากรพะยูนที่เข้มข้นยิ่งขึ้น พะยูนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในทะเล ปัจจุบันประชากรได้ลดลงไปอย่างมาก โดยในประเทศไทยพบประมาณ 200 ตัวเท่านั้น อาศัยมากแถบทะเลจังหวัดตรัง จากที่มีจำนวนลดลงอย่างมากจนใกล้สูญพันธุ์จึงถูกคุ้มครองด้วยกฎหมายจำนวนมาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน กรมทรัพยากรชายทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประสบความสำเร็จในการศึกษาเรื่อง "ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพะยูนในประเทศไทยและทั่วโลก" ซึ่งผลจากการศึกษาสร้างความตื่นเต้นให้นักวิชาการทั้งในและต่างประเทศมาก เนื่องจากพบว่ามีพะยูนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยในทะเลอันดามันของประเทศไทยมีลักษณะประชากรที่จำเพาะไม่เหมือนพะยูนที่อื่นในโลกนี้ โดยผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Scientific Reports ฉบับล่าสุดเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 อย่างไรก็ดีปัญหาสำคัญของการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนพะยูนคือยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ รวมถึงยากที่จะเลี้ยงให้รอดชีวิตในพื้นที่จำกัดที่ไม่ใช่ทะเล ตามที่เคยเป็นข่าวดังก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็น ?มาเรียม? หรือ ?ยามีล? ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายสำหรับทีมนักวิจัยในการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาแนวทางในการจัดการอนุรักษ์ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์ หัวหน้าคณะผู้วิจัยได้ให้ข้อมูลว่า ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ตัวอย่างจากเนื้อเยื่อพะยูนจำนวน 118 ตัว ที่เก็บมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ถึง 2562 แบ่งเป็นพะยูนจากทะเลอันดามันจำนวน 110 ตัว และทะเลอ่าวไทย 8 ตัว พบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรมของพะยูนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาลดลงกว่าในอดีต ในประเทศไทยพบความแตกต่างของรูปแบบพันธุกรรมจำนวน 11 รูปแบบ โดยพบในทะเลอันดามัน 9 รูปแบบ พบในทะเลอ่าวไทย 2 รูปแบบ แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมกับพะยูนที่อาศัยจากส่วนอื่นในโลกพบว่า ในประเทศไทยมีประชากรพะยูน 2 กลุ่ม คือ -กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีความจำเพาะไม่เหมือนประชากรที่ใดในโลก พบบริเวณทะเลอันดามัน -ส่วนอีกกลุ่มเป็นประชากรที่เหมือนพะยูนอาศัยในบริเวณทะเลจีนใต้แถบประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย โดยจากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงลำดับพันธุกรรมพบว่าประชากรกลุ่มที่มีความจำเพาะของประเทศไทยนี้เป็นประชากรที่แยกมาจากอีกกลุ่มหนึ่งเมื่อประมาณ 1.2 ล้านปีที่แล้ว "นอกจากนั้น ตอนนี้เรากำลังศึกษาเพิ่มเติมว่าในจำนวนประชากรพะยูนกลุ่มนี้ที่จะแบ่งได้เป็นกี่ครอบครัว ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญอีกอันที่จะช่วยประเมินสถานการณ์ของพะยูนในประเทศไทย เนื่องจากก่อนหน้านี้เราทราบเพียงจำนวนพะยูนที่พบจากการสำรวจและจำนวนที่ตาย แต่เราไม่มีข้อมูลเลยว่าในประชากรพะยูนเหล่านี้จะมีด้วยกันกี่ครอบครัว" นายสัตวแพทย์ ดร.กรกฎ กล่าว ด้าน ดร. ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ?ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเรามีคำถามตลอดว่า พันธุกรรมของพะยูนที่อยู่ในน่านน้ำของประเทศไทยเหมือนกับพะยูนที่อาศัยอยู่ในบริเวณอื่น ๆ ของโลกหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากศึกษาครั้งนี้น่าตื่นเต้นมาก เนื่องจากทำให้เราทราบว่าประเทศไทยเรามีประชากรพะยูนที่มีพันธุกรรมไม่เหมือนที่อื่น ซึ่งเราต้องอนุรักษ์ประชากรพะยูนเหล่านี้ไว้ให้ได้ "ดังนั้นต่อไปนี้เราต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ประชากรพะยูนที่เด็ดขาด เราไม่ควรต้องสูญเสียพะยูนไปอีกแล้ว โดยเฉพาะสาเหตุที่มาจากมนุษย์เอง สำหรับคำถามที่เรารอคำตอบคือพะยูนที่อาศัยในน่านน้ำของประเทศไทยนั้นประกอบไปด้วยกี่ครอบครัว และเป็นสิ่งที่ทางเราต้องการทราบมาโดยตลอด" สำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของพะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์และมีจำนวนประชากรไม่มากแล้ว โดยผลการวิจัยการค้นพบลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมของพะยูนในไทยในครั้งนี้ จะสามารถใช้เป็นแนวทางการจัดการ สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การอนุรักษ์พะยูน และสร้างสมดุลทางทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลได้อย่างยั่งยืน https://mgronline.com/travel/detail/9640000058965
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
'ดร.ธรณ์' เผยภาพฉลามเกลื่อนตลาด เร่งดันเข้าสัตว์คุ้มครอง-ปรับขนาดจับได้ 18 มิ.ย.64 - ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่ภาพฉลามในตลาดปลาจังหวัดภูเก็ต พร้อมระบุว่า เพื่อนธรณ์ระดมส่งภาพนี้มาให้ผมจากทั่วสารทิศ คงต้องบอกว่าจะพยายามเท่าที่ทำได้ หากมันง่ายคงสำเร็จไปนานแล้ว แต่เชื่อเสมอว่ากระแสรักโลกจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นครับ ตอนนี้คณะสัตว์หายากที่ปรกติตามระเบียบประชุมทุก 3 เดือน กลายเป็นเดือนละ 2 หนแล้วครับพี่น้อง (ไม่ต้องถามถึงเบี้ยนะครับ ไม่มี มาด้วยใจล้วนๆ) สัปดาห์หน้าจะนำเรื่องฉลามเข้าอีกครั้ง ทั้ง 4-5 ชนิดที่จ่อเข้าคณะกรรมการสัตว์สงวนคุ้มครอง การปรับขนาดฉลามในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ในแบบต่างๆ (อ่านในโพสต์เก่านะครับ) จะพยายามต่อไปครับ ก่อนหน้านี้ ดร.ธรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ท่านรัฐมนตรีวราวุธ ศิลปอาชา ออกมาชัดเจนแบบนี้ คนรักทะเลยินดีแน่ครับ เพราะฉะนั้น เราไปต่ออย่างเร็วได้ 1) ฉลามหัวค้อน/เสือดาว ค้างรอเข้ากรรมการสงวนคุ้มครองฯ นำเข้าได้เลยครับ 2) ฉลามอื่นๆ เร่งพิจารณาและนำเสนอรายชนิด โดยดูจากสถานภาพ/คุกคามที่เรามีข้อมูลอยู่แล้ว คณะสัตว์ทะเลหายากพร้อมเสมอ จะประชุมกันต่อเนื่องก็พร้อมครับ ชงเรื่องได้ตลอด 3) แก้บัญชีแนบท้ายรายชื่อปลาในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดต่างๆ ระบุเพิ่มชนิดฉลาม ตัดเรื่องขนาดออกไป ฯลฯ อันนี้ทำได้ทันทีเพราะอยู่ในอำนาจกระทรวงทรัพยากรฯ เพื่อส่งไปฝ่ายกฏหมายต่อ 4) เร่งรัดประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลใหม่ๆ โดยเน้นสัตว์หายาก ทั้งเพื่ออนุรักษ์และเพื่อให้เราส่งออกต่อไปได้ คณะสัตว์หายากเสนอพื้นที่อันดามันเหนือไปแล้ว ยังมีอีกที่พอเป็นไปได้ โดยไม่ส่งผลกระทบมากนัก 5) เร่งรัดให้อุทยานทางทะเลทุกแห่ง ให้ความสำคัญกับฉลามและสัตว์หายากทางทะเล มีการสำรวจร่วมกับฝ่ายวิชาการ ระบุพื้นที่สำคัญ เช่น อ่าวที่ฉลามอาศัย/ออกลูก จำนวนเท่าที่สำรวจได้ การติดตามความเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ที่ทำงานร่วมกันกับหลายฝ่าย เป็นไปได้ครับ เมืองนอกตอนนี้ถึงขั้นใช้โดรนสำรวจฉลาม/สัตว์หายากเป็นประจำแล้ว ฐานข้อมูลส่วนนี้สำคัญมาก เพราะเราจะวางแผนถูก เน้นพื้นที่ต้องดูแลลาดตระเวน ฯลฯ อันนี้ทำได้ทันทีเช่นกัน เพราะเรามีความรู้พอสมควรเรื่องเสือหรือสัตว์ป่า แต่เราแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับฉลามในอุทยาน ยังรวมถึงฉลามที่อยู่ข้างนอกพื้นที่ มีอีกเยอะ กรมทะเลฯ สามารถเริ่มต้นสำรวจ/หาข้อมูลได้ ขอบคุณที่ท่านรักทะเล และโกรธเมื่อฉลามถูกทำร้าย เรายังมีความหวังใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้จากความสูญเสียในครั้งนี้ ขอเพียงเอาจริงและต่อเนื่อง อย่าทำๆ หยุดๆ อะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ https://www.thaipost.net/main/detail/106854
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
ศรชล.ส่งกำลังพลทางเรือเข้าเก็บกู้อวนขนาดใหญ่คลุมปะการังที่เกาะโลซิน 18 มิ.ย.64 พล.ร.ต.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ได้ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีการแก้ไขปัญหาอวนขนาดใหญ่ปกคลุมปะการัง บริเวณเกาะโลซิน ซึ่งตั้งอยู่ฝั่ง อ่าวไทย บริเวณจังหวัดปัตตานี ซึ่งหลายฝ่าย มีความเป็นห่วงว่าจะส่งผลกระทบ และสร้างความเสียหายแก่ปะการัง ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ โดย โฆษก ศรชล.แจ้งว่า เมื่อช่วงเย็นของวันนี้ (18 ม.ย.64) เวลา 17.00 น. พล.ร.ท.สำเริง จันทร์โส ผอ.ศรชล.ภาค 2 ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 (ผบ.ทรภ.2) ได้เป็นประธานในพิธีส่งกำลังทางเรือออกเดินทางไปแก้ไขปัญหากรณีอวนขนาดใหญ่ปกคลุมปะการังบริเวณเกาะโลซิน ร่วมกับ นายอภิชัย เอกวนากุล และ น.ส.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ใน บก.ทรภ.2 นายทหารฝ่ายอำนวยการใน ศรชล.ภาค 2 ร่วมพิธี ณ ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา โดยกำลังทางเรือที่ไปปฏิบัติภารกิจในครั้งนี้ ประกอบด้วย เรือหลวงราวี เรือ ต.991 พร้อมชุดปฏิบัติงานใต้น้ำจำนวน 15 นาย ร่วมกับกำลังจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้แก่ เรือ Liveaboard จำนวน 1 ลำ เรือบรรทุกเครื่องมือประมงอวน จำนวน 1 ลำ นักดำน้ำอาสาสมัครจำนวน 30 คน และเรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 2 ลำ ที่จะเดินทางไปสมทบพื้นที่ปฏิบัติการในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ โดย ผอ.ศรชล.ภาค 2 ได้ให้โอวาทแก่กำลังพล ขอให้ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเอง ปฏิบัติตามกฎของการปฎิบัติการใต้น้ำอย่างเคร่งครัดและระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายกับปะการัง โดยขอให้การปฎิบัติภารกิจครั้งนี้สำเร็จโดยราบรื่น สำหรับแผนการดำน้ำเพื่อกู้อวนโดยสังเขปจะเริ่มปฏิบัติการบริเวณเกาะโลซิน ในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ เวลา 06.00 น. ทีมนักดำน้ำบนเรือหลวงราวีจะเริ่มปฏิบัติการโดยใช้การดำแบบ Nitrox (Specialty) ซึ่งสามารถยืดระยะเวลาการอยู่ใต้น้ำให้นานขึ้น มากกว่าการดำน้ำด้วยถังอากาศแบบปกติ ใช้การตัดอวนออกเป็นผืนย่อยขนาด 3x3 เมตร ลอยขึ้นโดยใช้ถุงดึงขึ้นหรือใช้บอลลูนขนาดเล็ก ทำให้อวนที่ตัดแล้วลอยขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน https://www.naewna.com/likesara/581328
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|