#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นไว้ด้วย สำหรับภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน ฝุ่นละอองในระยะนี้ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันยังคงมีอยู่ ส่วนภาคเหนืออากาศยกตัวได้ไม่ดีในตอนเช้าและลมอ่อน ทำให้ตอนเช้ามีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควัน ส่วนตอนบ่ายจะดีขึ้นเนื่องจากอากาศยกตัวได้ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.พ. 63 ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก แต่ยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาคเหนือตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-12 องศาเซลเซียส สำหรับภาคใต้มีฝนลดลง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังอ่อนลงในช่วงวันที่ 13 - 16 ก.พ. 63 ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 ก.พ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวเย็นลงและอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 12 - 14 ก.พ. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 ก.พ.63 ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.พ. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
นักวิทย์เผย "เพนกวินชินสแตรป" ลดลงกว่าครึ่ง เร่งหาข้อสรุปสนธิสัญญาทะเลหลวง สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานอ้างอิงผลการสำรวจของทีมนักวิทยาศาสตร์ของกรีนพีซซึ่งทำการสำรวจจำนวน "เพนกวินชินสแตรป" บริเวณแอนตาร์กติกา โดยพบว่าจำนวนเพนกวินสายพันธ์ดังกล่าวลดลงมากกว่า 60% เมื่อเทียบกับการสำรวจก่อนหน้านี้เมื่อปี 1971 ทั้งนี้ ทีมนักวิยาศาสตร์ทำการสำรวจบริเวณเกาะช้าง (Elephant Island) ซึ่งเป็นเกาะนอกชายฝั่งแอนตาร์กติกาทางตะวันตกเฉียงเหนือและเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญของเพนกวินชินสแตรป โดยทีมสำรวจระบุว่าจำนวนคู่ผสมพันธ์ของเพนกวินชนิดนี้เหลือเพียง 52,786 คู่เท่านั้น ซึ่งลดลงจากเมื่อปี 1971 ที่มีจำนวนถึง 122,550 คู่ "ฮีธเธอร์ เจ ลินช์" รองศาสตราจารย์ด้านวิชานิเวศน์วิทยา จากมหาวิทยาลัยสโตนี่ บรู๊กส์ ในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นสมาชิกของทีมสำรวจ กล่าวว่า "จำนวนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญบ่งชี้ถึงระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากจากเมื่อ 50 ปี ก่อน" ขณะที่หลายฝ่ายมองว่าพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นการคุกคามสิ่งมีชีวิตมหาสมุทรเช่นกัน โดยนักรณรงค์ทั่วโลกได้มีการก่อสร้างปะติมากรรมน้ำแข็งรูปเพนกวินตามเมืองหลวงต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ลอนดอน โซล และ บัวโนสไอเรส เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลทั่วโลกเร่งหาข้อสรุปใน "สนธิสัญญาทะเลหลวง" ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งจะกำหนดพื้นที่ปลอดภัยเพื่อคุ้มครองสิงมีชีวิตมหาสมุทรจากการคุกคามของมนุษย์ "ฟริดา เบงกท์สัน" นักรณรงค์จากกรีนพีซ ระบุว่า "รัฐบาลทั่วโลกควรเร่งหาทางสรุปสนธิสัญญาทะเลหลวงภายในปีนี้ เพื่อกำหนดเขตปลอดภัยเพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตทะเลจากการคุกคามของมนุษย์และเป็นพื้นที่สำหรับสัตว์เหล่านี้เพื่อปรับตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก" ทั้งนี้รัฐบาลทั่วโลกจะมีการหารือเพื่อหาข้อสรุปในสนธิสัญญาทะเลหลวงในเดือน มี.ค. 2020 ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวตั้งเป้าว่าจะกำหนดพื้นที่ปลอดภัยซึ่งครอบคลุมพื้นที่มหาสมุทร 30% ทั่วโลก ภายในปี 2030 https://www.prachachat.net/world-news/news-420057
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
WWF ชี้ ?โคโรนาไวรัส? กระตุกสำนึก "หยุดบริโภคสัตว์ป่า" WWF ประเทศไทยระบุ จีนออกคำสั่งห้ามซื้อขายสัตว์ป่า หลังไวรัสโคโรนาระบาดในหลายเมือง เป็นสัญญาณให้ทั่วโลกตื่นตัวประเด็นการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ที่ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของงานอนุรักษ์ หรือความหลากหลายทางชีวภาพ แต่เกี่ยวโยงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของมนุษย์ด้วย ภาพข่าว: ? WWF / James Morgan เจษฎา ทวีกาญจน์ ผู้จัดการโครงการต่อต้านการซื้อขายสัตว์ป่าผิดกฎหมาย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ให้ความเห็นกรณีรัฐบาลจีนประกาศห้ามซื้อขายสัตว์ป่าทั่วประเทศเป็นการชั่วคราว นับตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา (26 ม.ค. 2563) จนกว่าสถานการณ์ไวรัสโคโรนาระบาดจะยุติลง หลังจากมีรายงานว่าไวรัสชนิดดังกล่าวอาจแพร่จากสัตว์ไปยังมนุษย์ และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ทำงาน หรือใช้ชีวิตในบริเวณใกล้เคียงกับตลาดสดใจกลางเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นจุดแรกที่มีรายงานการเกิดและระบาดของโรค "การซื้อขายสัตว์ป่า นอกจากจะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เป็นอาชญากรรมข้ามชาติ และทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นยังทำให้เราเชื่อมโยงได้ว่า การบริโภคสัตว์ป่าอาจก่อให้เกิดปัญหากับสุขภาพ เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ การที่รัฐบาลจีนประกาศห้ามซื้อขายสัตว์ป่าถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกทาง ซึ่งหากมีการขยายผลในเชิงนโยบายต่อไปจะช่วยลดทอนปัญหาการค้าสัตว์ป่า และการลักลอบนำเข้า-ส่งออกสัตว์ป่าที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลกได้" ผู้จัดการโครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย WWF ประเทศไทยกล่าวอีกว่า จากงานวิจัยเรื่องบทบาทของประเทศจีนในประเด็นการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย และคำตอบของรัฐบาลจีน (China?s Role in Wildlife Trafficking and the Chinese Government?s Response) ที่เผยแพร่เมื่อเดือน ธ.ค. 2561 ระบุว่าเป็นที่รับรู้กันในวงกว้างว่า จีนเป็นตลาดค้าสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเมื่อเศรษฐกิจของจีนเติบโตขึ้น ความต้องการผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า ซึ่งรวมถึงสัตว์ที่กำลังตกอยู่ในสภาวะอันตรายใกล้สูญพันธุ์ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย "ไม่ใช่แค่เรื่องของการแพทย์เท่านั้น แต่ในประเทศจีนยังมีความนิยมบริโภคสัตว์ป่า ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นการจุดประกายสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้บริโภค หยุดบริโภค หยุดซื้อขายสัตว์ป่า ซึ่งก็เท่ากับเป็นการหยุดยั้งการเกิดโรค และการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากสัตว์ไปสู่มนุษย์ด้วย" ทางด้านมาร์กาเร็ต คินนาร์ด หัวหน้าโครงการเพื่อสัตว์ป่า WWF ระบุว่า การตื่นตัวจากไวรัสโคโรนาในวงการสาธารณสุขจะเป็นการกระตุ้นให้ทั่วโลกสนใจเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น "เราควรยุติการคุกคามชีวิตสัตว์สายพันธุ์ที่กำลังตกอยู่ในอันตรายใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งบริโภคชิ้นส่วนของพวกมัน และสัตว์แปลกต่าง ๆ ที่ตกเป็นเป้าของการบริโภคเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ที่พิสูจน์ไม่ได้จริง" ทั้งนี้ โครงการต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายของ WWF ดำเนินงานโดยเครือข่ายองค์กรอนุรักษ์ทั่วโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อยุติและหยุดยั้งธุรกิจค้าสัตว์ป่า ที่เป็นอาชญากรรมข้ามชาติมีมูลค่าราว 7,800-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมีตลาดรับซื้อขนาดใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย https://www.citizenthaipbs.net/node/27388
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|