#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 10-12 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ด้านรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 13 - 15 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สัญญาณฉุกเฉิน รายงานใหม่ IPCC ชี้โลกร้อนเร็วขึ้น-แทบไม่เหลือเวลาแก้ไข ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ เตือน กิจกรรมของมนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และบางอย่างเปลี่ยนไปชนิดไม่อาจย้อนคืน สำนักข่าว บีบีซี รายงานเมื่อ 9 ส.ค. 2564 ว่า คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่งานวิจัยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลทั่วโลก เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ ซึ่งเป็นการประมาณทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศชิ้นใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 โดยพวกเขาพบว่า โลกกำลังร้อนเร็วขึ้น และมนุษย์แทบไม่เหลือเวลาที่จะป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้นตามมาแล้ว ศ. เอ็ด ฮอว์คินส์ จากมหาวิทยาลัยเรดดิง สหราชอาณาจักร หนึ่งในผู้เขียนรายงานฉบับนี้ ระบุว่า รายงานฉบับนี้คือถ้อยแถลงข้อเท็จจริง นักวิทยาศาสตร์ไม่อาจมั่นใจได้มากกว่านี้อีกแล้ว มันเป็นเรื่องชัดเจนและโต้แย้งไม่ได้ว่า มนุษย์กำลังทำให้โลกร้อนขึ้น นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 50 ปีที่อุณหภูมิพื้นผิวของโลกเพิ่มขึ้นเร็วที่สุด ยิ่งกว่าช่วง 50 ปีใดๆ ในรอบ 2,000 ปีที่ผ่านมา และเริ่มส่งผลกระทบแล้วในรูปแบบสภาพอากาศสุดขั้วที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก รายงานของ IPCC เผยสถิติสำคัญหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า โลกของเรากำลังร้อยขึ้นเร็วกว่ายุคใดๆ ในอดีต เช่น อุณหภูมิผิวโลกในช่วงทศวรรษระหว่างปี 2011-2020 สูงกว่าช่วงปี 1850-1900 ถึง 1.09 องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี 1850 ด้านอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในปัจจุบันก็มากกว่าช่วงปี 1901-1971 เกือบ 3 เท่า อิทธิพลของมนุษย์ยังเป็นปัจจัยหลัก (90%) ที่ผลักดันให้น้ำแข็งในทะเลอาร์กติก กับธารน้ำแข็งทั่วโลกลดลงนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1990 และเห็นได้ชัดว่า ประกฏการณ์สภาพอากาศร้อนสุดขั้ว รวมถึง คลื่นความร้อน เกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่ปี 1950 ขณะที่ปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเย็นกลับเกิดน้อยลง และความรุนแรงลดลง รายงานใหม่นี้ยังระบุชัดเจนว่า ภาวะโลกร้อนที่เราประสบมาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต่อระบบสนับสนุนตัวเองของโลกของเรา จนไม่อาจย้อนคืนดังเดิมได้ภายในระยะเวลาหลายร้อยหรือหลายพันปี มหาสมุทรจะยังคนอุ่นขึ้นและเป็นกรดมากขึ้น ธารน้ำแข็งบนภูเขาและเข้าโลกจะละลายต่อไปเป็นเวลาหลายสิบหรือหลายร้อยปีข้างหน้า "ผลที่ตามมาเหล่านี้จะเลวร้ายลงตามความร้อนที่เพิ่มขึ้น" ศ.ฮอว์คินส์กล่าว "และผลกระทบหลายๆ อย่าง ไม่อาจกลับมาเป็นดังเพิ่มได้" ในด้านของระดับน้ำทะเล นักวิทยาศาสตร์ได้จัดทำแบบจำลองสถานการณ์ที่ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกระดับ และพวกเขาไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่น้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 2 เมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ (ค.ศ. 2100) หรือเพิ่มขึ้น 5 เมตรภายในปี 2150 ได้ ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่งภายในปี 2100 ส่งผลกระทบต่อคนนับล้านชีวิต หัวข้อสำคัญอีกอย่างในรายงานฉบับนี้คือ การคาดการอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก และผลกระทบที่จะเกิดกับมนุษยชาติ โดยในปัจจุบัน เกือบทุกประเทศทั่วโลก ลงนามใน ?ความตกลงปารีสปี 2015? ซึ่งมีเป้าหมายที่จะคงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ และมุ่งมั่นจะคงอุณภูมิให้ต่ำกว่า 1.5 องศา แต่รายงานใหม่ฉบับนี้ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์จัดทำแบบจำลองอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกภายใต้เงื่อนไขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกสถานการณ์แล้ว พบว่า อุณหภูมิโลกจะแตะ 1.5 องศาภายในปี 2040 ในทุกสถานการณ์ และหากไม่มีการตัดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอมจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่านั้นอีก "เราจะเผชิญอุณหภูมิ +1.5 องศานานหลายปีเร็วขึ้นอีก เราเคยเจอมันมาแล้วนาน 2 เดือนระหว่างปรากฏการณ์ เอลนิโญ ในปี 2016" ศ.มอลเทอ เมนชูเซน จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย และหนึ่งในผู้เขียนรายงานของ IPCC ระบุ "รายงานใหม่นี้คาดการณ์ว่ามันจะเกิดขึ้นเร็วที่สุดในช่วงกลางปี 2034" ผลที่ตามมาหลังอุณหภูมิโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียสคือ มนุษย์จะได้เห็นคลื่นความร้อนที่รุนแรงและเกิดถี่ขึ้น ฝนตกหนักขึ้นทั่วโลก และที่บางพื้นที่จะเผชิญภัยแล้งรุนแรงขึ้นกว่าที่เห็นในปัจจุบัน และอาจเกิดเหตุการณ์ที่ทวีปอาร์กติก เกือบจะไม่เหลือน้ำแข็งอยู่เลย อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนถึงปี 2050 ทั้งนี้ นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า รายงานของ IPCC เปรียบเหมือน ?รหัสแดง? หรือสัญญาณฉุกเฉินต่อมนุษยชาติ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า สถานการณ์ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว หากเราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกได้ 50% ภายในปี 2030 และถึงเป้าหมายที่ ศูนย์สุทธิ (net zero) ภายในปี 2050 เราจะสามารถหยุด หรืออาจลดอุณหภูมิที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นนี้ได้ อนึ่ง การไปให้ถึงเป้าหมายที่ศูนย์สุทธิ คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจำให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด แล้วลดการปล่อยก๊าซที่เหลือด้วยเครื่องดักจับคาร์บอน หรือใช้พืชดูดซับ https://www.thairath.co.th/news/foreign/2162300
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
สื่อนอกมองไทย : เมื่อชายฝั่งไทยกำลังร่นถอยจากการกัดเซาะ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทย กับความพยายามแก้ไขปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ พื้นที่แนวชายฝั่งของไทย ซึ่งมีความยาวเป็นระยะทางมากกว่า 3,150 กิโลเมตร กำลังเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยแตกต่างกันออกไป แนวชายฝั่งของจังหวัดจันทบุรี ที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศไทย กำลังเป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะในระดับรุนแรง โดยในบางพื้นที่การกัดเซาะกินลึกเข้าไปกว่า 1 กิโลเมตร ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี แม้ประชาชนในพื้นที่จะมองว่าภัยธรรมชาติ อย่างคลื่นขนาดใหญ่และพายุมรสุม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการกัดเซาะรุนแรง ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว เอ24 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่าปัจจัยซึ่งส่งผลกระทบที่แท้จริง คือลักษณะการใช้ที่ดิน ซึ่งก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อหน้าดิน อย่างการทำบ่อกุ้งและบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งทำให้หน้าดินมีความอ่อนแอลง และขาดความแข็งแรง นอกจากนี้ ดร.พรศรี ยังกล่าวเสริมว่า ปัจจุบันกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินโครงการปักแนวไม้ไผ่ เพื่อลดปัญหาการกัดเซาะตามแนวป่าชายเลนแล้ว. ข้อมูลจาก : A24 News Agency https://www.dailynews.co.th/news/141824/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
หนุ่มสหรัฐฯ ผงะ! ตกได้ปลาประหลาด มีฟันเรียงสวยเหมือนฟันมนุษย์ หนุ่มชาวนอร์ทแคโรไลนารายหนึ่งถึงกับตกอกตกใจ หลังจับปลาลักษณะแปลกประหลาดได้ตัวหนึ่ง โดยมันมีฟันคล้ายกับฟันของมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันในเวลาต่อมาว่ามันคือ ปลาชีปส์เฮด (sheepshead fish) เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว (2 ส.ค.) นายนาธาน มาร์ติน จากเมืองเซาต์มิลล์ส รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐฯ เดินทางไปยังท่าเรือ Jennette's Pier จุดหมายปลายทางตกปลายอดนิยม เพื่อไปตกปลาและเขาก็ตกได้ตัวหนึ่้ง แต่หลังจากม้วนสายเบ็ดกลับมาเขาถึงกับตกตะลึงเมื่อภาพที่ปรากฏนั้นคือปลาตัวนี้แยกเขี้ยวยิงฟันใส่เขา และมันมีฟันเต็มปาก เรียงเป็นซี่ๆ คล้ายกับฟันมนุษย์เป็นอย่างมาก มาร์ติน เล่าว่า เขาใช้หมัดทรายเป็นเหยื่อในการตกปลา "มันเป็นการต่อสู้ที่สนุกเลยล่ะ มันเป็นการฟาดฟันตามกรอบ มันเป็นการตกปลาที่ยอดเยี่ยมเลย" พร้อมเผยกับสำนักข่าวท้องถิ่นว่า มีแผนนำฟันของปลาชีปส์เฮดตัวนี้ไปประดับไว้ที่ผนังบ้าน เฟซบุ๊กของ Jennette's Pier ท่าเรือสาธารณะที่ยาวที่สุดของนอร์ทแคโรไลนา แชร์ภาพถ่ายปลาตัวดังกล่าว ที่มีน้ำหนัก 9 ปอนด์ (ราว 4 กิโลกรัม) พร้อมแคปชันว่า #bigteethbigtimes. ต่อมา ภาพถ่ายของปลาเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ หลายคนแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ไม่เชื่อว่ามันเป็นของจริง ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งระบุว่า "ฟันปลอมอันนี้เอามาจากไหน?" ส่วนอีกคนเสริมว่า "ปลาตัวนี้มีฟันที่ประหลาดที่สุด" และอีกคนเขียนติดตลก "ปลาตัวนี้ฟันสวยกว่าผมอีก" สำนักงานประมงทางทะเลนอร์ทแคโรไลนา ยืนยันว่า มันคือปลาชีปส์เฮด จุดเด่นของมันคือมีฟันหน้า ฟันกรามและฟันบดโดยรอบ ที่สามารถช่วยให้พวกมันเคี้ยวหอยและเม่นทะเลได้อย่างสบายๆ "พวกมันมีน้ำหนักระหว่าง 5 ถึง 15 ปอนด์ (ราว 2.2 ถึง 6.8 กิโลกรัม)" https://mgronline.com/around/detail/9640000077853
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
ยูเอ็นเตือนภัย "ระดับแดง" ชี้ทั่วโลกกำลังเผชิญ "วิกฤตภูมิอากาศ" (Elias Funez/The Union via AP) ยูเอ็นเตือนภัย "ระดับแดง" ชี้ทั่วโลกกำลังเผชิญ "วิกฤตภูมิอากาศ" จี้เลิกใช้ถ่านหิน-เชื้อเพลิงฟอสซิล รอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมนี้ว่า คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)เผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด ระบุ โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตภูมิอากาศ ที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ จนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้ว ทำได้เพียงชะลอ เพื่อซื้อเวลาให้สามารถเตรียมการรับมือได้เท่านั้น ทั้งนี้รายงานดังกล่าวซึ่งนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญสรุปและอธิบายความจากการอ่านผลงานการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 14,000 ชิ้น ระบุว่า ระดับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศในเวลานี้สูงมากพอที่จะก่อให้เกิดปัญหากับสภาพภูมิอากาศต่อเนื่องต่อไปอีกหลายสิบปีหรืออาจเป็นหลายศตวรรษ ปัญหาดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นเพิ่มเติมนอกเหนือจาก คลื่นความร้อนที่ทำให้ถึงตายได้, พายุเฮอริเคนรุนแรงขนาดมหึมา หรือภาวะภูมิอากาศแบบสุดโต่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นให้เห็นอยู่ในเวลานี้ และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการยูเอ็นระบุว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการเตือนภัย "ระดับแดงสำหรับมนุษยชาติ" เป็นการเตือนภัยที่เสียงดังมากชนิดทำให้หูดับได้ "รายงานนี้คือสัญญาณบอกเหตุถึงการสิ้นสุดการใช้งานถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิล ก่อนที่ของเหล่านี้จะทำลายโลกของเรา" เลขาฯยูเอ็นระบุ ทั้งนี้รายงานชิ้นนี้ให้รายละเอียดและสร้าวความเข้าใจได้อย่างครอบคลุมว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้ธรรมชาติของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร โดนระบุว่า หากปราศจากการดำเนินการขนานใหญ่โดยทันทีและรวดเร็วเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อุณหภูมิของโลกเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเกินระดับ 1.5 องศาเซลเซียส ภายใน 20 ปีข้างหน้า ในขณะที่การรับปากว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของนานาประเทศในเวลานี้ ไม่เพียงพอที่จะทำให้ปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศลดลงแต่อย่างใด รายงานระบุว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์อย่างชัดเจน ได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยก่อนหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรม และสามารถเพิ่มสูงขึ้นไปอีก 0.5 องศาลเซลเซียส โดยไม่จำเป็นต้องไปเพิ่มมลภาวะในชั้นบรรยากาศแต่อย่างใด ทั้งนี้การที่อุณหภูมิสูงขึ้นกว่าระดับ 1.5 องศาเซลเซียสนั้น สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนได้แล้ว โดยจตะก่อให้เกิดผลกระทบในระดับหายนะ อย่างเช่นเกิดความร้อนจัดถึงขนาดแค่ออกไปข้างนอกบ้านก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากอุณหภูมิสูงมากขึ้นไปอีก สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือภาวะภูมิอากาศสุดโต่งที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะร้อนสุดขีด หรือภาวะฝนตกหนักไม่ลืมหูลืมตา (AP Photo/Noah Berger) โซเนีย เซนเนวีรัตเน นักวิทยาศาสตร์จาก อีทีเอช ซูริค ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เขียนรายงานของไอพีซีซีชิ้นนี้ ระบุว่า "เรามีหลักฐานทุกอย่างเท่าที่จำเป็นในการแสดงให้เห็นว่าเรากำลังอยู่ระหว่างวิกฤตภูมิอากาศแล้วในเวลานี้" ในขณะที่ เอ็ด ฮอว์กินส์ ผู้เขียนร่วม ระบุว่า การเพิ่มขึ้นทุกๆ เสี้ยวองศามีความหมายทั้งสิ้น โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น แทมสิน เอดเวิร์ดส์ นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศจาก คิงส์คอลเลจ ลอนดอน ผู้เขียนร่วมอีกคนระบุว่า สายเกิดไปแล้วสำหรับมนุษยชาติในการป้องกันไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำเพาะบางสิ่งบางอย่างได้ อย่างเช่น การหลอมละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ซึ่งจะละลายต่อเนื่องไปอีกนับสิบปีหรือนับศตวรรษ ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ "ตอนนี้เราก่อให้เกิดคุณลักษณะบางประการของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศขึ้นแล้วชนิดที่ไม่สามารถกู้คืนได้ภายในหลายร้อยหรือหลายพันปีข้างหน้า เท่าที่เราสามารถทำได้ในเวลานี้คือการจำกัดการร้อนขึ้นของโลก เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ลงให้มากที่สุด" แต่แค่การชะลอการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โลกก็แทบไม่เหลือเวลาให้ดำเนินการแล้ว โดยถ้าหากโลกร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงมหาศาลในช่วง 10 ปีถัดไป อุณหภูมิเฉลี่ยก็จะยังสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 และอาจเพิ่มเป็น 1.6 องศาในปี 2060 ก่อนที่จะทรงตัว แต่ถ้าเราไม่ช่วยกันปรับลดลงให้มากพอ โดยปล่อยให้เป็นไปตามแนวโน้มที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ถึงปี 2060 โลกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2.0 องศาเซลเซียส และ 2.7 องศา ณ สิ้นศตวรรษนี้ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า โลกเราในอดีตเคยร้อนถึงระดับนั้นมาแล้ว เมื่อประมาณ 3 ล้านปีก่อน ในยุค ไพลโอซีน อีพ็อค ซึ่งระดับน้ำในมหาสมุทรในตอนนั้น สูงกว่าระดับน้ำในมหาสมุทรตอนนี้ ถึง 25 เมตร โจรี โรเกลจ์ นักวิชาการด้านภูมิอากาศจากอิมพีเรียล คอลเลจ ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วมอยู่ด้วยระบุว่า เราได้เปลี่ยนโลกของเราไปแล้ว แล้วเราก็ต้องรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้นต่อไปอีกหลายศตวรรษ หรือสหัสวรรษ ในอนาคต แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกมากที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหากเราเลือกที่จะทำในเวลานี้ NASA Earth Observatory https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2876167
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
โลกร้อน : ประเทศยากจนต้องเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร ปี 2563 เกาะในแถบแคริบเบียนต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อน 30 ลูก สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นพายุเฮอร์ริเคน 6 ลูกด้วยกัน ........ Getty Images เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้เชี่ยวชาญบอกกับบีบีซีว่า ประเทศที่มีรายได้ต่ำกำลังเผชิญอุปสรรคในการป้องกันตนเองจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 90 ประเทศระบุว่าแผนป้องกันความเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เตรียมไว้ไม่ทันรับมือกับ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรงและถี่ขึ้นกว่าเก่า สหประชาชาติบอกว่า ประเทศที่มีแผนเตรียมปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสรุปว่าแผนเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงได้จริงหรือเปล่า "เราต้องปรับเปลี่ยนแผนเพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่แย่ลงเรื่อย ๆ แผนที่มีอยู่ไม่เพียงพอจะปกป้องผู้คนของเราแล้ว" โซนัม วังดี ประธานกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries Group ? LDC) กล่าว นี่เป็นการเรียกร้องก่อนที่คณะกรรมการด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติจะตีพิมพ์รายงานวิเคราะห์เรื่องโลกร้อนวันนี้ (9 ส.ค.) โดยรายงานนี้จะเป็นข้อมูลอ้างอิงสำคัญสำหรับการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักรในเดือน พ.ย. นี้ ความโกลาหลในแถบแคริบเบียน เกาะบาร์บูดา เมื่อปี 2017 ............. Getty Images เมื่อปีที่แล้ว ภูมิภาคแคริบเบียนต้องเผชิญกับพายุฤดูร้อน 30 ลูก สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นพายุเฮอร์ริเคน 6 ลูกด้วยกัน บนเกาะที่ตั้งของประเทศแอนติกาและบาร์บูดา ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าอาคารหลายหลังไม่สามารถต้านทานลมแรงที่มากับพายุเหล่านี้ได้ "เราเคยเห็นแต่พายุเฮอร์ริเคนระดับ 4 ดังนั้นนั่นคือสิ่งที่เราเตรียมไว้ในแผนปรับตัว แต่ตอนนี้เราถูกพายุเฮอร์ริเคนระดับ 5 พัดถล่มเข้าใส่แล้ว" ไดแอน แบล็ค เลย์เนอร์ หัวหน้าผู้เจรจาด้านสภาพภูมิอากาศของกลุ่มรัฐเกาะขนาดเล็ก (Alliance of Small Island States) กล่าว เธอบอกว่าเฮอร์ริเคนระดับ 5 ทำให้เกิดลมแรงถึง 180 ไมล์ต่อชั่วโมงซึ่งหลังคาอาคารไม่สามารถรับมือได้เพราะมันสร้างความกดอากาศแรงขึ้นภายในตัวอาคารด้วย กำแพงกั้นคลื่นทลายในหมู่เกาะแปซิฟิก ประเทศที่ตั้งบนเกาะหลายแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกโดนพายุไซโคลน 3 ลูกถล่มระหว่างกลางปี 2020 ถึงเดือน ม.ค. 2021 Getty Images "หลังจากไซโคลน 3 ลูกนั้น ชุมชนในภาคเหนือของประเทศเราพบว่ากำแพงกั้นคลื่นที่สร้างขึ้นตามแผนในการปรับตัว พังทลายไป" วานี คาตานาซิกากล่าว เขาเป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริการสังคมของฟิจิ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนขององค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สังกัดสภาเพื่อการจัดการภัยพิบัติของประเทศ เขาบอกว่าคลื่นและลมโหมเข้าไปยังที่ตั้งถิ่นฐานจนทำให้คนในพื้นที่บางส่วนต้องอพยพหนี แม้ว่าการเกิดพายุหลายลูกในช่วงสั้น ๆ แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าพายุทะเลรุนแรงมากขึ่นเรื่อย ๆ รายงายวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าพายุไซโคลนฤดูร้อนรุนแรงมากขึ้นในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปเรื่องความถี่ของพายุ ภูเขาในยูกันดา ในยูกันดา ผู้คนในแถบเทือกเขารเวนซอรี ต้องเผชิญกับเหตุดินถล่มและน้ำท่วมแม้จะพยายามป้องกันด้วยการขุดคูดินและปลูกต้นไม้ "ฝนตกหนักมากจนเราเห็นน้ำท่วมใหญ่ที่หนักและกะทันหันพัดทำลายสิ่งที่สร้างและปลูกขึ้นมาเพื่อพยายามป้องกัน" แจ็คสัน มูฮินโด ผู้ประสานด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของมูลนิธิอ็อกซ์แฟม (Oxfam) กล่าว Getty Images เขาบอกว่า ผลคือทำให้เกิดเหตุดินถล่มหลายครั้งจากเนินเขาซึ่งเข้าไปกลบทับที่อยู่อาศัยและไร่นาของคน เขาบอกว่าการป้องกันด้วยการอนุรักษ์ดินหมดประโยชน์ลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเจอสภาพอากาศที่รุนแรงแบบนี้ การปรับตัวไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด สหประชาชาติบอกว่า มากกว่า 80% ของประเทศกำลังพัฒนาเริ่มคิดและบังคับใช้แผนปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว อย่างไรก็ดี งานวิจัยโดยสถาบันนานาชาติเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (International Institute for Environment and Development) บอกว่า 46 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลกไม่มีเงินทุนในการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถาบันนานาชาติเพื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาบอกว่า ประเทศเหล่านี้ต้องการเงินอย่างน้อย 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ?ต่อปีในการทำตามแผนปรับตัว แต่ระหว่างปี 2014 ถึง 2018 พวกเขาได้เงินแค่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น สหภาพยุโรปและประเทศพัฒนาแล้วอีก 23 ประเทศ สัญญาว่าจะให้ทุนช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ตัวเลขล่าสุดชี้ว่าพวกเขายังให้ได้แค่ 7.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ รายงานโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี ระบุว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วให้เงินถึง 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นทุนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ?climate finance? อย่างไรก็ดี มีการพบว่า ในจำนวนนั้น มีเพียง 21% เท่านั้นที่ให้ใช้เพื่อปรับตัวรับมือกับผลกระทบกับสภาพภูมิอากาศ ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกใช้สำหรับมาตรการลดการปล่อยคาร์บอน คาร์ลอส อกิลาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับตัวรับมือกับสภาพภูมิอากาศของอ็อกซ์แฟมบอกว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุดของรัฐบาลเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอื่นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการของรัฐ ความยากจน และโควิด-19 https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6553687
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|