#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564 เนื่องจากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่พายุดีเปรสชัน?โกนเซิน?บริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง อนึ่ง พายุโซนร้อน "โกนเซิน" (CONSON) ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางงาย ประเทศเวียดนาม คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเมืองกวางงาย ประเทศเวียดนามในระยะต่อไป ส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.ย. 64 ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นมาพาดภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "โกนเซิน" (CONSON) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในรพรุ่งนี้ (12 ก.ย. 64) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564 ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุดีเปรสชัน "โกนเซิน"" ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 12 กันยายน 2564 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (12 ก.ย. 64) พายุโซนร้อน "โกนเซิน" ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว และได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองกวางงาย ประเทศเวียดนาม หรืออยู่ที่ละติจูด 15.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณเมืองกวางงาย ประเทศเวียดนามในระยะต่อไป ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่พายุดีเปรสชัน?โกนเซิน?บริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 12 กันยายน 2564 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 13 กันยายน 2564 บริเวณที่มีฝนตกหนักบางแห่ง ภาคเหนือ: จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก ตาก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 12-09-2021 เมื่อ 03:47 |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ต่อโควตา 5 ปี นำเข้า "เศษพลาสติก" ดันไทยสู่ดินแดน "ถังขยะโลก"?? ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ทำไม "รัฐบาลไทย" ขยายเวลาการนำเข้า "เศษพลาสติก" อีก 5 ปี ทั้งๆ ที่การนำเข้าขยะควรสิ้นสุดตั้งแต่ปี 63 ตามมติฯ เดิม ปี 61 ซึ่งประกาศชัด "ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกโดยเด็ดขาด ภายใน 2 ปี" ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า หรือ "รัฐบาลลุง" เห็นไทยเป็น "ถังขยะโลก" จึงเปิดช่องผ่อนผันให้กลุ่มทุนต่อโควตานำเข้าเศษพลาสติกไปอีก จริงเท็จเพียงใดที่ประเทศไทยกำลังกลายเป็นถังขยะโลก คงต้องกลับไปพิจารณาเหตุการณ์ในอดีต ย้อนกลับช่วงปี 2555 - 2559 ประเทศไทย มีการนำเข้าเศษพลาสติก เฉลี่ยราว 5 หมื่นตันต่อปี ต่อมาในปี 2560 รัฐบาลจีนห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการรีไซเคิลเศษพลาสติกในจีน ย้ายฐานผลิตมายัง กลุ่มประเทศอาเซียนปักหมุดประเทศไทย ปี 2561 ซึ่งส่งผลให้ปริมาณนำเข้าเศษพลาสติกถูกแฝงด้วยขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น 5 แสนกว่าตัน ทั้งที่มีการตรวจสอบจับกุมผู้ลักลอบนำเข้าลักษณะการสำแดงเท็จหลายราย การทะลักของขยะพลาสติกเข้าประเทศไทยในครั้งนั้น ทำให้ภาครัฐมีการปราบปรามการนำเข้าขยะพลาสติกอย่างเข้มงวด และในปี 2561 รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อเสนอแนะมาตรการและแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศ และมีมติให้ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกภายใน 2 ปี หรือปี 2563 สาระสำคัญระบุให้กระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศได้ไม่เกิน 2 ปี ) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ ปีที่ 1 กำหนดโควตานำเข้าไม่เกิน 70,000 ตัน (PET 50,000 ตัน และอื่น ๆ 20,000 ตัน) โดยมีเงื่อนไขให้นำเศษพลาสติกภายในประเทศร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ปีที่ 2 นำเข้าไม่เกิน 40,000 ตัน และให้นำเศษพลาสติกภายในประเทศร่วมด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และปีที่ 3 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ครบกำหนด 2 ปี ตั้งแต่ช่วง เดือน ก.ย. 2563 โดยองค์กรภาคประชาสังคมมีการเคลื่อนไหวทวงถามคำมั่นของคณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกฯ ที่ประกาศให้ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกเด็ดขาดตามมติเดิม และไม่คัดค้านต่อโควตาการนำเข้าเศษพลาสติก ขณะเดียวที่ แรงกดดันจากภาคอุตสาหกรรมกลุ่มโรงงานเรียกร้องให้กระทรวงอุตสาหกรรมมีการเปิดการนำเข้า เศษพลาสติก โดยอ้างว่าขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ ระบุความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกถึง 685,190 ตันต่อปี ทำให้คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกฯ ปรับเปลี่ยนนโยบายไม่ประกาศมาตรการยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกโดยเด็ดขาดตามมติเดิมปี 2561 โดยมีการประชุมเมื่อ วันที่ 25 ม.ค.2564 กำหนดแผนควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติก โดยผ่อนผันห้ามนำเข้าในอีก 5 ปี หรือ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป ซึ่งระหว่างนี้ให้นำเข้าได้แต่ต้องลดสัดส่วนลงทุกปี ปี 2564 นี้ ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 250,000 ตัน อย่างไรก็ตาม มติดังกล่าวย้อนแย้งนโยบายเลิกใช้พลาสติก 3 ชนิดในปี 2562 ลดใช้พลาสติก 7 ชนิด ทั้งหลอดดูด กล่องโฟม ในปี 2565 แต่กลับปล่อยให้มีการนำเข้าเศษพลาสติกมารีไซเคิลในประเทศ และประเด็นที่ต้องจับตา แม้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) อ้างว่าไม่ได้ให้ใบอนุญาตนำเข้าเศษพลาสติกแล้ว แต่พบการนำเข้าเศษพลาสติกอย่างต่อเนื่องประมาณ 100,000 ตันเศษต่อปี แต่กลับพบการนำเข้าเศษพลาสติกอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการนำเข้าของโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี (Free zone) ซึ่งมีกฎหมายควบคุมแยกต่างหาก กลายเป็นคำถามว่า เขตปลอดอากรจัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานการรีไซเคิลรองรับการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศใช่หรือไม่ เพราะมีกฎหมายควบคุมแยกต่างหากชัดเจน แสดงให้เห็นถึงช่องว่างทางกฎหมายสนองตอบกลุ่มโรงงานที่เรียกร้องขอให้อนุญาตการนำเข้าเศษพลาสติกได้อย่างต่อเนื่อง และจากการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดอข่ายภาคประชาสังคม ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563 ถึงปัจจุบัน พบการนำเข้าเศษพลาสติกแล้ว 7 หมื่นกว่าตันจาก 46 ประเทศ ในประเทศส่งเข้ามามากสุด คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน อย่างไรก็ตาม หากยังคงเปิดให้มีการนำเข้าเศษพลาสติกจะส่งผลต่อรับซื้อเศษพลาสติกในประเทศ และกระทบต่อรายได้ของซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า รวมถึงสวนทางกับนโยบายการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้นโยบาย BCG (Bio- economy, Circular Economy, Green Economy) ของประเทศโดยตรง นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ชี้แจงว่ามติเดิมที่มีการห้ามนำเข้าเศษพลาสติกภายในปี 2563 ส่วนใหญ่เป็นเศษพลาสติกชนิด PET แต่ในการประชุมเมื่อมกราคม 2564 ได้พิจารณาครอบคลุมเศษพลาสติกทุกชนิด ซึ่งพบว่า มีเศษพลาสติกบางชนิดที่ไม่เพียงพอในประเทศ จึงเป็นที่มาในการกำหนดให้นำเข้าเศษพลาสติก แต่ให้นำเข้าเพียง 50% ของกำลังการผลิต หรือไม่เกิน 250,000 ตัน ในปี 2564 และจะลดลงปีละ 20% โดยในปี 2565 นำเข้าไม่เกิน 200,00 ตัน ปี 2566 ไม่เกิน 150,00 ตัน ปี 2567 ไม่เกิน 100,000 ตันปี 2568 ไม่เกิน 50,000 ตัน และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก โดยให้มีการใช้เศษพลาสติกในประเทศ 100% ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเป็นถังขยะโลกในการรองรับเศษซากขยะจากประเทศอื่นกระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเป็นเงื่อนไขในการออกประกาศอนุญาตผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าทุกราย สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่เขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรี ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าเศษพลาสติกประมาณ 70,000 ตัน ในระยะเวลาอันใกล้จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เกิดกระแสคัดค้านอย่างหนักนำโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศออกแถลงการณ์ในนามองค์กรภาคประชาชน จำนวน 107 องค์กร ทวงถามถึงมติให้ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติก จี้ให้รัฐทบทวนและยกเลิกการต่อเวลานำเข้าขยะพลาสติกในอีก 5 ปี ดังนี้ 1. ยกเลิกมติ 25 ม.ค. 2564 และรีบจัดเวทีผู้ซื้อผู้ขายในประเทศ ขอให้ทบทวนและยกเลิกมติ "มาตรการกำกับการนำเข้าพลาสติก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564" ประกาศนโยบายที่จะห้ามนำเข้าเศษพลาสติกภายในสิ้นปี 2564 โดยเร็ว พร้อมกันนี้ขอให้กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดเวทีการพบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเศษพลาสติก 2. แก้ไขกฎหมายในเขตประกอบการเสรี ให้มีการแก้ไขกฎหมายในเขตประกอบการเสรีและกฎหมายเขตปลอดอากรโดยห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ แต่ให้มีการใช้เศษพลาสติกในประเทศแทน 3.ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ โดยให้กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกภายในปี 2565 4.ต้องเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้า โดยให้กรมศุลกากรต้องทำพิกัดย่อยของพิกัด 39.15 สำหรับใช้กำกับการตรวจสอบการนำเข้าเศษพลาสติกและพลาสติกอื่นๆ เพื่อป้องกันการสำแดงเท็จ และเพิ่มบทลงโทษผู้นำเข้าและผู้แทน (ชิปปิ้ง) ที่สำแดงเท็จ และเมื่อพ้นช่วงผ่อนผันแล้วต้องห้ามนำเข้าเศษพลาสติกพิกัดศุลกากร39.15 ทั้งหมด 5.นำเข้าเฉพาะ "เม็ดพลาสติก" สำเร็จรูป ในระหว่างที่ยังเปิดให้นำเข้าเศษพลาสติกได้ ให้นำเข้าได้เฉพาะที่เป็น "เม็ดพลาสติก" สำเร็จรูป พร้อมนำไปผลิตเป็นชิ้นงานเท่านั้น 6.ห้ามให้ไทยเป็นฐานการแปรรูปเศษวัสดุ กระทรวงการคลังต้องไม่มีนโยบายรับการลงทุนอุตสาหกรรมรีไซเคิลจากต่างประเทศที่ใช้ไทยเป็นการแปรรูปเศษวัสดุจากต่างประเทศแล้วส่งออก และ 7.ให้ประชาชนร่วมทำงานและตรวจสอบ ขอให้คณะอนุกรรมการฯ เพิ่มผู้แทนสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วมเป็นกรรมการหรือคณะทำงานด้วย เพื่อสร้างความสมดุลของนโยบาย รวมทั้งให้ผู้แทนภาคประชาสังคมร่วมในการติดตามตรวจสอบการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรและกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวถึงนัยสำคัญการประกาศจัดตั้งเขตปลอดอากร เปิดช่องทางออกให้สามารถนำเศษพลาสติกจากต่างประเทศเข้ามารีไซเคิลแบบไม่มีข้อกำหนดเงื่อนไขเวลาอีกต่อไป เสมือนเป็นการทลายกำแพงการห้ามนำเข้าทิ้งโดยสิ้นเชิง แม้ในปี 2569 ผ่านไปแล้วก็ยังสามารถนำเข้ามาในเขตปลอดอากรได้ดังเดิม ซ้ำเติมปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมแฝงเร้นด้วยอันตราย ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวคัดค้านของภาคประชาสังคม เนื่องจากโรงงานรีไซเคิลเศษพลาสติกเป็นกิจการที่มีมลพิษสูงมาก การคัดแยกมีสารก่อมะเร็ง และเป็นแหล่งกำเนิด PM 2.5 ประเด็นสำคัญคือการหยุดยั้งธุรกิจค้าของเสียต้องได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศ และยิ่งประเทศพัฒนาควรจัดการของเสียทุกชนิดของตัวเอง ไม่ใช่รักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการผลักขยะและภาระการจัดการให้ประเทศอื่น พร้อมเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษตรวจสอบนำเข้าขยะ เนื่องจากหน่วยงานตำรวจสากลเคยทำรายงานออกมาเมื่อเดือน ส.ค. 2563 ว่า การนำเข้าขยะข้ามแดนเป็นอาชญากรรมทางสิ่งแวดล้อมและอาชญกรรมข้ามชาติ และหากรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในปี 2570 ต้องรีไซเคิลพลาสติกในไทย 100 % ต้องมีหน่วยงานเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อติดตามจับกุม สอบสวนดำเนินคดีผู้นำเข้าพลาสติกที่ผิดสำแดง ผิดกฎหมาย หรือบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเศษพลาสติกกระทบกลไกราคาระบบการรับซื้อขายขยะขาดทุน เป็นการทำลายอาชีพซาเล้ง ทำร้ายคนจนที่มีอาชีพเก็บขยะประทังชีวิตโดยตรง นายชัยยุทธิ์ พลเสน นายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า กล่าวแสดงจุดยืน 3 ข้อ 1.คัดค้านการอนุมัติการนำเข้าเศษพลาสติกที่กำลังพิจารณาในขณะนี้ 2. สมาคมขอคัดค้านอนุญาตให้การนำเข้าเศษพลาสติกในเขตฟรีโซน ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้า โดยอ้างว่าเป็นกฎหมายคนละฉบับ และ 3. การนำเข้าตามพิกัดศุลกากร 3915 ซึ่งเป็นพิกัดการรวมทุกชนิดของขยะพลาสติกเป็นการเปิดช่องให้นำเข้ามาได้ "3 ปีที่ผ่านมา ในช่วงปี 61 - 63 จากข้อมูลกรมศุลกากร พบนำเข้าขยะกว่า 1 ล้านตัน โดยรีไซเคิลเสร็จและส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 4 แสนตัน และเหลือคงค้าง 6 แสนตัน และอ้างว่าเป็นขยะที่สะอาดและราคาถูก ซึ่งขยะที่คงค้างกว่า 6 แสนตันควรนำไปใช้ให้หมดก่อนจึงจะนำเข้าอีกครั้ง" สำหรับความกังวลของผู้ประกอบการรีไซเคิลบางราย หากห้ามนำเข้าแล้วขยะในประเทศจะไม่เพียงพอ ในมุมของ **ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการ บริษัท คัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ จำกัด ระบุว่าอ้างอิงข้อมูลสนับสนุนว่าขณะนี้ไทยผลิตขวดน้ำพลาสติกประมาณ 386,000 ตันต่อปี โรงงานรีไซเคิลรับซื้อไปได้เพียง 260,000 ตันต่อปี ส่วนที่เหลือยังไม่ได้รับซื้อทั้งหมด ดังนั้นเพียงพอต่อกระบวนการรีไซเคิลอย่างแน่นอน ท้ายที่สุดยังต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด สำหรับทิศทางประเทศไทยกับการจัดการขยะพลาสติกจะมีบทสรุปอย่างไร https://mgronline.com/daily/detail/9640000089991
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|