#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 14 ? 19 ก.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 14 - 19 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ทำไม! นกและปลา กินพลาสติก นกและปลากินพลาสติก เครดิตภาพ: Shutter Stock ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรยังทวีความรุนแรง แต่คงมีหลายคนที่ไม่สนใจโดยมองเป็นปัญหาอยู่ไกลตัวไม่เหมือนโรคระบาดจากไวรัสโควิด-19 จึงไม่ทราบว่า ทำไมสัตว์ในทะเลถึงกินถุงพลาสติก เพราะเข้าใจผิดคิดว่าพลาสติกเป็นแมงกะพรุนซึ่งเป็นอาหารจริงหรือ? นอกจากนี้ คนที่ไม่สนใจจึงไม่รู้อีกว่าไม่ใช่แค่สัตว์ในทะเลเท่านั้นที่ได้รับอันตรายจากขยะพลาสติก ยังมีนกทะเล (seabird) สิ่งมีชีวิตที่มีการค้นพบว่ากินพลาสติกมากที่สุดในบรรดาสัตว์ทะเลทุกชนิดในโลก องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประมาณการว่ามีสิ่งมีชีวิตในทะเลกว่า 100,000 สายพันธุ์ เสียชีวิตเพราะพลาสติก โดยสาเหตุหลักมาจากการเข้าใจผิดคิดว่าขยะพลาสติกเป็นอาหาร ทำให้สัตว์ทะเลกินเข้าไป จนพลาสติกเข้าไปอุดตันลำไส้ สะสมในกระเพาะอาหารไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้รู้สึกอิ่มแต่ขาดสารอาหารหรืออาหารเป็นพิษ หรือเศษพลาสติกเข้าไปบาดอวัยวะภายใน เป็นเหตุให้เสียชีวิต ไปจนถึงการสะสมของไมโครพลาสติก ที่อาจส่งผลให้มีการเจริญเติบโตผิดปกติ และค้างอยู่ในร่างกายส่งต่อมายังคนได้อีกด้วย วาฬน้ำลึก เช่น วาฬหัวทุย (sperm whale) วาฬนำร่อง (pilot whale) และกลุ่ม beaked whales ที่ปกติอาศัยและหากินอยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 1,600 ฟุต เป็นสิ่งมีชีวิตที่มาเกยตื้นตายพร้อมพลาสติกเต็มท้องมากขึ้นทุกวัน เช่นเดียวกับข่าวสะเทือนใจคนรักสัตว์ เมื่อน้องพะยูนมาเรียมเสียชีวิตแล้วพบพลาสติกอุดตันลำไส้เล็ก แต่ไม่ใช่แค่ถุงพลาสติกเท่านั้นที่เป็นฆาตกร ยังมีขยะพลาสติกประเภทอื่นๆ ทั้งขวด คอนเทนเนอร์ ฝาขวด ก้นกรองบุหรี่ และเศษพลาสติกอีกจำนวนมากที่พบในซากของสัตว์ทะเล ทำไมนกทะเลถึงกินพลาสติก ทั้งที่นกก็น่าจะกินหนอนกินข้าวโพด แล้วไหงหิวจนตาลายไปกินเอาฝาขวดน้ำได้ล่ะ แล้วทำไมพลาสติกที่ลอยน้ำถึงไปอยู่ในท้องวาฬที่หากินใต้ทะเลลึกได้ จึงเป็นคำถามที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพยายามหาคำตอบ ทำไมนกถึงกินพลาสติก? นกทะเล (seabird) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพลาสติกมากที่สุดในบรรดาสัตว์ทะเลทุกชนิดในโลก แล้วรู้หรือไม่ว่า นกไม่ได้กินพลาสติกเพราะเห็นผิดเป็นแมงกะพรุน แต่กินเพราะพลาสติกกลิ่นเหมือนปลาต่างหาก! นกทะเลจัดเป็นสัตว์สายทะเล พวกมันจึงไม่ได้กินหนอนกินพืชเหมือนนกชนิดอื่นบนบก แต่กินปลาเป็นอาหารหลัก ท้องทะเลจึงเป็นเหมือนห้องครัวขนาดใหญ่ และเจ้านกพวกนี้จะอพยพย้ายถิ่นฐานทุกปี นก Shearwaters เป็นนกทะเลสายพันธุ์หนึ่ง นิสัยของพวกมันมักบินข้ามจากเกาะรังทางตอนเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ตามชายฝั่งตะวันตกของทวีปยุโรปและแอฟริกาเหนือ เพื่อให้ได้ใช้ชีวิตในฤดูร้อนอันอบอุ่นตลอดทั้งปี พวกมันจึงย้ายที่อยู่กว่าแปดครั้งในหนึ่งปี และเดินทางกว่า 40,000 ไมล์ข้ามฟากโลก นักวิจัยพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมการย้ายถิ่นของเจ้านกพวกนี้ให้มากขึ้น โดยการทดลองจับนกมาแบ่งเป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกไม่ทำอะไรเลย กลุ่มที่สองติดกล่องที่ใส่แม่เหล็กไว้เพื่อรบกวนไม่ให้นกรับรู้ตำแหน่งด้วยสนามแม่เหล็กโลก กลุ่มที่สามใส่สารเคมีที่ทำให้นกไม่ได้กลิ่น แล้วพาทั้งสามกลุ่มนั่งเรือห่างจากรังของมันออกไป 500 ไมล์ เพื่อทดสอบว่านกกลุ่มไหนจะกลับบ้านได้ก่อนกัน ผลการทดลองพบว่า นกสองกลุ่มแรกสามารถบินตรงกลับรังได้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในขณะที่กลุ่มที่สามนั้นกระจัดกระจาย พวกมันใช้เวลากว่าสัปดาห์กว่าจะกลับมาที่เดิม การทดลองนี้ทำให้พบว่า นกย้ายถิ่นและรู้ทิศทางจากการดมกลิ่น แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ พวกมันไม่ได้ตามกลิ่นกลับมาที่รัง แต่กลิ่นช่วยให้พวกมันรู้ว่ามันอยู่ที่ไหน เหมือนมีแผนที่ทะเลอยู่ในหัว และรู้ว่าควรจะบินไปที่ไหนเพื่อหาอาหาร ซึ่งกลิ่นที่มีผลสำคัญต่อนกคือ สาร dimethyl sulfide (DMS) ซึ่งปล่อยมาจากแพลงตอนพืช เมื่อแพลงตอนพืชเหล่านี้โดนแพลงตอนสัตว์มากิน ก็จะปล่อยสารนี้ออกมา กลิ่นนี้จึงเป็นสัญญาณของอาหารอันโอชะ เพราะที่ใดมีแพลงตอนสัตว์ กุ้งจิ๋ว ปลาจิ๋ว ที่นั่นย่อมมีปลาใหญ่มาคอยกิน และเจ้านกก็ตามไปกินปลานั่นเอง ปัญหาคือเมื่อขยะพลาสติกไหลลงสู่ทะเล เวลาผ่านไปจะเริ่มมีแพลงตอนสาหร่าย algae มาเกาะและทำให้มันมีกลิ่น DMS ดึงดูดสัตว์ในทะเลมาล้อมวงกินอาหาร และนี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมนกทะเล รวมถึงปลาบางชนิดจึงกินพลาสติก พวกมันไม่ได้หิวจนตาลาย แต่เพราะพวกมันกินอาหารจากการดมกลิ่น เลยคิดว่าพลาสติกที่มีสาหร่ายเกาะเป็นปลานั่นเอง และเพราะพวกมันมีนิสัยย้ายถิ่นฐานตามแหล่งอาหารด้วยการดมกลิ่น ก็เลยหนีไม่พ้นพลาสติก วาฬใต้ทะเลลึกมาเจอกับพลาสติกลอยน้ำได้อย่างไร มาต่อกันที่วาฬ วาฬบางสายพันธุ์หากินใต้ทะเลลึกที่มืดสนิท การเข้าใจผิดว่าเป็นแมงกะพรุนจึงไม่ใช่สาเหตุของวาฬกลุ่มนี้ แต่ในใต้ท้องทะเลลึกที่มองไม่เห็น วาฬกลุ่มนี้ใช้เสียงสะท้อนในการหาอาหาร (echolocation) ส่งคลื่นเรดาร์และโซนาร์ไปกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อคำนวณทิศทางจากเสียงสะท้อน (วิธีเดียวกับสัตว์ที่หากินตอนกลางคืนอย่างค้างคาวหรือโลมา) ส่วนพลาสติกที่เหมือนจะลอยน้ำ เมื่อเวลาผ่านไป มีสาหร่ายและแพลงก์ตอนมาเกาะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น และค่อยๆ จมลงใต้น้ำนั่นเอง นอกจากนั้นพลาสติกยังทำปฏิกิริยากับเเสงแดด ทำให้แตกสลายกลายเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งเคยมีการค้นพบเศษพลาสติกขนาดเล็กใต้ผิวน้ำทะเลลึกกว่า 7 ไมล์ จึงเกิดการเข้าใจผิดและกินพลาสติกนั่นเอง นอกจากนั้น วาฬบางชนิดที่หากินและขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ก็กำลังอยู่ในอันตราย เพราะการขึ้นมาหายใจและรับอาหารเข้าไปของมันในหนึ่งครั้งนั้น อาจเก็บเอาเศษขยะปนไปกับอาหารได้ถึง 10-30% และเสี่ยงต่อการสะสมในร่างกาย และวาฬอีกกลุ่ม (Baleen whales) ที่แม้ว่าพวกมันจะมีตัวกรองอาหาร หรือบางตัวมีฟันและช่องคอที่แคบเพื่อกรองให้กินได้เฉพาะสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ก็กำลังหนีไม่พ้นเศษพลาสติกและไมโครพลาสติก คำถามสำคัญต่อจากนี้คือ ทำไมเราถึงยังมีขยะพลาสติกมากมายในทะเล จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี 2559 พบว่าขยะที่พบมากที่สุดในทะเลคือ ถุงพลาสติก 15,850 ชิ้น (คิดเป็น 38% ของขยะทั้งหมดที่พบ) รองลงมาคือ หลอด ฝาขวด และเศษเชือก ตามลำดับ และจากข้อมูลสถิติที่เปิดเผยเมื่อปี 2561 พบว่าเมื่อปี 2558 ไทยติดอันดับ 6 ของประเทศผู้ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุด นอกจากนั้นสถานการณ์ขยะทะเลในไทยยังพบว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยในจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดทั้งหมด 11.47 ล้านตัน ซึ่งกําจัดไม่ถูกต้อง 1.55 ล้านตัน นอกจากนั้นมูลนิธิสืบนาคะเสถียรพบว่า ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา (ปี 2546?2560) พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นรวม 3,702 ตัวจากผลการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากเกยตื้น 3 ปีย้อนหลัง พบว่ามีสัตว์เกยตื้นเฉลี่ยปีละ 400 ตัว แบ่งเป็นเต่าทะเล 54% โลมาและวาฬ 41% และพะยูน 5% โดยขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกยตื้น และสาเหตุหลักของขยะทะเลส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งขยะจากชุมชน นักท่องเที่ยว การประกอบอาชีพทางทะเล และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมจากบนบกกว่า 80% การกำจัดขยะที่ขาดประสิทธิภาพ การเพิ่มขึ้นของขยะจากการบริโภค และความมักง่ายของการทิ้งขยะไม่เป็นที่ ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องช่วยกัน ลด ละ และเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง รวมทั้งส่งเสริมการทิ้งขยะให้เป็นที่และการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี เพื่อเรา เพื่อโลก เพื่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เราจะลดปริมาณขยะในทะเล และช่วยชีวิตสัตว์ทะเลได้อย่างไร คงเป็นคำถามที่ทุกคนต้องช่วยกันตอบ ข้อมูลอ้างอิง https://www.greenery.org/articles/wa...al-eat-plastic https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000068107
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
ครม. รับทราบสถานการณ์ชายฝั่ง พบสัตว์ทะเลหายากเพิ่มขึ้น 'เต่ามะเฟือง' วางไข่ 16 รัง 13 ก.ค.64 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)รับทราบรายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยปี 2563 โดยพบว่ามีกิจกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้แก่ การใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่งผลให้เกิดน้ำทิ้ง น้ำเสีย และขยะจนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมมากขึ้น ส่วนกิจกรรมที่มีแนวโน้มลดลงได้แก่ การขนส่งและพาณิชย์นาวี เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวทางทะเล และนาเกลือ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(โควิด-19) สำหรับสถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่สำคัญมีดังนี้ ปะการัง ประเทศไทยมีแนวปะการังทั้งสิ้น 149,025 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ปานกลาง พบปะการังเกิดการฟอกขาวระดับปานกลางในฝั่งอ่าวไทย ส่วนฝั่งทะเลอันดามันเกิดปะการังฟอกขาวในระดับเล็กน้อย หญ้าทะเลมีเนื้อที่รวม 104,778 ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 ของเนื้อที่หญ้าทะเลในปี 2562 ซึ่งมีจำนวน 90,397 ไร่ ส่วนสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์พบว่า มีการพบเห็นสัตว์ทะเลหายากเพิ่มขึ้น เช่น พบการวางไข่ของเต่าตนุ เตากระ และเต่ามะเฟือง เพิ่มขึ้น โดย พบเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ถึง 16 รัง พบโลมาและวาฬเพิ่มขึ้นเป็น 3,025 ตัว แต่ก็พบการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเครื่องมือประมงและการกินขยะทะเล ซึ่งจะต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและความตระหนักในด้านการจัดการขยะทะเล และการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ขณะที่ป่าชายเลนมีพื้นที่ประมาณ 1.73 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปี2557 จำนวน 200,000 ไร่ เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมที่ทันสมัยช่วยในการสำรวจและเป็นผลจากนโยบายการทวงคืนผืนป่าและการฟื้นฟูป่าชายเลน ส่วนดัชนีคุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่ร้อยละ 71 อยู่ในเกณฑ์ดี แต่บางพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนมีสภาพเสื่อมโทรม เช่น ปากแม่น้ำระยอง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ชายฝั่งทะเลบ้านแหลม จ.เพชรบุรี เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนและมีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น สำหรับขยะทะเลพบว่า บริเวณปากแม่น้ำในหลายพื้นที่ เช่น บางปะกง ท่าจีน แม่กลอง พบปริมาณขยะลอยน้ำเพิ่มมากกว่าปี 2562 เนื่องจากโควิด-19 ที่ได้ขอความร่วมมือประชาชนให้จำกัดการเดินทางและเน้นทำงานอยู่กับบ้าน ทำให้มีการใช้บริการสั่งอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนการกัดเซาะชายฝั่งนั้น ในปี 2562 ประเทศไทยมีความยาวชายฝั่งทะเล 3,151.13 กิโลเมตร มีชายฝั่งที่ประสบปัญหาการถูกกัดเซาะระยะทาง 794.37 กิโลเมตร สาเหตุจากการทำลายแนวป้องกันตามธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลน หาดทราย และแนวปะการัง การก่อสร้างที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัดพาของตะกอนหรือการเคลื่อนที่ของคลื่น https://www.thaipost.net/main/detail/109558
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
ยังวิกฤต "จับปลาเด็กในทะเลไทย" โมเดิร์นเทรด-ขายออนไลน์ตัวเร่งยุคโควิด ................. โดย จรัสรวี ไชยธรรม สถานการณ์จับปลาเด็กในทะเลไทยยังวิกฤตต่อเนื่อง เผย "โมเดิร์นเทรด ขายออนไลน์" ตัวเร่งสำคัญกลางโควิด ตามด้วยปัจจัย ?ประมงพาณิชย์? เสนอ 4 ทางออก ท่ามกลาง "ความไร้หวัง" จากกลไกรัฐที่นิ่งเฉยมา 7 ปีแล้วในเรื่องนี้ (ภาพ : Greenpeace) โมเดิร์นเทรด ขายออนไลน์ เร่งความต้องการซื้อ วิโชคศักดิ์ นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การจับปลาวัยอ่อนในทะเลไทยล่าสุดว่ายังคงอยู่ในสภาวะวิกฤตต่อเนื่อง และน่าเป็นห่วงมาก "ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆเรื่องการบริหารจัดการสัตว์น้ำวัยอ่อนประเทศไทย สถานการณ์ประมงในประเทศไทย ที่กระทบอย่างมากคือเรื่องการประมงดึงเอาสัตว์น้ำวัยอ่อนมาใช้ตั้งแต่การประมงถึงผู้บริโภค และพบว่าตลาดโมเดอร์นเทรด Modern Trade เป็นตัวกลางสำคัญรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อนถึงมือผู้บริโภค เรื่องนี้กำลังเป็นสัญญาณอันตราย" วิโชคศักดิ์ กล่าวในการเสวนาออนไลน์หัวข้อ "ปัญหาปลาเด็ก เรื่องไม่เล็กของทะเลไทย" ซึ่งจัดโดยสำนักข่าว WorkPoint TODAY วานนี้ 12 ก.ค. 64 เวลา 15.00 น. "ผลการสำรวจตลาดขายสัตว์น้ำไม่โตเต็มวัย "ร้านโมเดิร์นเทรด" เป็นอันดับสูงสุดถึง 68% อันดับถัดมา ร้านค้าในตลาดของฝาก 60% และอันดับสุดท้าย ร้านค้าในตลาดสด 53% เราสำรวจทั้งหมด 389 ห้าง และร้าน ใน 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช สงขลา ตราด เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ ชุมพร สมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม โดยจ.ชลบุรี ขึ้นเป็นอับดับ 1 คือ 79% อันดับถัดมา จ.นครราชสีมา 78 % และ จ.กรุงเทพมหานคร 75 % ประเทศไทยที่เราจับกลุ่มปลากระตักได้มากที่สุด คือปริมาณ 1,400,000 ตัน ต่อปี หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ปลาหมึก 80,000 ตัน พวกปลา 1 หมื่นตัน หรือเรียกว่าการทำประมงแบบ ฟิชชิ่งดาวน์ฟู้ดเว็บ Fishing Down Food Webs ปลากระตักเป็นห่วงโซ่อาหารเกือบที่จะเล็กที่สุดของระบบนิเวศเมื่อคนจับมากินเอง ผลกระทบที่เกิดปลาหมึกกินลูกตัวเอง หมึกแทนจะมีปลากระตักอยู่ท้อง มีลูกของอินทรีย์ เกิดภาวะแบบนี้กระพริบแดงอย่างรุนแรง เกิดภาวะช็อค ตัวปลาอื่นก็เริ่มลดน้อยถอยลง ปลาทูแทบจะหายไปจากไทยเลย เกิดภาวะแบบนี้ คนแรกที่ได้รับผลกระทบคือกลุ่มที่จับปลา จับได้น้อยลงกลุ่มประมงพื้นบ้าน กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั้งหมด อย่างเช่นปลาทู นับเป็นตัวอ่อน หนึ่งพันตัวจะได้ 1 กิโล แต่ถ้าเรารออีก 6 เดือน หนึ่งพันตัวก็โตเต็มวัยประมาณ ราคาก็จะมีการเปลี่ยนพลิกทางตลาด เราศูนย์เสียมูลค่ามูลเศรษฐกิจเป็นร้อยเท่า ถ้าปล่อยปลากระตักปเขาเติบโต ก็จะมีประโยชน์และส่งผลกับราคาตลาดระยะยาว.. ภาวะที่เกิดขึ้น ฟิชชิ่งดาวน์ฟู้ดเว็บ Fishing Down Food Webs จะเกิดภาวะวิกฤตเลยการประมงไทย ถ้าเราจัดการเรื่องนี้ไม่ได้มันอาจจะเกิดภาวะวิกฤตรุนแรงครั้งใหม่ของวงการประมงไทย คนไทยจะกินปลาที่แพงมากขึ้น" วิโชคศักดิ์ กล่าว โดยอ้างอิงถึงรายงานผลการวิจัย "การศึกษารูปแบบการจัดจำหน่ายสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่โตไม่ได้ขนาดในประเทศไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ของสมาคมฯ ที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อกลางปี 2563 ที่ผ่านมา พร้อมข้อมูลอัพเดตจากการทำงานของสมาคมล่าสุด สืบเนื่องมาจาก เมื่อโดย วิโชคศักดิ์ พบว่าตลอดการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ปี 58 สหภาพยุโรป EU ให้ใบเหลือง ประมงทะเลไทยประเทศที่ทำการประมงผิดกฎหมาย ไร้การควบคุม (IUU Fishing) ไทยมีความพยายามแก้ไขปัญหาโดยการออกกฎหมายใหม่ และส่งเสริมการทำประมงอย่างยั่งยืน (ภาพ : สมาคมรักษ์ทะเลไทย) เครื่องมือ ประมงพาณิชย์ อีกตัวเร่งวิกฤต จิรศักดิ์ มีฤทธิ์ ชาวประมงพื้นบ้าน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อธิบาย การประมงพื้นบ้าน ประมงไทยมีตั้งแต่ จับควบคู่อนุรักษ์ฟื้นฟู อีกส่วนจับตั้งแต่ ทำประมงคิดว่าเครื่องมือตัวเองไม่ได้ทำผิดกฎหมายทำลายสัตว์น้ำ ประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์แตกต่างกันที่ ขนาดปริมาณ ประมงพื้นบ้านออกวันละครั้ง "เห็นได้ชัดว่าการปริมาณการจับประมงพื้นบ้านที่มีแค่ 5เครื่องมือ แต่เราเลือกจับสัตว์ที่โตเต็มวัย ดูได้จากเครื่องมือที่ตาอวนขนาดเครื่องมือ 2.5 เซ็นติเมตรขึ้นไป จนถึง 4-7 นิ้ว.. แต่ประมงพาณิชย์ใช้เครื่องมือ 2.7 เซ็นติเมตร วิธีการทำประมงต่างกัน ใช้อวนล้อม ปลาทุกชนิดจะอยู่ในอวนล้อมแล้วทุกตักขึ้นเรือ เอาน้ำแข็งลวกเลย แล้วไปคัดแยกที่ฝั่ง ถ้าเป็นอวนลาก เลือกในเรือ ก็จะเห็นปริมาณชัดเจนว่าใครทำร้ายมากกว่ากัน ถ้าเป็นปลากระตักจะเอาขึ้นมาทั้งปลาทู ทั้งอวน เอามาทำเป็นปลาแห้ง แล้วค่อยเลือก ขณะที่ปลาทูส่วนหนึ่งไปแปรรูปเป็นปลาแห้ง ปลาทูมันเขาจะเปลี่ยนชื่อทันทีจากลูกปลาทู กลายเป็นปลาทูมัน เพื่อที่จะเอามาขายตามท้องตลาด ส่วนอวนลาก ถูกแปรรูปไปเป็นปลาเป็ด ปลาไก เอาไปหมักเป็นน้ำปลา ซึ่งเราเห็นตอนขึ้นมาซึ่งก็รู้สึกเสียดาย ผู้บริโภคแยกไม่ออก ปลาเหล่านี้เป็นปลาเด็กไม่โตเต็มวัย" จิรศักดิ์ กล่าว 4 ข้อเสนอปลดล็อค ในเวทีฯ ได้มีการนำเสนอทางออก 4 ข้อ คือ การรณรงค์สาธารณะ การแจ้งแหล่งที่มา-Seafood Guide การบังคับใช้กฏหมายประมงมาตรา 57 และ ความร่วมมือ ?ประมง-ผู้บริโภค-ธุรกิจ-รัฐ? จากวิทยากรทั้งสี่ ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการองค์กร Greenpeace พูดถึงข้อเสนอกับภาวะวิกฤตเปิดพื้นที่สาธารณะเพื่อสื่อสารเรื่องภาวะวิกฤตประมงทะเลไทยพร้อมทั้งทำกิจกรรมแคมเปญรณรงค์ที่เชื่อมโยงกับประมงค์พื้นบ้าน ให้ผู้บริโภคร่วมกันตระหนักและงดบริโภคสัตว์ทะเลวัยอ่อน "การเปิดเวทีให้คนเข้ามามีส่วนร่วมเยอะโดยเฉพาะผู้บริโภค คนกิน เรียกว่ามีส่วนสำคัญที่จะกำหนดชะตากรรมของทะเลไทย แล้วก็กิน เอามาจากผู้ผลิต ชาวประมง เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานที่มีความซับซ้อน พูดถึงคนที่เข้ามาขับเคลื่อนให้ทะลไทยมีความยั่งยืน จำเป็นต้องมีแคมเปญ ที่ดึงดูดใจทำอย่างไรให้ผู้บริโภคที่อยู่ในเมือง เข้ามาไปโมเดิร์นเทรดมองว่าอาหารหรือปลาแปรรูปสัตว์น้ำต่างๆ พลังของผู้บริโภคในเมืองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งทำให้ทะเลไทยจะไปทางไหน ทำแคมเปญหวือหวาเร้าใจเพื่อคนนับแสนมาเพื่อกดดัน รัฐบาล คนที่เป็นคนออกมาขายในโฒเดิร์นเทรดได้ตระหนักถึงเรื่องนี้มีกฎกติการ่วมกันว่าเราจะทำอย่างไรเรื่องนี้ ทะเลอุดมสมบูรณ์ มันจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเวทีอย่างนี้" ธารากล่าว ดวงใจ พวงแก้ว Producer Outreach Manager ? SE Asia องค์กร ASC เปิดเผยถึงวิธีการแก้ไขปัญหากรณีต่างประเทศ ลดผลกระทบที่เกิดโดยการใช้ การควบคุมแหล่งที่มาของปลาป่นที่เอามาใช้การผลิตปศุสัตว์ มีการตรวจสอบแหล่งที่มา ด้วยวิธีการอย่างยั่งยืน และมีการศึกษาที่ไม่ได้ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม "ปลาป่น บางครั้งมีการเอาสัตว์น้ำวัยอ่อนมาทำ ต้องมีงานวิจัยมารองรับว่า การจับปลาประเภทนั้นที่ไม่ได้ส่งผลความุรนแรง ไม่ได้มีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนยังไม่ถึงระยะโตเต็มวัย นำมาใช้การผลิตหรือว่าทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศภาพรวม เพราะฉะนั้น ASC เป็นองค์กรดูแลเรื่องการตรวจสอบทำประมงโดยเฉพาะ ตรวจสอบชัดเจนเขาคุมซับพลายเออร์ตัวเองได้ชาวประมงแหล่งที่มาของปลาแต่ละชนิดไม่ได้เอาสายพันธุ์ใกล้ศูนย์พันธุ์ ไม่ได้เอาสัตว์ใกล้ศูนย์พันธุ์เต็มที่ การเอาปลาวัยอ่อนมาทำเป็นอาหารสัตว์ เรามาพูดถึงการเอาสัตว์น้ำวัยอ่อนมาทำเป็นอาหารมนุษย์ วิจัยการบริโภคอาหารทะเลในไทย เราขาดความเข้าใจการใช้ชื่อแบบอื่นทำให้ คนบริโภคเองก็หลงว่าเป็นที่สายพันธุ์หรือเปล่า อย่างหนึ่งที่เราทำได้ที่เมืองนอกร่วมกันคือ ซับพลายเชนทำแคมเปญให้ผู้บริโภคซื้อถ้าไม่มีดีมานด์ ก็ไม่มีซับพลาย เราให้ความรู้ความเข้าใจอำนวยความสะดวก การทำซีฟู้ดเพื่อที่จะบอกว่า คนในเมืองไม่รู้ว่าสัตว์แต่ละชนิดขนาดไหนโตเต็มวัย ตัวไหนที่ห้ามรับประทาน หลายประเทศทำเป็นซีฟู้ดไกด์ (Seafood Guide) อธิบายสัตว์แต่ละชนิดไหนที่ควรหลีกเลี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ทูน่ามีหลายสายพันธุ์ เติบโตเต็มวัยแตกต่างกัน ถ้าเราเป็นคนบริโภคเฉยๆ ไม่มีความรู้เรื่องอาหารทะเล ทูน่าที่เขาวางขายอยู่เป็นสายพันธุ์ไหน อย่างน้อยทำให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ว่าสายพันธุ์ไหน สร้างประโยชร์ทุกฝ่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน จับมือกับทุกฝ่ายเพราะว่าปัญหามีความซับซ้อนเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้ผลิตทำฝ่ายเดียวหรือว่าผู้บริโภค มันต้องเดินหน้าแก้ปัญหาไปพร้อมกันถึงแก้ไขปัญหาได้" ดวงใจ อธิบาย ชาวประมงพื้นบ้าน จับปลาโตเต็มวัย (ภาพ : สมาคมรักษ์ทะเลไทย) จิรศักดิ์ อธิบายถึง ข้อเสนอการจับประมงแบบยั่งยืน ชาวประมงประกอบความรู้ไปด้วยเรื่องปลา แต่อยากให้ตระหนักถึงช่วงระยะเวลาที่ไม่ควรหว่านออกหาปลา โดยนึกถึงว่าความคุ้มค่าของตนเองฝ่ายเดียวเป็นหลัก "เราใส่ใจทำประมงทะเล จะส่งต่อรุ่นหลานได้ ถ้าชาวประมงรุ่นใหม่ทำประมงแล้วรับผิดชอบ ไม่ผิดกฎหมาย ไม่จับลูกปลา ไม่ทิ้งขนะลงทะเล ผมคิดว่าทะเลมันจะอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ เราก็ใช้ทะเลเป็นอาชีพ เป็นเครื่องมือมาหากิน ตอนนี้ถ้ากฎหมายจะบังคับมาตรา 57 เราก็ยินดีให้กฎหมายมาบังคับ ชาวประมงส่วนใหญ่รู้ว่าปลาที่เราจับเป็นปลาชนิดใด ปลาตัวเล็ก ตัวใหญ่ สามารถแยกขนาดได้ว่าเป็นป่าอะไร ยิ่งมีเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นระบบโซนาร์ ประมงพาณิชย์ระดับไต๋จะรู้เลยว่า ออกจับปลาแต่ละรอบกี่หมื่น ? พันกิโล ปลาชนิดอะไรขนาดเล็กหรือใหญ่ แต่ระหว่างที่ช่วงไม่ควรหว่านปลา เขาเลือกที่จะหว่านก็เพราะนั้นคือค่าน้ำมัน ค่าลูกน้อง ถ้าเรายั้งใจไว้ รออีก 6 เดือนเราจะได้ทั้งประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ ผมก็อยากเห็นนะครับ มาตรา 57 ประชุมที่กรงประมง กระทรวงเกษตร ได้ออกมาบังคับใช้เพื่อที่จะท้องทะเลอุดสมบูรณ์" จิรศักดิ์ กล่าว (มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
ยังวิกฤต "จับปลาเด็กในทะเลไทย" โมเดิร์นเทรด-ขายออนไลน์ตัวเร่งยุคโควิด ............... ต่อ (ภาพ : สมาคมรักษ์ทะเลไทย) วิโชคศักดิ์ เปิดเผยถึงข้อเสนอ 4 กลุ่ม กลุ่มประมง ผู้บริโภค ธุรกิจ และภาครัฐ ร่วมกันหาทางออกยุติกระบวนการจับปลาวัยอ่อนมาเป็นอาหารให้กับมนุษย์และอาหารปศุสัตว์ เพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตฟิชชิ่งดาวน์ฟู้ดเว็บ พร้อมทั้งเสนอแคมเปญร่วมลงรายชื่อ เรียกร้องตลาดห้างซื้อขายสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่ Change.org "ผมคิดว่าสัตว์น้ำมีความพยายาท 3 เรื่อง หนึ่งเขาสามารถคลอดได้คราวละเยอะๆ แม่คลอดได้เป็นแสนตัว โอกาสที่เขาจะกลับมาหาเราได้ สอง อย่าลืมเขาอพยพย้ายถิ่นได้ สาม ตัวเขาบางชนิดถ้าไม่มีตัวผู้ในฝูง เขายอมแปลงเพศเป็นตัวผู้ เพื่อจะสืบเผ่าพันธุ์ นี้คือความพยายาม ส่วนการที่จะมีส่วนช่วย พูดถึง 4 คน หนึ่ง คนจับ ชาวประมง ผมคิดว่าความท้าทายนี้ไม่เกินกำลังเรา ความท้าทายสามข้อแรกเขารอเราอยู่ เราเองที่จะต้องปรับตัว ผมเชื่อว่าไม่มีใครขาดทุน ทุกคนจะได้กำไรพร้อมกัน เรามีสติในการออกแบบเครื่องมือเลือกจับเฉพาะอย่างได้ คนทานผู้บริโภค ท่านช่วยได้ หนึ่ง ถ้าตัวอ่อนถ้าสงสัยท่านซัดถาม หามาตราฐาน ปลาทูแก้วอย่าไปซื้อ ซื้อทานตัวโตเต็มวัย ทางที่สองมีแคมเปญท่านสามารถเข้าไปร่วมได้ เปิด Change.org ตอนนี้เรามีน้องประมงเปิดแคมเปญนี้ น่าสนใจมากจะเป็นพลังของผู้บริโภคทั้งหลายไปลงชื่อตรงนั้น เรียกร้องตลาดห้างซื้อขายสัตว์น้ำวัยอ่อนขอได้ไหม ตัวโตเต็มวัยซื้อได้ อันนี้คือบทบาทที่ผู้ยริโภคกำลังเรียกร้อง รัฐบาล ต้องใช้กฎหมายเป็นภาพรวมออกมา บริหารจัดการสัตว์น้ำวัยอ่อนประเทศไทยให้ได้ มันเกิดขึ้นไม่ได้ยากเกินไป อันไหนตัดสินใจให้ตัดสินใจ แล้วมีข้อมูลครบถ้วนไม่จำเป็นต้องร้อยชนิดก็ได้ โมเดิร์นเทรด ท่านเป็นตลาดใหญ่มาก จากผลการวิจัยชี้ชัดมาก ท่านเป็นมือที่สำคัญมากเรื่องสัตว์น้ำทะเลวัยอ่อน เป็นห่วงโซ่ใหญ่มาก ไม่ต้องรอกฎหมายท่านใช้ความกล้าหาญ ในการตัดวินใจในการทำธุรกิจ ท่านได้ยินเสียงนี้ให้ลงมือทำเลยจะเป็นคุณูปการอย่างยิ่ง หวังว่าจะเกิดขึ้นในทุกเซกเตอร์ช่วยกัน เรื่องนี้ใหญ่มากถ้าเราปล่อยปะละเลย เหมือนกำลังทิ้งทรัพย์สินอันมีค่า จากแสนล้านถ้าเราทำมันจะเพิ่มอีกสองแสนล้าน ห้าหมื่นล้านไม่ต้องไปกู้ตังค์ก็ยังได้เลยทะเลไทยให้อะไรเราเยอะ" วิโชคศักดิ์ กล่าว https://greennews.agency/?p=24380
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|