#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคใต้ ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือ ด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 ? 28 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 29 ? 31 ต.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรตลอดช่วง อนึ่ง พายุดีเปรสชัน "ฮอมูน" (HAMOON) ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตอนใต้ของประเทศบังคลาเทศแล้ว คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไป โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 29 - 30 ต.ค. ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
สตูลพบพะยูนตายเกยตื้น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอดุลย์ ชนะบัณฑิต ประธานพลเมืองรักษ์สตูล รับแจ้งจากชาวบ้านแหลมการีม ม.5 ต.เกาะสาหร่าย อ.เมือง จ.สตูล ว่า เมื่อเวลา 14.00 น.ของวันที่ 25 ตุลาคม ได้พบพะยูนเพศเมีย ยาว 2 เมตร น้ำหนัก 250-300 กก. นอนตายเกยตื้นบริเวณเวิ้งอ่าว แหลมการีม คาดว่าน่าจะเข้ามากินหญ้าทะเลที่ขึ้นเต็มบริเวณแหลมการีมและกินจนเพลินจนกระทั่งน้ำลดจะออกจากเวิ้งอ่าวไม่ได้ เลยเกยตื้นตายดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณลำตัวไม่พบบาดแผลใดๆ นายอดุลย์ กล่าวว่า พะยูนตัวดังกล่าว เป็นพะยูนประจำถิ่นที่มีอยู่ 2 ฝูงคือบริเวณแหลมการีม ระหว่าง ม.5 และ ม.6 ต.เกาะสาหร่าย ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเล ฝูงพะยูนดังกล่าวมีประมาณ 3-5 ตัว ส่วนอีกฝูงหากินบริเวณหน้าเกาะบากันใหญ่ ม.2 บ้านบากันใหญ่ ต.เกาะสาหร่าย ทั้ง 2 แห่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ สำหรับพะยูนตัวที่ตายคาดว่าเป็นตัวแม่ที่โตเต็มวัย ถือเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่สำคัญของพื้นที่อีกตัวหนึ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันอนุรักษ์ฝูงพะยูนฝูงนี้ไว้ให้อยูคู่ทะเลแห่งนี้ให้คงอยู่สืบไป https://www.matichon.co.th/region/news_4251284
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
สุดเศร้า !! โลกล้มเหลวในการหยุดตัดไม้ทำลายป่า ตัวเลขยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปี 2021 ผู้นำกว่า 100 ประเทศให้สัญญาว่า จะเป็นตัวแทนของผืนป่าสีเขียว ในการป้องกันภัยอันตรายที่อาจนำมาสู่ป่า ตั้งเป้าจะร่วมกันฟื้นฟูผืนป่าภายในปี 2030 แต่ตัวเลขการประเมินการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก ย้อนแย้งกับเป้าหมาย อัตราการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 อย่างที่ทราบกัน ป่าไม้ มิเพียงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำหรับสัตว์นานาชนิดเท่านั้น แต่ป่าไม้ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนแผงควบคุมสภาพภูมิอากาศของโลก แถมยังเป็นฟองน้ำที่คอยดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เอาไว้ ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ฉะนั้น หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกจึงแสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการลดการตัดไม้ทำลายป่าในประเทศเพื่อคงไว้ซึ่งปอดของโลก เฉกเช่นในปี 2021 ผู้นำกว่า 100 ประเทศ ได้ตบปากให้สัญญาว่าจะเป็นตัวแทนของผืนป่าสีเขียว ในการป้องกันภัยอันตรายที่อาจนำมาสู่ป่า และตั้งเป้าว่าจะร่วมกันฟื้นฟูผืนป่าภายในปี 2030 แต่ดูเหมือนตัวเลขการประเมินการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกจะย้อนแย้งกับเป้าหมายที่หลาย ๆ ประเทศตั้งร่วมกัน ในปีที่แล้ว อัตราการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ป่าราว 6.6 ล้านเฮกตาร์ ตัวเลขที่ออกมานี้ กลุ่มที่ประเมินตัวเลขการตัดไม้ทำลายป่าได้สื่อสารต่อเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า ความเสื่อมโทรมของป่าไม้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และน่ากังวล เสื่อมโทรมอย่างไร? ความเสื่อมโทรมที่ว่าก็คือ ป่าไม้ยังคงเกิดไฟป่าขึ้นอยู่เรื่อย ๆ จนสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไป ซึ่งผลกระทบตรงนี้ทำให้สุขภาพของป่าโดยรวมย่ำแย่ลง "ข้อมูลปีต่อปี มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวล" เอริน แมตสัน ผู้ประเมินในครั้งนี้ กล่าว "แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าก็คือ ตั้งแต่ปี 2018 ? 2020 เรามีแนวโน้มว่ากำลังเดินไปในทางที่ผิด" แม้ผู้เชี่ยวชาญจะเตือนว่า เรากำลังเดินไปในทางที่ผิด แต่ก็ใช่ว่าตัวเลขการตัดไม้ทำลายป่าจะติดลบไปเสียหมด เพราะมีถึง 50 ประเทศ ที่ถือว่ายังอยู่ในเส้นทางที่จะยุติการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดนิเซีย บราซิล และมาเลเซีย 3 ประเทศนี้ สูญเสียพื้นที่ป่าน้อยลง แต่ 3 ประเทศที่ยกมานี้ ก็มีเรื่องที่ต้องกังวล ประเทศอินโดนีเซีย ที่แนวโน้มการสูญเสียพื้นที่ป่าลดลงเพราะถูกเชื่อมโยงอยู่กับการระงับการตัดไม้ทำลายป่าชั่วคราว ทว่าสิ่งที่น่าเป็นกังวลคือ กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการสร้างงาน ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมุ่งมั่นที่ประเทศอินโดนีเซียปูมาได้ดีกับเรื่องการดูแลรักษาป่า ส่วนประเทศบราซิล ความสนใจส่วนใหญ่พุ่งเป้าไปที่ป่าแอมะซอนเพราะเป็นระบบนิเวศแห่งใหญ่ของประเทศ มีคนให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ มีการสร้างความรู้ความเข้าใจ และรณรงค์ไม่ให้ตัดไม้ทำลายป่า แต่ผลกรรมก็ไปตกที่ทุ่งหญ้าเซอร์ราโด้ (Cerrado) แทน ทุ่งหญ้านี้มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากการทำลายป่ามากขึ้นเรื่อย ๆ ทำไมการตัดไม้ถึงส่งผลเสียต่อโลก เป็นที่เข้าใจกันดีว่า ต้นไม้คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนฯ ก่อนที่จะลอยออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ดังนั้น การตัดไม้ทำลายป่าจึงเปรียบได้กับการตัดแขนตัดขาตัวช่วยสำคัญของโลก ในการผ่อนมลพิษที่โลกได้รับให้ทุเลาลง ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาบอกว่า หากโลกของเราเกลี้ยงเตียน ไม่มีพื้นที่สีเขียวอยู่เลย โลกของเราจะได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์เต็ม ๆ เพราะไม่มีต้นไม้คอยดูดซับ หรือสะท้อนรังสีความร้อนออกไป นอกจากนี้ยังมีผลเสียอีกมากมายที่โลกของเราจะได้รับหากขาดต้นไม้ไป ถือเป็นโจทย์ให้กับทุกประเทศว่าจะดำเนินมาตราการฟื้นฟูผืนป่าต่อไปอย่างไร https://www.nationtv.tv/gogreen/378934209
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|