เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 23-02-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 24-28 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมากเนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีเมฆบางส่วน
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย


ในช่วงวันที่ 22 ? 23 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ภาคเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1 ? 2 องศาเซลเซียส ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน แต่ยังทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
สำหรับในช่วงวันที่ 24 ? 28 ก.พ. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันห่างฝั่งมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 25 ? 28 ก.พ. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	219.jpg
Views:	0
Size:	89.9 KB
ID:	22480   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	forecast7days_20-02-66.jpg
Views:	0
Size:	84.5 KB
ID:	22481   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	topchart_22_february_2023_18.jpg
Views:	0
Size:	110.1 KB
ID:	22482  
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 23-02-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default

ขอบคุณข่าวจาก BangkokBiznewws

?พรบ.โลกร้อน?งานใหญ่รัฐบาลใหม่ ดันไทยสู่เป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์



เทคโนโลยีดาวเทียม เป็นของที่อยู่ไกลตัว แต่สร้างประโยชน์ใกล้ตัวได้อย่างไม่น่าเชื่อในการสัมนา Carbon Accounting : Observation from Space จัดโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง นโยบายและการขับเคลื่อนการปฎิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย เพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emission ว่า การบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายคาร์บอนศูนย์ ในปี 2065 และการกำหนดแผนการทำงานที่ไม่ได้เน้นการของบประมาณเพิ่มแต่เป็นการปรับการทำงานของหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว และใส่หลักการของการบรรลุเป้าหมายมาเป็นเครื่องชี้วัดการทำงาน Job Description(JD)ใหม่ เพื่อให้เป้าหมายการทำงานที่กำหนดไว้ประสบความสำเร็จ

เบื้องต้น กระทรวงได้ปรับจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้นแล้ว ยังเหลือการพลักดัน(ร่าง)พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ..... ซึ่งคาดว่าจะไม่ทันรัฐบาลชุดปัจจุบัน ดังนั้น หากคำนวนกำหนดเวลาที่จะนำร่างกฎหมายนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ น่าจะเป็นช่วง ส.ค. 2566 ซึ่งต้องอาศัยการพลักดันของรัฐบาลชุดใหม่

?ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรี ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลเรื่องการผลักดันกฎหมายโลกร้อนนี้ยังเป็นสิ่งจำเป็นและมั่นใจว่าจะได้รับการพลักดันต่อเนื่องต่อไป เพราะเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่แค่ทางเลือกแต่เป็นอาณัติmandateที่ผู้มีหน้าที่ต้องลงมือทำ?

นอกจากการจัดโครงการการทำงานเพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้วยังได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ได้แก่ การดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) ซึ่งภาคเอกชนอย่างปตท.ได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนา ขณะนี้อยู่ในขั้นหาแหล่งชั้นหินที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นพื้นที่กักเก็บคาร์บอน และเป้าหมายจากนี้จะไม่ได้แค่การกักเก็บเท่านั้น แต่จะต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ให้ได้ในปี 2040 ซึ่งขณะนี้แม้จะดำเนินการได้แล้วแต่พบว่าต้นทุนการนำไปใช้ประโยชน์ยังสูงมากเฉลี่ยที่ 100 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอน

?ประเทศไทยเป็นผู้ปล่อยคาร์บอนลำดับที่ 19ของโลก แต่เราได้รับผลกระทบจากโลกร้อนลำดับที่ 9ของโลก สิ่งที่ผมทำคือ ไปบอกกับเวทีระหว่างประเทศว่า ไทยต้องได้รับการชดเชย ด้วยการนำความสามารถการกักเก็บ ดูดซับ และลดคาร์บอนไปแลกเกิดเป็นตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งไทยและสวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศแรกที่เทรดคาร์บอนระหว่างรัฐต่อรัฐ?

นอกจากนี้ พร้อมส่งเสริมเทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อใช้ตรวจจับและวัดปริมาณคาร์บอนเพื่อให้ทราบสถานการณ์แบบเรียลไทม์ เพื่อให้การวางแผนทั้งฝั่งการรักษาเครื่องมือดูดซับคาร์บอน เช่น ป่าไม้ และฝั่งการลดการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมเศรษฐกิจต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วสอดคล้องกับสถานการณ์จริง

ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อํานวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กล่าวว่า ข้อมูลจากดาวเทียมนั้นมีความสำคัญมาก นอกจากจะช่วยเรื่องการตรวจสอบไฟป่า น้ำท่วม ยังสามารถวัดปริมาณคาร์บอนได้ง่าย มีความแม่นยำและเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

ปัจจุบันในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีจากดาวเทียม หรือ Climate Tech มาสำรวจการกักเก็บปริมาณคาร์บอนในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร และพื้นที่อื่นๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ แก้ปัญหาและนำไปสู่การบรรเทาปัญหาโลกร้อน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC



สำหรับการวัดปริมาณคาร์บอนทำได้สองแบบคือ การวัดโดยอ้อมด้วยการใช้คนนับจำนวนต้นไม้ ซึ่งอาจใช้เวลานานและมีความคลาดเคลื่อนสูง ในความเป็นจริง การสำรวจพื้นที่ภาคสนามไม่สามารถใช้แรงงานคนวัดต้นไม้ได้ทุกต้น ดังนั้น การวัดโดยใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศเข้ามาสนับสนุน จะทำให้สามารถจำแนกประเภทป่าไม้ และประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอดต้นไม้จากแบบจำลองเชิงพื้นที่ เพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า ได้อย่างถูกต้องเพียงพอกับการใช้งาน

ซิลเวีย วิลสัน จากหน่วยงานสำรวจด้านภูมิศาสตร์สหรัฐ หรือ United States Geological Survey (USGS) กล่าวว่า เทคโนโลยีดาวเทียมสามารถช่วยได้ทั้งการบอกปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนและขีดความสามารถการกักเก็บคาร์บนอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง?ป่าไม้? ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่มีศักยภาพป่าไม้ที่ดีหากนำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้มอนิเตอร์ศักยภาพของป่า ก็จะทำให้การจัดการเรื่องของคาร์บอนเครดิตเป็นไปอย่างง่ายมากขึ้น

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคน ต้องช่วยกันเพราะนี่คือภาระหน้าที่ไม่ใช่ทางเลือกและไม่ว่ารัฐบาล หรือรัฐมนตรี หรือแม้แต่ประเทศใดในโลกต่างต้องช่วยกันทำให้เป้าหมายประสบผลสำเร็จให้ได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 23-02-2023
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default

ขอบคุณข่าวจาก GreenNews

ประมงระยองพบคราบน้ำมันลอยกลางทะเลเป็นวงกว้าง ยังไม่ทราบต้นตอ ขณะบริษัท SPRC ต้นเหตุน้ำมันดิบรั่วกลางทะเลเมื่อต้นปี 65 ปฏิเสธ?ไม่ใช่ของ SPRC?

ด้านความคืบหน้า ?คดีน้ำมันรั่วระยอง? ที่ชาวบ้านผู้เสียหายยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ 7 หน่วยงาน เครือข่ายประมงพื้นบ้านเผย ต้องดิ้นเรี่ยไรหาค่าธรรมเนียมศาลกว่า 1 ล้านบาท



เหตุน้ำมันรั่ว (?) ระยองล่าสุด

กลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็กระยองเปิดเผยว่า วานนี้ (21 ก.พ.) ขณะล่องเรือออกหาปลาบริเวณทะเลห่างฝั่งบ้านหนองแฟบ ต.มาบตาพุด อ.เมืองระยอง ประมาณ 1-2 ไมล์ทะเล พบคราบน้ำมันเป็นลักษณะแผ่นฟิล์มกระจายเป็นวงกว้างทั่วบริเวณ จึงได้บันทึกคลิปไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำไปแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบหาต้นตอ

บ่ายวันเดียวกัน บริษัท SPRC ต้นตอเหตุน้ำมันรั่วลงทะเลระยองเมื่อต้นปี 65 ที่ผ่านมาได้ออกแถลงการณ์ยืนยันจากเหตุการณ์พบฟิล์มน้ำมันทะเลหนองแฟบที่ปรากฏตามสื่อโซเชียล เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น ทางบริษัทฯได้ทำการตรวจสอบแล้วขอยืนยันว่าฟิล์มน้ำมันที่พบไม่ใช่ของบริษัทฯ และไม่ได้เกิดจากการทำกิจกรรมใดๆ ของบริษัท

เช้าวันนี้ (22 ก.พ.66) มีรายงานอีกว่า ได้มีชาวประมงพบเห็นคราบน้ำมันอีก มีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนสีดำขนาดใหญ่ถูกพบบริเวณชาดหาดแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี คาดว่าน่าจะมาจากแหล่งเดียวกันโดยถูกคลื่นลมทะเลพัดไปถึงชายหาดแสมสาร

ยังคงไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ เปิดเผยถึงการดำเนินการใด ๆ ของหน่วยงานเกี่ยวข้องต่อเหตุดังกล่าว ตลอดวันที่ผ่านมา



?คดีน้ำมันรั่ว? ค่าธรรมเนียมศาล กว่า 1 ล้าน

รายงานข่าวเปิดเผยว่า กลุ่มผู้ฟ้องคดีน้ำมันดิบรั่วกลางทะเลระยอง เรี่ยไรเงินหน้าศาลจ่ายค่าธรรมเนียม เหตุไม่มีหลักฐานนำมาแสดงยกเว้น นายกประมงพื้นบ้านครวญอาชีพหาเช้ากินค่ำจะเอามาจากไหน ชี้หากรัฐจริงใจแก้ปัญหาชาวบ้านไม่ต้องดิ้นรนกันเอง

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 ? 13.00 น. ชาวประมงพื้นบ้าน ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว และอาชีพต่อเนื่อง เช่น แม่ค้ารถเร่ ร้านเช่าเตียงผ้าใบ ห่วงยาง ร้านค้าอาหารตามสั่ง ฯลฯ ในพื้นที่จ.ระยอง ประมาณ 700 คน ได้เดินทางไปที่ศาลปกครองระยอง ตามคำสั่งศาลซึ่งให้ผู้ฟ้องทั้ง 834 ราย ชี้แจงข้อมูลส่วนตัวเพื่อประกอบการพิจารณาขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล แต่ชาวบ้านไม่สามารถนำหลักฐานมาแสดงได้ จึงนำเงินไปจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเอง

ในกรณีผู้ฟ้อง จำนวน 834 ราย ยื่นฟ้องต่อหน่วยงานรัฐ เหตุละเลยการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ในการบริหารจัดการเหตุน้ำมันรั่วที่ระยอง เมื่อปี 2565 ซึ่งเป็นเหตุให้ทะเลระยองเกิดความเสียหายเกินสมควร ยากต่อการแก้ไขเยียวยา โดยศาลมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเฉลี่ยรายละ 1,370 บาท รวมเป็นเงิน 1,142,580 บาท

สืบเนื่องจากวันที่ 20 มกราคม 2566 สมาคมประมงพื้นบ้านท้องถิ่นระยอง ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว และกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า พร้อมทีมทนายความจาก Rising Sun Law ได้ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ 7 หน่วยงาน คือ กระทรวงการคลัง ที่ 1, กระทรวงมหาดไทย ที่ 2, กรมเจ้าท่า ที่ 3, กรมธุรกิจพลังงาน ที่ 4, กรมประมง ที่ 5, กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ที่ 6 และกรมควบคุมมลพิษ ที่ 7 ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายในการบริหารจัดการเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลอย่างต่อเนื่องกลางทะเลจังหวัดระยองกว่า 400,000 ลิตร จากจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SINGLE POINT MOORING SYSTEM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 และป้องกันผลกระทบที่จะเกิดแก่ระบบนิเวศ ทรัพยากรทางทะเล และวิถีชีวิตของประชาชน แต่กลับละเลยในการป้องกันเหตุหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ประมาทเลินเล่อในการแก้ไขปัญหา

โดยผู้ฟ้องคดีทั้งหมด 834 ราย (เดิม 837 ราย ถอนตัว 3 ราย) ขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษา หรือมีคำสั่ง ให้มีการออกกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการรับมือแก้ไขและป้องกันสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล และจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวระยอง ตลอดจนให้เยียวยาชดใช้ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิด จน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพของผู้ฟ้องคดีทั้งหมด และรับผิดเยียวยาชดใช้ค่าเสียโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคตของผู้ฟ้องคดีด้วย



เครือข่ายประมงพื้นบ้านระยองโอด ?เห็นใจกันหน่อย?

วีรศักดิ์ คงณรงค์ นายกสมาคมประมงพื้นบ้านท้องถิ่นระยอง เปิดเผยว่า เราฟ้องศาลปกครองเพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจากการปฏิบัติงานล่าช้า จากปัญหาน้ำมันรั่วในระยอง แก่ผู้ฟ้องปีละ 6 หมื่นบาทต่อราย เนื่องจากประชาชนต้องแบกรับผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ และสูญเสียโอกาสสร้างรายได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

?วันนี้ศาลให้พวกเรานำเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อศาล เพื่อเป็นเหตุในการยกเว้นค่าธรรมเนียม แต่ในความเป็นจริงชาวบ้านทำไม่ได้หรือไม่มี เช่น บัญชีเงินฝาก ซึ่งเราไม่เคยมีกันเลย เพราะเราหาเช้ากินค่ำ หรือหลักฐานที่แสดงว่ามีบ้านเป็นของตนเอง เพราะชุมชนประมงส่วนใหญ่จะเป็นผู้อาศัย รวมทั้งหลักฐานด้านหนี้สินต่างๆ ซึ่งชาวบ้านไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีบัญชีทรัพย์สินที่ชี้ได้ว่ามีความเดือดร้อน เอกสารหลักฐานเหล่านี้จึงเป็นภาระที่หนักหน่วงของชาวบ้าน

นอกจากนี้ศาลยังมีเวลาจำกัดให้เราหาหลักฐานนำมาแสดง เพียง 4-5 วัน ดังนั้นชาวบ้านจึงจำเป็นต้องเลือกแนวทาง คือ เอาเงินมาวางศาล เป็นเงิน 1,370 บาทต่อคน จากผู้ฟ้องทั้งหมด 834 คน ชีวิตต้องลำบากมากจากการที่ไปกู้เงินมาวางค่าธรรมเนียมศาล บางรายถึงกับต้องเรี่ยไรช่วยกันเพราะเขาไม่มีจริงๆ

เราฟ้องเรื่องส่วนรวมคืออยากให้หน่วยงานรัฐแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูทะเลเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งต่อทรัพยากรทางทะเลและวิถีชีวิตของชาวระยอง ดังนั้นทางกลุ่มฯ จึงมีความเห็นร่วมกันว่าเราไม่อยากให้พี่น้องตกขบวน หรือเสียโอกาสในการฟื้นฟูทางทะเล ซึ่งเขาไม่ได้กังวลเรื่องส่วนตัว แต่เขาสนใจว่าถ้าไม่จ่ายค่าธรรมเนียมศาลแล้ว ถ้าเขาตกหล่นแล้วใครจะฟ้องให้เขา ใครจะมาทวงสิทธิหรือเรียกร้องการแก้ไขปัญหาในอนาคตเพื่อลูกหลานเขาต่อไป

จริงๆ เราไม่จำเป็นต้องฟ้องเรียกร้องเอาเงินแก้ไขเยียวยา หากหน่วยงานรัฐจริงจังในการรับผิดชอบ และแก้ไขอย่างถูกจุดจนไม่เกิดปัญหา และเราก็คงไม่ต้องมาดิ้นรนกันขนาดนี้? วีรศักดิ์ กล่าว

ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:45


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger