#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยมีคลื่นกระแสลม ฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมาและภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าตะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 10 ? 11 เม.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านประเทศเมียนมาและภาคเหนือตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 เม.ย. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะลอันดามันเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 10 ? 11 เม.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 16 เม.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เมืองท่าฝรั่งเศสเผชิญคลื่นสูง ซัดข้ามกำแพงกันคลื่นน้ำทะลักท่วม คลื่นขนาดใหญ่ซัดข้ามกำแพงกันคลื่นในเมืองแซงต์ มาโล เมืองท่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส จนน้ำไหลทะลักเข้าท่วมถนน โลกโซเชียลแห่แชร์ภาพคลื่นขนาดยักษ์สูงราว 6-7 เมตร ซัดเข้าใส่กำแพงกันคลื่นในเมืองแซงต์ มาโล เมืองท่าทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส โดยคลื่นที่มีความสูงเกินกำแพงได้ทะลักเข้าท่วมถนนเลียบหาดในเมือง เป็นภาพที่น่ากลัว แต่ก็สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ที่พบเห็น โดยเมืองท่าแห่งนี้ต้องเผชิญกับคลื่นสูงซัดฝั่งอยู่เป็นประจำ และได้ชื่อว่ามีคลื่นสูงที่สุดในทวีปยุโรป จนมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมชมไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน ที่มีคลื่นขนาดใหญ่สูงสุดถึงกว่า 40 ฟุตหรือกว่า 12 เมตร ทำให้ต้องมีการสร้างกำแพงกันคลื่น มีป้ายแจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งมีกำแพงท่อนไม้เรียงรายใกล้ชายฝั่ง เพื่อป้องกันความแรงของคลื่นอีกทาง ทั้งนี้ ทางการฝรั่งเศสได้ออกประกาศเตือนเรื่องสภาพอากาศทั่วแคว้นบริตตานี ทางตะวันตกสุดของประเทศตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน หลังมีรายงานพายุเพียร์ริค พัดเข้ามายังชายฝั่งทางตะวันตกของอังกฤษและจะส่งผลกับภาคตะวันตกของฝรั่งเศส โดยจะทำให้เกิดลมพัดแรง และคลื่นสูง ทำให้สำนักอุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสแจ้งเตือนภัยสภาพอากาศในระดับสีส้ม. ที่มา : indiatoday https://www.thairath.co.th/news/foreign/2777419
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
สัญญาณหายนะ! อุณหภูมิที่ "แอนตาร์กติก" สูงขึ้น 38.5?C นักวิทยาศาสตร์ แสดงความวิตกกังวลถึงระดับอุณหภูมิที่แอนตาร์กติกเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน "อุณหภูมิสูงขึ้น 38.5?C ในสถานที่ที่หนาวเย็นที่สุดในโลก มันเป็นลางสังหรณ์ของหายนะสำหรับมนุษย์และระบบนิเวศในท้องถิ่น" แอนตาร์กติการ้อนทำลายสถิติ อุณหภูมิสูงขึ้น 38.5?C กว่าค่าเฉลี่ย? แม้ระดับอุณหภูมิที่วัดได้ -9.4?C จะหนาวมากสำหรับมนุษย์ แต่มันไม่ควรจะร้อนแบบนี้สำหรับขั้วโลกใต้ (แอนตาร์กติกา เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลก และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2022 นักวิทยาศาสตร์ที่สถานีวิจัยคอนคอร์เดียบนที่ราบสูงทางตะวันออกของแอนตาร์กติกเผยบันทึกเหตุการณ์ที่น่าทึ่ง พวกเขาบันทึกอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยวัดได้ที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาบนโลก ในวันนั้นมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 38.5?C สูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาล ซึ่งถือเป็นสถิติโลก การก้าวกระโดดอันน่าตกใจนี้ ในสถานที่ที่หนาวเย็นที่สุดในโลก ทำให้นักวิจัยขั้วโลกต้องดิ้นรนหาคำมาอธิบายมัน "มันช่างน่าเหลือเชื่อจริงๆ" ศาสตราจารย์ไมเคิล เมเรดิธ ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์แห่ง British Antarctic Survey ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของการสำรวจแอนตาร์กติกของอังกฤษ กล่าว "ในอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์ การก้าวกระโดดครั้งใหญ่นั้นสามารถทนได้ แต่หากเราเพิ่มอุณหภูมิในสหราชอาณาจักรขึ้น 40?C ในตอนนี้ อุณหภูมิสำหรับวันในฤดูใบไม้ผลิจะสูงกว่า 50?C และนั่นจะเป็นอันตรายต่อประชากร" ในช่วงสองปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้รับรายงานจำนวนมากขึ้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านอุตุนิยมวิทยาที่น่ากังวลในทวีปนี้ ธารน้ำแข็งที่อยู่ติดกับแผ่นน้ำแข็งทางตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกกำลังสูญเสียมวลลงสู่มหาสมุทรในอัตราที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระดับน้ำแข็งในทะเลซึ่งลอยอยู่ในมหาสมุทรทั่วทวีป ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว โดยยังคงมีเสถียรภาพมานานกว่าศตวรรษ เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความกลัวว่าแอนตาร์กติกซึ่งครั้งหนึ่งเคยคิดว่าหนาวเกินกว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในระยะเริ่มแรก บัดนี้กลับยอมจำนนต่อระดับก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สูบฉีดขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็วและรวดเร็ว อันตรายเหล่านี้ถูกเน้นย้ำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ซึ่งนำโดยวิล ฮอบส์ จากมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Climate เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงล่าสุดของการปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลในทวีปแอนตาร์กติกา กลุ่มวิจัยได้สรุปว่ามี "การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างกะทันหัน" ในสภาพภูมิอากาศของทวีป ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งต่อระบบนิเวศแอนตาร์กติกในท้องถิ่นและระบบภูมิอากาศโลก "ระดับต่ำสุดของน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกทำให้นักวิจัยแนะนำว่าการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองกำลังดำเนินอยู่ในมหาสมุทรใต้ และเราพบหลักฐานหลายบรรทัดที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปสู่สถานะน้ำแข็งในทะเลใหม่" ฮอบส์กล่าว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันน่าทึ่ง น่าวิตก ศ.ไมเคิล เมเรดิธ ขยายความว่า "จริงๆ แล้วการปกคลุมของน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 และต้นศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตามในช่วงกลางทศวรรษที่ผ่านมามันตกลงมาจากหน้าผา มันเป็นลางสังหรณ์ของพื้นที่ใหม่ที่มีระบบภูมิอากาศแอนตาร์กติก และนั่นอาจเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับภูมิภาคนี้และส่วนที่เหลือของโลก" หากน้ำแข็งทั้งหมดบนทวีปแอนตาร์กติกาละลาย ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 60 เมตร เกาะและเขตชายฝั่งทะเลที่มีประชากรโลกจำนวนมากมายจะถูกน้ำท่วมหมด อย่างไรก็ตาม การละลายของน้ำแข็งดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น แผ่นน้ำแข็งของแอนตาร์กติกาครอบคลุมพื้นที่ 14 ตารางเมตร (ประมาณ 5.4 ตารางไมล์) หรือประมาณพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกรวมกัน และมีน้ำแข็งประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (7.2 ล้านลูกบาศก์ไมล์) หรือประมาณ 60% ของน้ำจืดของโลก ที่ปกคลุมอันกว้างใหญ่นี้ซ่อนเทือกเขาที่สูงเกือบเท่ากับเทือกเขาแอลป์ นักวิทยาศาสตร์กล่าว ดังนั้นจึงต้องใช้เวลานานกว่าจะละลายจนหมด วิกฤตการณ์ที่ทวีปกำลังเผชิญอยู่มีผลกระทบในวงกว้าง มากกว่า 40 ประเทศเป็นผู้ลงนามในพิธีสารด้านสิ่งแวดล้อมของสนธิสัญญาแอนตาร์กติก ซึ่งควรจะปกป้องประเทศจากภัยคุกคามต่างๆ มากมาย โดยความเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด ความจริงที่ว่าขณะนี้ทวีปนี้กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่น่าตกใจในด้านน้ำแข็งปกคลุม ระบบนิเวศ และสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ายังไม่ได้รับการปกป้องที่ดีเพียงพอ อ้างอิง -https://www.rprealtyplus.com/international/world-record-temperature-jump-in-antarctic -https://www.theguardian.com/environment/2024/apr/06/simply-mind-boggling-world-record-temperature-jump-in-antarctic-raises-fears-of-catastrophe -https://www.ndtv.com/science/world-record-temperature-jump-in-antarctica-sparks-concern https://mgronline.com/greeninnovatio.../9670000031396
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ปฏิบัติการ 9 มาตรการ แก้ไขฝุ่นละออง PM 2.5 ในช่วงสถานการณ์วิกฤติ นายกฯ กำชับยกระดับการปฏิบัติการ การแก้ไขฝุ่นละออง PM 2.5 ในช่วงสถานการณ์ วิกฤติประจำปี 2567 โดยให้หน่วยงานต่างๆ บูรณาการในการทำงานร่วมกันผ่าน 9 มาตรการ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยได้กำชับยกระดับการปฏิบัติการ การแก้ไขฝุ่นละออง PM 2.5 ในช่วงสถานการณ์ วิกฤติประจำปี 2567 โดยให้หน่วยงานต่างๆ บูรณาการในการทำงานร่วมกันผ่าน 9 มาตรการ ปฏิบัติการ 9 มาตรการ แก้ไขฝุ่นละออง PM 2.5 ดังนี้ 1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานทหารในพื้นที่ ระดมกำลังการลาดตระเวนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการจับกุมบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กับผู้ที่ลักลอบเผาป่าทุกกรณี 2. ให้กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำกับดูแลกวดขันบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่ และอำนาจอย่างเคร่งครัด 3. ให้กระทรวงมหาดไทย สั่งการให้จังหวัด กำนัน และผู้ใหญ่ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดปฏิบัติการลาดตระเวนในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผา 4. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตความร่วมมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และประกาศ Work Form Home ตามความจำเป็นเพื่อลดปัญหาการกระทบปัญหาเรื่องสุขภาพของพี่น้องประชาชน 5. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาตัดสิทธิการรับการช่วยเหลือชดเชยจากภาครัฐ หากตรวจพบว่ามีการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง 6. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพิ่มความถี่การปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อเป็นการป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง โดยเร่งด่วนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคง ในการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ให้เพียงพอในการช่วยเหลือดับไฟป่า 7. ให้กระทรวงสาธารณสุข จัดชุดเคลื่อนที่ลงเยี่ยมบ้านดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง และทันท่วงที รวมถึงสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแก่กลุ่มเสี่ยง 8. ให้กับสำนักงานงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณกลาง ให้แก่จังหวัดให้ทันต่อการแก้ไขปัญหาช่วงสถานการณ์วิกฤติปี พ.ศ.2567 ตามความเหมาะสม และจำเป็นเร่งด่วน 9. กรณีหมอกควันข้ามแดน ให้กระทรวงการต่างประเทศ ยกระดับการร่วมมือเจรจา กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้ลดการเผาป่าอย่างทันที กำหนดตั้ง KPI ให้ชัดเจน มาตรการทั้ง 9 ข้อดังกล่าวและรายละเอียดต่างๆ จะมีการประชุมบูรณาการทำงานกำจัดไฟป่าของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง https://www.bangkokbiznews.com/environment/1121618
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
หนีไม่พ้นโลกร้อน แอนตาร์กติกาถูกคลื่นความร้อนโจมตี อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 40?C SHORT CUT - ทวีปแอนตาร์กติกาได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน อุณหภูมิก้าวกระโดดสูงสุดเหนืออุณหภูมิเฉลี่ยตามฤดูกาลที่เคยบันทึกไว้ - ทวีปแอนตาร์กติกาอยู่ใต้สุด ไกลที่สุด หนาวเย็นที่สุด เริ่มได้รับผลกระทบจากโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว - คลื่นความร้อนทำให้น้ำแข็งละลายจำนวนมาก สถิติอุณหภูมิสูงสุดตลอดกาลที่ -9.4?C สูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดุกาลประมาณ 40?C โลกร้อนได้เพิ่มระดับความน่ากลัวเข้าไปทุกที ล่าสุดทวีปแอนตาร์กติกาได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนที่มากกว่าปกติเรียกได้ว่าก้าวกระโดดเลยก็ว่าได้ ซึ่งคลื่นความร้อนส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงถึง 40?C สูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาล เหตุการณ์ทวีปแอนตาร์กติกาได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน ถือเป็นอุณหภูมิก้าวกระโดดที่สูงที่สุดเหนืออุณหภูมิเฉลี่ยตามฤดูกาลที่เคยบันทึกไว้ นี่อาจเป็นสัญญาณของวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิความร้อนได้รับการบันทึกไว้ที่สถานีวิจัย Concordia-Dome C ที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีปแอนตาร์กติกาตะวันออกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีใน Concordia อยู่ที่ประมาณ -55 องศาเซลเซียส แม้อุณหภูมิในแต่ละฤดูกาลโดยฤดูร้อนอุณหภูมิอยู่ที่ -30 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในช่วงฤดูหนาว -80 องศาเซลเซียส ซึ่งในเดือนมีนาคมเป็นเดือนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ฤดูหนาวของทวีปแอนตาร์กติก โดยทั่วไปอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันจะอยู่ที่ประมาณ -50 องศาเซลเซียส จาการเก็บข้อมูลอุณหภูมิในช่วงปลายฤดูร้อนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 สถานีที่มีระยะไกลที่สุดในแอนตาร์กติกามีสถิติอุณหภูมิสูงสุดตลอดกาลที่ -9.4?C ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาลประมาณ 40?C แสดงให้เห็นว่าขอบเขตของคลื่นความร้อนนั้นขยายอาณาเขตกว้างขึ้น ซึ่งนักวิจัยประเมินว่าพื้นที่ 3.3 ล้านตารางกิโลเมตรในแอนตาร์กติกาตะวันออก เกินกว่าอุณหภูมิที่บันทึกไว้ในเดือนมีนาคมปี 2022 ก่อนหน้านี้ คลื่นความร้อนทำให้น้ำแข็งทั่วทวีปแอนตาร์กติกาละลายจำนวนมาก พื้นที่ชายฝั่งพบการละลายของพื้นผิวอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้มีระดับน้ำแข็งในทะเลต่ำเป็นประวัติการณ์ นี่อาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่การล่มสลายของหิ้งน้ำแข็ง Conger เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา ความร้อนถูกส่งไปยังทวีปแอนตาร์กติกาเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดพาอากาศที่ค่อนข้างอุ่นและชื้นเข้าไปในด้านในของทวีปแอนตาร์กติกา การบุกรุกของแม่น้ำในชั้นบรรยากาศยังปกคลุมที่ราบสูงแอนตาร์กติกตะวันออกด้วยชั้นเมฆหนา กักความร้อนไว้ในชั้นบรรยากาศด้านล่าง นักวิจัยกล่าวว่า ความผิดปกติของอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นเป็น "เหตุการณ์หนึ่งใน 100 ปี" แต่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นและพบเห็นได้บ่อยขึ้น ปัจจุบันอาร์กติกที่อยู่อีกด้านหนึ่งของโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 4 เท่า ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าแอนตาร์กติกามีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยกว่าภูมิภาคอื่นทั่วโลก โดยเฉพาะแถบอาร์กติก แต่การค้นพบล่าสุดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทวีปที่อยู่ใต้สุด ห่างไกลที่สุด และหนาวเย็นที่สุด เริ่มได้รับผลกระทบจากโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ดร. ทอม เบรซเกิร์เดิล รองผู้นำวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศ ทีมงานน้ำแข็งและสภาพภูมิอากาศของ British Antarctic Survey เผยว่า "เหตุการณ์อุณหภูมิและสภาพอากาศสุดขั้วทั่วโลกกำลังทำลายสถิติอย่างมากมาย และเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าทวีปแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยกเว้นจากแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้น" เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจว่าระบบของโลกและสถานที่เยือกแข็งจะตอบสนองต่อภาวะโลกร้อนอย่างไร และในลำดับเวลาใด จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องปรับปรุงความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลต่อความรุนแรงและความถี่ผลกระทบโลกร้อนในทวีปแอนตาร์กติกา ที่มา : IFL Science https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/849384
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|