เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 26-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมฝ่ายตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่งในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซียในช่วงวันที่ 25?27 พ.ย. 66 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝน ร้อยละ 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 26 ? 28 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง 1 ? 2 องศาเซลเซียส ประกอบกับในช่วงวัน 26 - 27 พ.ย 66 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่าง ลงสู่ทะเลอันดามัน ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบน คลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 29 พ.ย. ? 1 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ? 2 องศาเซลเซียส ในขณะที่ภาคใต้มีฝนลดลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ตลอดช่วง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกฝั่ง ในช่วงวัน 26 - 27 พ.ย. 66



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 26 ? 27 พฤศจิกายน 2566) ฉบับที่ 6 (303/2566)

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเชีย มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซีย ลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง และภาคใต้ตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก
และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 26-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ภูเขาน้ำแข็งใหญ่สุดในโลก แตกจากชายฝั่ง เคลื่อนตัวครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปี

ภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่สุดในโลก เริ่มเคลื่อนตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ทศวรรษ หลังแตกออกจากชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกา



สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน นักธรณีวิทยาเปิดเผยวานนี้ (24 พ.ย.)ว่า ภูเขาน้ำแข็ง A23a ซึ่งเป็นภูเขาน้ำแข็งใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดพื้นที่เกือบ 4,000 ตร.กม. หรือใหญ่กว่านครนิวยอร์ก 3 เท่า แตกออกจากชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกาแล้ว และเริ่มเคลื่อนตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ทศวรรษ หลังจากติดอยู่ชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529

โอลิเวอร์ มาร์ช นักธรณีวิทยาจากหน่วยงานสำรวจแอนตาร์กติกของอังกฤษ กล่าวว่า จากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อเร็วๆ นี้ เผยให้เห็นว่าภูเขาน้ำแข็ง A23a ซึ่งมีน้ำหนักเกือบล้านล้านเมตริกตัน ขณะนี้กำลังเคลื่อนตัวผ่านตอนปลายเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก ด้วยอิทธิพลของกระแสลมและกระแสน้ำที่พัดแรงขึ้น ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากที่จะเห็นภูเขาน้ำแข็งใหญ่ขนาดนี้เคลื่อนที่ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด

ภูเขาน้ำแข็ง A23a เป็นหนึ่งในภูเขาน้ำแข็งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตร.กม. หรือใหญ่กว่านครนิวยอร์กเกือบสามเท่า โดยในปี 2529 ภูเขาน้ำแข็งนี้ก็ได้แยกตัวออกจากชั้นน้ำแข็ง Filchner-Ronne ทางตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งภูเขาน้ำแข็ง A23a ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยของสหภาพโซเวียต

มาร์ชกล่าวถึงสาเหตุที่ภูเขาน้ำแข็งเริ่มเคลื่อนตัว โดยปกติแล้วเมื่อไอน้ำเพิ่มขึ้น ก็มีโอกาสที่ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่ติดอยู่ที่พื้นมหาสมุทรจะบางลงเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้ภูเขาเริ่มเคลื่อนตัวไปตามกระแสน้ำเย็นรอบขั้วโลกใต้ ตามเส้นตรอกภูเขาน้ำแข็ง

ทั้งนี้ สิ่งที่น่ากังวลคือภูเขาน้ำแข็ง A23s มีโอกาสเคลื่อนตัวไปติดกับเกาะเซาท์จอเจีย ซึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหากับสัตว์ต่างๆ ในทวีปแอนตาร์กติกา เช่น แมวน้ำ นกเพนกวิน และนกทะเลหลายล้านตัว


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2743333


******************************************************************************************************


อียูเผย มลพิษทางอากาศ คร่าชีวิตคนในยุโรป เกือบ 4 แสนคนในปี 2021

สหภาพยุโรปเผย มีประชาชนเกือบ 400,000 คนในยุโรป เสียชีวิตจากปัญหามลพิษทางอากาศในปี 2021



สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (EEA) เปิดเผยรายงานวานนี้ (24 พ.ย.) พบว่าในปี ค.ศ. 2021 มีประชาชนเกือบ 400,000 คน จากชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เสียชีวิตจากปัญหามลพิษทางอากาศ อาทิ มลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 โดยหลายรายสามารถหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตได้หากประเทศต่างๆ ควบคุมมลพิษทางอากาศให้อยู่ในระดับที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ

รายงานระบุว่า ในปี 2021 ปัญหามลพิษทางอากาศที่เป็นเหตุให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมากในประเทศสมาชิก EU คือ ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ซึ่งการสูดฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 253,000 ราย ตามมาด้วยปัญหามลพิษจากไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานมากที่สุด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 52,000 ราย และปัญหามลพิษจากแก๊สโอโซนที่ไม่ดี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 22,000 ราย

รายงานของสำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรปยังเปิดเผยอีกว่า ในปี 2021 มีประชาชนอีกราว 389,000 รายจากประเทศในยุโรปที่ไม่ได้เป็นสมาชิก EU ที่เสียชีวิตจากปัญหามลพิษทางอากาศ

"ความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศของยุโรปในปี 2021 สูงกว่าระดับที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ วิธีที่จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากปัญหามลพิษทางอากาศ คือ ต้องพยายามลดมลพิษให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม" รายงานระบุ

สำหรับประเทศที่พบผู้เสียชีวิตจากปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุดในปี 2564 คือ โปแลนด์ อิตาลี และเยอรมนี ขณะที่ประเทศแถบยุโรปเหนือ เช่น ไอซ์แลนด์ สแกนดิเนเวีย และเอสโตเนีย ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ที่มา : Reuters


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2743356

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 26-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


คนรักษ์ทะเลปวดใจ! ลงเล่นน้ำไม่สนป้ายเตือน 'ปะการัง' เกาะห้องเสียหาย



สนั่นโซเชียล นักท่องเที่ยวไม่สนป้ายเตือน แห่ลงเล่นน้ำเกาะห้อง จ.กระบี่ ทำปะการังเสียหาย ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้แต่ยืนมอง ชาวเน็ตวอนสร้างความเข้าใจใหม่ และวางมาตรการดูแลอย่างจริงจัง

ผู้ใช้แอปพลิเคชั่น tiktok รายหนึ่ง ได้โพสต์คลิปวีดีโอ พร้อมกับบรรยายว่ามันพังมาก คือว่าเราไม่รู้ว่ามันถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง เราได้ลงไปเล่นน้ำที่บริเวณเกาะห้อง และได้เยี่ยมไปที่ก้อนหินแต่พบว่ามันไม่ใช่ก้อนหินมันคือปะการังทั้งแถบเลยและมีฝูงปลาเป็นจำนวนมาก

เราจึงได้ขึ้นมาจากน้ำแล้วหันไปเห็นป้ายแจ้งเตือนว่าน้ำลดห้ามลงเล่นน้ำแต่วันนี้ที่เห็นคือมีนักท่องเที่ยวลงไปเล่นน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯที่ดูแลอยู่บริเวณดังกล่าวแต่ทางเจ้าหน้าที่บอกว่ามันยากที่จะพูด ทำให้ตนถึงกับอึ้ง

ต้องบอกว่าบริเวณเกาะห้องมีปะการังเยอะมากโดยเฉพาะที่บริเวณโป๊ะหรือถ้าจอดเรือเราควรที่จะอนุรักษ์ปะการังไว้ จึงต้องระวังให้มากๆ ทำไมเขาไม่ใส่ใจกันเลย ทำไมเขาไม่บอกนักท่องเที่ยวบางคนลงไปแล้วก็จับหอยมือเสือโอยเริดเกิน

ขณะที่ชาวเน็ตต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมไม่เหมาะสมของนักท่องเที่ยว พร้อมวอนให้เจ้าหน้าที่วางมาตรการดูแลและทำความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง

สำหรับเกาะห้อง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีความสวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี


https://www.dailynews.co.th/news/2936281/


******************************************************************************************************


ทีมสร้างแผนที่เจอภูเขาใต้ทะเลสูงเป็น 2 เท่าของตึกที่สูงที่สุดในโลก

ทีมจัดสร้างแผนที่ก้นทะเลแปซิฟิกต้องตกตะลึงเมือพวกเขาค้นพบภูเขาใต้น้ำที่มีความสูงยิ่งกว่าตึก "เบิร์จคาลิฟา" ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกถึง 2 เท่า



วานนี้ (24 พ.ย. 2566) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สถาบันวิจัยทางทะเล ชมิดท์โอเชียน เผยภาพแผนที่ของภูเขาใต้ทะเลที่เชื่อว่ามีความสูงยิ่งกว่าอาคารเบิร์จคาลิฟา แห่งมหานครดูไบ ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกถึง 2 เท่า

ตามข้อมูลของอาคารเบิร์จคาลิฟาหรือบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ ระบุว่าตึกนี้มีความสูง 828 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี 2552 และเป็นสิ่งก่อสร้างจากฝีมือมนุษย์ที่สูงที่สุดในโลก ณ เวลานี้

ภูเขาใต้ทะเลที่มีการค้นพบใหม่นี้มีความสูง 5,249 ฟุต หรือเกือบ 1,600 เมตร กินอาณาบริเวณก้นมหาสมุทรแปซิฟิกราว 5.4 ตารางไมล์ (ราว 2.5 ตารางกม.) ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งของเขตเศรษฐกิจจำเพาะกัวเตมาลาราว 84 ไมล์ทะเล ความสูงของมันอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางของน่านน้ำสากล ทำให้ไม่เคยมีผู้ใดค้นพบมาก่อน

ผู้อำนวยการโจติกา วิร์มานิ แห่งสถาบันชมิดท์โอเชียน กล่าวในการแถลงข่าวว่า เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ได้อยู่ในยุคสมัยที่มีเทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์สามารถทำแผนที่ของโลกและได้เห็นส่วนที่ไม่เคยพบมาก่อน โดยการค้นพบภูเขาลูกนี้เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจเพื่อสร้างแผนที่ของพื้นที่ก้นมหาสมุทร

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติอธิบายว่า ภูเขาใต้ทะเลส่วนใหญ่จะเริ่มจากการเป็นภูเขาไฟมาก่อน ส่วนใหญ่ภูเขาที่ใต้ผืนทะเลมักจะเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว ปกติจะมีรูปทรงเหมือนกรวย แต่ลักษณะของยอดเขาหรือปล่องไฟในอดีตเป็นที่ราบขนาดใหญ่?

คาดว่า ภูเขาใต้ทะเลที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตรนั้นมีอยู่มากกว่า 100,000 ลูก แต่มีเพียง 0.1% ของจำนวนเหล่าน้ีที่เคยมีผู้เข้าไปสำรวจ

ภูเขาใต้ทะเลลูกใหม่ที่มีการค้นพบในครั้งนี้มีรูปร่างตรงตามลักษณะของภูเขาไฟทั่วไป กล่าวคือมีฐานทรงกลมและเรียวขึ้นสู่ยอดเป็นแนวสูงชัน มียอดเขาเป็นพื้นที่ราบ ซึ่งบ่งบอกว่าผ่านการปะทุและระเบิดมาแล้วในอดีต

ภูเขาลูกนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าแอ่งกัวเตมาลา (Guatemala basin) ซึ่งคาดว่าก้นมหาสมุทรแถบนี้มีอายุเก่าแก่ราว 20 ล้านปีและไม่น่าจะมีภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่ใต้น้ำหลงเหลืออยู่อีกแล้ว

ที่มา :? miamiherald.com


https://www.dailynews.co.th/news/2936051/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 26-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


"เวิลด์แบงก์" เตือนไทยรับมือภัยธรรมชาติ ห่วงเสียหายเเรงขึ้น 2 เท่า

ปัจจุบันพื้นที่ที่อยู่ของประชาชน รวมถึงพื้นอุตสาหกรรมส่งออกโดยรอบยังคงมีความเสี่ยงที่ ต้องเผชิญกับอุทกภัยแม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการควบคุมแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการลงทุนของต่างประเทศรวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชนได้ในอนาคต



ข้อมูลจากธนาคารโลก ระบุว่า การรับมือกับปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศไทย และหลายประเทศในอาเซียนมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีความเสี่ยงด้านอุทกภัยอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก รองจากเวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา

โดยความเสี่ยงดังกล่าวสะท้อนจากดัชนีการบริหารความเสี่ยง (INFORM Index) ที่ระบุว่าเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2554 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 680 ราย ส่งผลกระทบต่อประชากรเกือบ 13 ล้านคน และสร้างความเสียหายและความสูญเสียต่อ เศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.43 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 12.6 % ของ GDP

สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ระบุว่าเมื่อ2563ได้ประเมินความสูญเสียจากอุทกภัยเฉลี่ยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 2.6 พันล้านดอลลาร์

โดยในปัจจุบันกรุงเทพฯ และพื้นที่อุตสาหกรรมส่งออกโดยรอบยังคงมีความเสี่ยงที่ จะต้องเผชิญกับอุทกภัยแม้ว่าจะมีการดำเนินมาตรการควบคุมแล้ว นอกจากนี้ ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากการขาดแคลนปริมาณน้ำฝน การลดลงของปริมาณน้ำในแม่น้ำผิวดินและใต้ผิวดิน รวมทั้งการจัดการที่ดินที่ไม่มี ประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มความถี่และความรุนแรงของปัญหาอุกทกภัยมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่า แบบจำลองจะยังมีความไม่แน่นอน แต่การคาดการณ์ในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยจะมีการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำฝนต่อปี นอกจากนี้ ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนไหวต่อปัญหา อุทกภัย และค่าความผิดปกติของฝนในปี 2560 ที่สูงเกินกว่าในปี 2554 แล้ว

สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานน้ำแห่งชาติทรัพยากร (สทนช.) กล่าวในงาน Workshop on Lower Chao Phraya River Flood Risk Management and Mitigation จัดโดย ธนาคารโลกแห่งประเทศไทย ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสำคัญเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตอาหารของโลก ผลกระทบของน้ำท่วมในไทยโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มตอนล่าง ใกล้ทะเล ที่ต้องการการจัดการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ

มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในหลายๆด้าน รวมถึงการสร้างความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ การร่วมมือกันของภาครัฐ ซึ่งเบื้องต้นได้มีการเตรียมพร้อมการรับมือผ่านแผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปี ซึ่งสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืนและเตรียมรับมือภัยแล้งและน้ำท่วม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ความสำคัญต่อสุขภาพความเป็นอยู่ เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนด้วย

ด้าน สาโรจ กุมาร จา ผู้อำนวยการ Water Global ธนาคารโลก กล่าวว่า ในปี 2570 ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำ เช่น น้ำท่วมก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะกระทบต่อการลงทุนของประเทศอย่างมหาศาลด้วย

"การกักเก็บน้ำทั่วโลกนั้นมีอยู่ประมาณ 27,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าประชากร 50 เท่า แต่ในอนาคตจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โอกาสเกิดปัญหาขาดแคนน้ำจึงมีอยู่และจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ได้ จึงต้องเตรียมแผนรับมือไว้อย่างรัดกุมและครบถ้วน"

ชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยมักจะเกิดในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้นทุกปี ดังนั้นแนวคิดการบรรเทาอุทกภัยด้วยมาตรการเชิงโครงสร้างและไม่ใช่เชิงโครงสร้างที่จะมาช่วยบรรเทาอุทกภัยแบ่งออกดังนี้

1. ปรับรูปแบบการปลูกพืชในพื้นที่ราบต่ำเพื่อลดความเสียหายและชะลอน้ำท่วม
2. ส่งเสริมให้ประชาชนปรับตัวรับมือน้ำท่วม (ยกชั้นใต้ดิน, พื้นที่อพยพ / สะพานเดิน/ส้วมลอยน้ำ) 3. การเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำ เช่น บริเวณ แม่น้ำที่คอขวด การใช้คลองผันน้ำบางบาล-บางไทร เพิ่มความสามารถในการระบายน้ำของระบบชลประทานที่มีอยู่ และ 4.ลดการปล่อยน้ำท่วมไปยังพื้นที่เป้าหมาย

มีการประเมินว่า กรณีที่ไม่มีมาตรการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยที่จะเกิดกับประเทศไทยมีความเป็นไปได้ที่จะรุนแรงกว่าเป็นสองเท่าของปี 2554 ดังนั้นการรู้เท่าทันและปรับตัวแต่ตอนนี้ด้วยการจัดการกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุด


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1099614

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 03:49


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger