#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 15 เมษายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และทะเลจีนใต้ในวันนี้ ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคใต้ยังคงมีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป ส่วนในช่วงวันที่ 17 ? 20 เม.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ ในขณะที่ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 15 ? 16 เม.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 6 (107/2566) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 15 ? 16 เมษายน 2566) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออก และทะเลจีนใต้ในวันนี้ ส่งผลให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 15 - 16 เมษายน 2566 โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 15 เมษายน 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด วันที่ 16 เมษายน 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และ บุรีรัมย์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สลด "ฉลามวาฬ" หนัก 4 ตัน ลอยตายกลางทะเลสตูล จนท. เร่งผ่าหาสาเหตุ สลด พบ "ฉลามวาฬ" ขนาดใหญ่ ยาว 8 เมตร น้ำหนักกว่า 4 ตัน ลอยตายในทะเลระหว่างเกาะลิดี - เกาะเขาใหญ่ เจ้าหน้าที่ต้องประสานเรือประมงเพื่อลากเข้าฝั่ง พร้อมเตรียมผ่าพิสูจน์หาสาเหตุ เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 66 นางสาวอรุณี แสงหยัง ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล จ.สตูล ได้รับแจ้งจากชาวประมงพื้นบ้าน อ.ละงู ว่าพบซากฉลามวาฬขนาดใหญ่ลอยตายอยู่ระหว่างเกาะเขาใหญ่และเกาะลิดี ห่างจากชายหาดปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู ประมาณ 3 กิโลเมตร สภาพขึ้นอืดมีกลิ่นเหม็นน่าจะตายมาหลายวันแล้ว หลังรับแจ้งจึงให้เจ้าหน้าที่ออกทำการค้นหา ต่อมาเจ้าหน้าที่ศูนย์อนุรักษ์ฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานฯ หมู่เกาะเภตรา ชุดค้นหาพบซากฉลามวาฬดังกล่าวลอยออกกลางทะเล ระหว่างเกาะเขาใหญ่ และเกาะลิดี จากการตรวจสอบพบเป็นฉลามวาฬขนาดใหญ่โดยมีความยาวในจุดที่โผล่พ้นน้ำประมาณ 6 เมตร และส่วนหัวที่จมอยู่ในน้ำประมาณ 2 เมตร รวมยาว 8-9 เมตร น้ำหนักประมาณ 4 ตัน ด้วยความที่ขนาดค่อนข้างใหญ่จึงไม่สามารถนำเรือยางที่ออกค้นหาลากเข้าฝั่งได้ จึงประสานเรือประมงโชคกฤติกานต์ ซึ่งเป็นเรือตกปลาลากเข้าฝั่งบริเวณแหลมเต๊ะปัน เพื่อทำการผ่าพิสูจน์ หาสาเหตุการตายต่อไป อย่างไรก็ตามสำหรับ จ.สตูล ฉลามวาฬมักโผล่มาให้นักท่องเที่ยวได้ชมอยู่บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่จะอยู่โซนทะเลนอก กองหินแปดไมล์ แต่ในระยะหลังฉลามวาฬเข้ามาอยู่ในเขตอุทยานฯ ตะรุเตาบ่อยครั้ง และมักโผล่ขึ้นมานักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะได้เห็นระหว่างทางอยู่บ่อยครั้ง และถือเป็นครั้งแรกที่พบซากฉลามวาฬ จึงต้องทำการผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการณ์ตายของสัตว์ใหญ่ชนิดนี้อีกครั้งหนึ่ง. https://www.thairath.co.th/news/local/south/2679730
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ภาพหาชมยาก "ปะการังปล่อยไข่" ทะเลหมู่เกาะช้าง จ.ตราด เพจ "กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" เผยภาพ "ปะการังปล่อยไข่" ที่หาชมได้ยาก โดยให้ข้อมูลว่า "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เฝ้าดูปรากฏการณ์ปะการัง ปล่อยไข่ และสเปิร์ม ใช้เวลาเพียง 15 นาทีในรอบหนึ่งปี เมื่อวันที่ 10? 12 เมษายน พ.ศ. 2566 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ดำเนินการออกปฏิบัติการสำรวจปรากฏการณ์การออกไข่ของปะการัง (Coral Spawning) บริเวณสถานีเกาะมะปริง (หาดศาลเจ้า) ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด จากการออกสำรวจพบปะการังปล่อยไข่ จำนวน 7 สกุล ไข่ของปะการังที่ถูกปล่อยออกมาสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะเห็นเป็นเม็ดสีชมพู สีแดง ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ส่วนที่จะเห็นขุ่น ๆ เป็นการปล่อยสเปิร์มของปะการัง โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเป็นช่วงหัวค่ำเวลาประมาณ 19.30-22.00 น.ของวัน และจะปล่อยไข่ออกมาเพียง 15 นาทีเท่านั้น เพียงปีละครั้ง เมื่อไข่ปะการัง และสเปิร์ม ถูกปล่อยออกมาในมวลน้ำจะผสมกันเองตามธรรมชาติเมื่อเจอชนิดเดียวกัน" https://mgronline.com/travel/detail/9660000034927
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|