เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 22 ? 23 ส.ค. 66 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 24 ? 27 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 25 ? 27 ส.ค. 66 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง

ในช่วงวันที่ 22 ? 24 ส.ค. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 25 ? 27 ส.ค. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 24 ? 26 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


รู้จัก "วาฬ 52Hz" คืออะไร จากวาฬผู้โดดเดี่ยวสู่แรงบันดาลใจให้มนุษย์



วาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีลำตัวขนาดใหญ่ ตามธรรมชาติจะอาศัยรวมกันเป็นฝูง ส่วน "วาฬ 52Hz" (ภาษาอังกฤษ : 52hz Whale) ต่างออกไป เนื่องจากเป็นวาฬต้องใช้ชีวิตลำพังภายใต้มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักวาฬ 52Hz ประวัติที่มาเป็นอย่างไร พร้อมทั้งความหมายดีๆ ที่ซ่อนอยู่


วาฬ 52Hz ประวัติที่มาเป็นอย่างไร

วาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตามธรรมชาติจะอาศัยรวมกันเป็นฝูง และสื่อสารกันผ่านคลื่นเสียง โดยทั่วไปวาฬจะสื่อสารกันด้วยคลื่นเสียงความถี่เพียง 12-52 Hz เท่านั้น

วาฬ 52Hz คือ วาฬที่อยู่อย่างเพียงลำพังในมหาสมุทร โดยวาฬ 52Hz ปรากฏตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989 เมื่อทีมงานสถาบันสมุทรศาสตร์วูดโฮล ได้พบคลื่นเสียงความถี่ 52Hz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่สูง จึงได้ออกสำรวจและพบเสียงดังกล่าวอีกครั้งในปีต่อมา

ค.ศ. 1992 เรือดำน้ำของประเทศสหรัฐอเมริกาได้พบคลื่นเสียงความถี่สูงแบบเดียวกันจากเครื่องมือที่ใช้ติดตามเรือดำน้ำของโซเวียต ในช่วงแรกทางกองทัพคิดว่าเป็นกลยุทธ์ของฝั่งศัตรู แต่เมื่อศึกษาร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล พบว่าเจ้าของเสียงนี้คือ วาฬบาลีนขนาดใหญ่

จากการศึกษาเพิ่มเติม วาฬตัวนี้อาศัยอยู่เพียงลำพัง เนื่องจากระดับความถี่เสียงสูงกว่าปกติ ทำให้ไม่สื่อสารกับวาฬหรือฝูงตัวอื่นๆ ได้ โดยเชื่อว่าเป็นเพราะวาฬ 52Hz เป็นวาฬลูกผสมของวาฬสีน้ำเงินและวาฬฟิน ทำให้ร่างกายอาจผิดแปลกไปจากสายพันธุ์อื่นๆ และส่งผลต่อการส่งคลื่นเสียง


วาฬ 52Hz มีกี่ตัว

จากการสำรวจในช่วงแรกพบว่า วาฬ 52Hz อาศัยอยู่ภายใต้มหาสมุทรเพียงลำพังแค่ตัวเดียว แต่เมื่อมีการออกสำรวจและศึกษาเพิ่มเติม พบว่ามีคลื่นเสียงความถี่ 52 เฮิรตซ์ ดังขึ้น 2 จุดในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณที่ดีว่าอย่างน้อย วาฬ 52 ก็ไม่ได้อยู่เพียงลำพังอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการสันนิษฐานว่าวาฬอาจไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวแต่แรก แต่ยังคงเดินทางไปกับฝูง เพียงแต่ประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างกันและกันน้อยลงเท่านั้นเอง

ส่วนคำถามที่ว่า วาฬ 52Hz ยังมีชีวิตอยู่ไหม อาจเป็นเรื่องยากที่จะตอบคำถามนี้ได้ แม้ว่าล่าสุดจะไม่มีใครได้ยินเสียงคลื่นความถี่ของวาฬ 52Hz แต่เจ้าวาฬ 52Hz อาจจะกำลังเข้าสู่ช่วงอพยพ ล่าอาหาร หรือออกผจญภัยอยู่อีกฝั่งของมหาสมุทรก็เป็นได้


วาฬ 52Hz ความหมายที่ซ่อนอยู่

วาฬ 52Hz กลายเป็นสัญลักษณ์ของความโดดเดี่ยว ถูกตีความหมายไปหลายรูปแบบ เช่น บางคนเลือกสักรูปวาฬ 52Hz รอยสักที่สื่อว่าวาฬตัวนี้จะไม่เหงาอีกต่อไป เนื่องจากมีลายสักวาฬ 52Hz เป็นเพื่อนอีกตัว หรือบางคนตีความในเชิงความรักไว้ว่า วาฬอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองอย่างเพียงลำพัง มนุษย์ก็สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองเช่นกัน จนกว่าจะเจอคลื่นความถี่หรือความรักที่เหมาะสมกับตัวเอง


จากวาฬผู้โดดเดี่ยวสู่แรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน

ไม่ว่าจะด้วยความเหงา หรือความเศร้า เมื่อได้ฟังเรื่องราวของวาฬ 52Hz ทำให้วาฬตัวนี้กลายที่เป็นที่พูดถึงและได้รับความสนใจจากทั่วโลก เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานอันน่าทึ่งอีกหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์สารคดี The Loneliest Whale : The Search for 52 ของ Josh Zeman บทเพลง Whalien 52 ของวง BTS ศิลปิน K-Pop ชื่อดัง ภาพยนตร์วาฬ 52Hz หนังสือ และผลงานศิลปะอีกหลายชิ้น

วาฬ 52Hz ปัจจุบัน กำลังเป็นที่พูดถึงในโซเชียลมีเดียหลายแพลตฟอร์มในฐานะนิยายเรื่องหนึ่ง ด้วยเนื้อเรื่องและการถ่ายทอดเนื้อหา ทำให้มีการนำเรื่องราวส่วนหนึ่งในนิยาย 52Hz วาฬ มาแชร์ต่อจนเกิดเป็นกระแส และเกิด #52Hz_ปิดฟิคถาวร ติดเทรนด์แอปพลิเคชัน X ตามมา

แม้ว่าเรื่องวาฬ 52Hz จะถูกค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 แต่ปัจจุบันเรื่องราวของวาฬตัวนี้ ยังคงถูกพูดถึง สร้างแรงบันดาลใจ สะท้อนความหมายและข้อคิดดีๆ ไว้เสมอ

อ้างอิงข้อมูล : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2718891


******************************************************************************************************


มลพิษทางอากาศอินโดฯ วิกฤติต่อเนื่อง ปธน.ไอเรื้อรังนานนับเดือน



- ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ของอินโดนีเซียกำลังป่วยจากอาการไอเรื้อรังที่เขาเป็นมานานกว่า 4 สัปดาห์แล้ว แพทย์วินิจฉัยว่าอาการไอของเขา อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ลงอย่างมาก

- IQAir บริษัทเทคโนโลยีคุณภาพอากาศชั้นนำของสวิตเซอร์แลนด์ เผยดัชนีคุณภาพอากาศในกรุงจาการ์ตา พบว่าลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จนกลายเป็นเมืองหลวงที่มีมลพิษทางอากาศที่เลวร้ายที่สุดในโลก

สัปดาห์ที่ผ่านมา นายซานดิอากา อูโน รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอินโดนีเซียเปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด กำลังป่วยจากอาการไอเรื้อรังที่เขาเป็นมานานกว่า 4 สัปดาห์แล้ว โดยแพทย์วินิจฉัยว่าอาการไอของเขา อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ลงอย่างมาก ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทาง IQAir บริษัทเทคโนโลยีคุณภาพอากาศชั้นนำของสวิสเปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าจาการ์ตามีมลพิษทางอากาศที่เลวร้ายที่สุดในโลก

ก่อนหน้านี้ มีการเผยแพร่ข้อมูลการศึกษาที่พบว่า กรุงจาการ์ตาเป็นหนึ่งในเมืองหลวงที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการรวมตัวกันของปัจจัยต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปล่อยไอเสียรถยนต์ โครงการก่อสร้างบ้านจัดสรรและอาคารสูง การเผาไหม้ของชีวมวลและเชื้อเพลิงอื่นๆ รวมถึงถ่านหิน และการปล่อยฝุ่นละอองควันพิษในอากาศ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากโรงงานและอุตสาหกรรมในพื้นที่โดยรอบซึ่งปล่อยหมอกควันหนาทึบไปทั่วเมืองหลวง

บรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซียระบุว่า หากการไอของประธานาธิบดีโจโควี มีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศจริงๆ มันก็เป็นผลมาจากความล่าช้าในการแก้ปัญหาของเขาเองในขณะที่ประชาชนจำนวนมากในกรุงจาการ์ตาต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจากมลพิษทางอากาศเช่นกัน


รัฐบาลโจโควีแพ้คดีมลพิษทางอากาศ

ในคดีฟ้องร้องเมื่อปี 2564 ประธานาธิบดีโจโควี และเจ้าหน้าที่รัฐอีก 6 คน ได้แก่ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ รัฐมนตรีมหาดไทยและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา ผู้ว่าราชการจังหวัดชวาตะวันตก และผู้ว่าราชการจังหวัดบันเติน ที่เป็นจำเลย ได้แพ้คดีที่พวกเขาเป็นจำเลย โดยศาลตัดสินว่าจำเลยทั้ง 7 คนล้มเหลวในการทำหน้าที่ในการควบคุมมลพิษในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกรุงจาการ์ตาและพื้นที่โดยรอบ ทำให้พวกเขาต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างเร่งด่วน

ศาลระบุว่า จำเลยได้ กระทำการที่ผิดกฎหมายโดยละเลยที่จะใช้มาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศในกรุงจาการ์ตา โดยสั่งให้ประธานาธิบดีและเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นจำเลย ต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพอากาศในเมืองหลวงและแก้ไขกฎระเบียบของรัฐบาลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ

นายอะนีส บาสเวดาน ผู้ว่าการกรุงจาการ์ตาในขณะนั้น กล่าวว่า เขาจะไม่อุทธรณ์คำตัดสินและฝ่ายบริหารของเขาพร้อมที่จะดำเนินการตามคำตัดสินของศาลเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศในกรุงจาการ์ตา อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีโจโควี และรัฐมนตรีของเขาได้ยื่นอุทธรณ์คำตัดสิน แต่พ่ายแพ้อีกครั้งในปี 2565 ก่อนจะยื่นอุทธรณ์อีกครั้งในปี 2566 ขณะที่คำตัดสินขั้นสุดท้ายยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

เอลิซา สุทนัดชา หนึ่งในโจทก์ผู้ยื่นฟ้องคดีนี้กล่าวว่า รัฐบาลปฏิเสธมาตลอด 2 ปี และยังคงยื่นอุทธรณ์ต่อทุกครั้งที่แพ้ในศาล ขณะที่เป็นเรื่องน่าเศร้ามากที่เธอเห็นว่ารัฐบาลอาจจะต้องเริ่มทำอะไรบางอย่างหลังจากที่ประธานาธิบดีไอเรื้อรังมาเป็นเดือนแล้ว


วิกฤติมลพิษทางอากาศจาการ์ตา

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจาการ์ตาเป็นเมืองหลวงที่มีมลพิษมากเป็นอันดับ 10 ของโลก ตามรายงานคุณภาพอากาศโลกของ IQAir เมื่อปี 2563

มลพิษทางอากาศวัดจากระดับความเข้มข้นของ PM 2.5 ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดจิ๋วที่ประกอบด้วยสารก่อมลพิษ เช่น ซัลเฟต ไนเตรต และคาร์บอนดำ ซึ่งเป็นฝุ่นละอองมีขนาดเล็กจิ๋วพอที่จะเจาะลึกเข้าไปในปอดและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ เช่น มะเร็งปอด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) กำหนดมาตรฐานสำหรับ PM 2.5 ในคุณภาพอากาศแวดล้อมที่ปลอดภัยที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในอินโดนีเซีย มาตรฐานความปลอดภัยแห่งชาติที่กำหนดโดยรัฐบาลคือ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

แต่ในกรุงจาการ์ตา ค่าที่อ่านได้สูงกว่าทั้งสองระดับอย่างสม่ำเสมอ โดยมีความเข้มข้นของ PM 2.5 เฉลี่ยต่อปีที่ 39.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามรายงานของ IQAir

การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วและความแออัดของการจราจรในระดับสูงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณภาพอากาศย่ำแย่ของจาการ์ตา จากการศึกษาของ Center for Research on Energy and Clean Air พบว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินในเขตชานเมืองก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศเช่นกัน

บอนดาน แอนดริยานู นักรณรงค์ด้านสภาพอากาศและพลังงานของกรีนพีซอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย รับทราบว่ามีชาวจาการ์ตา 600,000 คนติดเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจส่วนต้น เริ่มตั้งแต่ช่องจมูกจนถึงเหนือกล่องเสียง (Upper respiratory infection) นับจนถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ ทำให้กรณีนี้เป็นเหตุฉุกเฉินและจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วน

สื่อท้องถิ่นของอินโดนีเซียรายงานว่า ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจโควี สั่งให้มีการสร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองให้มากขึ้น และสนับสนุนให้สำนักงานต่างๆ หันมาใช้สภาพการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศและที่บ้าน ซึ่งบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวลด้อมมองว่า เป็นเพียงมาตรการที่มองข้ามโรงงานอุตสาหกรรมแล้วมาผลักภาระให้กับประชาชนในขณะที่รัฐแทบไม่ต้องทำอะไรเลย เช่นเดียวกับเวลาที่รัฐบอกว่าสนับสนุนให้ประชาชนช่วยลดมลพิษด้วยการหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนรถยนต์ส่วนตัว ในขณะที่ระบบขนส่งมวลชนของอินโดนีเซียยังคงย่ำแย่และไม่มีใครอยากใช้บริการ

ในขณะที่นักวิจารณ์กล่าวว่ารัฐบาลล้มเหลวในการดำเนินการแก้ปัญหามลพิษในทางปฏิบัติในกรุงจาการ์ตา แต่ขณะนี้มีแผนขนาดมหึมาที่จะย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซียไปยังสถานที่ใหม่ที่ปราศจากหมอกควัน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 1,200 กิโลเมตรในจังหวัดกะลิมันตันตะวันออก บนเกาะบอร์เนียว

แผนการย้ายเมืองหลวงมูลค่ามากกว่า 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับการเปิดเผยครั้งแรกระหว่างการปราศรัยของประธานาธิบดีโจโควี ในช่วง 1 วันก่อนวันประกาศอิสรภาพของอินโดนีเซียครั้งที่ 74 ในปี 2562 โดยระบุว่าเป็นการแก้ปัญหามากมายของกรุงจาการ์ตา ตั้งแต่มลพิษทางอากาศ ไปจนถึงการจราจรติดขัด ความแออัดยัดเยียด การสูบน้ำบาดาลที่ไร้การควบคุมซึ่งทำให้เมืองหลวงทรุดทำให้เกิดน้ำท่วม.


https://www.thairath.co.th/news/fore...oogle_vignette

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 22-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


อะไรจะเกิดเมื่อเข้าสู่ยุคภาวะโลกเดือด?



วันก่อนได้ฟังแถลงการณ์ของ UN ว่าขณะนี้เราคงไม่ต้องพูดกันเรื่องของภาวะโลกร้อนแล้ว ตอนได้ยินเช่นนั้น ผมรู้สึกดีใจอยู่แวบหนึ่ง แต่ต่อมา UN ได้แถลงต่อว่า เพราะขณะนี้มวลมนุษยชาตินั้น ได้ก้าวเข้าสู่ยุคภาวะโลกเดือดแล้ว!!!

อ้าวแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราก้าวเขาสู่ภาวะโลกเดือดเช่นนี้ โดยถ้าโลกเข้าสู่ภาวะโลกเดือดนั้น สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น ก็จะมีดังต่อไปนี้?

1.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบสุดขั้ว โดยเราจะได้เจอกับฤดูร้อนที่แทบจะทำให้ใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้งไม่ได้ และต้องเจอฤดูหนาวที่เยือกเย็นแสนสาหัส อีกทั้งสองฤดูนี้ก็จะยาวนานแบบคาดเดาไม่ได้ และบางทีอาจสลับไปมาจนไม่มีฤดูที่ชัดเจนอีกต่อไป นอกจากนี้ในแต่ละช่วงเวลาก็อาจจะมีภัยพิบัติขนาดใหญ่ อาทิ มรสุม, ไฟป่า, แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด, น้ำท่วมใหญ่ผสมกันไปตลอดทั้งปี

2.หายนะของความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยภูมิอากาศที่สุดขั้วนี้จะทำให้พืชและสัตว์บางชนิดนั้น ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และอาจจะสูญหายไปอย่างถาวร ส่วนบางสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ก็อาจกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ จนทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล และระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงรวดเร็ว

3.ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายด้วยอัตราเร่ง ซึ่งไม่เพียงเหล่าหมีขั้วโลกจะไม่มีที่อยู่แล้ว ชุมชนริมน้ำ ริมทะเล และมหาสมุทรเอง ก็ต้องเตรียมตัวย้ายถิ่นฐานกันครั้งใหญ่ โดยมีผู้เคยทำนายไว้ว่ากรุงเทพฯ เองก็อาจจะจมทะเล และชายฝั่งทะเลอาตจะไปอยู่แถว ๆ เขาใหญ่ก็เป็นได้

4.ปัญหาสุขภาพจากอุณหภูมิสุดขั้ว ยังไม่นับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เรายังไม่เคยพบเจอกันมาก่อน รวมถึงอาจมีการบาดเจ็บกับโรคภัยที่เกิดมาจากภัยพิบัติ หรือโรคจากคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ และคุณภาพอาหาร รวมถึงอากาศที่ร้อนขึ้นก็จะยิ่งเพิ่มพันธุ์ยุงต่าง ๆ ให้เติบโตขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วขึ้นมากกว่าปกติ

5.ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เมื่อภูมิอากาศคาดเดาไม่ได้ ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ก็จะเกิดปัญหาทางการเกษตร เพราะผลผลิตจะได้ไม่สม่ำเสมอ หรือมีการแย่งชิงน้ำกันระหว่างเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และครัวเรือน?

6.ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสุดขั้วข้างต้นจะส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น ไม่ได้มีแค่ผู้ประกอบการด้านเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว เพราะแม้แต่ภาคการเงิน ภาคการลงทุนก็กระทบ และส่งผลกระทบจากเศรษฐกิจมหภาคไปสู่เศรษฐกิจครัวเรือน โดยทำให้รายได้และรายจ่ายครัวเรือนสั่นคลอนตามไปด้วย


วิกฤติทั้ง 6 เรื่องนี้ เชื่อมโยงกันและสามารถเพิ่มอัตราเร่งปัญหาต่าง ๆ ได้ ดังนั้นภาวะโลกเดือดที่เราเผลอตัวเข้ามาอยู่กลางวงนี้ คงไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป แต่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่มิได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้ เราจึงต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องเร่งด่วน ส่งสัญญาณสู่ระดับนโยบายให้พวกเขาลดการดื่มช็อกมินต์ ลดการกอดกันโชว์สัญลักษณ์หัวใจคู่ และเลิกแย่งเค้กรายวัน แต่หันกลับมาใส่ใจการแก้ไขปัญหาภาวะโลกเดือดอย่างจริงจังเร่งด่วน ส่วนพวกเราประชาชนตาดำ ๆ คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการเตรียมแผนรับมือระดับครัวเรือน การสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และร่วมกันเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อลดภาวะโลกเดือด และควรหาเวลากลับไปทบทวน "หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" กันอย่างจริงจัง


https://www.dailynews.co.th/news/2632787/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 22-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


ภาวะโลกร้อน ? ขยะ ส่งผลต่อสัตว์ทะเลลดจำนวน

ภาวะโลกร้อนส่งผลให้กระแสลมที่แปรปรวน รวมถึงคุณภาพน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงขยะที่ปนเปื้อนในทะเลที่ส่งผลทำให้สัตว์หายากในทะเล และสัตว์ที่อาศัยอาหารจากทะเลหากินยากมากขึ้น และส่งผลต่อแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์อีกด้วย



สพ.ญ. ราชวดี จันทรา สัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทะเลอ่าวไทยตอนบน ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก (ศวบต.) กล่าวว่า กระแสลมที่แปรปรวนนอกจากจะมีผลต่อหาดตื้นเขินแล้ว ยังส่งผลต่อการพลัดพรากของคู่แม่ลูกสัตว์ทะเลหายากที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ทะเลหายากท้องแก่ และป่วย จนก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมลูกสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตาย บนชายหาด ป่าชายเลน หรือผืนทะเล

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างมากคือ คุณภาพน้ำในมหาสมุทร จากข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลาง และมาตรฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง กล่าวถึงพื้นที่อ่าวไทยตอนบนกว่า 50% มีคุณภาพน้ำอยู่ในสถานะ พอใช้ รองลงมาคือ สถานะเสื่อมโทรม ดี และเสื่อมโทรมมากตามลำดับ ด้วยปัจจุบันคุณภาพน้ำส่วนใหญ่ที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด สารอาหาร และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ

รวมถึงข้อมูลจากหนังสือวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมได้กล่าวว่า ในทุกๆ ปี จะมีการปล่อยน้ำจืดจากภาคกลางลงสู่อ่าว กอไก่ อย่างในพื้นที่ปากแม่น้ำเพชรบุรี และปากอ่าวบางตะบูนเป็นจุดปล่อยสำคัญจนเกิดการสะสมของตะกอน และหลายครั้งทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำแดง ชื่อที่ชาวบ้านเรียก แต่ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าภาวะยูโรฟิเคชั่น หรือภาวะการขาดออกซิเจนรุนแรง

เป็นหนึ่งในผลจากภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากน้ำเสียจากบ้านเรือนประชากร และเกษตรกรรมที่ถูกปล่อยรวมกัน เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่มีฟอสเฟส ที่เป็นอาหารของแพลงตอนพืช สาหร่าย ทำให้พืชเติบโตอย่างรวดเร็วร่วมกับปัจจัยเร่งอย่างแสงแดดเพื่อสังเคราะห์แสง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เจริญเติบโตได้ดี ทำให้ออกซิเจนในพื้นที่นั้นลดลงขณะที่ตอนกลางคืนพืชก็ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ทะเลเพิ่มขึ้นด้วยเมื่อพืชตายจะทำให้น้ำเน่าเสียจนเกิดสีแดงขึ้น ถึงแม้ในบริเวณนั้นจะมีอาหารแต่หากขาดออกซิเจนปลาก็ไม่สามารถเข้ามาหาอาหารได้ ถ้าเกิดเป็นบริเวณกว้างจะทำให้สัตว์หน้าดิน และปลาที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันหรือออกไปจากบริเวณนั้นไม่ทันตายได้

"คาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มความเป็นกรดให้น้ำทะเลจากการดูดซับในอากาศ และพืชในทะเลปล่อยออกมา ถูกเรียกว่า ?แฝดตัวร้าย? ของภาวะโลกร้อน ความเป็นกรดแทรกซึมอยู่ทุกที่ ในอาหารของสัตว์ที่มีโครงสร้างหินปูนในการดำรงชีวิตหรือสัตว์เปลือก ประเภท กุ้ง หอย ปู พวกมันจะสร้าง เปลือกหุ้มตัวได้ยากขึ้น"

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาสัตว์ป่า และสัตว์ทะเลหายากให้ได้รับการดูแลและคุ้มครองอย่างเป็นระบบในทุกมิติ อย่าง "มาเรียมโปรเจกต์" เพื่อเป้าหมายเพิ่มพะยูนในธรรมชาติให้ถึง 280 ตัว ภายในปี 2565 ดังนั้น กรม ทช. จึงมีแนวทางการขับเคลื่อนแผนที่สำคัญ อย่างการอนุรักษ์ และลดภัยคุกคามพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัย การศึกษาวิจัยพะยูน และแหล่งที่อยู่อาศัย การช่วยชีวิต และดูแลรักษาพะยูนเกยตื้น และการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการดูแลขยะพลาสติกไม่ให้ทิ้งสู่ท้องทะเล จะเป็นเหตุให้สัตว์ทะเลเสียชีวิตจากขยะพลาสติกที่เหมือนอาหารสัตว์น้ำอย่างแมงกะพรุน โดยที่ผ่านมามีการดำเนินงานแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 ? 2565) สามารถเพิ่มจำนวนพะยูนในธรรมชาติจาก 250 ตัว เป็น 273 ตัว และในอนาคต กรม ทช.ได้ดำเนินงานแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566 ? 2568) ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สำรวจติดตามและประเมินจำนวนสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม กลุ่มประชากรไกลฝั่ง เพื่อยกระดับการปฏิบัติภารกิจในด้านการคุ้มครอง อนุรักษ์ สำรวจประเมิน และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สามารถติดตามสถานภาพ เฝ้าระวังการสูญเสีย รวมถึงศึกษาพฤติกรรมและถิ่นอาศัยของสัตว์ทะเลหายาก

ผลกระทบต่างๆ จากภาวะโลกร้อน และขยะนั้นล้วนส่งผลต่อสัตว์ทุกชนิดทั้งสิ้น หากเราปล่อยปละละเลยนั้นสัตว์ต่างๆ คงลดจำนวน และสูญพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ และคงไม่มีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่บนโลกใบนี้อีกต่อไป


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1083951

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:40


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger