#1
|
||||
|
||||
'หญ้าทะเล'
ปลูกต้นไม้ใต้น้ำก็สำคัญ 'หญ้าทะเล' เพื่อนิเวศ-เพื่อ 'พะยูน' ขณะที่บนบกมีการปลูกต้นไม้ ปลูกป่า ปลูกหญ้าแฝก เพื่อฟื้นฟูสภาพนิเวศ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ชายทะเลหรือในทะเลก็สามารถจะ-ควรจะปลูกต้นไม้ ปลูกป่า ปลูกหญ้า เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสภาพนิเวศที่ดีเช่นกัน ซึ่งก็คือการปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆที่เป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลน และรวมถึงการปลูก “หญ้าทะเล” ในทะเลก็มีหญ้า...และควรจะต้องมีอย่างมากพอ “หญ้าทะเล” ในทะเลไทยร่อยหรอ...จึงต้องปลูก ทั้งนี้ “ปลูกหญ้าทะเล คืนธรรมชาติ สู่ท้องทะเลไทย” นี่เป็นกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกิจกรรมหนึ่งที่ทางการไฟฟ้านครหลวงได้สนับสนุน-ดำเนินการ โดยล่าสุดจัดทำเป็นปีที่ 2 “ปลูกเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์หญ้าทะเล ให้ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำนานาชนิดบริเวณเกาะค้างคาว ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง โดยดำเนินการร่วมกับข้าราชการ นักเรียน ประชาชนในพื้นที่” รองผู้ว่า การการไฟฟ้านครหลวง รณชิต รัตนารามิก ระบุไว้ พร้อมทั้งบอกไว้ด้วยว่า...การปลูกหญ้าทะเลครั้งแรกประสบผลสำเร็จด้วยดี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหญ้าทะเลบริเวณเกาะค้างคาว มีอัตราการรอดตายและเติบโตเพิ่มสูงขึ้น โดยการสำรวจเดือน ต.ค. 2552 เหลือรอดถึง 35% รวมทั้งมีสัตว์น้ำกลับมาใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และวางไข่ อย่างหนาแน่น ที่สำคัญคือ “หญ้าทะเล” ยังเป็นอาหารของ “พะยูน” หญ้าในทะเลจึงมีคุณค่ามิใช่แค่หญ้าที่ไร้ความสำคัญ !! สำหรับ “พะยูน” หรือ “หมูน้ำ” “หมูดุด” “ดุหยง” เป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งตาม พ.ร.บ.สัตว์สงวน พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์สงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น รูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ มีครีบลักษะคล้ายใบพาย ครีบอกมีเล็บขนาดเล็กๆ ซึ่งวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ว่ากันว่า...“พะยูน” คือต้นตอเรื่องราวของ “นางเงือก” โดยนักเดินเรือในยุคอดีตเห็นแม่พะยูนให้นมลูกโดยกอดอยู่กับอกและตั้งฉากกับท้องทะเล ซึ่งในระยะไกลๆจะดูคล้ายผู้หญิงอยู่ในน้ำ “จากการสำรวจพบว่าจำนวนพะยูนในฝั่งทะเลอันดามันมีประมาณ 200 ตัว ซึ่งที่ จ.ตรัง เป็นแหล่งใหญ่ของพะยูน มีพะยูนอาศัยอยู่ประมาณ 150 ตัว หรือ 2 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมด” ...รณชิตระบุ และจุดนี้นี่เองที่ทำให้ทางการไฟฟ้านครหลวงเลือกที่จะทำกิจกิจกรรม ปลูกหญ้าทะเล คืนธรรมชาติ สู่ท้องทะเลไทย ที่ตรัง ข้อมูลของโครงการรักษ์พะยูน กรมป่าไม้ ระบุไว้ว่า... พะยูนส่วนใหญ่จะชอบอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูงตามชายฝั่งทะเล โดย เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่มีแหล่ง “หญ้าทะเล” ซึ่งเป็นอาหารหลักของพะยูน เมื่อน้ำขึ้นพะยูนจะรวมกลุ่มกันเข้ามากินหญ้าทะเลที่ขึ้นเป็นแนวอยู่บริเวณน้ำตื้น จนกระทั่งน้ำเริ่มลงพะยูนก็จะกลับไปหลบอาศัยอยู่บริเวณร่องน้ำที่อยู่ใกล้เคียง และรอที่จะกลับเข้ามาใหม่เมื่อน้ำขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาคือ...สถานะของ “พะยูน” ในประเทศไทยในปัจจุบัน ถือว่า “อยู่ในภาวะวิกฤติ” เนื่องจาก “ถูกคุกคามอย่างหนักจากมนุษย์” ทั้งในเรื่องถิ่นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร !! กล่าวสำหรับอาหารของพะยูน คือ “หญ้าทะเล” นั้น ข้อมูล จากหนังสือสถานภาพแหล่งทรัพยากรปะการังและหญ้าทะเลพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง ระบุไว้ว่า... ในทะเลไทยมีกว่า 10 ชนิด เช่น... หญ้าชะเงา, หญ้าชะเงาเต่า, หญ้าใบพาย, หญ้าใบมะกรูด, หญ้าใบมะกรูดขน, หญ้าใบมะกรูดแคระ, หญ้าชะเงาฝอย, หญ้าชะเงาใบแคบ, หญ้าชะเงาสั้นปลายแหลม, หญ้าตะกอนน้ำเค็ม, หญ้า ใบสน และ หญ้าชะเงาสั้นปลายมน ที่พบแพร่กระจายเฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนหญ้าทะเลที่พะยูนชอบกินคือ หญ้าใบมะขาม ทั้งนี้ ทางโครงการรักษ์พะยูนได้ทำการศึกษาพะยูนในเขต จ.ตรัง และพบว่าทะเลแถบนี้เป็นแหล่งหญ้าทะเลผืนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีหญ้าทะเลถึง 9 ชนิด ขึ้นรวมกันเป็นพื้นที่หลาย สิบตารางกิโลเมตร จุดนี้ก็ย่อมจะตอบโจทย์ว่าทำไมพะยูนจึงมีอยู่มากที่สุดในทะเลเขต จ.ตรัง ดังที่รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงระบุ อย่างไรก็ตาม เพราะกิจกรรมรูปแบบต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะจากการทำประมง ท่องเที่ยวทางทะเล ฯลฯ ทำให้ “หญ้าทะเล” ซึ่งเป็นทั้งอาหารสำคัญของสัตว์สงวนสำคัญอย่าง “พะยูน” เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล เป็นแหล่งอาศัย เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน แหล่งหลบภัย แหล่งอาหาร ที่มีความสมบูรณ์ไม่แพ้ระบบนิเวศแนวปะการัง ระบบนิเวศป่าชายเลน ช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยลดการพังทลายของดิน ต้องลดน้อยลงไป ซึ่งเมื่อหญ้าทะเล “ลดปริมาณลงมาก” ก็เป็นเรื่อง ที่น่าห่วง ยังดีที่ปัจจุบันในไทยตื่นตัวเรื่อง “หญ้าทะเล” แล้ว มีกระแสอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลและมีการ “ปลูก” ระบบนิเวศหญ้าทะเลในทะเลไทย...ก็น่าจะดีขึ้น !!!. จาก : เดลินิวส์ คอลัมน์ สกู๊ปหน้า 1 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ไปครับไป ไปช่วยกันปลูกหญ้าทะเล
|
#3
|
||||
|
||||
ไปทำงานที่ตรังปีนี้....เปลี่ยนจากปลูกป่าชายเลนมาเป็นปลูกหญ้าทะเลแทนก็ได้นะคะ แต่ต้องไปสืบเรื่องจะได้พันธุ์หญ้าทะเลมาจากไหนก่อนค่ะ
__________________
Saaychol |
#4
|
|||
|
|||
ได้ความรู้ใหม่ หญ้า ทะเลก็ปลูก ได้ แสดงว่าน่าจะสามารถเพาะพันธุ์หญ้าทะเลได้ ถ้าถามจากคณะเจ้าภาพโครงการนี้ คงจะได้รู้จักกับแหล่งเพาะพันธ์ นะครับ
|
#5
|
||||
|
||||
เท่าที่ผมได้ไปเซิร์ชหาอ่านเพิ่มเติมมาแล้ว ทราบว่า...... เขาใช้วิธีย้ายมาจากพื้นที่หนึ่งมาไว้ในอีกพื้นที่หนึ่งครับ ..... แต่ก็ไม่ทราบว่าก่อนจะย้ายมานั้น หญ้าทะเลมันขึ้นเองอย่างหนาแน่นจนมากเพียงพอที่จะย้ายออกมาได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเลยหรือเปล่า หรือ ไปปลูกเอาไว้เพื่อที่จะย้ายไปปลูกเพิ่มเติมที่อื่น ตรงนี้ไม่มีอะไรบอกเอาไว้ .... ผมจะฝากคนตรังสืบเรื่องนี้ให้ต่อไปครับ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
|||
|
|||
ด้วยความเคารพในความตั้งใจดีครับ แต่มีข้อมูลเสนอนิดนึง
การปลูกหญ้าทะเลอันที่จริงต้องมาทบทวนกันก่อนว่ามีความจำเป็นเพียงไร หรือมีความคุ้มค่าเพียงไร หรือทำเพื่อวัตถุประสงค์อะไร การปลูกหญ้าทะเลที่ตำบลท่าข้ามนั้นทำมานานแล้วตั้งแต่ปี 2549 เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความพยายามในการฟื้นฟูหญ้าทะเลของชาวบ้านในชุมชนซึ่งทำการปลูกลงในหลายๆพื้นที่ แต่การปลูกนั้นก็ใช้วิธีปลูกแบบตรงไปตรงมา คือ หาหญ้ามาปลูกในพื้นที่ที่คิดว่าปลูกได้ แต่สุดท้ายก็ตายเกือบหมด เพราะยังไม่มีการศึกษามาก่อนว่าปัจจัยที่สำคัญสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศมีอะไรบ้าง บางทีอาจจะอยุ่ที่ความเหมาะสมของพื้นที่ หรือวิธีการที่จะปลูกในพื้นที่นั้นยังไม่เหมาะสม ที่พูดมานี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เห็นด้วยกับภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่จากการที่ผมทำงานที่คลุกคลีกับชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ตลอดมาซึ่งต้องยอมรับและเคารพในความตั้งใจดีของเขาเหล่านั้นซึ่งคงต้องทำต่อไปและหาวิธีการที่เหมาะสมในการปลูกต่อไป ที่สำคัญคือจะต้องไม่รบกวนแหล่งหญ้าธรรมชาติ ซึ่งสิ่งที่ผมเป็นห่วงคือ ในปัจจุบันนี้ยังคงใช้การย้ายหญ้าทะเลจากแหล่งธรรมชาติอื่นๆเช่นเกาะลิบง เข้ามาปลูกในพื้นที่ซึ่งการปลูกแต่ละครั้งจะใช้หญ้าทะเลจำนวนมาก เนื่องจากมักจะจัดกันเป็น event ใหญ่ๆ เน้นจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม หากจัดบ่อยๆ และอัตราการตายยังคงสูงอยู่ ผมก็คิดว่ายังไงก็คงไม่คุ้มค่าต่อการสูญเสียหญ้าทะเลจากแหล่งธรรมชาติ ผมยังเคยแนะนำให้ทำการทดลองโดยศึกษาวิจัยกันเป็นแปลงเล็กๆเพื่อลดการสูญเสียจากการปลูกเป็นจำนวนมากในพื้นที่จริงก่อนซึ่งก็มีชาวบ้านหลายกลุ่มก็ให้ความสนับสนุนกันดี นอกจากนี้จากไปประชุมหญ้าทะเลนานาชาติที่ ม.ราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดตรังก็พบว่ามีงานสาระนิพนธ์ชิ้นหนึ่งของนักศึกษาที่สามารถเพาะพันธุ์ต้นหญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides)โดยใช้เมล็ดได้ ซึ่งน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแหล่งต้นพันธุ์หญ้าทะเลในการนำมาปลูกฟื้นฟูในพื้นที่อื่นๆ อย่างไรก็ตามผมเข้าใจว่ากิจกรรมการปลูกหญ้าทะเลที่ผ่านมาน่าจะเป็นไปเพื่อการปลูกจิตสำนึกแก่ผู้ร่วมกิจกรรมเสียมากกว่า ซึ่งถือเป็นการ"ปลูกหญ้าทะเลในหัวใจ"ของผู้มาร่วมปลูกซึ่งก็คงได้ผลตามวัตถุประสงค์ของผู้จัด แต่การปลูกหญ้าทะเลให้ได้ผลและสามารถฟื้นฟูระบบนิเวศกันจริงๆคงต้องพยายามหาทางกันต่อไป และหากพบว่ามีความสำเร็จที่จับต้องได้จริง ก็น่าจะเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับชาว sos เพื่อทะเลของเราครับ....Cheers.. แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sea addict : 22-02-2010 เมื่อ 11:58 |
#7
|
||||
|
||||
เห็นข่าวการไฟฟ้านครหลวงก็ไปปลูกหญ้าทะเลที่ตรังเหมือนกันครับ เมื่อต้นเดือนนี้เอง ไม่รู้ว่าได้ผลยังไงหรือเปล่า
http://www.mea.or.th/news/th/index.p...8-12&Itemid=50 |
#8
|
||||
|
||||
ได้รับฟังข้อมูลหลายๆฝ่าย คงได้เห็นภาพหลายๆด้าน ..
ขอบคุณทุกๆความเห็นครับผม
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#9
|
||||
|
||||
ขอบคุณsea addict สำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆค่ะ สายชลก็ห่วงเรื่องการถอนต้นหญ้าจากอ่าวหนึ่งไปไว้อีกอ่าวหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงระบบนิเวศและความอยู่รอดของหญ้าทะเลอยู่เหมือนกันค่ะ จึงต้องการศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนี้จากผู้เชี่ยวชาญ ให้แน่นอนก่อนค่ะ ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน หรือศูนย์วิจัยฯ ภูเก็ต มีผู้เชี่ยวชาญด้านหญ้าทะเลอยู่หลายท่าน ที่ได้อ่านในหนังสือ "หญ้าทะเลในน่านน้ำไทย" เห็นมีชื่อ คุณสมบัติ ภู่วชิรานนท์....คุณกาญจนา อดุลยานุโกศล (น้องแม่หมูน้ำ ของพวกเราชาว SOS)....คุณภูธร แซ่หลิม....คุณอดิสร เจริญวัฒนาพร....คุณชัยมงคล แย้มอรุณพัฒนา....คุณจันทร์เพ็ญ วุฒิวรวงศ์ วันหน้าสองสายจะรบกวนไปขอนั่งคุยด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 25-02-2010 เมื่อ 13:05 |
|
|