#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3?6 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร พายุโซนร้อน "ชานชาน" SHANSHAN ปกคลุมตอนใต้ของคันไซ ประเทศญี่ปุ่น ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง โดยพายุนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 ? 6 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ ภาคตะวันออก และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงวันที่ 1 ? 3 ก.ย. 67 สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 6 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 1 ? 6 ก.ย. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 4 ? 6 ก.ย. 67
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
"เกาะเหลาลาดิง" เกาะเล็ก ๆ ลับ ๆ อันงดงาม อีกหนึ่ง "เกาะสวรรค์" แห่งทะเลกระบี่ ททท.ชวนเที่ยวชมความงดงามของ "เกาะเหลาลาดิง" เกาะเล็ก ๆ ลับ ๆ ในทะเลกระบี่ ที่นักท่องเที่ยวขนานนามว่าเป็น "เกาะสวรรค์" อีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย กระบี่เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลอันงดงามของบ้านเรา เกาะเหลาลาดิง เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะห้อง อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณีอ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เกาะแห่งนี้แต่เดิมเป็นเกาะสัมปทานเก็บรังนกนางแอ่น ที่ปัจจุบันได้ตัดออกจากบัญชีเกาะรังนกไปแล้ว ซึ่งทางอุทยานฯจึงเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมความงาม เกาะเหลาลาดิง แม้เป็นเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่อย่างลับ ๆ แต่ว่าเป็นเกาะที่มีสภาพธรรมชาติอันงดงาม จนนักท่องเที่ยวหลาย ๆ คนขนานนามว่าเป็น "เกาะสวรรค์" หรือ "Paradise Island" พื้นที่บนเกาะเหลาดาลิงจะมีเวิ้งอ่าวเป็นหาดทรายเล็ก ๆ ให้ นักท่องเที่ยวได้ลงเล่นน้ำได้ ทั้งยังมีต้นมะพร้าวจำนวนมากที่มีลำต้นสูงชะลูด ประกอบกับชายหาด น้ำทะเลและภูเขา กลายเป็นโลเกชั่นที่สวยงาม เป็นจุดเช็กอินที่ห้ามพลาดบนเกาะ ขณะที่บนภูเขาจะมี โพรงถ้ำหินปูนสวย งามมากมาย สำหรับการเดินทางมาที่เกาะเหลาลาดิงมีทั้งการซื้อแพ็กเกจท่องเที่ยวแบบวันเดย์ทัวร์ และเช่าเรือหัวโทงแบบเหมาลำ จากอ่าวนางหรือหาดนพรัตน์ธาราหรือหนองทะเล ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 45 นาที ก็ถึงซึ่งจะสามารถเที่ยวชมได้ทั้งเกาะเหลาลาดิง เกาะห้อง และเกาะผักเบี้ย ภาพ : อโนทัย งานดี https://mgronline.com/travel/detail/...80755?tbref=hp
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'โลกร้อน' ทำอากาศปั่นป่วน กระทบการบิน-ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น .......... โดย จุลวรรณ เกิดแย้ม KEY POINTS - ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเที่ยวบินมีหลุมเป็นบ่อมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อรูปแบบสภาพอากาศ - ความท้าทายของการเพิ่มระบบอัตโนมัติและการแนะนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการบิน - ความปั่นป่วนและความปั่นป่วนของอากาศที่ปลอดโปร่ง ที่คาดเดาได้ยาก ตามรายงานของสายการบิน เครื่องบินลงจอดตามปกติ และผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บถูกนําตัวไปที่โรงพยาบาลในท้องถิ่นเพื่อรับการรักษา เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่คล้ายกันที่พาดหัวข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้ รวมถึงเที่ยวบินจากลอนดอนไปสิงคโปร์ในเดือนพฤษภาคมซึ่งมีผู้บาดเจ็บหลายสิบคนและเสียชีวิตหนึ่งคนหลังจากเครื่องบินประสบกับความปั่นป่วนอย่างรุนแรง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเดินทางทางอากาศยังคงเป็นรูปแบบการขนส่งที่ปลอดภัยที่สุด และอุตสาหกรรมรายงานว่ายังคงปลอดภัยยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน นักเดินทางมีแนวโน้มที่จะประสบกับเที่ยวบินที่เป็นหลุมเป็นบ่อมากขึ้น และผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่ต้องโทษ ความปั่นป่วนคืออะไร? ความปั่นป่วนหมายถึงการเคลื่อนที่ของอากาศที่ผิดปกติซึ่งส่งผลต่อการบินของเครื่องบิน มันเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความเร็วและทิศทางของลม ซึ่งมักเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภูเขา เจ็ทสตรีม และพายุ สายการบินมักจะสามารถคาดการณ์และนําทางไปรอบ ๆ พื้นที่ของความปั่นป่วน และลูกเรือได้รับการฝึกฝนให้จัดการความเสี่ยงใด ๆ ต่อผู้โดยสารระหว่างเหตุการณ์ ผลกระทบต่อเครื่องบินอาจมีตั้งแต่การกระแทกเล็กน้อยในแสงและความปั่นป่วนปานกลางไปจนถึงรุนแรงพอที่เครื่องบินจะสูญเสียการควบคุมชั่วขณะหรือในความปั่นป่วนที่รุนแรงทําให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมการบินจ่ายหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีสําหรับความเสียหาย ความล่าช้า และการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้อาจสร้างความไม่สงบให้กับผู้โดยสาร แต่การบาดเจ็บสาหัสและการเสียชีวิตเนื่องจากความปั่นป่วนบนเครื่องบินขนาดใหญ่นั้นหายาก ตามรายงานของสํานักงานการบินแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2552 ถึง 2565 ผู้โดยสาร 37 คนและลูกเรือ 146 คนได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากความปั่นป่วน จํานวนเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ต่อปีเพิ่มขึ้นในช่วงเวลานั้น จาก 26 ล้านเที่ยวบินในปี 2552 เป็นประมาณ 40 ล้านเที่ยวบินในปัจจุบัน เหตุใดความปั่นป่วนของอากาศจึงเกิดขึ้นบ่อยขึ้นและคาดเดาได้ยากขึ้น มีความปั่นป่วนอีกประเภทหนึ่ง ความปั่นป่วนในอากาศใส สิ่งนี้เกิดขึ้นที่ระดับความสูงและบนท้องฟ้าที่ดูเหมือนแจ่มใส บ่อยครั้งเมื่ออากาศที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วอยู่ใกล้กับอากาศที่ช้ากว่ามากในกระแสเจ็ท แทบจะมองไม่เห็นด้วยตา เซ็นเซอร์ และดาวเทียม ในปี 2566 ความปั่นป่วนของอากาศแจ่มใสทําให้เที่ยวบินที่เดินทางไปเยอรมนีจากเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ลดลงอย่างกะทันหัน 1,000 ฟุตระหว่างให้บริการอาหาร เมื่อผู้โดยสารและลูกเรือเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้องโดยสาร เจ็ดคนถูกนําตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการบาดเจ็บเล็กน้อย คิดว่านี่อาจเป็นประเภทของความปั่นป่วนที่ส่งผลกระทบต่อเที่ยวบินลอนดอน-สิงคโปร์ในเดือนพฤษภาคม 2567 นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าความรุนแรงและความถี่ของความปั่นป่วนของอากาศแจ่มใสกําลังเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทําให้แรงเฉือนของลมในกระแสน้ําพุ่งแรงขึ้น ระหว่างปี 2522 ถึง 2563 ความถี่ของความปั่นป่วนในอากาศใสรุนแรงเพิ่มขึ้น 55% ทั่วสหรัฐอเมริกาและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางการบินที่พลุกพล่านที่สุดในโลก ความปั่นป่วนปานกลางและเบาก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 นักบินอาจประสบกับความปั่นป่วนในอากาศใสที่รุนแรงอย่างน้อยสองเท่า อย่างไรก็ตาม สิ่งสําคัญคือต้องทราบว่ามันหายาก เพียงไม่กี่ในสิบของเปอร์เซ็นต์ของบรรยากาศมีความปั่นป่วนอย่างรุนแรงในเวลาใดก็ตาม การป้องกัน ควบคู่ไปกับความพยายามในการลดภาวะโลกร้อน รวมถึงการมีส่วนร่วมโดยตรงของอุตสาหกรรมการบินต่อการปล่อยมลพิษ ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำถึงความสําคัญของการปรับปรุงการคาดการณ์ความปั่นป่วน ข้อมูลจากวารสาร Nature แนะนําการดําเนินการว่าในสามด้านเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมการบินพัฒนาแบบจําลองและกลยุทธ์การทํานายในพื้นที่นี้ 1. การใช้คอมพิวเตอร์จําลองชั้นบรรยากาศของโลกเพื่อให้เข้าใจความปั่นป่วนของอากาศอย่างลึกซึ้งและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. การพัฒนาเทคโนโลยีสําหรับตรวจจับและคาดการณ์ความปั่นป่วน เช่น การทําไลดาร์ เรดาร์ที่ใช้เลเซอร์ที่สามารถตรวจจับความปั่นป่วนของอากาศที่ใสได้ มีขนาดกะทัดรัดและคุ้มค่ามากขึ้น 3. การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแบบจําลองการทํานายโดยการฝึกอบรมอัลกอริธึมในชุดข้อมูลความปั่นป่วนของอากาศขนาดใหญ่ สิ่งนี้จะช่วยระบุการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยและรูปแบบที่ซับซ้อน และเพิ่มความแม่นยําของการทํานาย สํารวจประโยชน์และความท้าทายในการแนะนําระบบอัตโนมัติในระดับที่สูงขึ้นและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมการบินจะทำให้การบินนั้นปลอดภัยและยังยืนมากขึ้น ที่มา : The World Economic Forum https://www.bangkokbiznews.com/environment/1142448
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ทุ่มทุนสร้าง 3 ท่าเรือน้ำลึก ดันรายได้ท่องเที่ยวทางทะเล กรมเจ้าท่าลุยศึกษา "ท่าเรือสำราญ" 3 จังหวัด ตั้งเป้าดันเป็นศูนย์กลางจอดแวะพัก และขยายขีดความสามารถรับเรือสำราญใหญ่ที่สุดในโลก หวังดันรายได้ท่องเที่ยวทางทะเล ประเดิมปีนี้ชง ครม.อนุมัติ "เกาะสมุย" เป็นโครงการแรก จากโอกาสทางการเติบโตของการท่องเที่ยวทางทะเลผ่านเรือสำราญขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กรมเจ้าท่าจึงได้เริ่มว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ และได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2563 - 2566 ภายใต้แผนงานบูรณาการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว วงเงินรวม 156.15 ล้านบาท โดยแผนพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ มีจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการนี้จะใช้พื้นที่ในการพัฒนาประมาณ 47 ไร่ แยกเป็นพื้นที่บนฝั่ง 15 ไร่ และพื้นที่นอกชายฝั่ง 32 ไร่ รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 12,172 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน 6,414.41 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา 5,757.19 ล้านบาท รูปแบบการลงทุนในลักษณะ PPP Net Cost โดยให้เอกชนเป็นผู้ร่วมลงทุนในการก่อสร้างและการดำเนินงานทั้งหมด โดยรัฐจะชำระค่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคืนให้ในระยะเวลา 10 ปี โดยโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2568 จนถึงปี 2604 โดยเริ่มก่อสร้างในปี 2572 และจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2575 ซึ่งมีระยะเวลาการให้บริการยาวนานถึง 30 ปี คาดการณ์ว่าหลังจากเปิดให้บริการจะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ตั้งแต่ 200,000 ถึง 400,000 คนต่อปี และรองรับเรือสำราญได้ 240 เที่ยวต่อปี จากการศึกษาโครงการฯ คาดว่าโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ที่เกาะสมุยจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจตลอดระยะเวลา 30 ปี ประมาณ 46,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์สูงกว่า 15% สถานะโครงการปัจจุบันกรมเจ้าท่าได้ส่งรายงานผลการศึกษา ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาแล้ว คาดว่าจะสามารถนำโครงการเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ก่อนสิ้นปี 2567 และจะเริ่มก่อสร้างในปี 2572 เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้นจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยในระดับโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน 2. โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เพื่อรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) โครงการนี้จะปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตให้สามารถรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ บริเวณชายฝั่งอันดามัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายปี 2567 โดยจะดำเนินการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต ด้วยการขยายความยาวหน้าท่าเทียบเรือ ขุดลอกความลึกของร่องน้ำเท่ากับ -10.5 เมตร จากระดับน้ำลงต่ำสุด หรือ -12.8 เมตร เทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง นอกจากนี้ จะขุดลอกเพื่อขยายแอ่งกลับลำเรือให้มีความเหมาะสม ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและติดตั้งไฟหัวเขื่อน และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและเครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานของท่าเทียบเรือสำราญที่เป็นท่าเรือต้นทาง (Home Port) โดยเมื่อท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตได้รับการปรับปรุงตามแผนดังกล่าว จะทำให้ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตมีศักยภาพเป็นท่าเรือแบบ Hybrid ที่เป็นทั้ง Home Port รองรับเรือ Cruise ขนาดกลางถึงเล็ก และเป็นท่าเรือแวะพัก (Port of call) รองรับเรือ Cruise ขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียที่บรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 4,200-4,900 คน 3. โครงการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) บริเวณอ่าวไทยตอนบน บริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โครงการจะพัฒนาบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยท่าเรือเป็นลักษณะผสมผสาน (Hybrid) โดยจะเป็นท่าเรือต้นทาง (Home Port) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,500 คนต่อชั่วโมง และท่าเรือแวะพัก (Port of Call) จะสามารถรองรับผู้โดยสาร จำนวน 3,500 - 4,000 คนต่อชั่วโมง อีกทั้งท่าเรือนี้จะพัฒนาให้สามารถรองรับเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ รองรับเรือสำราญเข้าเทียบท่าได้พร้อมกัน 2 ลำ ความยาวท่าเทียบเรือ 300 เมตร พร้อมก่อสร้างอาคารพักผู้โดยสาร อีกทั้งจะพัฒนาที่จอดรถยนต์ เพื่อรองรับการเชื่อมต่อทางบกไปยังแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาที่จอดเรือโดยสาร และเรือเร็ว เพื่อเชื่อมต่อการท่องเที่ยวไปยังเกาะแก่งต่างๆ สำหรับผลการศึกษาเบื้องต้น ประเมินวงเงินลงทุนอยู่ที่ 7,412 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าลงทุนก่อสร้าง 5,934 ล้านบาท และค่าดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) 1,478 ล้านบาท โดยกรมเจ้าท่าจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost สัญญาสัมปทาน 30 ปี คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลภายในปี 2568 ก่อนดำเนินการก่อสร้างภายในปี 2569 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2572 https://www.bangkokbiznews.com/busin...onomic/1142623
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|