#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และด้านตะวันตกของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 21 ? 22 ก.ย. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23 ? 26 ก.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 23 ? 26 ก.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
สนธิสัญญาทะเลหลวงเข้าใกล้ความเป็นจริง หลังการลงนามรับรองครั้งแรก หลายสิบประเทศจะลงนามในสนธิสัญญาประวัติศาสตร์ว่าด้วยการปกป้องทะเลหลวง เพื่อเริ่มบังคับใช้ข้อตกลงที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องระบบนิเวศสำคัญของโลก นักเคลื่อนไหวจากกรีนพีซกางป้ายขนาดใหญ่หน้าสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ ในระหว่างการเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาเพื่อปกป้องทะเลหลวง ในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา (Photo by Ed JONES / AFP) เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 20 กันยายน 2566 กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวภายหลังสนธิสัญญาว่าด้วยทะเลหลวงได้รับการรับรองในที่ประชุมสหประชาชาติเมื่อเดือนมิถุนายน ล่าสุด หลายสิบประเทศจะทำการลงนามเป็นครั้งแรกในสนธิสัญญาดังกล่าว เพื่อเริ่มบังคับใช้อย่างเร่งด่วน สนธิสัญญาทะเลหลวงถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องระบบนิเวศที่สำคัญต่อโลก โดยการผลักดันขององค์การสหประชาชาติ ที่ใช้เวลาหารือกันนานกว่า 15 ปี รวมถึงการเจรจาอย่างเป็นทางการอีก 4 ปี "การเริ่มต้นการลงนามในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีของสหประชาชาติ ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างการคุ้มครองที่มีความหมาย" นิโคลา คลาร์ก จากโครงการธรรมาภิบาลมหาสมุทรขององค์กร The Pew Charitable Trusts กล่าว และเสริมว่า "เราเริ่มต้นบทใหม่ที่ประชาคมโลกต้องดำเนินการอย่างกล้าหาญเพื่อให้บรรลุถึงการคุ้มครองเหล่านั้น และรับประกันว่าแหล่งกักเก็บความหลากหลายทางชีวภาพขนาดมหึมาในมหาสมุทรจะยังคงให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของมหาสมุทรและชุมชนทั่วโลกที่ต้องพึ่งพามัน" ข้อความของสนธิสัญญาได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการโดยฉันทามติ แม้รัสเซียจะท้วงว่ามีเนื้อหาบางส่วนไม่เป็นที่ยอมรับก็ตาม ทั้งนี้ทะเลหลวง (มหาสมุทร) กว่าครึ่งของโลกอยู่นอกเขตเศรษฐกิจจำเพาะหรือนอกชายฝั่งเกินกว่า 370 กิโลเมตรของแต่ละประเทศ จึงไม่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐใดรัฐหนึ่งในการรับผิดชอบ ดังนั้นการให้ความคุ้มครองสิ่งที่เรียกว่า "ทะเลหลวง" จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกประเทศ ทะเลหลวงถูกละเลยมานานในการต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อมหลายต่อหลายครั้ง เนื่องจากผู้คนมักจะสนใจอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่งและสิ่งมีชีวิตหลักๆไม่กี่ชนิด เครื่องมือสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าวคือ การกำหนดความสามารถในการสร้างพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในน่านน้ำสากล ซึ่งปัจจุบัน ทะเลหลวงเพียงประมาณ 1% เท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครองโดยมาตรการอนุรักษ์ทุกประเภท สนธิสัญญานี้ถูกมองว่ามีความสำคัญต่อประเทศต่างๆ ที่จะปกป้อง 30% ของมหาสมุทรและผืนดินของโลกภายในปี 2573 ตามข้อตกลงแยกอีกฉบับที่รัฐบาลโลกได้บรรลุร่วมกันในแคนาดาเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สนธิสัญญาทะเลหลวงมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สนธิสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพนอกเหนือเขตอำนาจแห่งชาติ" หรือบีบีเอ็นเจ (BBNJ) และได้รับการคาดหวังให้มีการผลักดันสู่การให้สัตยาบันของทุกประเทศสมาชิกในการประชุมมหาสมุทรแห่งสหประชาชาติครั้งต่อไปที่เมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน 2568 หลังจาก 60 ประเทศให้สัตยาบันครบแล้ว สนธิสัญญาจะมีผลใช้บังคับภายใน 120 วัน ตามข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลมากกว่า 60 ประเทศวางแผนที่จะเริ่มสนธิสัญญานี้ทันที แต่การให้สัตยาบันอย่างเป็นทางการขึ้นอยู่กับกระบวนการภายในของแต่ละประเทศ นักวิทยาศาสตร์เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของมหาสมุทรมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะแหล่งผลิตออกซิเจนส่วนใหญ่ที่มนุษย์ใช้ในการหายใจ และมีบทบาทในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับจุลภาค. https://www.thaipost.net/abroad-news/451948/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก อสมท.
อลังการ สุสานหอย 5 พันปี เขาพระอาดเฒ่า แหล่งท่องเที่ยวพังงา พังงา 20 ก.ย. ? ลงใต้ไปพังงา ชมสุสานหอย ที่เขาพระอาดเฒ่า เชื่อว่าเก่าแก่กว่า 5,000 ปี พัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติแห่งใหม่ของจังหวัด นายสงัด จันทร์แก้ว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชนคนหินร่ม ต.คลองเคียน อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นำผู้สื่อข่าวลงเรือประมงพื้นบ้าน ไปชมแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล อ่าวพังงา ในพื้นที่คลองเคียน สุสานหอย 5,000 ปี ที่เขาพระอาดเฒ่า อยู่ไม่ไกลทางท่าเรือชุมชนบ้านหินร่ม นั่งเรือไปประมาณ 15 นาที เป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชน มีสะพานไม้เทียบเรือพร้อมทางเดินเท้ากับราวเชือกให้เกาะลัดเลาะขึ้นลงไปตามริมภูเขาด้านทิศตะวันตก ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 15 นาที จะพบกับกองเปลือกหอยจำนวนมากที่ทับถมกันเป็นชั้นๆ จนกลายเป็นเนินเปลือกหอยขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นเปลือกหอยแครง และเปลือกหอยนางรม ชั้นล่างมีร่องรอยย่อยสลายกลายเป็นดิน และมีร่องรอยของการขุดค้นเป็นหลุมและการขุดชั้นดินเอาเปลือกหอยออกไป ทำให้คนที่พบเห็นต่างจินตนาการว่าเปลือกหอยจำนวนมหาศาลนี้มากองรวมอยู่ที่นี่ได้อย่างไร นายสงัด เล่าว่า ในอดีตเคยมีคนมาขุดบริเวณนี้ พอขุดลึกไปเรื่อย ๆ กลับพบเปลือกหอย ซึ่งก็บอกไม่ได้ว่ามากองอยู่ทับถมบริเวณนี้ได้อย่างไร จุดนี้เป็นจุดที่พบภาพเขียนสีโบราณอายุ 5,000 ปี อยู่บนหน้าผาเชิงเขา และพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ทำให้คาดเดาว่าเป็นเปลือกหอยที่เกิดจากการกินของคนโบราณแล้วทิ้งทับถมกันไว้ กระทั่งกลายเป็นสุสานหอย แต่ก็ยังไม่คำยืนยันจากนักโบราณคดี เคยมีการลักลอบขุดเขาเปลือกหอยออกไปเพื่อเอาไปเผาทำส่วนผสมของปุ๋ย แต่หลังจากที่ชุมชนเข้าไปพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยว ก็ไม่มีใครลักลอบขุด . https://tna.mcot.net/region-1241611
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
สื่อต่างชาติตีแผ่ ธรรมชาติผิดปกติ ทำใต้น้ำทะเลไทยไร้สิ่งมีชีวิต ทะเลไทยยังคงวิกฤต หลังปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมแพร่กระจายทั่วทะเลศรีราชา ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าจะหายไปใน 2-3 วัน แต่ ณ ปัจจุบัน ทะเลไทยยังคงเขียว และคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะหายไปเมื่อไหร่ ด้วยสภาวะของทะเลที่ยังคงเขียว จนได้ดึงดูดความสนใจของสำนักข่าวต่างประเทศให้เข้ามาช่วยประเทศไทยส่งเสียงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยังคงสร้างผลกระทบต่อเนื่องต่อชุมชนประมงท้องถิ่นและระบบนิเวศทางทะเล สำนักข่าว Reuters รายงานวิกฤตแพลงก์ตอนบลูมในประเทศไทยว่า แพลงก์ตอนบลูมในทะเลไทยกำลังกระจายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะทะเลตาย (Dead Zone) บริเวณทะเลนอกภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือก็คือจังหวัดชลบุรี โดยแพลงก์ตอนบลูมมีปริมาณหนาแน่นมากจนผิดปกติ คุกคามการดำรงชีวิตของชาวประมงท้องถิ่น นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลไทย เผยว่า บางพื้นที่ในอ่าวไทยมีปริมาณแพลงก์ตอนบลูมมากกว่าปกติถึง 10 เท่า ทำให้น้ำเปลี่ยนกลายเป็นสีเขียวอย่างกว้างขวาง คร่าชีวิตสัตว์ทะเลจำนวนมากกว่าพันชีวิต แพลงก์ตอนบลูมมักจะเกิดขึ้นปีละ 1-2 ครั้ง ซึ่งปกติมันจะหายไปเองในช่วง 2-3 วัน ในช่วงที่พวกมันพองตัวกระจายทั่วน้ำ จะทำหน้าที่ผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือทำลายสิ่งมีชีวิตในทะเลด้วยการบดบังแสงอาทิตย์และลดปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำ แต่การคาดหวังของเราไม่เป็นผล เมื่อแพลงก์ตอนบลูมชุดนี้อยู่นานกว่าที่คิด กระทบฟาร์มหอยแมลงภู่ มากกว่า 80% ของเกือบ ๆ 300 แปลงในพื้นที่ โดยหนึ่งในเจ้าของฟาร์มหอยบอกกับสำนักข่าวว่า ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูมทำให้เขาขาดทุนมากกว่า 500,000 บาท และยังคงสร้างความสูญเสียที่ไม่อาจคาดเดาได้ต่อไปเรื่อย ๆ จนเขาต้องหยุดกิจการนี้ไปก่อน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แพลงก์ตอนบลูมไม่เพียงแค่เปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นสีเขียวเท่านั้น สัตว์น้ำที่เคยแหวกว่ายและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทรายชายฝั่งกลับหายไปจนเกลี้ยง เพราะไม่มีออกซิเจนให้ได้หายใจ สาเหตุการอยู่ยาวของแพลงก์ตอนบลูมชุดนี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเพราะปัจจัยใดกันแน่ แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สภาพอากาศที่ร้อนจัดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และปรากฎการณ์เอลนีโญมีผลต่อแพลงก์ตอนบลูมชุดนี้ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง บางคนก็เชื่อว่า ข่าวน้ำมันดิบรั่วกลางทะเลศรีราชาก็อาจมีเอี่ยวในวิกฤตนี้ นั่นหมายความว่า คลื่นความร้อน และเอลนีโญ ส่งผลกระทบต่อทะเลทั่วโลก และเป็นสิ่งที่เราควรกังวลกันมากขึ้นถึงมาตรการการป้องกันและการลดผลกระทบระยะยาว หลังตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีสัตว์น้ำตายมากกว่าล้านตัวแล้วทั่วโลก อันเป็นผลพวงมาจากความผิดปกติของสิ่งแวดล้อม https://www.nationtv.tv/gogreen/378930850
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|