#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 8 มิถุนายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบนและอ่าวตังเกี๋ยประเทศเวียดนาม ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคยังคงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันงดออกจากฝั่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม คาดหมาย ในช่วงวันที่ 8 ? 13 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และ บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 ? 13 มิ.ย. 64 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย อย่างต่อเนื่อง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ศรีลังกาวิตก เผชิญวิกฤติสิ่งแวดล้อมสุดเลวร้าย เรือสินค้าไฟไหม้จมทะเล และแล้ว เรือสินค้า MV X-press Pearl (เอ็กซ์เพรส เพิร์ล) สัญชาติสิงคโปร์ ซึ่งบรรทุกกรดไนตริกและสารเคมีอันตรายอีกหลายชนิด รวมทั้ง เม็ดพลาสติก กำลังจมสู่ก้นทะเลนอกชายฝั่งกรุงโคลอมโบ เมืองหลวงของศรีลังกา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 หลังจากได้เกิดระเบิดและไฟไหม้บนเรืออย่างรุนแรงมานาน 12 วัน และทีมพนักงานดับเพลิงไม่สามารถที่จะควบคุมเพลิงให้สงบลงได้ นอกจากนั้น หายนะเรือสินค้าเอ็กซ์เพรส เพิร์ลที่กำลังจมทะเล ยังก่อให้เกิดความหวั่นวิตกตามมาว่า น้ำมันเชื้อเพลิงเกือบ 350 ตัน อาจจะรั่วไหลลงสู่ท้องทะเลจนก่อให้เกิดวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมตามมาอีก เหล่านักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั่วโลกและในศรีลังกา มีความหวั่นวิตกและเสียใจกับเหตุการณ์ร้ายแรงในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง โดยชี้ว่าจะทำให้ศรีลังกาต้องเผชิญกับภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล และทำลายระบบนิเวศทางทะเลครั้งเลวร้ายที่สุด โดยเฉพาะสัตว์ทะเลนานาชนิดที่ต้องประสบกับสถานการณ์เลวร้ายจากหายนภัยคราวนี้ เรือสินค้าแบกตู้คอนเทนเนอร์มาเต็มลำกว่า 1.4 พันตู้ -เรือสินค้าเอ็กซ์เพรส เพิร์ล เป็นเรือคอนเทนเนอร์ มีความยาว 610 ฟุต หรือราว 186 เมตร ความสูง 150 ฟุต และกว้าง 112 ฟุต -ดำเนินกิจการโดยบริษัทเอ็กซ์เพรสฟีดเดอร์ส ในสิงคโปร์ -บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ถึง 1,486 ตู้ โดยได้แจ้งว่ามีสารเคมีอันตรายหลายชนิดจำนวนถึง 81 ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกรดไนตริก 25 ตัน เม็ดพลาสติก 28 ตู้ นอกจากนั้นยังมีน้ำมันหล่อลื่น อาหาร เครื่องสำอาง แท่งตะกั่ว รยถนต์จำนวนหนึ่งบนเรือด้วย -กรดไนตริก หรือกรดดินประสิว มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเทศ ทั้ง สิ่งทอ สีย้อม ปุ๋ย สารเคมีทางการเกษตร และวัตถุระเบิด เกิดอะไรขึ้นบนเรือก่อนระเบิดและไฟไหม้ เรือสินค้าเอ็กซ์เพรส เพิร์ลได้ออกจากท่าเรือฮาซิรา ทางตะวันตกสุดของเมืองสุราษฎร์ รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย มุ่งหน้ามายังศรีลังกา เมื่อวันที่ 15 พ.ค.64 แต่เกิดไฟไหม้ขึ้น ก่อนที่เรือเอ็กซ์เพรส เพิร์ลจะจอดทอดสมอนอกชายฝั่งเมืองเนกอมโบ ของศรีลังกา หลังจากเกิดระเบิดและไฟไหม้เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ขณะที่ลูกเรือได้พยายามช่วยกันลากเรือสินค้าไปยังบริเวณน้ำลึกขึ้น และห่างจากชายฝั่งมากขึ้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากท้องเรือได้ไปติดกับก้นทะเล ทางการศรีลังกาเชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดไฟไหม้เรือสินค้าเอ็กซ์เพรส เพิร์ล เนื่องมากจากกรดไนตริกได้รั่วไหลออกมาจากตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งทางลูกเรือได้แจ้งเรื่องนี้ตั้งแต่ 11 พ.ค. นอกจากนั้นบริษัทเจ้าของเรือเอ็กซ์เพรส เพิร์ล ยังยืนยันว่าลูกเรือได้แจ้งเรื่องนี้แก่เจ้าหน้าที่กาตาร์และอินเดีย เพื่อขอนำเรือจอดเทียบท่า แต่ถูกปฏิเสธ ทางการกาตาร์และอินเดียไม่อนุญาต เรื่องนี้ทำให้รัฐบาลศรีลังกาไม่พอใจมากขึ้น ที่ประเทศของตนอนุญาตให้เรือสินค้าลำนี้เข้ามาในน่านน้ำ ทั้งที่ถูกปฏิเสธจากสองประเทศก่อนหน้ามาแล้ว ขณะนี้ ศาลในศรีลังกาได้สั่งห้ามไม่ให้กัปตัน หัวหน้าวิศวกรประจำเรือและวิศวกรคนอื่นเดินทางออกนอกประเทศ ในขณะที่ลูกเรือ 25 คนบนเรือได้ถูกอพยพออกจากเรือเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ชี้ก่อให้เกิดภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายระบบนิเวศทางทะเลอย่างรุนแรง อาจันธา เพเรรา นักสิ่งแวดล้อมชาวศรีลังกา กล่าวด้วยความวิตกว่า เหตุการณ์นี้จะก่อให้เกิดหายนภัยต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงมาก เนื่องจากเรือเอ็กซ์เพรส เพิร์ลบรรทุกสินค้าอันตรายมาเต็มลำ ทั้งสารเคมี อีกทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงที่รั่วไหลลงสู่ทะเล จะทำลายระบบนิเวศทางทะเลอย่างหนัก แชริทา แพทเทียแรทชี ศาสตราจารย์ด้านสมุทรศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น ออสเตรเลีย กล่าวว่า ขณะนี้เม็ดพลาสติกเล็กๆ นับ 3 พันล้านเม็ดในตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกไฟไหม้ ได้ไหลออกมาสู่ทะเล และมีเม็ดพลาสติกจำนวนมากถูกคลื่นซัดมายังชายหาดเมืองเนกอมโบ และชายหาดบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโคลอมโบ เม็ดพลาสติกเหล่านี้ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า Nurdles โดยศาสตราจารย์แพทเทียแรทชี กล่าวว่า เม็ดพลาสติกเหล่านี้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางทะเลไปชั่วกาล เนื่องจากไม่มีวันย่อยสลายได้ ด้านศูนย์ยุติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (CEJ) ของศรีลังกา ออกแถลงการณ์มีความวิตกเกี่ยวกับมลพิษทางโลหะจากน้ำมันที่รั่วไหลออกมาจากเรือสินค้าเอ็กซ์เพรส เพิร์ล อย่างไรก็ตาม หลังจากเรือกำลังจมทะเลผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง ห้องเชื้อเพลิงยังคงโผล่พ้นผิวน้ำ และยังไม่พบสัญญาณว่าเกิดน้ำมันรั่วลงทะเล สั่งห้ามทำการประมง กระทบชาวบ้านกว่า 4 หมื่นครอบครัว รัฐบาลศรีลังกาได้ออกคำสั่งห้ามชาวบ้านและผู้ประกอบการประมง ออกทำการประมงบริเวณชายฝั่งทะเลยาวนับ 50 ไมล์ หรือราว 80 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลกระทบต่อชาวบ้านนับ 4,300 ครอบครัว ในขณะที่กระทรวงท่าเรือและพัฒนาท่าเรือของศรีลังกาจะดำเนินการเรียกเงินชดเชยค่าเสียหายภายใต้กฎหมายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ทางการสิงคโปร์แจ้งว่า ได้เริ่มสอบสวนสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุไฟไหม้บนเรือสินค้าเอ็กซ์เพรส เพิร์ลแล้ว ตำรวจศรีลังกาเผยว่า เจ้าหน้าที่ประจำเรือสองคน เป็นชาวรัสเซีย 2 คน และชาวอินเดีย 1 คน กำลังถูกสอบสวน ศรีลังกาขอออสเตรเลียมาช่วยประเมินความเสียหาย รัฐบาลศรีลังกายังไม่ได้ประเมินความเสียหายในเหตุการณ์สารเคมีอันตรายรั่วไหลออกมาจากเรือสินค้าเอ็กซ์เพรส เพิร์ลไฟไหม้และกำลังจมสู่ก้นทะเล โดยประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษาแห่งศรีลังกาได้ขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาลออสเตรเลียให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือในการประเมินความเสียหายทางระบบนิเวศวิทยา ขณะที่ทางการศรีลังกาจะสอบสวนในคดีอาญาด้วย ขณะที่ กองทัพเรือศรีลังกาส่งเรือและเครื่องบินสำรวจสัญญาณต่างๆ ว่าจะเกิดน้ำมันรั่วไหลออกมาจากเรือเอ็กซ์เพรส เพิร์ลหรือไม่ ถึงแม้สภาพอากาศเลวร้ายจากอิทธิพลพายุมรสุมได้ขัดขวางการปฏิบัติงานก็ตาม ตามรายงานของกองทัพเรือศรีลังกา เผยว่า ขณะนี้หน่วยยามฝั่งของอินเดียได้นำอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันก่อนที่มันจะไหลมาถึงชายหาดต่างๆ นอกจากนั้นทางการศรีลังกาอาจพยายามที่จะลากเรือไปยังบริเวณน้ำลึกขึ้น เพื่อพยายามป้องกันไม่ให้หายนะสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเลวร้ายมากไปกว่านี้. https://www.thairath.co.th/news/fore...PANORAMA_TOPIC
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
บุกจับแก๊งลักลอบตัด "เห็ดหลุบ" ในทะเลเกาะพะงัน พร้อมของกลางกว่า 40 กก. สุราษฎร์ธานี - ประมงอำเภอเกาะพะงัน พร้อม ผู้ใหญ่บ้านบนเกาะพะงัน นำเรือตรวจการณ์ประมงเข้าจับกุมแก๊งลักลอบตัดเห็ดหลุบ หรือดอกไม้ทะเล น้ำหนักกว่า 40 กก.สัตว์คุ้มครองฯ ขณะที่ "ดร. ธรณ์" โพสต์บุ๊ก ขอให้เลิกกินเห็ดหลุบ ขอบ้านให้สัตว์ทะเล วันนี้ (7 มิ.ย.) ว่าที่ร้อยตรี นครินทร์ ผลเจริญ เจ้าพนักงานประมงปฎิบัติงาน ประจำศูนย์ขอมูลข่าวสาร ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นชุดหน่วยป้องกันและปราบปรามการลักลอบกระทำความผิดทางทะเล พร้อมชุดผู้ใหญ่บ้าน นำโดยนายประพันธุ์ เดี่ยววานิช ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.เกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ได้นำกำลัง พร้อมเรือตรวจการณ์ 320 กรมประมง เข้าทำการตรวจสอบเรือหางยาง ต้องสงสัย ซึ่งลอยลำอยู่ในทะเลห่างจากฝั่งประมาณ 5 ไมล์ทะเล อยู่บริเวณหมู่ 1 บ้านท้องศาลา ต.เกาะพะงัน จากการตรวจสอบเรือลำดังกล่าว พบชาวประมง 3 คน กำลังใช้ถังลมต่อสายยางท่อหายใจดำน้ำลงไปงมตัดเห็ดหลุบ หรือดอกไม้ทะเล หรือ พังผืดทะเล โดยพบว่าบนเรือหางยางมีลังน้ำแข็ง ภายในมีเห็ดหลุม แช่น้ำอยู่จำนวน 40 กิโลกรัม ไม่สามารถประเมินราคาได้ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้จับกุม นายสนิท ปลื้มสุด อายุ 64 ปี ชาวเกาะพะงัน นายอรุณ มั่งมี อายุ 63 ปี ชาวเกาะสมุย นายกมล สายคำวงค์ อายุ 64 ปี ชาวเกาะสมุย พร้อมยึดของกลางทั้งเรือหางยาว อุปกรณ์ดำน้ำ และเห็ดหลุบ พร้อมควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 คนไปสอบปากคำ ในเบื้องต้นผู้ต้องหาทั้ง 3 ให้การรับสารภาพ ว่าได้แอบลักลอบตัดเห็ดหลุบจริง เพื่อนำไปส่งให้ร้านอาหาร ด้าน ว่าที่ร้อยตรี นครินทร์ ผลเจริญ เจ้าพนักงานประมงปฎิบัติงาน ประจำศูนย์ขอมูลข่าวสาร ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันแอบลักลอบตัดดอกไม้ทะเล ซึ่งเป็นดอกไม้ทะเลหวงห้าม ตาม พ.ร.บ สงวนคุ้มครองฯ มาตรา 89 ระบุโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมส่งตัวให้พนักงานสอบสวน สภ.เกาะพะงัน ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งการปฎิบัติการจับกุมในครั้งนี้ ก่อนที่จะถึงวันทะเลโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ขณะที่ ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" ระบุว่า พรุ่งนี้เป็นวันทะเลโลก หากขออะไรได้ อยากขอสิ่งหนึ่งที่เห็นมานานแต่ไม่จบสักที #เลิกกินเห็ดหลุบได้ไหม ดร.ธรณ์ระบุว่า "เห็ดหลุบ" เป็นชื่อพื้นเมืองของดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่ง มีหนวดสั้น อยู่ตามพื้นท้องทะเล ดอกไม้ทะเลพวกนี้เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่อยู่ร่วมกัน เช่น ปลาการ์ตูน กุ้ง/ปูดอกไม้ทะเล เป็นบ้านหลังน้อยท่ามกลางทรายว่างเปล่า ทำให้พื้นทะเลมีชีวิต ยังทำให้พื้นทะเลมีรายได้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะนักดำน้ำเห็นแล้วชอบใจนัก ยิ่งช่วงนี้การดำน้ำดูสัตว์เล็กในทะเลกำลังมาแรง เห็ดหลุบยิ่งทวีความสำคัญ นอกจากนี้ ดอกไม้ทะเลยังเป็นสัตว์ที่เรียบง่ายแต่ซับซ้อน เรามีความรู้น้อยมาก เราเพาะเลี้ยงทำฟาร์มไม่ได้ อยากได้ต้องไปจับจากทะเล ดอกไม้ทะเลทุกชนิด รวมถึงเห็ดหลุบ จึงถูกประกาศเป็นสัตว์คุ้มครองในทะเลรุ่นแรกๆ พร้อมกับปะการัง กัลปังหา และหอยมือเสือ ดร. ธรณ์ ระบุว่า แต่ปัญหาคือ "เห็ดหลุบ" เป็นอาหารพื้นเมืองแถวสมุย พะงัน ชาวบ้านกินกันมานานแล้ว การกินบ้างนานๆ ที อาจไม่ส่งผลมาก แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวเข้ามา มีการนำเห็ดหลุบเข้าร้านอาหาร มีการพูดถึงในสื่อโซเชียล ความต้องการจึงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เกิดการลักลอบจับกันขนานใหญ่ ในภาพที่เพื่อนธรณ์ส่งมา เป็นการจับกุมในพื้นที่ จะเห็นเห็ดหลุบเต็มถัง น้ำหนักหลายสิบกิโลกรัม กี่สิบกี่ร้อยบ้านจากไป ? จะให้ปลาการ์ตูนตัวน้อย กุ้งปูตัวนิด ไปอยู่ที่ไหน ? เมื่อบ้านถูกจับไปกิน ครอบครัวกระจัดกระจาย พ่อแม่ลูกพลัดพราก จากนั้นก็ตกเป็นเหยื่อ พวกเธอไม่สามารถอยู่รอดได้โดยปราศจาก "บ้าน" ที่ถูกกินไปแล้ว พื้นทรายว่างเปล่า ไร้ชีวิต ไร้รายได้ ทั้งที่เห็ดหลุบเป็นเพียงอาหารแปลก ไม่ใช่อาหารหลัก คนไทยยังไม่อดอยากถึงขั้นต้องกินดอกไม้ทะเลเพื่อดำรงชีวิต ในด้านกฎหมาย เห็ดหลุบอยู่ในระดับเดียวกับเสือดำ กระทิง ฯลฯ เป็นสัตว์คุ้มครองห้ามจับห้ามขายห้ามซื้อและ ?ห้ามกิน? พรบ.สงวนคุ้มครองฯ มาตรา 89 ระบุโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับ "จึงขอร้องเพื่อนธรณ์ไว้ กรุณาอย่ากินเห็ดหลุบ เพราะคุณกำลังกิน "บ้าน" ของเพื่อนๆ ใต้ทะเล ฆ่าทุกชีวิตที่อยู่ในบ้านหลังนั้น หากพบการค้าขายในร้านอาหาร มีการกินโชว์ในสื่อต่างๆ ฯลฯ แจ้งได้ที่หน่วยงานต่างๆ เช่น สายด่วนสัตว์ป่า กรมทะเล กรมประมง ฯลฯ เหมือนกับการแจ้งสัตว์สงวนสัตว์คุ้มครองทั้งหลาย ขอบคุณเครือข่ายอนุรักษ์/เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่กรุณาช่วยกันดูแลทะเลไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยจะช่วยกันเลิกกิน ?เห็ดหลุบ? เลิกกินบ้านของเพื่อนเราใต้ทะเล https://mgronline.com/south/detail/9640000055027 ********************************************************************************************************************************************************* ดร.ธรณ์ วอนคนไทย หยุดทาน "เห็ดหลุบ" เพราะคือบ้านของสัตว์ทะเลและผิดกฎหมาย ดร.ธรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล ออกมาวอนคนไทย หยุดบริโภคเห็ดหลุบ ชี้เพราะคือบ้านของเหล่าสัตว์ทะเล ปลาการ์ตูนตัวน้อย กุ้งปูตัวนิด เผยเมื่อบ้านถูกจับไปกิน วัตว์ทะเลก็ไม่สามารถอยู่รอดได้โดยปราศจาก "บ้าน" วันนี้ (7 มิ.ย.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ระบุข้อความว่า "พรุ่งนี้เป็นวันทะเลโลก หากขออะไรได้ อยากขอสิ่งหนึ่งที่เห็นมานานแต่ไม่จบสักที #เลิกกินเห็ดหลุบได้ไหม "เห็ดหลุบ" เป็นชื่อพื้นเมืองของดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่ง มีหนวดสั้น อยู่ตามพื้นท้องทะเล ดอกไม้ทะเลพวกนี้เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่อยู่ร่วมกัน เช่น ปลาการ์ตูน กุ้ง/ปูดอกไม้ทะเล เป็นบ้านหลังน้อยท่ามกลางทรายว่างเปล่า ทำให้พื้นทะเลมีชีวิต ยังทำให้พื้นทะเลมีรายได้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะนักดำน้ำเห็นแล้วชอบใจนัก ยิ่งช่วงนี้การดำน้ำดูสัตว์เล็กในทะเลกำลังมาแรง เห็ดหลุบยิ่งทวีความสำคัญ นอกจากนี้ ดอกไม้ทะเลยังเป็นสัตว์ที่เรียบง่ายแต่ซับซ้อน เรามีความรู้น้อยมาก เราเพาะเลี้ยงทำฟาร์มไม่ได้ อยากได้ต้องไปจับจากทะเลดอกไม้ทะเลทุกชนิด รวมถึงเห็ดหลุบ จึงถูกประกาศเป็นสัตว์คุ้มครองในทะเลรุ่นแรกๆ พร้อมกับปะการัง กัลปังหา และหอยมือเสือ แต่ปัญหาคือ "เห็ดหลุบ" เป็นอาหารพื้นเมืองแถวสมุย-พะงัน ชาวบ้านกินกันมานานแล้ว การกินบ้างนานๆ ที อาจไม่ส่งผลมาก แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวเข้ามา มีการนำเห็ดหลุบเข้าร้านอาหาร มีการพูดถึงในสื่อโซเชียล ความต้องการจึงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้เกิดการลักลอบจับกันขนานใหญ่ ในภาพที่เพื่อนธรณ์ส่งมา เป็นการจับกุมในพื้นที่ จะเห็นเห็ดหลุบเต็มถัง น้ำหนักหลายสิบกิโลกรัม กี่สิบกี่ร้อยบ้านจากไป จะให้ไปอยู่ที่ไหน เมื่อบ้านถูกจับไปกิน ครอบครัวกระจัดกระจาย พ่อแม่ลูกพลัดพราก จากนั้นก็ตกเป็นเหยื่อพวกเธอไม่สามารถอยู่รอดได้โดยปราศจาก "บ้าน" ที่ถูกกินไปแล้วพื้นทรายว่างเปล่า ไร้ชีวิต ไร้รายได้ ทั้งที่ เห็ดหลุบเป็นเพียงอาหารแปลก ไม่ใช่อาหารหลัก คนไทยยังไม่อดอยากถึงขั้นต้องกินดอกไม้ทะเลเพื่อดำรงชีวิต ในด้านกฎหมาย เห็ดหลุบอยู่ในระดับเดียวกับเสือดำ กระทิง ฯลฯ เป็นสัตว์คุ้มครองห้ามจับห้ามขายห้ามซื้อและ "ห้ามกิน" พ.ร.บ.สงวนคุ้มครองฯ มาตรา 89 ระบุโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้าน หรือทั้งจำทั้งปรับจึงขอร้องเพื่อนธรณ์ไว้ กรุณาอย่ากินเห็ดหลุบ เพราะคุณกำลังกิน "บ้าน" ของเพื่อนๆ ใต้ทะเล ฆ่าทุกชีวิตที่อยู่ในบ้านหลังนั้น หากพบการค้าขายในร้านอาหาร มีการกินโชว์ในสื่อต่างๆ ฯลฯ แจ้งได้ที่หน่วยงานต่างๆ เช่น สายด่วนสัตว์ป่า กรมทะเล กรมประมง ฯลฯ เหมือนกับการแจ้งสัตว์สงวนสัตว์คุ้มครองทั้งหลาย ขอบคุณเครือข่ายอนุรักษ์/เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่กรุณาช่วยกันดูแลทะเลไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยจะช่วยกันเลิกกิน "เห็ดหลุบ" เลิกกินบ้านของเพื่อนเราใต้ทะเล" https://mgronline.com/onlinesection/.../9640000054922
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 08-06-2021 เมื่อ 03:49 |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
คลื่นซัดเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ เกยตื้นฝั่ง 'เกาะพระทอง' 7 มิถุนายน 2564 นายฉัตรชัย ทองทวีวิวัฒน์ เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 12 (คุระบุรี พังงา) และเจ้าหน้าที่กู้ภัยทางทะเลชุมชน 2 คุระบุรี ได้รับแจ้งว่ามีเรือลากจูงชื่อ วายเคพี มารีน และเรือลำเลียงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ชื่อ นำทอง 39 ถูกคลื่นซัดเกยตื้นบริเวณชายหาดของทะเลอันดามัน ฝั่งทิศตะวันตกของเกาะพระทอง ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา มี MR.EFENDI TAKARENDEHANG สัญชาติอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเรือในขณะเกิดเหตุมีคนประจำเรือประมาณ 8 คน ทั้งนี้ เรือได้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศพม่า เพื่อเดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย เมื่อมาถึงฝั่งทะเลอันดามันในประเทศไทยเชือกขนาดใหญ่ได้เข้าไปพันกับใบจักรเรือ จนทำให้เรือเดินทางไม่ได้จึงถูกคลื่นพัดตีเข้ามาเกยตื้น แต่ตัวเรือ เครื่องจักร สินค้า ยังไม่ได้รับความเสียหาย ไม่มีการแพร่กระจายของคราบน้ำมันในบริเวณจุดเกิดเหตุ โดยทางเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 12 (คุระบุรี พังงา) และเจ้าหน้าที่กู้ภัยทางทะเลชุมชน 2 คุระบุรี ได้เร่งเดินทางไปร่วมช่วยเหลือนำเครื่องดูดน้ำสูบน้ำออกเรือ และตัดเชือกที่พันใบจักรเรือลากจูงดังกล่าว พร้อมได้ให้ทางเจ้าของเรือประสานหน่วยงาน เพื่อร่วมวางแผนในการนำเรือทั้ง 2 ลำ ออกจากจุดเกยตื้น ว่าที่ร้อยตรีกิตติภูมิ สมัยกลาง เจ้าพนักงานตรวจเรือชำนาญการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพังงา เปิดเผยว่า เบื้องต้นทางสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาพังงา และเจ้าหน้าที่ ศรชล.ภาค 3 เตรียมการกู้ลากจูงเรือออกจากจุดเกิดเหตุ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการจัดหาเรือช่วยเหลือ (Salvage) เพื่อให้การช่วยเหลือลากจูง เรือลากจูง?วายเคพี มารีน? ออกก่อน และจะใช้เรือลำดังกล่าว ดึงเรือลำเลียง นำทอง 39 ออกมาในภายหลัง โดยทั้งนี้ ต้องปฏิบัติงานกู้ลากจูงเรือ ในช่วงระดับน้ำขึ้นสูงสุด พร้อมนี้ได้ให้ข้อสังเกตข้อแนะนำกับ เจ้าของเรือ/ผู้ดูแลเรือ เกี่ยวกับการเตรียมการเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าบนเรือลำเลียง ซึ่งบรรทุกสินค้า เป็นไม้ยางพารา (PARA WOODS) ในตู้คอนเทนเนอร์ อาจต้องจัดเตรียมเรืออื่น พร้อมอุปกรณ์ยกขน เพื่อขนถ่ายสินค้าบางส่วนออกให้เรือเบาขึ้นเพื่อให้สามารถกู้เรือลำเลียงได้โดยง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น https://www.naewna.com/local/578603
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
11 เรื่อง 'มลพิษ' ทาง 'ทะเล' ที่เราอาจไม่เคยรู้ ใน 'วันทะเลโลก' ................ โดย ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี อ่านเรื่องเกี่ยวกับ "มลพิษ" ทาง "ทะเล" ที่เราอาจไม่เคยรู้ เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมใต้มหาสมุทร ใน "วันทะเลโลก" เชื่อไหมว่า ยังมีตัวเลขเกี่ยวกับ มลพิษทางทะเล ใน วันทะเลโลก 8 มิถุนายน อีกหลายอย่างที่เราไม่ควรมองข้าม เริ่มตั้งแต่ ปริมาณขยะกว่า 27 ล้านตัน ที่คนไทยสร้างขึ้นต่อปี ถึงแม้รายงาน สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2563 จะระบุว่า มีปริมาณลดลงจากปี 2562 ราว 4 % ก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่า เราจะละเลยขยะ 1.14 กิโลกรัมที่คนเราผลิตขึ้นในแต่ละวันได้แม้แต่น้อย เพราะปลายทางของขยะที่ถูกทิ้งมักร่วงลงไปจมอยู่ในทะเลไทยกว่า 10 ล้านตันทุกปี จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีขยะถูกทิ้งลงทะเลมากกว่า 10 ล้านตันทุกปี? นอกจากการตกค้างในธรรมชาติ หรือแตกตัวกลายเป็นพลาสติกจิ๋ว หรือไมโครพลาสติก เข้าไปปนเปื้อนอยู่ในแทบทุกอณูของโลกใบนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมา รู้อีกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมลพิษทางทะเลที่ไม่ได้มีแค่ขยะ หรือพลาสติก เมื่อ สิ่งที่มองไม่เห็นไม่ได้แปลว่ามันไม่มีอยู่จริง มลพิษ ใน ทะเล ก็เช่นเดียวกัน น้ำมันรั่วลงทะเลอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ (แต่ก็ควรกังวล) ถ้าเรารู้ว่า สัดส่วนการรั่วไหลของน้ำมันบนพาดหัวข่าวของสื่อมวลชนนั้นคิดเป็นเพียงร้อยละ 12 ของปริมาณที่น้ำมันรั่วทั้งหมด ทั้งที่จริงๆ แล้ว น้ำมันที่ปนเปื้อนลงทะเลส่วนใหญ่นั้นมาจาก ถนน แม่น้ำ และท่อน้ำทิ้งมากกว่า พลาสติกกำลังจะมากกว่าปลาในทะเล มีรายงานว่า ตัวเลขปริมาณพลาสติกที่คนเราทิ้งลงทะเลในแต่ละปีนั้นสูงถึง 7.9 พันล้านกิโลกรัม หรือเท่ากับน้ำหนักของวาฬสีน้ำเงิน 57,000 ตัว ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป มีการคาดการณ์กันว่า อีกไม่เกิน 30 ปีต่อจากนี้ หรือปี ค.ศ. 2050 ปริมาณพลาสติกจะมากกว่าปลาในมหาสมุทรรวมกันเสียอีก แพขยะขนาดใหญ่ที่สุดในทะเลมีขนาดใหญ่แค่ไหน แพขยะทะเลนั้นมีอยู่มากมาย และกระจัดกระจายอยู่ทั่วท้องทะเล โดยแพขยะขนาดใหญ่ในโลกนี้มีด้วยกัน 5 จุด และ Great Pacific Garbage Patch หรือ แพขยะแปซิฟิก ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น มีปริมาณขยะอยู่ 1.8 ล้านล้านชิ้น หรือสามารถเอามาวางเรียงกันเป็นขนาด 2 เท่าของรัฐเท็กซัส เลยทีเดียว อันตราย 2 เด้งจากพลาสติก นอกจากแพขยะที่มีพลาสติกเป็นส่วนผสมที่สร้างมลภาวะต่อทะเลแล้ว พลาสติกเหล่านั้นจะยิ่งร้ายกาจขึ้นเมื่อมีการแตกตัว และกลายสภาพเป็นพลาสติกจิ๋ว หรือไมโครพลาสติก ก่อนจะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารผ่านการปนเปื้อนไปในที่ต่างๆ ซึ่งจนถึงตอนนี้ แม้ยังไม่ได้มีการศึกษาที่ระบุชัดว่า พลาสติกเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อเราหรือไม่ แต่สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของพลาสติกนั้น อันตรายต่อธรรมชาติแน่นอน จีน และอินโดนีเซีย แหล่งผลิตขยะพลาสติกของโลก มีรายงานระบุว่า พลาสติกในทะเลส่วนใหญ่นั้นมาจาก จีน และอินโดนีเซียมากกว่าแหล่งอื่น โดยรวมกันแล้วคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณพลาสติกทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น ในข้อมูลชุดดังกล่าวยังระบุด้วยว่า กว่า 80 % ของมลพิษพลาสติกทั้งหมด มาจาก 20 ประเทศในโลกเท่านั้น และหนึ่งในนั้นก็คือ สหรัฐอเมริกา มลพิษในแฟชั่น เชื่อไหมว่า ในการซักผ้าแต่ละครั้ง จะมีไมโครไฟเบอร์สังเคราะห์มากกว่า 7 แสนชิ้นถูกชะล้างลงในท่อน้ำทิ้งของเรา เส้นใยพลาสติกเหล่านี้ไม่แตกตัว ไม่เหมือนกับวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย หรือ ขนสัตว์ งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ไมโครไฟเบอร์สังเคราะห์มีสัดส่วนมากถึง 85 % ของขยะที่อยู่เกลื่อนชายหาดทั้งหมด ขยะส่วนใหญ่ถูกทิ้งลืมอยู่ก้นทะเล น่าจะเป็นคำกล่าวที่ไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่า ทะเลก็เหมือนถังขยะใบใหญ่ของมนุษยชาติ นอกจากน้ำทะเลสีคราม สิ่งที่จมอยู่ใต้ท้องน้ำนั้น เป็นขยะกว่า 70 % ของปริมาณขยะในทะเลทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า เราไม่มีทางที่จะทำความสะอาดก้นถังขยะได้เลย แม้แต่สารอาหารก็อันตรายสำหรับทะเล นี่ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะบอกว่า สารอาหารทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับต้นไม้ใบหญ้า แต่เป็นพิษกับท้องทะเลอย่างยิ่งยวด เมื่อมันถูกปล่อยลงสู่ทะเลในปริมาณมหาศาล สารอาหารทางการเกษตร เช่น ไนโตรเจน สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของสาหร่ายได้ เมื่อสาหร่ายกระจายตัวสร้างอาณาจักรของตัวเองขึ้นมา ออกซิเจนในน่านน้ำโดยรอบจะถูกดูดกลืนหายไป ทำให้เกิดเขตมรณะอันกว้างใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลให้ปลา และสัตว์ทะเลอื่นๆ ตายไปเป็นจำนวนมาก ข่าวร้ายก็คือ เขตมรณะเหล่านั้นกำลังเพิ่มขึ้น นับตั้งแต่ปี 2004 นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มทำการสำรวจเขตไร้ออกซิเจน หรือ เขตมรณะ (พื้นที่ที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำจนทำให้ชีวิตสัตว์หายใจไม่ออกและตายในที่สุด) พวกเขาค้นพบเขตมรณะทั้งสิ้น 146 โซน ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 405 โซน ในปี 2008 ล่าสุดเมื่อปี 2017 มีการค้นพบเขตมรณะขนาดเกือบเท่ารัฐนิวเจอร์ซีย์ บริเวณอ่าวเม็กซิโก นับเป็นเขตมรณะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบมา หอยแมลงภู่กำลังสูญพันธุ์!? ผลกระทบอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจกคือค่าความเป็นกรดในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น ซึ่งภาวะดังกล่าวไม่ค่อยสู้ดีนักสำหรับหอยสองฝา อย่าง หอยแลงภู่ หอยเชลล์ หอยนางรม ในการสร้างเปลือกหอย และทำให้โอกาสในการอยู่รอดลดลงไปโดยปริยาย นอกจากจะทำให้ห่วงโซ่อาหารปั่นป่วน เรื่องนี้ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพอยที่มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกด้วย . มลพิษทางเสียงก็ส่งผลกระทบกับทะเล เสียงจากการเดินเรือ และกิจกรรมทางทะเลต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นทั้งในเชิงพาณิชย์ หรือภารกิจทางการทหารล้วนก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง รวมทั้ง แมงกะพรุน และดอกไม้ทะเล ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของทูน่า ฉลาม เต่าทะเล รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/942219
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|