เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 19-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default กรุงเทพฯจะ จมน้ำ (2)


อ่านบทความเก่าๆได้ที่ http://www.saveoursea.net/boardapr20...hp?topic=522.0

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 19-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เตรียมรับมือ กรุงเทพฯจมน้ำ รอ 10 ปีก็สายเสียแล้ว




จากคำทำนายในแง่โหราศาสตร์ที่ฟอร์เวิร์ดเมลกันว่อนในเวลานี้ ว่าปี 2553 น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่หนักยิ่งกว่าครั้งใดๆ

ประกอบกับมีข้อมูลทางวิชาการออกมาว่าปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง จนมีผลกระทบจะทำให้เกิดน้ำท่วมโลก พื้นดินหลายแห่งจะจมอยู่ใต้น้ำ รวมทั้งกรุงเทพมหานครของประเทศไทยด้วย

ได้กลายมาเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลแก่ประชากรโลก โดยเฉพาะ "คนกรุงเทพฯ" และปริมณฑล

"เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง แน่นอนว่านอกจากความเสียหายใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจที่รออยู่เบื้องหน้าแล้ว สุขภาพจิตของคนไทยคงต้องอยู่ในสถานการณ์อันตรายยิ่ง!"

จะเป็นเช่นที่กล่าวหรือไม่- -มีคำอธิบายจาก "ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้ศึกษาวิจัยประเด็นนี้เสร็จหมาดๆ แล้วส่งเปเปอร์ให้กับธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะเจ้าของเงินทุนการวิจัยไปเมื่อเดือนมีนาคม 2552 นี้เอง

ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เล่าความเป็นมาก่อนว่า ได้ใช้เวลาในการศึกษาเรื่องนี้ 2 ปี โดยศึกษาเฉพาะกรณีของประเทศไทย เหตุเพราะว่าธนาคารโลกสนใจเรื่องนี้มาก และศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อมูลว่า 4 เมืองหลักในทวีปเอเชีย ได้แก่ เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย, เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม, เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และกรุงเทพฯ ประเทศไทย


ภาพเปรียบเทียบชายฝั่งของเดิมและปัจจุบันที่ถูกน้ำท่วมเข้าไปลึกมากแล้ว

"อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะจมน้ำในปี พ.ศ.2563"

ดังนั้น จึงให้ทุนมาศึกษาวิจัยว่าความเสี่ยงมีมากขนาดไหน ประชาชนจะได้รับผลกระทบกี่ครอบครัว และความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่

"วิธีการศึกษาผมได้ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นคอมพิวเตอร์ทั้งหมด สร้างเมืองกรุงเทพฯจำลองขึ้นมา ซึ่งกรุงเทพฯ ประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองต่างๆ ระดับความสูงของพื้นดิน ระดับน้ำทะเลบริเวณเขตบางขุนเทียน จากนั้นใส่ปริมาณน้ำเหนือ น้ำหนุน และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา ใส่ข้อมูลต่างๆ ลงไปให้ครบ และใช้เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2538 เป็นฐาน.."

"ผล.. เราพบว่าถ้าเหตุการณ์อย่างปี 2538 เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง อนาคตเราหนีไม่พ้นแน่ กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้ ต้องโดนน้ำท่วมหนัก"

คำว่า ""กรุงเทพฯรับไม่ได้กับเหตุการณ์นี้"" ของอาจารย์เสรีมีความหมายว่าผืนดินบริเวณริมทะเลทั้งหมด โดยวัดจากริมชายทะเลเข้าไปในแผ่นดินประมาณ 10 กิโลเมตร จะถูกน้ำท่วม "โดยมีระดับความสูงของน้ำ 1.8-2.00 เมตร"!!


- ลักษณะของบ้านอนาคตประเทศไทยต้องมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านแพลอยน้ำเป็นของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ขณะนี้ได้ออกแบบเตรียมรับมือน้ำท่วมไว้แล้ว
- สภาพน้ำท่วมชายฝั่งด้านสมุทรปราการปัจจุบัน


""เราพบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ จะถูกน้ำท่วมรุนแรง แน่นอนว่าขึ้นอยู่กับว่าจะติดกับชายฝั่งขนาดไหน ถ้าอยู่ติดชายฝั่งระดับน้ำจะท่วมสูง 1.8-2.00 เมตร ถ้าลึกเข้าไปก็ลดหลั่นกันไป แต่ริมชายฝั่งอย่าง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร บริเวณปากแม่น้ำจมแน่ๆ""

"สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือเหตุการณ์ปี 2538 น้ำเหนือมาหนักมาก มันไหลมา 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่กรุงเทพฯรับน้ำได้ 3,000 ลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นหากเกิดเหตุการณ์เช่นปี 2538 อีกครั้งเมื่อน้ำมาสี่พันกว่าลูกบาศก์เมตรเขาจำเป็นต้องผลักน้ำออกไปทางซ้ายและทางขวา ก่อนเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งหมายความว่าน้ำจะท่วมชนบทอย่างมโหฬาร พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม จะโดนหนักมาก แล้วมาทาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เขตหนองแขม และเขตลาดกระบัง กทม. ก็ไม่รอด.."

สำหรับสาเหตุที่น้ำท่วมกรุงเทพฯในปี 2563 จะหนักหนาสาหัสมาก ดร.เสรีบอกว่า ตัวการสำคัญ คือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะผังเมือง

"พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ว่างเปล่า ลดลงไปจากเดิมถึงครึ่งหนึ่ง"

"แต่ก่อนผมจำได้ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของ กทม. 1,500 ตร.กม. เป็นพื้นที่สีเขียวประมาณ 40% ปัจจุบันเหลือเพียง 20% เท่านั้น และขณะนี้เรากำลังสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ รุกล้ำไปในพื้นที่ชุ่มน้ำมาก เช่น สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางระบายน้ำ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลลงทะเลไปทางทุ่งตะวันออก บริเวณหนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง บริเวณนี้หมู่บ้านเกิดขึ้นเยอะมาก รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหา"

อาจารย์เสรีบอกว่า ภายในปี 2563 หากเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นและถ้ารัฐบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้ดำเนินการอะไร ไม่ได้สร้างคันดินที่จะกั้นน้ำไม่ให้ทะลุเข้ามา หรือการขุดลอกคลองระบายน้ำ ทำพื้นที่แก้มลิง หรือหาพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติม

"น้ำจะท่วมกรุงเทพฯแน่นอน" โดยมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 50,000 ล้านบาท"

ที่สำคัญหากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่คิดหาวิธีป้องกัน หรือมีมาตรการใดๆ ออกมาอย่างชัดเจน คนกรุงเทพฯและปริมณฑลจะต้องเผชิญกับสภาพน้ำท่วมขังบ้านเรือนเป็นเวลา 1 เดือน

"โปรดเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมที่จะเผชิญกับมัน!!!"



จาก : มติชน วันที่ 19 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 23-06-2009
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

.....



เตรียมตัว.....เตรียมใจ.....เตรียมรับน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑลกันหรือยังคะ.....




ถ้าเป็นไปตามที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ไว้....ก็อีกไม่นานเลยล่ะค่ะ.......
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 23-06-2009
ตุ๊กแกผา's Avatar
ตุ๊กแกผา ตุ๊กแกผา is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 1,452
Default

ถ้าแถวบ้านติ๋วท่วม.........ฝั่งธนฯมิดแน่ๆเลยค่ะ

เพราะแถวบางซื่อเป็นที่ดอนกว่าฝั่งธนฯ.....ตอนที่ฝั่งธนท่วมหนักๆ บางซื่อยังไม่ท่วมเลย

แต่ก็ไม่ประมาทหรอกค่ะ.......แม่บอกว่าเตรียมการแล้ว5555
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 23-06-2009
zoopod zoopod is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jun 2009
ข้อความ: 30
Default

จริงๆมีหลายโครงการที่รัฐเตรียมงานไว้ครับ แบบเคยผ่านตามาบ้าง
แต่ต้องใช้เวลาเพราะเป็น Mega project ทั้งนั้น แต่เริ่มทำไปบ้างแล้ว
อย่างคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ และพวกประตูน้ำหลายที่ ใกล้ๆบ้านก็ประตูน้ำพระโขนง

อย่างที่ฮอลแลนด์ ประเทศนี้อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่เอาระบบทางวิศวกรรมมาจัดการปัญหาได้ดี

แฺ่ฮ่ แต่บ้านเราจะรอความหวังให้มีฮีโร่มาแก้ คงยากหน่อย ถ้าแก้ได้ก็แล้วไป ถ้าไม่แก้นี่ คนลำบากก็ประชาชน เต็มๆ
ขนาดซื้อบ้านใหม่ ยังซื้อแถวกรุงเทพฯด้านเหนือเลยครับ ไม่ต้องไปลุ้นอีกสิบปียี่สิบปีข้างหน้า ^^
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 23-06-2009
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

มัวแต่ทะเลาะกันอยู่............น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม.............ทำไม่ทำ..............ทำอย่างนี้ดีกว่าอย่างโน้น.........ความคิดเธอฉันไม่สนับสนุน....และอีกสารพัดความขัดแย้ง.......


การจัดการดูแลป้องกันน้ำท่วมก็เลยไม่ค่อยจะขยับไปไหน....


ตอนนี้อยากจะสร้างเขื่อนป้องกันน้ำทะเลท่วมเมืองเหมือนเนเธอร์แลนด์บ้าง......เงินก็หายากขัดสนไปหมด จะไปเอาเงินจากที่ไหน มาทำโครงการใหญ่ยักษ์ขนาดนั้นได้ล่ะคะ...


หนีไปสร้างบ้านทางด้านเหนือเมืองกรุง อย่านึกว่าจะพ้นนะคะ แถวๆนั้นน่ะตัวดี เป็นที่ระบายน้ำ ถ้ามีน้ำเหนือหลากมาเสริม ก็คงได้พายเรือเข้าบ้านกันสนุกสนาน.....
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 23-06-2009
zoopod zoopod is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jun 2009
ข้อความ: 30
Default

ถ้ารัก(หรือจำเป็น?) จะอยู่เมืองกรุงฯแบบใ้ห้บ้านพ้นน้ำ

สงสัยต้องหาอยู่คอนโดล่ะครับ:d
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 23-06-2009
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

อ่านเเล้วเครียดครับ ..

10 ปี ถ้าเริ่มต้นทำตั้งแต่วันนี้ น่าจะยังทัน
แต่เห็นในสภาแล้วก็ปลง มัวแต่ทะเลาะกันอยู่จริงๆอย่างพี่น้อยว่า ..
ถ้าน้ำท่วม คนในสภาคงย้ายบ้านหนีไปหมด ชาวบ้านตาดำๆเท่านั้นที่จะเดือดร้อน ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 20-08-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


กทม.วอนคนเมืองกรุงอย่าตระหนกสถานการณ์น้ำท่วมจากสภาวะโลกร้อน ยืนยันมีความพร้อมรับมือได้



" ประกอบ จิรกิติ" รองผู้ว่าฯกทม. ชี้เหตุการณ์น้ำท่วมจากสภาวะโลกร้อนยังไม่เกิดขึ้นเร็วๆนี้ ยันถ้าน้ำสูงมีมาตรการรับมือ ระบุถ้าจะเพิ่มความสูงของเขื่อนหรือระบายน้ำออกทะเล ต้องคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบด้วย

นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงกรณีที่นายพิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการบริหารศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย และอดีตผู้ว่าฯกทม. มีข้อกังวลว่า มาตรการรับมือน้ำท่วมของกทม.จะใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากเกิดสภาวะโลกร้อนอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความแปรปรวนของปริมาณน้ำฝนและมีน้ำในทะเลเพิ่มสูงขึ้น ว่า การออกมาเตือนดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพื่อที่ตนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ บรรเทาสาธารณภัยของกทม.อีกครั้ง อาทิ เครื่องสูบน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำในพื้นที่กทม. อย่างไรก็ตามตนไม่อยากให้คนกรุงเทพฯตื่นตระหนกกับการคาดการณ์ที่ว่ากทม.จะ ไม่สามารถระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ออกสู่ทะเลได้ เนื่องจากระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินไป เพราะตนมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะยังไม่มาถึงในช่วงเวลาอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม กทม.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยระหว่างนี้กทม.โดยสำนักการระบายน้ำได้ประสานในยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำหริ (กปร.) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมอุตุนิยมวิทยา รวมไปถึงจังหวัดใกล้เคียง อาทิ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.อ่างทอง เพื่อรับทราบถึงสถานการณ์น้ำและนำข้อมูลดังกล่าววางแผนในการรับมือและป้องกันต่อไป

นายประกอบ กล่าวถึงข้อเสนอที่ว่าให้เพิ่มความสูงของเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 50 เซนติเมตร รวมถึงการสร้างคันกั้นน้ำนั้น คงต้องนำประเด็นดังกล่าวพิจารณากับคณะทำงานของสำนักการระบายน้ำ(สนน.)อีก ครั้งหนึ่ง เบื้องต้นต้องพิจารณาตามความเหมาะสม อาทิ เขื่อนกั้นน้ำเจ้าพระยามีความสูงเฉลี่ย 2.5 เมตร หากจะสร้างเพิ่มอีก 50 ซม. นั้นจะสามารถทำได้หรือไม่ หากพิจารณาตามโครงสร้างฐานรากของเขื่อน เพราะหากสร้างสูงกว่านั้นประชาชนที่อยู่หลังเขื่อนจะได้รับความเดือดร้อน รวมไปถึงนำข้อมูลระดับน้ำสูงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมานำมาวิเคราะห์ ซึ่งหากพบว่าในอนาคตระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงเกินระดับเขื่อน อาจจะมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น นำกระสอบทรายเสริมความสูงให้กับเขื่อน เป็นต้น

รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวด้วยว่าตนคาดว่าช่วงปลายปี 2552 นี้ หากสถานการณ์ฝนตกไม่มีพายุเกิดขึ้น ระดับน้ำทะเลไม่หนุนสูง กทม.น่าจะรับมือกับสถานการณ์ได้ ทั้งนี้จากรายงานของสนน.เรื่องปริมาณฝนตกในเดือนสิงหาคมพบว่ามีปริมาณ 93 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าลดลงเมื่อเทียบกับสถานการณ์รอบ 30 ปีที่ คือ 114.2 มิลลิเมตร แม้การรายงานปริมาณน้ำฝนจะไม่ถึงขั้นวิกฤต กทม.ก็ได้เตรียมรับมือเบื้องต้น คือ พร่องน้ำในคลองแสนแสบ และคลองอื่นๆ รวมไปถึงระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาออกไปแล้วส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมการหากมีฝนตกในปริมาณมากก็จะสามารถระบายลงคลองได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการระบายน้ำออกสู่ทะเลนั้น กทม.ได้คำนึงถึงประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งด้วย เนื่องจากหากระบายน้ำจืดออกสู่ทะเลมากเกินไป ก็อาจกระทบต่อการประมงชายฝั่งได้




จาก : มติชน วันที่ 19 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 22-09-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เตือนภัยแผ่นดินปากแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้จมทะเล


วารสารด้านธรณีวิทยาระบุอ้างจากภาพถ่ายดาวเทียม หากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน พื้นที่ปากแม่น้ำหลายแห่งทั่วโลกมีอัตราการทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทยด้วยเช่นกัน...

สำนัก ข่าวเอเอฟพีรายงานวันนี้ ( 21 ก.ย. ) อ้างข้อมูลจากวารสารด้านธรณีวิทยา “เนเชอร์ จีโอไซน์” ระบุทำนายพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญๆ ของโลกราว 2 ใน 3 ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของผู้คนรวมมากเกือบ 500 ล้านคน จะถูกน้ำทะเลท่วมในที่สุด รวมถึงพื้นที่แถบปากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย

รายงานฉบับดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียม แสดงให้เห็นพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของโลก 33 แห่ง พบว่า 85 เปอร์เซ็นต์ เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยภาวะน้ำท่วมกระทบผืนแผ่นดินบริเวณกว้างมากกว่า 260,000 ตารางกม. และภายในสิ้นศตวรรษนี้สถานการณ์น้ำท่วมจะขยายตัวขึ้นอีก 50 เปอร์เซ็นต์

หากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ออสเตรเลียกับแอนตาร์คติกา เผชิญหายนะภัยลักษณะดังกล่าวไปแล้ว แต่พื้นที่แถบนั้นไม่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น ผิดจากพื้นที่แถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของเอเชีย ซึ่งแต่ละแห่งมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น ไล่ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด 3 ใน 11 แห่ง คือ ปากแม่น้ำเหลืองหรือแม่น้ำหวงเหอทางภาคเหนือของจีน ปากแม่น้ำแยงซีใกล้มหานครเซี่ยงไฮ้ และปากแม่น้ำมุกใกล้เมืองกวางโจว ส่วนพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ อาทิ ปากแม่น้ำไนล์ในอิยิปต์ ปากแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย ปากแม่น้ำไรน์ของฝรั่งเศส ปากแม่น้ำคงคาในบังกลาเทศ ปากแม่น้ำอิระวดีในพม่า ปากแม่น้ำโขงในเวียดนามและปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ในสหรัฐ ถ้ามนุษย์ไม่แทรกแซงจัดการแก้ปัญหาหรือปล่อยให้สถานการณ์เป็นไปตามสภาวะ จะก่อให้เกิดน้ำท่วมแผ่นดินกินบริเวณกว้าง

ทั้งนี้ ตามรายงานของสหประชาชาติ ระบุภายในปี 2643 หรือสิ้นศตวรรษนี้ ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย18-59 ซม. ขณะที่พื้นที่ปากแม่น้ำหลายแห่งทั่วโลกมีอัตราการทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยามีอัตราทรุดตัวลงเฉลี่ยปีละ 5-15 ซม. เนื่องเพราะการสูบน้ำบาดาลมาใช้อย่างกว้างขวาง ส่วนพื้นที่ปากแม่น้ำโพในอิตาลี ตลอดช่วงศตวรรษที่แล้วแผ่นดินทรุดลงมากถึง 3.7 เมตร เพราะการทำเหมืองเจาะก็าซมีเทนใต้ดิน และพื้นที่ปากแม่น้ำอิระวดีของพม่าหลังเผชิญพายุไซโคลนนาร์กีซพัดถล่มเมื่อ ปีที่แล้ว ทำให้บางพื้นที่เกิดน้ำท่วมเหนือระดับน้ำทะเลลึกถึง 6 เมตร นั่นคือเหตุผลทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายมากถึง 138,000 ราย.



จาก : ไทยรัฐ วันที่ 22 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:17


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger