#1
|
|||
|
|||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันลดลง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรง เว้นแต่ภาคเหนือที่มีแนวโน้มการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 ? 28 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 4 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 26 - 28 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 27 ก.พ. ? 3 มี.ค. 66 ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยนตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง |
#2
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
การคุ้มครองทางทะเลเป็นตัวแปรสำคัญต่อความยั่งยืน ถ้ามหาสมุทรที่ได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับผู้คนและความเจริญรุ่งเรืองในการหาอาหาร การรักษาความหลากหลายทางชีวะภาพ เพื่อให้มีความหวังสําหรับอนาคตที่ดีขึ้น และยืดหยุ่นมากขึ้นสําหรับชุมชนชายฝั่งทั่วโลก ข้อมูลจาก World economic forum ระบุว่าความยืดหยุ่นของชายฝั่ง ความมั่นคงในการทํางาน การประมงที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวที่เท่าเทียมกัน ชายหาดปลอดมลภาวะ พลังงานหมุนเวียนและอื่นๆ อีกมากมาย เครื่องบรรณาการของมหาสมุทรที่มีสุขภาพดีเหล่านี้รับประกันเงินปันผลที่ไร้ขอบเขตสําหรับผู้คนทุกที่ สําหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป การใช้ทรัพยากรทางทะเลที่มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนและเท่าเทียมกันนั้นมั่นใจได้ดีที่สุดผ่านการจัดตั้งและบํารุงรักษาพื้นที่คุ้มครองทางทะเล(MPAs) สิ่งเหล่านี้ปกป้องสุขภาพของชีวิตด้านล่างและเหนือผิวมหาสมุทร SDG14 อนุรักษ์และใช้มหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2015 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึง SDG14 สําหรับมหาสมุทร ก่อตั้งขึ้นโดยประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมดเพื่อทําหน้าที่เป็น "พิมพ์เขียวที่ใช้ร่วมกันเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองสําหรับผู้คนและโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต"ภายใต้ SDG14 มีเป้าหมายเฉพาะที่จะ "จัดการและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบที่สําคัญ รวมถึงการเสริมสร้างความยืดหยุ่น และดําเนินการเพื่อการฟื้นฟูเพื่อให้ได้มหาสมุทรที่แข็งแรงและมีประสิทธิผล" ตลอดจนให้คํามั่นที่จะจัดการกับมลพิษทางทะเลและการตกปลามากเกินไปในทุกรูปแบบ การประชุม UN Convention on Biological Diversity ในเดือนธ.ค. 2022 ประเทศต่างๆ ได้รวมตัวกันเพื่อลงนามในกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก มุ่งมั่นที่จะปกป้องที่ดินและมหาสมุทรอย่างน้อย 30% ภายในปี 2573 ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานของการปกป้องดาวเคราะห์ที่เรียกว่า ?30x30? ซิลเวีย เอิร์ล นักชีววิทยาทางทะเล National Geographic Explorer in Residence นักประดาน้ําตลอดชีวิต และสมาชิกของชุมชน Friends of Ocean Action หรือที่เรียกกันติดปากว่า Her Deepness พูดถึงความหวังที่เกิดจากมหาสมุทรที่ได้รับการคุ้มครองทุกสายใหม่ Mission Blue ขบวนการอนุรักษ์ทางทะเลทั่วโลกของเธอระบุ ?Hope Spots? ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกระบุทางวิทยาศาสตร์ว่ามีความสําคัญต่อสุขภาพของมหาสมุทรโลก เมื่อเร็วๆ นี้ Hope Spot ใหม่ได้รับการประกาศรอบชายฝั่ง Greater Skellig ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่งดงามของมหาสมุทรซึ่งมีการคุ้มครองซึ่งประดิษฐานอยู่ในกฎหมายในปี 2023 ในเดือนม.ค. วาระปฏิบัติการมหาสมุทรของ World Economic Forum และ Friends of Ocean Action ได้ออกแถลงการณ์ Ocean Action ในปี 2023 โดยเรียกร้องให้มีความก้าวหน้าที่ทะเยอทะยานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุสุขภาพมหาสมุทรผ่านโอกาสข้างหน้า การปกป้องมหาสมุทรที่หลากหลายมากมายในช่วง IMPAC5 ซึ่งสร้างขึ้นจากโมเมนตัมที่เพิ่มขึ้นของการกระทําของมหาสมุทร สิ่งเหล่านี้มีตั้งแต่การกําหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่จําเป็นสําหรับ MPA ที่มีประสิทธิภาพ ไปจนถึงคํามั่นสัญญาในการอนุรักษ์มหาสมุทร รัฐบาลแคนาดายังเข้าร่วมเสียงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรียกร้องให้มีมาตรการป้องกันไว้ก่อนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในมหาสมุทรลึก โดยประกาศเลื่อนการชําระหนี้ที่มีประสิทธิภาพสําหรับการขุดก้นทะเลลึกภายใต้เขตอํานาจศาลของตน |
#3
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
?เทคโนโลยีดาวเทียมสุดล้ำ?ตรวจจับวัดค่าขีดความสามารถจัดการ ?คาร์บอน? ?ข้อมูล และสถานการณ์จริง? มีส่วนสำคัญสูงสุดต่อการบริหารจัดการด้านต่างๆ หากเป็นสิ่งที่มองเห็นไม่ว่าจะเป็นการบริหารคน หรือธุรกิจก็ไม่น่าจะยาก แต่เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้อย่าง ?คาร์บอน? เป็นเรื่องที่มีความท้าทายสูง นำไปสู่การใช้ ?เทคโนโลยีดาวเทียม? เพื่อตรวจจับ และวัดปริมาณคาร์บอนเพื่อให้ทราบสถานการณ์แบบเรียลไทม์ ก่อนวางแผนทั้งฝั่งการรักษาเครื่องมือดูดซับคาร์บอน และปริมาณการปล่อยคาร์บอนด้วย เอริค บุลล็อค หน่วยงานด้านป่าไม้และป่าไม้สหรัฐ(USGS) กล่าวในการสัมมนา ?Carbon Accounting : Observation from Space? จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) หรือ Gistda ว่า ช่วงปี 2020-2050 พบว่ามาตรการต่างๆ เพื่อดูแลป่าไม้ และการลดผลกระทบจากปัญหานิเวศน์ทางธรรมชาติต่างๆ ได้สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คิดเป็นมูลค่าได้ถึง 100 ดอลลาร์ต่อคาร์บอน 1 ตัน (tCO2-eq) นั่นหมายความว่า ภาคการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์จากที่ดินมีมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ได้กล่าวไว้ในรายงานของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[ IPCC] ดังนั้น หากมีข้อมูลเกี่ยวกับป่าไม้ หรือแม้แต่ชีวมวลต่างๆ บนพื้นดินหรือใต้ดิน ก็จะทำให้การจัดการเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบจากปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ หรือ Climate Change ได้ด้วย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เทคโนโลยีดาวเทียมมาเป็นเครื่องมือเก็บ และประเมินสถานการณ์จริงได้ ?กลไกเหล่านี้เป็นเหมือนโลกใหม่ที่จะปรับโฉมการปรับการจัดการป่าไม้ และทรัพยากร รวมถึงการแก้ปัญหาการปล่อยคาร์บอนได้? สำหรับกลยุทธ์ของ The Global Ecosystem Dynamics Investigation (GEDI) ได้แก่ การตรวจสอบการจัดเก็บคาร์บอนในป่าจากการเก็บข้อมูลด้วยดาวเทียมจากอวกาศมีข้อตอนดังนี้คือ 1.ใช้ Lidar อวกาศตัวแรกที่มีคุณสมบัติการตรวจจับที่เข้ากันได้กับการสํารวจภาคสนาม 2.GEDI สังเกตโครงสร้างหลังคาโดยการรวบรวม ข้อมูล ?รูปคลื่น? มากกว่า 25 เมตร 3.กลยุทธ์การประมาณค่าชีวมวลเบื้องต้นตามการอนุมานตามแบบจําลองไฮบริด ทั้งนี้ โดยมีกรอบการประมาณการ ซึ่งจะช่วยให้ GEDI ทํานายชีวมวลเหนือพื้นดินที่ระดับภาคพื้นดินได้คือ 1. รัศมีกริด 1 กิโลเมตร 2. พื้นที่ประเทศต่างๆ 3. วางกรอบสำรวจเป็นรูปหลายเหลี่ยม เมื่อได้ข้อมูลแล้วจะปรับเทียบในระดับท้องถิ่น และนำไปสู่การอนุมานแบบไฮบริดเพื่อลดความไม่แน่นอน เจเน็ต แนคโคนีย์ จากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) กล่าวว่าการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั้นทาง USAID ได้เข้าไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทั่วโลกมีป่าเขตร้อนสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่ง แต่ก็ถูกทำลายอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ?ป่าไม้ขนาดใหญ่สูญหายไปอย่างต่อเนื่อง สถิติชี้ว่าปี 2022 มีป่าไม้ขนาดใหญ่หายไปถึง 75% และสองใน 3 ของความสูญเสียดังกล่าว เกิดขึ้นจากการ ตัดไม้ทําลายในพื้นที่ป่าเขตร้อนระหว่างปี 2016 ถึง 2019 โดยมีการกระตุ้นจากการเกษตรเชิงพาณิชย์ และสัดส่วนถึง 75% เป็นการเกษตรแบบผิดกฎหมายด้วย" ในประเทศที่มีรายได้น้อยการปล่อยมลพิษส่วนใหญ่มาจากการทำการเกษตร ทำให้การทำงานเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนเเปลงทำได้ยาก และขัดแย้งกับการจัดการป่าไม้ และที่ดิน ซึ่งต้องประเมินการทำงานที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นควบคู่ไปด้วย การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติที่ USAID คือ 1.อนุรักษ์ป้องกันการสูญเสียระบบนิเวศน์ดั้งเดิม 2.จัดการปรับปรุงระบบการผลิต เช่น ฟาร์ม ฟาร์มปศุสัตว์ และป่าทํางาน 3. กู้คืนนําระบบนิเวศน์พื้นเมืองกลับมา เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กล่าวว่าโครงการปลูก และฟื้นฟูป่า และการกักเก็บคาร์บอนในอนาคตให้ได้ 120 ล้านตัน โดยวัดผลการประเมิน Carbon Credit ภาคป่าไม้ ในปัจจุบัน อบก.ได้เปิดเป็นทางเลือกให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมหลายๆ แบบ มาร่วมใช้ประเมินเนื้อไม้ที่เพิ่ม เปรียบเทียบกับ Baseline เดิมได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีรูปแบบของต้นไม้ใกล้เคียงกัน เพื่อใช้ในการประเมินมีความจำเป็นที่ต้องสอบเทียบความถูกต้องกับวิธีมาตรฐานกลางตามวิธีการคำนวณตามมาตรฐานประเมินคาร์บอนเครดิตด้วย การนำเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้งานเพื่อจัดการสร้างระบบการจัดการ ?คาร์บอน? เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยดูแลโลก และเศรษฐกิจให้เติบโตไปควบคู่กัน |
#4
|
|||
|
|||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
เรือผู้อพยพอับปางนอกชายฝั่งอิตาลี มีผู้เสียชีวิตเกือบ 60 ราย ทางการอิตาลีเปิดเผยว่า เกิดเหตุเรือผู้อพยพอับปางนอกชายฝั่งทางตอนใต้ของอิตาลี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 59 ราย ในจำนวนนี้รวมถึงเด็ก 12 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้สูญหายอีกหลายสิบราย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เรือลำดังกล่าวซึ่งล่องมาจากตุรกี และบรรทุกผู้คนมาจากอัฟกานิสถาน อิหร่าน และอีกหลายประเทศนั้น เกิดอับปางท่ามกลางคลื่นทะเลโหมกระหน่ำก่อนที่จะถึงช่วงเช้าตรู่ของวันอาทิตย์ โดยจุดที่เรืออับปางนั้นอยู่ใกล้กับเมืองสเตคคาโต ดิ คูโตร ซึ่งเป็นเมืองตากอากาศริมทะเล บริเวณชายฝั่งตะวันออกของแคว้นคาลาเบรียในประเทศอิตาลี เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดการอภิปรายรอบใหม่เกี่ยวกับผู้อพยพในยุโรปและอิตาลีที่เพิ่งบังคับใช้กฎหมายเข้มงวดเกี่ยวกับแนวทางการรับผู้อพยพ ซึ่งถูกวิพาษ์วิจารณ์อย่างหนักจากองค์การสหประชาชาติ และหน่วยงานอื่น ๆ นายมัตเตโอ เปียนเตโดซี รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของอิตาลีซึ่งเดินทางลงพื้นที่เกิดเหตุ เปิดเผยว่า มีผู้อพยพประมาณ 20-30 รายที่ยังสูญหาย โดยเรือลำดังกล่าวบรรทุกผู้อพยพประมาณ 150-200 ราย ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจของอิตาลีเปิดเผยว่า เรือผู้อพยพลำนี้ล่องมาจากเมืองอิซมีร์ ซึ่งเป็นเมืองท่าในฝั่งตะวันตกของตุรกีเมื่อ 4 วันก่อน และถูกพบเห็นโดยเครื่องบินลำหนึ่งที่ปฏิบัติการโดยหน่วยฟรอนเท็กซ์ (Frontex) ซึ่งเป็นหน่วยปกป้องพื้นที่ชายแดนของสหภาพยุโรป นอกจากนี้หน่วยฟรอนเท็กซ์ระบุว่าเรือลำนี้ล่องอยู่ห่างจากนอกชายฝั่งอิตาลีประมาณ 74 กิโลเมตร ในช่วงเย็นวันเสาร์ที่ 25 ก.พ. ขณะที่สำนักข่าว ANSA ของอิตาลีรายงานว่า เด็กทารกรายหนึ่งอายุเพียงไม่กี่เดือน เป็นหนึ่งในบรรดาผู้เสียชีวิตที่ถูกคลื่นทะเลซัดเกยตื้น ซึ่งสร้างความหดหู่ใจแก่ผู้ที่พบเห็น ด้านนางจอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์เรืออับปางและมีผู้อพยพเสียชีวิตจำนวนมาก พร้อมกับกล่าวโทษขบวนการค้ามนุษย์ที่ได้ประโยชน์จากการลักลอบพาคนต่างด้าวเข้าเมือง รวมทั้งหลอกให้ผู้อพยพเข้าใจผิดเกี่ยวกับโอกาสของการเดินทางที่ปลอดภัย |
|
|