เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศแห้ง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่าง(ฝั่งตะวันออก) ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 22 ? 24 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1 ? 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 25 ? 27 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวน ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 22 ? 24 พ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เอลนีโญออกฤทธิ์ กระทบสินค้าเกษตรหลายชนิด



นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลปริมาณการผลิตสินค้าเกษตร พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญในปีนี้หลายชนิดมีแนวโน้มลดลง สาเหตุมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

ข้าวนาปี คาดว่าเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 61.928 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.45 และผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 413 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงร้อยละ 2.82 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 25.569 ล้านตันข้าวเปลือกลดลง ร้อยละ 4.28

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คาดว่าเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 6.844 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 5.72 และผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ 723 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.90 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 4.892 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.84 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเนื้อที่เพาะปลูก จากการที่เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทนมันสำปะหลังโรงงานและอ้อยโรงงาน

มันสำปะหลังโรงงาน คาดว่าเนื้อที่เก็บเกี่ยวทั้งประเทศ 9.049 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 3.22 และผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3,088 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 6.05 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 27.941 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 9.08

สับปะรดปัตตาเวีย คาดว่าเนื้อที่เก็บเกี่ยว 351,841 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 21.28 และผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3,690 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 3.78 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 1.298 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 24.27

ปาล์มน้ำมัน คาดว่าเนื้อที่ให้ผลรวมทั้งประเทศ 6.248 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 1.85 ส่วนผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลทั้งประเทศ 2,912 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.89 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 18.197 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.10

ยางพารา คาดว่าเนื้อที่กรีดได้ 22.082 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 0.24 และผลผลิตต่อเนื้อที่กรีดได้ 213 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.84 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 4.707 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 1.64

กาแฟ คาดว่าเนื้อที่ให้ผล 189,644 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.13 และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 78 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 3.70 โดยผลผลิตรวมทั้งประเทศ 14,713 ตัน ลดลงร้อยละ 11.23

มะพร้าวผลแก่ คาดว่าเนื้อที่ให้ผล 834,471 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 2.37 และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผล 808 ผลต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว ร้อยละ 2.65 ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 673.845 ล้านผล ลดลงร้อยละ 0.37

ปลานิล เนื้อที่เลี้ยงรวมทั้งประเทศ 533,066 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.59 ส่วนผลผลิตต่อไร่ต่อปี 481 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 3.22 ปริมาณการผลิตรวมทั้งประเทศ 256,484 ตัน ลดลงร้อยละ 4.79

ปลาดุก ปี 2566 เนื้อที่เลี้ยงรวมทั้งประเทศ 78,831 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 1.51 ส่วนผลผลิตต่อไร่ต่อปี 1,136 กิโลกรัมต่อไร่ ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 2.91 ปริมาณการผลิตรวมทั้งประเทศ 89,525 ตัน ลดลงร้อยละ 4.36.


https://www.thairath.co.th/news/local/2742061

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 22-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ทะเลสาบอินเลของเมียนมา ประสบปัญหาจากฟาร์มลอยน้ำ



จากเรือที่โยกไปมาเบา ๆ นายยุน วิน ดูแลฟาร์มมะเขือเทศลอยน้ำบน "ทะเลสาบอินเล" อันเลื่องชื่อของเมียนมา ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐฉาน และครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเมียนมา

แม้ฟาร์มลอยน้ำกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในทะเลสาบอินเล ซึ่งเป็นเขตสงวนที่ได้รับการยอมรับจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) แต่คนในพื้นที่เตือนว่า พื้นที่เพาะปลูกเหล่านี้กำลังสร้างปัญหาให้กับทะเลสาบทีละน้อย

กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับฟาร์มลอยน้ำในทะเลสาบอินเล กล่าวว่า ฟาร์มที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ทะเลสาบเหลือน้อย, เกิดการปล่อยสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำ และทำลายทัศนียภาพอันงดงามด้วยพืชที่ถูกทิ้ง

ด้านวิน ระบุว่า เขาเคยทำฟาร์มบนพื้นดินใกล้กับทะเลสาบ อินเล แต่ผลผลิตที่ได้ไม่ค่อยดีนัก เขาเลยหันมาทำฟาร์มลอยน้ำเมื่อหลายปีก่อน และในตอนนี้ เขาทำเงินได้ 3,000 จัตต่อมะเขือเทศ 1 กล่อง (ราว 50 บาท)

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมในน้ำต้องแลกมาด้วยผลกระทบที่มีต่อทะเลสาบ เนื่องจากฟาร์มจำเป็นต้องอยู่กับที่ ทำให้วัชพืชน้ำ โดยเฉพาะผักตบชวา เติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนผิวทะเลสาบอินเล จนบดบังพืชผลในฟาร์มไม่ให้ได้รับแสงอาทิตย์

ตามรายงานจากรัฐบาลเมียนมา สัดส่วนของฟาร์มลอยน้ำในทะเลสาบอินเล เพิ่มขึ้น 500% ระหว่างปี 2535-2552 ขณะที่ชาวพม่าในละแวกใกล้เคียงกล่าวว่า พื้นที่เพาะปลูกขยายตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมื่อเกิดการผลิตจำนวนมาก ราคาผลผลิตก็จะลดลง

นอกจากนี้ ฟาร์มลอยน้ำไม่ได้คงอยู่ตลอดไป เพราะเมื่อพืชผลที่เหลือเริ่มเสีย เกษตรกรจึงทิ้งฟาร์มเก่า และสร้างฟาร์มใหม่ขึ้นมา ส่งผลให้เศษซากของพืชที่เน่าเปื่อย ทับถมอยู่ที่ริมฝั่งทะเลสาบ

เจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่งจากกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานของเมียนมา กล่าวว่า ฟาร์มลอยน้ำ "กำลังทำลายทะเล สาบ" แม้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นพยายามเก็บกวาดขยะอินทรีย์เหล่านี้ แต่พวกเขาไม่มีทรัพยากรในการจัดการ นั่นจึงทำให้ทะเลสาบมีพื้นที่แคบลงเรื่อย ๆ

ขณะที่รายงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อปี 2560 ระบุว่า การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงมากเกินไปในฟาร์มลอยน้ำ สร้างมลพิษในทะเลสาบ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศโดยรอบ

ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจหลายแห่งรอบทะเลสาบอินเล ต่างแสดงความกังวลว่า พื้นผิวทะเลสาบที่ลดลง และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่มาที่นี่อีก

อนึ่ง ทะเลสาบอินเลเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมียนมา โดยมีชาวต่างชาติประมาณ 200,000 คน และชาวเมียนมาอีกราว 1 ล้านคน เดินทางมาเยือนที่แห่งนี้ในแต่ละปี ก่อนการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

กระนั้น เศรษฐกิจในพื้นที่กลับไม่สามารถฟื้นตัวได้ แม้จะผ่านพ้นการระบาดใหญ่มาแล้วก็ตาม เนื่องจากเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2564 และการสู้รบระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมากับกองกำลังฝ่ายต่อต้าน ซึ่งเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่รัฐฉาน สถานที่ตั้งของทะเลสาบอินเล


https://www.dailynews.co.th/news/2916781/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 22-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


เจออีก 3 ตัวโลมา เกยตื้นชายหาดกระบี่ นักท่องเที่ยวช่วยอุ้มลงทะเลปลอดภัย

กระบี่ - เจออีก 3 ตัว โลมาเกยตื้น ที่บริเวณหน้าหาดนพรัตน์ธารา จ.กระบี่ นักท่องเที่ยวข่วยกันอุ้มลงทะเลอย่างปลอดภัย



เมื่อเวลา 16.00 น.วันนี้ (21 พ.ย.) ที่บริเวณหน้าหาดนพรัตน์ธารา ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทย กำลังเล่นน้ำทะเลกันบริเวณชายหาด ได้มีปลาโลมาหลงฝูงว่ายมาเกยตื้นริมหาด จำนวน 3 ตัว เมื่อนักท่องเที่ยวเห็นก็ได้ช่วยกันอุ้มลงไปปล่อย บริเวณน้ำลึก ท่ามกลางความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น

จากการสอบถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ทราบว่า ปลาโลมาทั้ง 3 ตัว คาดว่าน่าจะเป็นฝูงเดียวกันและเป็นพ่อแม่ลูก โดยแต่ละตัวมีนำน้ำหนัก ระหว่าง 20-50 กก.ดูเหมือนจะเเตกตื่นตกใจ อะไรบางอย่าง นักท่องเที่ยวที่เห็น จึงช่วยกันอุ้มปลาโลมาทั้ง 3 ปล่อยกลับคืนสู่ทะเลกระบี่

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีคนขับเรือหางยาว ชายหาดนพรัตน์ธารา ได้ช่วยกันลากตัวโลมา 2 แม่ลูกออกไปยัง ทะเลลึก ห่างจากฝั่งกว่า 100 เมตร ด้วยความทุลักทะเลเนื่องจากโลมามีน้ำหนักมาก

โดยพบว่า มีโลมาอีกสองตัว กำลังว่ายน้ำรออยู่ในทะเล คาดว่าเป็นฝูง หรือครอบครัวเดียวกัน เมื่อลากมาถึงช่วงที่น้ำทะเลลึก โลมาทั่งสองก็ว่ายน้ำออกไปอย่างปลอดภัยด้วยความโล่งใจของผู้ที่ช่วยเหลือ คาดว่าอาจจะเป็นโลมาฝูงเดิมที่เคยเจอมาก่อนหน้านี้


https://mgronline.com/south/detail/9660000104788

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 22-11-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


11 ข้อเสนอเชิงนโยบาย "หากจะทำนิคมอุตสาหกรรม ที่จะนะ สงขลา" ................... กองบรรณาธิการ


(ภาพ : เริงชัย คงเมือง / กรีนพีซ ประเทศไทย)

เปิด 11 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ต่อการพัฒนาพื้นที่อ.จะนะ จากรายงาน "เสียงแห่งจะนะ" จัดทำโดยองค์กรอนุรักษ์ กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการ และเครือข่ายชาวบ้าน?ประชาสังคมในพื้นที่ อ.จะนะ สงขลา

"สังเคราะห์จากข้อมูลคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลฉากทัศน์ความเสี่ยงด้านผลกระทบทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านมลพิษทางอากาศ และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หากมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะเกิดขึ้น รวมถึงผลลัพธ์จากการะบวนการเปิดพื้นที่รับข้อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่มาจากการระดมความเห็นของประชาชนหลากหลายอาชีพ" กรีนพีซ ระบุ

รายงานที่เปิดตัวสู่สาธารณะอย่างเป็นทางการ วันนี้ ที่ห้องประชุมสหกรณ์การเกษตรจะนะ ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา

1. การดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment, SEA) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้ออม (Environmental Impact Assessment, EIA) และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmentlal Health Impact Assessment, EHIA) ควรใช้ข้อมูลระดับมลพิษที่ในบรรยากาศและมลพิษตกสะสมที่ประชาชนทั้ง 3 กลุ่มอาชีพยอมรับเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการประเมินความเหมาะสมของโครงการนิคมอุตสาหกรรม หรือโครงการใด ๆ ก็ตาม เพื่อไม่กระทบวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนจะนะดั้งเดิม ซึ่งมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจรากหญ้าในชุมชน

2. การพัฒนาโครงการเมืองนิคมอุตสาหกรรมจะนะ หรือโครงการใด ๆ ก็ตาม ควรประเมินทางเลือกที่ส่งเสริมศักยภาพของชุมชน และออกแบบให้ปลดปล่อยมลพิษน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะเห็นได้จากสรุปผลการวิจัยว่าการปลดปล่อยแบบระดับต่ำสุดนั้น ลดผลกระทบต่อชุมชนได้อย่างมาก ยกเว้นการปนเปื้อนปรอท

3. แม้การปลดปล่อยมลพิษชนิดอื่นจะสามารถลดลงได้ แต่ปรอทเป็นมลพิษที่ไม่สามารถลดลงได้ และมีผลกระทบในวงกว้างอย่างมาก ดังนั้น โครงการพัฒนาใด ๆ จึงเป็นโครงการที่ไม่มีการปลดปล่อยปรอท หรือมีระบบบำบัดปรอทที่ปลดปล่อยเพื่อลดผลกระทบจากปรอทที่ปลดปล่อยออกมาจากโรงงานสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อความปลอดภัยทางอาหารของคนในพื้นที่ และที่ส่งขายไปทั่วประเทศ และโอกสทางเศรษฐกิจของคนในพื้นที่

4. การพัฒนาที่จะมาในพื้นที่ ควรเป็นไปตามความสนใจและศักยภาพของคนในชุมชน แนวโน้มความต้องการของโลก และสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ กล่าวคือต้องเป็นแนวทางหรือโครงการพัฒนาที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ และเป็นปัจจัยที่คนทุกอาชีพต้องพึ่งพิง โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนควรมี 3 ลักษณะสำคัญ คือ การพัฒนาบนฐานทรัพยากร การพัฒนาบนวิถีศาสนาและวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมในการออกแบบและเลือกแนวทางการพัฒนาของตัวเอง

5. ทางเลือกแนวทางการพัฒนาควรเหมาะสมกับศักยภาพและคนในพื้นที่ สามารถกระจายรายได้สู่คนส่วนใหญ่ในชุมชนได้จริง สร้างอาชีพทที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่ยังสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมและโอกาสทางเศรษฐกิจ สำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคตได้

6. ทางเลือกการพัฒนาควรเป็นทางเลือกที่จะสามารถแก้ปัญหาในปัจจุบันได้ และจะไม่เป็นการซ้ำเติมปัญหาให้เลวร้ายลง รวมทั้งวิธีการของรัฐต่อชุมชนไม่ควรเป็นวิธีการที่สร้างความแตกแยก และสร้างผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม รัฐควรถอดบทเรียนจากโครงการที่เคยทำมาก่อน และควรป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์แบบเดิมอีก

7. ทางเลือกการพัฒฒนาควรช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพของอาชีพต่าง ๆ เช่น ด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ด้านการลดต้นทุนการผลิต ด้านการตลาด ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

8. การมีโครงการใด ๆ ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบในระดับยุทธศาสตร์ ไม่ควรตั้งธงที่การพัฒนาโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยในตอนท้ายของโครงการ และตัวเลือกการพัฒนาแต่ละแบบควรมีข้อมูลผผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียดมานำเสนอต่อชุมชน

9. ส่งเสริมกรพัฒฒนานิยามการพัฒนา ยุทธศาสตร์การพัฒนา และการมีส่วนร่วมในการออกแบบแนวทางการพัฒนาของชุมชน รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการทรัพยากร ทั้งการใช้ประโยชน์ บำรุงรักษา และต่อยอด สร้างงานจากศักยภาพชุมชนและสร้างงานโดยออกแบบพื้นฐานของชุมชนและต่อยอดพัฒนาอาชีพจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว

10. กระบวนการการมีส่วนร่วมในการออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชุมชนนั้น ควรเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ชาวบ้านสามารถทำความเข้าใจข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมใบริเวณชุมชนของตนเองง ความต้องการในแง่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม การรับฟังเบื้องหลังความคิดและความฝัน ปัญหา ศักยภาพ และข้อเสนอของชุมชน

11. ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา เช่นส่งเสริมการสอดแทรกข้อมูลและกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรชุมชนในบทเรียน ให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นใในแนวทางการพัฒนา เป็นต้น


https://greennews.agency/?p=36318

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:06


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger