#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง มีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคเหนือตอนบน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 23 - 25 ส.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนภาคเหนือ และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่วนในช่วงวันที่ 26 - 28 ส.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ทำไมการเคลื่อนสูงขึ้น 1 กม. ของแผ่นดินทวีปแอฟริกาใต้ อาจส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศ และชีวิตมนุษย์ในอนาคต? Summary - การวิจัยที่นำโดย ศาสตราจารย์โธมัส เจอร์นอน อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลก ที่มหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ค้นพบว่า การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกอาจทำให้เกิดคลื่นสั่นสะเทือนขนาดใหญ่ที่ทำให้แผ่นทวีปสูงขึ้นกว่า 1 กิโลเมตร ในบริเวณแอฟริกาใต้ - ทีมวิจัยเรื่องนี้ตั้งข้อสังเกตว่า คลื่นที่ทำให้แผ่นดินเคลื่อนนี้อาจส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น สภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ รวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพ และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ด้วย - โธมัส กล่าวว่า การที่ทวีปลอยตัวสูงขึ้นนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ และยังต้องมีการศึกษาต่อไปเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ป่า และอื่นๆ อีกมากมาย 'โลก' คือดาวเคราะห์ที่มีชีวิตและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้หลายคนจะยังเข้าใจว่าแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ทางแนวนอนอย่างเดียว ตามแนวคิดทวีปเลื่อนของ อัลเฟรด โลธาร์ เวเกเนอร์ (Alfred Lothar Wegener) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่บอกว่า ในอดีตทวีปต่างๆ เคยอยู่ติดกันมาก่อน และแผ่นดินค่อยๆ เคลื่อนที่จนกลายมาเป็นทวีปในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่า แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้นอกจากเคลื่อนที่ตามแนวนอนแล้วยังเคลื่อนที่ในแนวตั้งด้วยเช่นกัน ส่งผลให้แผ่นทวีปสูงขึ้น แม้ว่ากระบวนการเคลื่อนที่แนวตั้งจะช้าและเกิดขึ้นมานานหลายล้านปีแล้ว แต่เมื่อไม่นานมานี้ การวิจัยที่นำโดย ศาสตราจารย์โธมัส เจอร์นอน (Thomas Gernon) อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์โลก ที่มหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน (University of Southampton) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature ค้นพบว่า การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกอาจเกิดคลื่นสั่นสะเทือนขนาดใหญ่ที่ทำให้แผ่นทวีปสูงขึ้นกว่า 1 กิโลเมตร ในบริเวณแอฟริกาใต้ โธมัส อธิบายกับ BBC Science Focus ว่า การเคลื่อนตัวที่มากขึ้นเช่นนี้อาจเกิดจากรอยแยกและการแตกตัวของแผ่นทวีปตามกาลเวลา เมื่อแผ่นทวีปแตกออกเปลือกโลกก็จะยืดออก ซึ่งส่งผลให้เกิด ?การเคลื่อนตัวแบบกวาด? (sweeping motion) และส่งผลกระทบต่อฐานของทวีป "มันเหมือนกับการยืดทอฟฟี่ที่ตรงกลางจะบางลง เปลือกโลกก็เป็นเช่นนั้น ทำให้วัตถุความร้อนใต้พิภพจากด้านล่างพวยพุ่งขึ้นมากระทบกับพื้นแผ่นทวีปที่มีอุณหภูมิเย็นกว่า และทรุดตัวลงไปอีกครั้ง" ทีมวิจัยเรื่องนี้ตั้งข้อสังเกตว่า คลื่นที่ทำให้แผ่นดินเคลื่อนนี้อาจส่งผลกระทบในหลายด้าน เช่น สภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ รวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพ และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ด้วย เช่นเดียวกับในสมัยโบราณที่เมื่อแกนทวีปไม่เสถียรก็จะส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศต่างๆ ศาสตราจารย์ ซาชา บรูเน่ (Sascha Brune) และ ดร.แอนน์ เกลรัม (Anne Glerum) ผู้ร่วมทีมวิจัย ยังพบอีกว่า คลื่นดังกล่าวมีอัตราความเร็วใกล้เคียงกับคลื่นที่เกิดในเหตุการณ์แผ่นดินเคลื่อนจนทำให้มหาทวีปกอนด์วานาแตกสลาย (ปัจจุบันคืออเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา ออสเตรเลีย อินเดีย มาดากัสการ์ และไทย) คลื่นนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการกัดเซาะ ซึ่งจะผลักหินและส่วนอื่นๆ ของทวีปให้เคลื่อนที่ ทำให้ทวีปลอยตัวสูงขึ้น "ปรากฏการณ์นี้คล้ายกับบอลลูนลมร้อนที่ความร้อนจะเบากว่าความเย็น ทำให้บอลลูนลอยตัวสูงขึ้นได้ เหมือนกับแผ่นทวีปที่ลอยตัวขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ดุลเสมอภาค (isostasy)" ศาสตราจารย์ ซาชา อธิบาย โธมัส กล่าวเสริมว่า การยกตัวขึ้นของแผ่นเปลือกโลกนี้เกิดขึ้นมานานหลายพันล้านปี ภูมิภาคที่เกิดการเคลื่อนของแผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของบรรพบุรุษในทวีปต่างๆ ซึ่งอยู่รอดมาได้มาอย่างยาวนาน และผ่านเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ของโลกมาได้ แต่หลังจากที่ทวีปต่างๆ แยกออกจากกัน พวกเขาก็ต้องเผชิญกับความโกลาหลครั้งใหญ่ที่ตามมาด้วย "การที่ทวีปลอยตัวสูงขึ้นนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ และยังต้องมีการศึกษาต่อไปเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ป่า และอื่นๆ อีกมากมาย" อ้างอิง: good.is, ipst.ac.th, scimath.org https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/104719
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
"ชลบุรี" คราบน้ำมันปริศนา ลอยเต็มอ่าวบางเสร่ ส่งกลิ่นฉุน ยาวเกือบ 4 กม. พบคราบน้ำมันปริศนา ลอยเต็มอ่าวบางเสร่ ทะเลเมืองชล ยาว 3-4 กม. บางช่วงหนาเห็นเป็นสีดำเข้ม-ส่งกลิ่นเหม็น คาดคลื่นซัดเกยฝั่งคืนนี้ ชาวบ้าน-นักท่องเที่ยวพบเห็นตื่นตระหนก กองทัพเรือ-หน่วยงานเกี่ยวข้อง เร่งเก็บกู้คราบน้ำมันคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบคราบน้ำมันจำนวนมาก กระจายตัวเป็นวงกว้างทอดเป็นทางยาวหลายกิโลเมตร รายล้อมปกคลุมบริเวณอ่าวบางเสร่ ต.บางเสร่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน และนักท่องเที่ยวที่พบเห็น ต่อมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำโดรนขึ้นบินตรวจสอบพบว่า ห่างจากฝั่งประมาณ 1 กิโลเมตร พบคราบน้ำมันลักษณะเป็นฟิล์มบางๆบนผิวน้ำ กระจายตัวเป็นทางยาวประมาณ 3-4 กิโลเมตร ซ้อนกัน 3 ชั้น บางจุดมีการรวมตัวหนาแน่นเป็นสีดำเข้ม นอกจากนี้ คราบน้ำมันดังกล่าวยังส่งกลิ่นเหม็นฉุน คาดว่าจะถูกคลื่นซัดเข้าเกยชายหาดบางเสร่และพื้นที่ใกล้เคียงในช่วงคืนนี้ อย่างไรก็ตาม ทางเทศบาลตำบลบางเสร่ ศรชล.ภาค 1 ทัพเรือภาคที่ 1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำกำลังลงพื้นที่เข้าตรวจสอบคราบน้ำมันดังกล่าวแล้ว เบื้องต้นได้เก็บตัวอย่างไปทำตรวจสอบ ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นน้ำมันชนิดใด นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่า บริเวณเกาะแก่งต่างๆในเขตพื้นที่อ่าวสัตหีบ ได้รับความเสียหายผลกระทบจากคราบน้ำมันแล้วหลายแห่ง ซึ่งทางกองทัพเรือได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินการแก้ไขและเก็บกู้คราบน้ำมัน เพื่อเร่งคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ จากการสอบถาม นายประจบ เร่งรีบ อายุ 60 ปี ไต๋เรือประมงลากหมึก เล่าว่า เมื่อช่วง 3-4 วัน ก่อนหน้านี้ ได้พบคราบน้ำมันจำนวนมากมีสีดำเข้ม ส่งกลิ่นเหม็นฉุน ปรากฏอยู่บริเวณเกาะรางเกวียน และกระจายตัวเป็นวงกว้าง กำลังเคลื่อนตัวเข้าชายฝั่ง กระทั่งวันนี้คราบน้ำมันดังกล่าว ได้แตกตัวทำให้ความเข้มข้นเบาบางลงจากเดิมอย่างมาก ซึ่งสันนิษฐานว่าคราบน้ำมันจำนวนมากนั้น น่าจะเป็นน้ำมันเตา หรือน้ำมันเครื่องยนต์ ที่ถูกปล่อยทิ้งออกมาจากเรือขนาดใหญ่ ไม่น่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งก็ขอให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็วที่สุด https://www.thairath.co.th/news/local/east/2809906
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
กรมทะเล ออกมาตรการดูแล 'พะยูน' สะพานราไวย์ภูเก็ต ล่าสุดพบอพยพเพิ่ม 1 ตัว จากการลงพื้นที่สำรวจวิจัยพะยูน ของเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับเครือข่ายสัตว์ทะเลหายากจังหวัดภูเก็ต พบพะยูน จำนวน 2 ตัว บริเวณท่าเทียบเรือราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งมีพฤติกรรมหาอาหารบริเวณแหล่งหญ้าทะเล กรมทะเล จึงได้ เร่งประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ผู้นำท้องถิ่น ประชาชน และชาวประมงในพื้นที่ เกี่ยวกับแนวทางการจัดการและการดูแลพะยูนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันเฝ้าระวังและแจ้งเหตุกรณีที่พบพะยูนดังกล่าว รวมทั้งขอความร่วมมือในการลดการใช้เครื่องมือประมง และการควบคุมการจราจรทางเรือที่อาจจะเป็นอันตรายต่อพะยูน และการจัดการขยะทะเลในพื้นที่บริเวณหาดราไวย์นั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม?ล่าสุดวันนี้ ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) เผยว่า เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันดามันตอนบน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์พะยูน บริเวณพื้นที่ตำบลราไวย์ จังหวัดภูเก็ต พบว่า พะยูนตัวที่ 1 มีความยาวลำตัวประมาณ 2.2 เมตร และพะยูนตัวที่ 2 มีความยาวลำตัวประมาณ 2.5 เมตร ซึ่งพะยูนทั้งสองตัว มีความสมบูรณ์ ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ดี มีการว่ายน้ำปกติและทรงตัวได้ดี มีอัตราการหายใจ 3-5 ครั้ง/5 นาที ทั้งนี้ ยังพบว่าพะยูนทั้ง 2 ตัว มีรอยบาดแผลที่เกิดจากรอยเขี้ยวบริเวณหลังเกิดจากพฤติกรรมภายในฝูงของพะยูน ซึ่งในวันนี้พบพะยูนเพิ่มอีก 1 ตัว ความยาวลำตัว ประมาณ 1.7- 2 เมตร รวมเป็น 3 ตัว หากินในพื้นที่เป็นแหล่งหญ้าทะเลทั้งซ้ายและขวาของสะพานราไวย์ เจ้าหน้าที่ ทช. จึงได้ใช้อากาศยานไร้คนขับ UAV และ Drone ออกบินสำรวจอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถทราบจำนวนการแพร่กระจายของพะยูนและจัดทำแผนที่หญ้าทะเล รวมถึงแผนที่ความเสี่ยงที่อาจเกิด อุบัติเหตุ จากการสัญจรทางเรือ การทำประมง รวมไปถึงปัญหาขยะทะเล น้ำเสีย และอื่นๆ เพื่อทำแนวทางการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ รวมถึงการเก็บข้อมูลร่วมกับท้องถิ่น เพื่อวางแผนดูแลพะยูนกลุ่มนี้ให้มีแหล่งที่อยู่ที่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นบ้านหลังใหม่ของกลุ่มพะยูนที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ซึ่งเป็นโอกาสอันดีนี้ที่หน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันดูแล ปกป้อง รักษา ทรัพยากรทางทะเลให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างเศรษฐกิจใหม่ตามแนวทางสีน้ำเงิน (Blue economy) ทั้งนี้ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ได้ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เรื่อง ให้ระมัดระวังการเดินเรือ โดยขอให้นายเรือหรือผู้ควบคุมเรือ งดหรือหลีกเลี่ยงระมัดระวังการเดินเรือ ในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล และพื้นที่เสี่ยงในการอพยพเคลื่อนย้ายพะยูน ซึ่งเป็นพื้นที่ห้ามกิจกรรมที่เป็นภัยคุกคาม หรือหากจำเป็นให้ใช้ความเร็วเดินเรือไม่เกิน 3 น็อต ในบริเวณพื้นที่รอบสะพานท่าเทียบเรือราไวย์ โดยนับจากสะพานดังกล่าวออกไปเป็นระยะ 200 เมตร ซึ่งหากมีการพบเห็นพะยูนหรือสัตว์ทะเลหายาก นายเรือหรือผู้ควบคุมเรือต้องใช้ความเร็วต่ำและด้วยความระมัดระวัง ให้เรืออยู่ในการควบคุมได้ และต้องเว้นระยะห่างเรือกับพะยูนหรือสัตว์ทะเลหายาก ในระยะที่ปลอดภัยด้วย นอกจากนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ออกมาตรการในระยะเผชิญเหตุการณ์ คือ ลดความเสี่ยงในพื้นที่ ลดการวางเครื่องมือประมงทุกชนิดรวมถึงลดกิจกรรมการใช้เครื่องมือประมงที่มีความเสี่ยงต่อพะยูนในบริเวณท่าเทียบเรือหาดราไวย์ การเฝ้าระวังและลาดตะเวน การควบคุมการจราจรทางเรือ และการจัดการขยะทะเล และอีก 1 มาตรการ คือมาตรการในระยะยาว ประกอบด้วย การวางแผนช่วยเหลือ คือ การจัดตั้งศูนย์ประสานงานเฝ้าระวังการช่วยชีวิตพะยูน มาตรการพื้นที่คุ้มครองทางทะเล คือ การวางทุ่นกำหนดพื้นที่โซนนิ่งในการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล กำหนดโซนนิ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ แก่ประชาชนในพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่ง และเปิดให้แจ้งเหตุกรณีพบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น ได้ที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร หรือโทรแจ้งสายด่วนได้ที่ หมายเลข 1362 สายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเลตลอด 24 ชั่วโมง https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_4750635
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation
เชื่อ "พะยูน" โผล่สะพานราไวย์ คือ "เจ้าหลังขาว" ส่วนดุหยงน้อยพลัดหลง อาการดีขึ้น กลุ่มพิทักษ์ดุหยงตรัง เปิดข้อมูล เชื่อ "พะยูน" โผล่ใกล้สะพานราไวย์ คือ "เจ้าหลังขาว" แห่งเกาะลิบง ฝากชาวภูเก็ตช่วยดูแล รอวันหญ้าทะเลฟื้น-น้องหวนกลับถิ่น ด้านพะยูนน้อยพลัดหลงแม่ ซึ่งได้รับการดูแลอยู่ใน รพ.สัตว์น้ำ สุขภาพดีขึ้นตามลำดับ 22 สิงหาคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก "กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง" ซึ่งเป็นเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์พะยูน พื้นที่เกาะลิบง ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นแหล่งอาศัย หรือเมืองหลวง ของพะยูนฝูงใหญ่ของประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความ พร้อมแนบหลักฐานภาพถ่ายพะยูนตัวที่เก็บข้อมูลไว้จากการบินสำรวจที่เกาะลิบง โดยระบุว่า "หลังจากที่ได้เห็นภาพพะยูนจากคลิปที่ท่าเรือหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต และเปิดดูหลายรอบ และจากภาพจำจนชินตา และค่อนข้างคุ้นเคย พบว่า จากตำหนิรูปพรรณบริเวณแผ่นหลังสีขาวขนาดใหญ่ ลักษณะท่าทางการว่ายน้ำ รูปร่าง ลีลา จังหวะการขึ้นมาหายใจ ท่วงท่าที่คุ้นเคย และดูย้อนภาพเก่าทั้งวิดิโอและรูปมาเทียบเคียงดู เชื่อว่า พะยูนที่พบที่ท่าเรือราไวย์ จ.ภูเก็ต คือ "เจ้าหลังขาว?แห่งเขาบาตู" (เขาบาตูปูเต๊ะ ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ) ที่เราเคยถ่ายได้ในแต่ละครั้ง ล่าสุด เราถ่ายภาพเจ้าหลังขาว วันที่ 22 มี.ค. 2567 หลังจากนั้นเราไม่เจอน้องอีกเลยเป็นระยะเวลา 4 เดือนกว่าแล้ว เผื่อเป็นข้อมูลให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบได้บ้าง โดยที่ผ่านมา ปกติ หากอากาศดี เราจะบินเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยชื่อพะยูนบนเกาะลิบงที่เราคุ้นเคย และตั้งชื่อให้ มี 4 ตัว คือ 1. เจ้าหลังขาว 2. เจ้าตอปิโด 3. เจ้าคุ้กกี้ 4. เจ้าทักซิโด้ ทั้ง 4 ตัวจะมีลักษณะรูปร่างจำเพาะ ลักษณะการว่ายน้ำ ท่วงท่า ลีลา การขึ้นลงหายใจจะไม่เหมือนกัน และจะเจอเฉพาะที่ของแต่ละตัว โดยที่ผ่านมา พวกเราได้มีวิธีการเก็บข้อมูลในการสังเกต เก็บข้อมูล รูปภาพ ที่พอเป็นประโยชน์ ที่สำคัญเราได้มีความผูกพันกับพะยูนมากยิ่งขึ้นไปอีก พร้อมส่งสารจากเกาะลิบง..ถึงภูเก็ต ฉายาน้องคือ เจ้าหลังขาว?แห่งเขาบาตู..น้องอพยพไปไกลมาก เห็นแล้วอดใจหายไม่ได้ น้ำตาพาลจะไหล จำรอยข้างหลังได้อย่างแม่นยำ ลายไม่เหมือนตัวอื่นๆที่เจอ คนเกาะลิบงจะจำมันได้ การว่ายน้ำ รูปร่าง ลักษณะการขึ้นมาหายใจ จำมันได้ชัดเจน บินกี่รอบก็มาให้เจอน้องทุกรอบ ไม่ไปไหน ถึงคราวนี้เดินทางไปไกลแสนไกล ว่าทำไม 4 เดือนแล้วบินกี่รอบก็ไม่เคยเห็นเจ้าหลังขาวเลย น้องเป็นตัวที่ไม่ค่อยกลัวเสียงเรือ ต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง..คิดถึงนะ?ขอให้รอดปลอดภัย..หญ้าทะเลลิบงฟื้นคืนเมื่อไหร่..คนลิบงยังคิดถึงเจ้าเสมอนะ?ฝากคนภูเก็ตดูแลน้องหลังขาวด้วยนะ" อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหญ้าทะเลได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้างในหลายจังหวัด ทั้ง จ.ตรัง, จ.กระบี่ ,จ.พังงา และจ.ภูเก็ต ทำให้พะยูนมีการว่ายน้ำหาแหล่งหญ้า จึงมีโอกาสเข้าใกล้เรือ และเข้าใกล้คนมากขึ้น จึงขอให้พี่น้องชาวประมง เรือทุกชนิด ประชาชนและนักท่องเที่ยวช่วยกันระมัดระวังทั้งเครื่องมือประมง และอุบัติเหตุจากเรือ และช่วยกันสอดส่อง เพื่อความปลอดภัยของสัตว์ทะเลหายากของไทยเรา อัปเดตอาการพะยูนน้อยพลัดหลงแม่ ส่วนการอนุบาลน้องพะยูน เพศผู้ อายุ 2 เดือนเศษ ที่อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ที่ รพ.สัตว์น้ำราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ผ่านมาแล้ว 13 วัน เจ้าหน้าที่ก็ยังดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พบว่าสุขภาพแข็งแรงขึ้นตามลำดับ น้ำหนักตัว 15.95 กก. จากวันแรกที่พบ 10 ส.ค.น้ำหนักเพียง 13.8 กก.เท่านั้น การขับถ่ายและลักษณะอุจจาระอยู่ในเกณฑ์ปกติ สัตว์แพทย์ยังคงปรับสูตรนมรายวัน เพื่อให้น้องได้พลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการ และหญ้าบดละเอียด เพราะน้องยังกินหญ้าไม่เป็น แต่ขณะดำน้ำที่ก้นบ่อ พบว่ามีการพยายามใช้ปากขยับถูไปกับพื้นบ่อ เหมือนสัญชาติญาณในการกินหญ้าทะเลที่พื้น และนอนมากในแต่ละวัน โดยทางเจ้าหน้าที่และทีมสัตวแพทย์ยังคงติดตามสังเกตพฤติกรรมของน้องอย่างใกล้ชิด พร้อมประกาศรับสมัครอาสาสมัครที่จะมาช่วยเสริมการทำงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากต้องจัดเวรหมุนเวียนทำงานต่อเนื่องตลอด 24 ชม.ต่อไป ขอบคุณภาพและข้อมูลบางส่วนจาก : เพจเฟซบุ๊ก กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ดุหยง https://www.nationtv.tv/news/social/378947482
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ภูเก็ตพบพะยูน 2 ตัว หากินหญ้าทะเลที่หาดราไวย์ ขอชาวบ้านอย่าวางอวน-เดินเรือ SHORT CUT - พบพะยูน 2 ตัว สัตว์หายาก โผล่หาดราไวย์ภูเก็ต - สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ขอชาวบ้านงดวางเครื่องมือประมง-เดินเรือผ่านพะยูน - จากการตรวจสอบ พบพะยูนทั้งสองร่างกายสมบูรณ์ดี สมบูรณ์สุด ๆ ! ภูเก็ตพบพะยูน 2 ตัวออกหากินหญ้าทะเลกลางหาดราไวย์ สส.ภูเก็ต ขอชาวบ้าน งดวางอวน-เดินเรือผ่าน เนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์หายาก ต้องอนุรักษ์ไว้ ยิ่งมีน้อย ยิ่งต้องอนุรักษ์! วันที่ 21 ส.ค. 2567 นายเฉลิมพงศ์ แสงดี สส.ภูเก็ต พรรคประชาชน เปิดเผยว่า ตนได้รับแจ้งจากเครือข่ายสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวานนี้ (20 ส.ค. 67) ว่าพบพะยูน บริเวณท่าเทียบเรือราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ได้เร่งเข้าตรวจสอบพื้นที่ พบว่า มีพะยูนจำนวน 2 ตัว กำลังมีพฤติกรรมหาอาหารบริเวณแหล่งหญ้าทะเลหาดราไวย์ จากการตรวจสุขภาพเบื้องต้น โดยสังเกตจากระยะไกลพบว่า พะยูนตัวที่ 1 มีความยาวลำตัวประมาณ 2.2 เมตร และพะยูนตัวที่ 2 มีความยาวลำตัวประมาณ 2.5 เมตร ซึ่งทั้งสองตัวมีร่างกายสมบูรณ์อยู่ในเกณฑ์ดี การว่ายน้ำปกติและทรงตัวได้ดี แต่มีรอยบาดแผลที่เกิดจากรอยเขี้ยวบริเวณหลัง ซึ่งคาดว่าเกิดจากพฤติกรรมภายในฝูงของพะยูน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ ศวอบ.แจ้งว่า ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานราชการ ประชาชนและชาวประมงในพื้นที่ ให้เฝ้าระวัง ลดการใช้เครื่องมือประมงและควบคุมการจราจรทางเรือที่อาจเป็นอันตรายต่อพะยูน มีการจัดการขยะทะเลในบริเวณหาดราไวย์ รวมถึงให้แจ้งเหตุหากพบพะยูนแบบนี้อีก เนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์หายาก https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/852259
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|