#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประฃาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง มากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย เดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 2 มิ.ย. 65 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3 ? 5 มิ.ย. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 31 พ.ค. - 2 มิ.ย. 65 ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง สำหรับประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ตลอดช่วงไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศ คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2565) ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 2 มิ.ย. 65
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
'โลมา' ฝูงสุดท้ายใน 'ทะเลสาบสงขลา' ตอนที่ 1 หลายปีที่ผ่านมาเรื่องของ "โลมา" หรือ "ปลาโลมา" ที่เป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีแหล่งอาศัยอยู่ใน "ทะเลสาบสงขลา" ได้ถูกนักอนุรักษ์, องค์กรภาคประชาชนด้านสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานด้านการประมงในพื้นที่ของ จ.สงขลา และ "อ่าวไทยตอนล่าง" ออกมาแสดงความ "คิดเห็น" ด้วยความห่วงใยในเรื่องของโลมาที่มีข่าวการเสียชีวิตเกิดขึ้นบ่อย ๆ ด้วยความ "วิตกกังวล" ว่า "โลมา" ฝูงสุดท้าย ในทะเลสาบสงขลาอาจจะต้อง "สูญพันธ์ุ" หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถที่จะปกป้องชีวิตของโลมาฝูงนี้ ให้พ้นจากความตายที่เกิดขึ้น ในอดีตทะเลสาบสงขลาเป็น "ทะเลสาบ" ที่ได้ขึ้นชื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำและพืชทะเลที่เป็นอาหารของผู้คน และสัตว์น้ำ โดยเฉพาะ "โลมา" ซึ่งอาศัยอยู่ใน "ทะเลสาบตอนบน" ตั้งแต่ ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา จนถึง "ทะเลน้อย" อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งในอดีตในทะเลสาบแห่งนี้จะมี "ฝูงโลมา" นับร้อย ๆ ตัว หากิน ออกลูกออกหลาน แพร่พันธุ์อย่างอิสระเสรีเพราะไม่ถูกรบกวนจากผู้มีอาชีพทำการประมง และมีอาหารที่อุดมสมบูรณ์โดยไม่ต้องออกมา "หาอาหาร" นอกพื้นที่ของ "ทะเลสาบตอนใน" แต่ ณ วันนี้ "ฝูงโลมา" ที่เคยมีอยู่นับร้อยตัว เหลือรอดมีชีวิตอยู่ นับในเดือนพฤษภาคม 2565 เพียง 14 ตัว เมื่อข่าวนี้มีการเผยแพร่ออกไป ยิ่งทำให้มีเสียงถามจากภาคประชาสังคม นักอนุรักษ์ และประชาชน กลุ่มที่มีความ "หวงแหน" การอยู่รอดของ "โลมา" ฝูงสุดท้าย ด้วยการตั้งคำถามถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพิทักษ์ฝูงโลมาฝูงสุดท้ายเพื่อไม่ให้ถึงกาลต้องสูญพันธุ์อย่างไรบ้าง นักวิชาการ "บางคน" ถึงกับตั้งคำถามต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า "จำเป็น" ที่จะต้องอพยพฝูงโลมาฝูงสุดท้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัยได้หรือไม่ หน่วยงานราชการ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องและซ่อมสร้างให้เกิดความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ได้แก่ ?ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง? ซึ่ง ณ ขณะนี้มี นางสาวราตรี สุขสุวรรณ์ เป็นผู้อำนวยการ และมีที่ทำการอยู่ที่หมู่ 8 ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลาซึ่งศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง มีนักวิชาการที่ทำหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบ วิจัยสิ่งมีชีวิตในชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง โดยเฉพาะกับเรื่องของ "โลมา" ฝูงสุดท้าย ที่เป็นประเด็นของความ "ห่วงใย" เพราะหวั่นว่าการที่ "โลมา" ฝูงสุดท้ายที่มีอยู่ต้องเสียชีวิตไปเรื่อย ๆ ปีละหลาย ๆ ตัว โอกาสที่คนรุ่นต่อไปของ จ.สงขลา จะได้เห็น "โลมา" เป็น ๆ ที่อวดโฉมอยู่ในทะเลสาบสงขลา อาจจะไม่มีอีกแล้ว หนึ่งในนักวิชาการของศูนย์วิจัยแห่งนี้ ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของวิกฤติของโลมาฝูงสุดท้าย ในทะเลสาบสงขลาว่าขณะนี้มี "โลมา" เหลืออยู่ 14 ตัว โดยตัวที่ 15 เพิ่งจะเสียชีวิตจากการที่มี "บาดแผล" ของการเข้าไป "ติดอวน" ของชาวประมงที่ทำประมงในพื้นที่ "ทะเลสาบตอนบน" ซึ่งเป็นที่อาศัยและหากินของปลาโลมาฝูงนี้ สาเหตุการเสียชีวิตของปลาโลมาในทะเลสาบสงขลา มาจากการป่วยไข้และการบาดเจ็บจากการออกหากิน และเข้าไปติดเครื่องมือการทำประมงของชาวประมงทำให้เกิดบาดแผลและบาดเจ็บจนเสียชีวิตในที่สุด รวมทั้งการ "เจ็บป่วย" จาก สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะมาจากเรื่องของสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ นอกจากการเฝ้าติดตามเพื่อดูแลความเป็นอยู่ของโลมาฝูงนี้เพื่อให้ความปลอดภัยแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราทำอย่างเข้มข้นคือการขอความร่วมมือจากชาวประมงที่ ทำการประมงในพื้นที่ของ "ทะเลสาบสงขลา" ทั้งตอนบน และตอนล่าง ที่ "โลมา" อาจจะเข้ามาหากิน เพื่อให้ช่วยกันระวัดระวัง อย่าให้โลมาเข้ามาติดเครื่องมือประมง และหากมี "โลมา" ติดเครื่องมือประมง ต้องให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการช่วยชีวิตของโลมา ที่เข้ามาติดอวนหรือเครื่องมือประมงอื่น ๆ ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ประกอบอาชีพประมงในทะเลสาบสงขลา ได้ให้ความร่วมมือในการดูแลและอนุรักษ์ฝูงปลาโลมาฝูงนี้เป็นอย่างใด แต่ด้วยที่เขามีอาชีพในการทำประมงซึ่งเป็นวิถีชีวิตของเขา ที่เราไม่สามารถขีดเส้น หรือบริเวณในการทำประมง และ ขณะเดียวกัน "โลมา" ก็ออกหากิน ในพื้นที่ของ "ทะเลสาบ" ที่เราไม่สามารถกำหนดพื้นที่ของการหากินได้เช่นกัน การที่จะบอกว่าต้องทำให้ปลาโลมาฝูงนี้ปลอดภัย 100% จากเครื่องมือการทำประมง จึงเป็นไปไม่ได้ สำคัญที่สุดคือการขอความร่วมมือจาก "ชาวประมง" เท่านั้น และพบกัน "โลมา" ฝูงสุดท้ายใน "ทะเลสาบสงขลา" ตอนที่ 2 ซึ่งจะพูดถึงการเสนอให้มีการอพยพปลาโลมาฝูงสุดท้ายในทะเลสาบสงขลา ไปอาศัยยังท้องทะเลที่อื่น ๆ ว่าเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน พบกันวันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 https://www.dailynews.co.th/articles/1088928/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ปลดปล่อยแบคทีเรียดื้อยาจากแอนตาร์กติกา Photo by Photo by Cristian FUENTES VALENCIA / Universidad de Chile / AFP นักวิทยาศาสตร์จากชิลีพบแบคทีเรียที่มียีนดื้อยาปฏิชีวนะในแอนตาร์กติกา สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า อันเดรส มาร์โคเลตา นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชีลีซึ่งเป็นหัวหน้าในการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Science of the Total Environment ค้นพบแบคทีเรียที่มียีนดื้อยาในทวีปแอนตาร์กติกา และมีศักยภาพที่จะแพร่กระจายไปนอกพื้นที่ขั้วโลก มาร์โคเลตากล่าวว่า "เรารู้ว่าดินในคาบสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ขั้วโลกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายมากที่สุด มีแบคทีเรียหลากหลายชนิด และบางชนิดก็มีแหล่งของยีนที่มีศักยภาพในการดื้อยาปฏิชีวนะ" ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิลีได้เก็บตัวอย่างหลายตัวอย่างจากคาบสมุทรแอนตาร์กติกตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2019 มาร์โคเลตาตั้งข้อสงสัยว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีผลกระทบต่อการเกิดโรคติดเชื้อหรือไม่ โดยชี้ว่าหากยีนเหล่านี้แพร่ออกไป อาจส่งเสริมให้เกิดโรคติดเชื้อที่แพร่ระบาดอีก อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่าแบคทีเรีย Pseudomonas ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มแบคทีเรียที่เด่นในคาบสมุทรแอนตาร์กติกไม่ก่อให้เกิดโรค แต่สามารถเป็นแหล่งของยีนดื้อยา ซึ่งไม่สามารถยับยั้งได้โดยสารฆ่าเชื้อทั่วไป อาทิ คอปเปอร์ คลอรีน หรือควอเทอร์นารีแอมโมเนียม นอกจากนี้ยังได้มีการวิจัยแบคทีเรีย Polaromonas ซึ่งพบว่ามีศักยภาพในการยับยั้งยาปฏิชีวนะชนิด beta-lactam ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ https://www.posttoday.com/world/684474
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|