#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 25 - 26 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศหนาวเย็น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนหนาวเย็นลง และมีอุณหภูมิลดลง 1-4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 25 - 26 ม.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 27 - 30 ม.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
'ดร.ธรณ์' แจ้งข่าวดี ! ลูกเต่ามะเฟือง ฟักลงทะเลแล้ว 305 ตัว แต่หวั่นเหตุร้าย! "ไม่รอดเพราะกินพลาสติก" เมื่อคืนนี้ (23 ม.ค.2564) ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์รายงานสถานการณ์ฟักไข่ของลูกเต่ามะเฟืองบนเฟซบุ๊ค Thon Thamrongnawasawat ลูกเต่ามะเฟืองถือกำเนิดลงทะเลอีก 19 ตัว เข้าไปสมทบกับพี่ๆ ที่เกิดก่อน รวมเป็น 305 ตัวในซีซั่นนี้ครับ? แม้รังนี้จะเกิดไม่มาก แต่เป็นเพราะไข่ไม่ได้รับการผสม เนื่องจากเป็นรังหลังๆ ของแม่เต่าตัวเดิม ทำให้น้ำเชื้อเริ่มไม่พอ ปัญหาเต่ามะเฟืองตัวผู้มีน้อยเกินไป เป็นที่พูดถึงกันในวงการนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลมา 20-30 ปี การแก้ปัญหายังไม่มี ยิ่งเกิดภาวะโลกร้อน ยิ่งน่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม 19 ตัว/รัง ยังมากกว่าอัตราเฉลี่ยของซีซั่นก่อนที่ 16.6 ตัว/รัง หวังว่ารังต่อๆ ไปที่ยังมีอีกร่วมสิบรัง จะมีอัตราฟักสูงขึ้น (มีแม่เต่าอย่างน้อย 3 ตัวฮะ ตัวใหม่ๆ ที่เพิ่งวาง ลูกจะออกมาเยอะ) ขอให้เต่าน้อยทั้งสิบเก้า จงอยู่เย็นเป็นสุข ขอพรอย่างเดียวไม่ได้ ต้องช่วยกันทำด้วย ช่วงโควิดขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเยอะเลย ส่งผลต่อเนื่องถึงทะเล ถึงลูกเต่า ถึงแม่เต่า ที่แยกแมงกะพรุนกับถุงพลาสติกไม่ได้ กินเข้าไปติดคอตาย จะเกิดกี่ตัว อนาคตก็คงหม่นหมอง เพราะฉะนั้น มาช่วยกัน เพื่อลูกเต่าตาดำๆ ที่เพิ่งเกิดมา จะได้มีทะเลที่สดใสครับ และเมื่อวานนี้ 23 มกราคม 2564) กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยสำนักงาน ทช.ที่ 6 (พังงา) ปฏิบัติงานศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟืองหาดบางขวัญ หาดบางสัก หาดคึกคัก และหาดบนเกาะคอเขา จ.พังงา ได้มีการจัดเวรเฝ้าระวัง ให้ข้อมูล องค์ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชมในพื้นที่ ในช่วงดึกต่อเนื่องเช้ามืดโดยร่วมกับชุมชนเดินเต่า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่แม่เต่ามะเฟือง ทั้งนี้ กำลังรอการฟักอีก 2 รังที่หาดคึกคัก และบางสัก เนื่องจากหลุมทรายยุบตัวมา 2 วันแล้ว หวั่นลูกเต่ามะเฟืองกินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นแมงกระพรุน ดร.ธรณ์ แสดงกังวลในความปลอดภัยของลูกเต่ามะเฟือง หลังฟักไข่ลงสู่ทะเลแล้ว เนื่องจากมีข้อพิสูจน์จากการอนุบาลลูกเต่ามะเฟืองที่ชอบกินลูกแมงกระพรุน ซึ่งลูกเต่าอาจจะเข้าใจผิดเมื่อไปเห็นเศษถุงพลาสติกที่พัดลอยอยู่ในทะเล เรารู้ว่าลูกเต่ามะเฟืองเกิดมาจะเร่งรีบว่ายไปกลางทะเล ไปให้ไกลฝั่งสุดเท่าที่ทำได้ แต่ที่น่าสงสัย พวกเธอกินอะไรนะ ? เราพอรู้ว่าเต่ามะเฟืองกินแมงกะพรุนเป็นอาหารหลัก ถือเป็นสัตว์ช่วยควบคุมแมงกะพรุนตามธรรมชาติไม่ให้มีมากเกินไปเจ้าหน้าที่กรมทะเลจึงนำแมงกะพรุนมาให้ลูกเต่าลองกิน คลิปนี้แสดงชัดเจนว่าน้องเต่ามะเฟืองชอบกินแมงกะพรุนจริงจังเริ่มจากการดูท่าว่าย จะเห็นว่าน้องเต่าใช้ครีบคู่หน้าที่ใหญ่และยาวมาก เพื่อพาตัวเองไปข้างหน้าครีบคู่หลังมีไว้เพื่อช่วยกำหนดทิศทางเล็กๆ น้อยๆเต่ามะเฟืองอาศัยกลางมหาสมุทร ต้องว่ายน้ำเก่ง แข็งแรง ลูกเต่าจึงมีครีบหน้าที่เจ๋งมาก เป็นวิวัฒนาการของธรรมชาติครับ จากนั้นลองสังเกตว่า เต่ามะเฟืองมีหัวขนาดใหญ่ ปากใหญ่และกว้าง สามารถอ้ำแมงกะพรุนเข้าไปได้ทั้งตัว เป็นลักษณะพิเศษของเต่าชนิดนี้เต่าชนิดอื่นก็กินแมงกะพรุน แต่ไม่ใช่อาหารหลัก และส่วนใหญ่จะกัดแทะ ไม่อ้ำไปทั้งตัวเหมืองน้องมะเฟือง แนะนำให้เพื่อนธรณ์ดูแล้วดูอีก มีลูกมีหลานสมควรชวนดู เพราะผมคิดว่าเป็นครั้งแรกๆ ในโลกที่เรามีโอกาสเห็นพฤติกรรมแบบนี้ แม้จะเป็นในที่เลี้ยงก็ตามคราวนี้ลองคิดว่า ถ้าเป็นเศษถุงพลาสติกหรือขยะทะเลลอยในน้ำ ลูกเต่าเข้าใจผิดกินเข้าไป เธอย่อมป่วย หรืออาจตายได้ ชมคลิป ลูกเต่ากินลูกแมงกระพรุนทั้งตัว อีกคลิปเต่ามองเห็นพลาสติก คิดว่าเป็นแมงกระพรุน https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000007285
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
น้ำทะเลร้อนจัด เทียบเท่าปรมาณู 10 ลูก/วินาที ชี้ก่อพายุหนัก-ทำลายระบบนิเวศ โลกร้อนหนักสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน อุณหภูมิทะเลสูงเป็นประวิติการณ์ ในปี 2020 น้ำทะเลร้อนเทียบเท่าปรมาณู 10 ลูก/วินาที ตัวการพายุรุนแรง-ทำลายระบบนิเวศ มหาสมุทรของโลกดูดซึมความร้อนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2020 และมีค่าความร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ผลการศึกษาชี้ว่าสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนี้ทำให้น้ำทะเลดูดซับความร้อนถึง 20 พันล้านล้านล้านจูล หรือ 20,000,000,000,000,000,000,000 จูล (ศูนย์ 22 ตัว) ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมา 10 ลูกในทุก ๆ วินาทีตลอดทั้งปี เควิน เทรนเบิร์ต หนึ่งในผู้ศึกษาจากศูนย์การวิจัยบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่ามหาสมุทรดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดอยู่โดยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าร้อยละ 90 "มีพลังงานจำนวนมหาศาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จริง ๆ ไม่น่าแปลกใจเลยที่มันจะมีผลตามมา" เขากล่าว กราฟแสดงอุณหภูมิที่สูงขึ้นของมหาสมุทรโลก "ตั้งแต่ประมาณกลางทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา อุณหภูมิในมหาสมุทรก็ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนี่คือตัวบ่งชี้เดียวที่ดีที่สุดว่าโลกกำลังร้อนขึ้น" ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันว่าโลกเราในปี 2020 ที่ผ่านมา โลกมีอุณหภูมิที่สูงเท่ากับปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา และออสเตรเลียได้ถูกบันทึกว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์เป็นปีที่สี่ "มหาสมุทรเป็นตัวควบคุมสำคัญของสภาพอากาศที่เราเห็นในทวีปออสเตรเลีย" เบอร์นาเดตต์ สลอยอัน นักสมุทรศาสตร์ของ CSIRO กล่าว เธอยังกล่าวอีกว่ามหาสมุทรที่อุ่นขึ้นอาจทำให้สภาพอากาศเลวร้ายเพิ่มขึ้น "ความร้อนจะเป็นตัวการหลักที่จะนำมาสู่มรสุมฝนและพายุหมุนเขตร้อนได้" ดร. สลอยอันกล่าว และยังกล่าวอีกว่าสภาพอากาศที่รุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะมหาสมุทรมีความร้อน และจะค่อย ๆ ปล่อยกลับสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศและก่อให้เกิดภัยพิบัติที่รุนแรงได้ และความร้อนที่เพิ่มขึ้นนั้นยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศ เช่นแนวปะการัง ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดปะการังฟอกขาวเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน นักดำน้ำลึกแหวกว่ายอยู่เหนือแนวปะการังที่ฟอกขาว ที่ผ่านมานั้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียได้ถูกระบุว่าเป็นจุดที่มีความร้อนบริเวณผิวน้ำในมหาสมุทรมากที่สุด ตามที่ เจซิสิกา เบนทูเจน นักสมุทรศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งออสเตรเลียกล่าว "เรามีคลื่นความร้อนทางทะเลจำนวนมากในทะเลแทสมันในช่วง 5 ปีที่ผ่านมารวมถึงในปี 2559 ด้วย" เธอกล่าวว่า "นั่นเป็นคลื่นความร้อนที่ยาวนานและรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และสิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ปลา และส่งผลอันตรายต่อหอยนางรมแปซิฟิกเป็นครั้งแรก" อย่างไรก็ตามในรายงานสภาพภูมิอากาศปี 2020 สำนักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลโดยเฉลี่ยในภูมิภาคออสเตรเลียอุ่นขึ้นมากกว่า 1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 2443 ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ 8 จากทั้งหมด 10 ปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่บันทึกมาเลยในปี 2010 https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_5805219
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ช้างหวิดจมน้ำ ขาติดแหชาวประมง ดิ้นรนดำผุดดำว่าย 8 ชั่วโมง ช้างหวิดจมน้ำ - อินเดียไทมส์ รายงานเหตุการณ์ระทึกที่มีคลิปบันทึกเป็นไวรัล นาทีช้างป่าดิ้นรนเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ เนื่องจากขามันไปติดแหของชาวประมง เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทีมกู้ภัยพยายามเข้าไปช่วยแต่ไม่ง่าย เนื่องจากช้างตื่นกลัว ทำให้ปฏิบัติการช่วยเหลือกินเวลานานถึง 8 ชั่วโมง เหตุเกิดที่อ่างเก็บน้ำนุคุ เมืองไมซอร์ รัฐกรณาฏกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เจ้าหน้าที่อุทยานเสือพันทิปุระ ได้รับแจ้งว่า ช้างประสบเหตุตั้งแต่ตอน 6 โมงเช้า วันอังคารที่ 19 ม.ค. หลังจากมันเดินเข้าไปยังพื้นที่น้ำนิ่งช่วงดึกของวันจันทร์ที่ 18 ม.ค. เพื่อหาอาหาร ขณะที่มันลงไปในน้ำ ขาของมันไปติดอวน หรือ แหของชาวประมง ทำให้มันว่ายขึ้นมาเหนือน้ำไม่ได้ ต้องอาศัยงวงโผล่พ้นน้ำขณะที่พยายามดิ้น ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหนืาที่ป่าไม้นั่งเรือรุดเข้าไปช่วย แต่เข้าใกล้มากไม่ได้ เพราะช้างตื่นตระหนก ยิ่งดิ้นยิ่งทำให้เรือโคลง ทีมงานจึงกลับเข้ามายังฝั่งก่อน จนกระทั่งมันเริ่มเหนื่อยหมดแรงดิ้น เจ้าหน้าที่จึงนั่งเรือออกไปใหม่ จากนั้นทีมช่วยเหลือหย่อนเบ็ดลงไปเกี่ยวแห-อวน แล้วค่อยๆ กระตุกคลายมันให้หลุดออกจากขาช้าง จังหวะนั้นช้างจึงเริ่มมีกำลังขึ้นและว่ายตรงเข้าหาฝั่ง ก่อนจะเดินกลับเข้าป่าไป ช่วงเวลาบ่าย 2 ครึ่ง ท่ามกลางความโล่งใจของทีมงาน และชาวบ้านที่ลุ้นอยู่ เจ้าหน้าที่กล่าวกับชาวบ้านว่า ถ้าช้างประสบเหตุช่วงเช้ามืดกว่านี้ อาจจบไม่สวยแบบนี้ ดังนั้นจะต้องสอบสวนจัดการกับคนที่เอาแหเอาอวนไปติดไว้ เพราะมีข้อห้ามอยู่แล้วว่าทำไม่ได้ในพื้นที่น้ำนิ่ง เพราะพื้นที่นี้มีช้างและสัตว์อื่นๆ ที่มักลงมากินน้ำ การทำเช่นนี้ละเมิดกฎหมายและเป็นภัยกับสัตว์ป่ามาก https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_5808114 ********************************************************************************************************************************************************* ปักกิ่งลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ลงถึง53% เซี่ยงไฮ้ก็ฮวบ ใช้วิธีปลูกป่าด้วย ปักกิ่งลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 - ซินหัว รายงานว่า ทางการกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน เปิดตัวเลขการลดความหนาแน่นของฝุ่นพีเอ็ม2.5 (PM2.5) ในปักกิ่ง ว่าลดลงร้อยละ 53 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 (ค.ศ.2016-2020 หรือ พ.ศ.2559-2563) ข้อมูลที่เผยแพร่ ณ ที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนเทศบาลนครปักกิ่ง ชุดที่ 15 ครั้งที่ 4 วันที่ 23 ม.ค. ระบุว่าความหนาแน่นของฝุ่นพีเอ็ม2.5 ในปักกิ่งลดลงเกินครึ่งในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2015 ทำให้ปักกิ่งเป็นพื้นที่ที่มีฝุ่นพีเอ็ม2.5 หนาแน่นต่ำสุดและลดลงชัดเจนสุดในภูมิภาคปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย ความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นพีเอ็ม2.5 ในปักกิ่งอยู่ที่ 38 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในปี 2020 ลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบปีต่อปี และทำสถิติต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งแรกในปี 2013 คุณภาพอากาศในปักกิ่งดีขึ้นจนเข้าใกล้มาตรฐานการควบคุมฝุ่นพีเอ็ม2.5 ระดับ 2 ของประเทศ ซึ่งกำหนดความเข้มข้นเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้นปักกิ่งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลงกว่าร้อยละ 23 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปักกิ่งวางแผนปลูกต้นไม้ 10,000 เฮกตาร์ (ราว 62,500 ไร่) ในปี 2021 เพื่อเพิ่มพูนความครอบคลุมของป่าไม้ทั่วเมืองให้อยู่ที่ราวร้อยละ 45 ภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า ทางการกรุงปักกิ่งแสดงคำมั่นเดินหน้าความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านการควบคุมมลพิษทางอากาศ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะอย่างฝุ่นพีเอ็ม2.5 ก๊าซโอโซน สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในปี 2021 ก่อนหน้านี้ เมื่อ 15 ม.ค. นครเซี่ยงไฮ้ ทางตะวันออกของจีน ก็แถลงผลการจัดการอากาศให้มีคุณภาพอากาศดียิ่งขึ้นหลังจากการปล่อยมลพิษลดต่ำลงอย่างมาก เฉิงเผิง หัวหน้าสำนักนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ระบุว่า "เซี่ยงไฮ้รักษาอัตราการเติบโตของประชากร เศรษฐกิจ และการบริโภคพลังงานรวมไว้ได้ โดยการปล่อยมลพิษประเภทหลักลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และสิ่งแวดล้อมเชิงนิเวศพัฒนาขึ้น" การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ของเซี่ยงไฮ้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 46.6 และร้อยละ 28.2 ตามลำดับ ซึ่งสูงเกินเป้าหมายที่รัฐบาลกลางตั้งไว้ ความเข้มข้นเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือพีเอ็ม 2.5 (PM2.5) ของเซี่ยงไฮ้ในปี 2020 อยู่ที่ 32 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่ำลงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับปี 2015 และต่ำกว่าสถิติปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เซี่ยงไฮ้ยังควบคุมการใช้ถ่านหินอย่างเข้มงวด พร้อมส่งเสริมการซื้อยานยนต์พลังงานใหม่ 364,000 คัน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยสัดส่วนถ่านหินในการใช้พลังงานขั้นต้นลดลงจากร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 31 ไป๋กัวเฉียง หัวหน้าวิศวกรของสำนักฯ ระบุว่าเซี่ยงไฮ้จะเดินหน้าลดความเข้มข้นของพีเอ็ม 2.5 และโอโซนต่อไป โดยมุ่งลดการปล่อยมลพิษในภาคพลังงาน อุตสาหกรรม และการคมนาคมขนส่งเป็นหลัก หลายเมืองในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีจะยกระดับความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพอากาศในภูมิภาค นอกจากนี้เซี่ยงไฮ้ยังมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น โดยอัตราความครอบคลุมของผืนป่าอยู่ที่ร้อยละ 18.49 และมีพื้นที่ชุ่มน้ำ 2.9 ล้านไร่ เมื่อนับถึงสิ้นปี 2020 เซี่ยงไฮ้ซึ่งมีประชากรกว่า 24 ล้านคน สร้างที่อยู่อาศัยให้สัตว์ป่าสำคัญ 20 แห่ง ฟื้นฟูหรือสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเกือบ 2,625 ไร่ พร้อมจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง ระหว่างปี 2016-2020 https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_5805654
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 25-01-2021 เมื่อ 04:58 |
|
|