#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กในบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ไห่ขุย" (HAIKUI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในช่วงวันที่ 4?5 กันยายน 2566 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 ก.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4 ? 6 ก.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 ก.ย. 66 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กในบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 ก.ย. 66
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ดร.ธรณ์ เสนอ 7 ประเด็นใหญ่ ฝากรัฐบาลใหม่ ดูแลปัญหาทะเลไทย อ.ธรณ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ฝากถึงรัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล ข้อเสนอ 7 ประเด็นใหญ่ในทะเลไทย ตั้งแต่ปัญหาปะการังฟอกขาว ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี โลกร้อน หรือแม้แต่การรับมือเอลนีโญ วันนี้ (3 ก.ย.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ระบุข้อความว่า "รัฐบาลใหม่เข้าทำงาน จึงขอเสนอ 7 ประเด็นใหญ่ในทะเลไทยให้เพื่อนธรณ์ลองคิดตาม 1.คือปะการังฟอกขาวที่อาจแรงในต้นปีหน้า ต้องเร่งเตรียมพร้อมสำรวจติดตามและออกมาตรการให้ทันท่วงที รวมถึงมีทางเลือกหากจำเป็นต้องปิดท่องเที่ยวในแนวปะการังบางแห่งที่ฟอกขาวรุนแรง 2.คือปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี (น้ำเขียว) ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อพี่น้องชายฝั่งทะเล เราต้องหายกระดับการเก็บข้อมูลเพื่อการเตือนภัย รวมถึงหาแนวทางในการแก้ต้นเหตุที่เกิดจากมนุษย์ 3.คือการส่งเสริมสนับสนุนระบบนิเวศทางทะเลเพื่อดูดซับ/กักเก็บคาร์บอน เป็นประเด็นใหม่และละเอียดอ่อน ต้องทำความเข้าใจให้ดีและมีมาตรฐานที่ยอมรับได้ รวมถึงกระจายการมีส่วนร่วมไปหาชุมชนให้มากที่สุด 4.คือการใช้เทคโนโลยีและแนวทางใหม่ๆ ในการสำรวจติดตาม ลาดตระเวนปกป้องธรรมชาติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ เช่น Smart Patrol ทั้งในทะเลและบนบก 5.คือความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะสัตว์ทะเลหายาก เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกฏกติกาของโลดในการส่งออกสินค้าประมง อีกทั้งยังเกี่ยวกับการกู้เงินเพื่อการพัฒนาต่างๆ เช่น โลมา/สะพานทะเลสาบสงขลา 6.คือการสนับสนุนอันดามันมรดกโลก ติดค้างมาเกือบ 20 ปี ตอนนี้ต้นเรื่องเข้าไปที่ยูเนสโกแล้ว รอแค่เขามาเช็ค เราเตรียมพร้อมแค่ไหน นี่จะเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญ และจะเกี่ยวข้องตรงๆ กับการท่องเที่ยวที่รัฐบาลตั้งเป้าจะยกระดับเพื่อหารายได้เข้าประเทศ 7.คือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ต่างๆ ที่เราคิดจะลงทุน ผลกระทบจะมีมากไหม ? คุ้มค่าหรือเปล่า ? เป็นเรื่องที่ต้องมีข้อมูลเพียงพอและใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ยังมีอื่นๆ อีกมากมาย แต่ขอเน้นย้ำไว้แค่ 7 เรื่องใหญ่ไว้ก่อน 2 ผลงานที่ชี้วัดในระยะ 3-6 เดือนคือบทบาทของไทยในการประชุมโลกร้อน COP28 ธันวาคมปีนี้ และการรับมือเอลนีโญที่มาแล้วและจะแรงขึ้นไปจนถึงสิ้นปี/ปีหน้า ผมไม่ทราบว่าเขาตัดเกรดกระทรวงกันตรงไหน ? แต่ถ้าวัดจากประเด็นที่ทั่วโลกพูดกันในตอนนี้ นี่คือกระทรวงเกรด A แน่นอน จึงอยากเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่เข้ามารับงานดูแลทรัพยากร/สิ่งแวดล้อมของประเทศชาติ เพื่อทำผลงานเกรด A ครับ" https://mgronline.com/onlinesection/.../9660000079474
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
พบแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส ที่ภูเก็ต พิษร้าย อันตราย เตือนดังๆ ไม่ควรสัมผัส ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เผย พบแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนหมวกเรือรบโปรตุเกสจำนวนมากที่จังหวัดภูเก็ต เผยข้อมูล มีพิษร้าย อันตราย พิษของมันอาจทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน ในบางรายที่มีอาการแพ้มากอาจทำให้มีอาการหนัก หลีกเลี่ยงโดยไม่ควรสัมผัสใดๆ ทั้งสิ้น เป็นอีกกระแสที่สังคมออนไลน์ แห่แชร์ภาพแมงกะพรุนหมวกเรือรบโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส ซึ่งพบที่บริเวณหาดฝั่งตะวันตก จ.ภูเก็ต และมีการเตือนให้ระวังถึงพิษของแมงกะพรุนชนิดนี้ ทางด้าน คุณสุเทพ เจือละออง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน เผยว่า ได้มีการลงพื้นที่บริเวณหาดกระรนพบ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส หรือ แมงกะพรุนไฟเรือรบโปรตุเกส ซึ่งมีอีกชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันว่า แมงกะพรุนหัวขวด ซึ่งในเบื้องต้นพบแมงกะพรุนหมวกเรือรบโปรตุเกสจำนวนไม่มาก พิษของมันอาจทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน ในบางรายที่มีอาการแพ้มากทำให้มีอาการหนัก ซึ่งได้มีการเตือนบรรดานักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ ห้ามสัมผัสเพื่อป้องกันอันตรายจากพิษ พิษของแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกสมีอันตราย ซึ่งพิษของมันอยู่ตรงระยางสีน้ำเงินจึงห้ามสัมผัส นอกจากนี้ สัตว์อีกชนิดพึงระวังคือ blue dragon หรือ ทากเปลือย ซึ่งตัวมันเองไม่มีอันตรายอะไร แต่เนื่องจากอาหารของ blue dragon คือแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกสจึงทำให้ตัวมันเอง absorb พิษไว้ โอกาสที่จะระคายเคืองจึงมีมาก และห้ามจับโดยเด็ดขาด จากการตรวจสอบการพบแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส คาดว่าอาจมาจากคลื่นลมพัดเข้ามา ซึ่งปกติแล้วเราจะไม่เจอที่บริเวณหาดเท่าไร แต่เนื่องจากคลื่นลมแรงอาจพัดแมงกะพรุนชนิดนี้เข้ามา โดยปกติแล้วจะพบในช่วงหน้าร้อนซึ่งจะมีมากกว่านี้ ตอนนี้หน้าฝนพัดลมแรงอาจพัดพวกมันเข้ามา จึงได้มีการเตือนนักท่องเที่ยวและชาวบ้านให้หลีกเลี่ยงและห้ามสัมผัส หากใครบังเอิญสัมผัสและได้รับพิษ ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณที่โดนพิษประมาณ 30 วินาที โดยปกติแล้วหากโดนพิษจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ซึ่งก็ต้องเฝ้าระวังเพราะบางคนอาจมีอาการแพ้มาก อันตรายของพิษแมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส ขึ้นอยู่กับอาการแพ้ของแต่ละคนซึ่งอาจมากน้อยต่างกันและปริมาณพิษที่ได้รับ ขอขอบคุณที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง / เพจขยะมรสุม https://www.nationtv.tv/gogreen/378928868 ****************************************************************************************************** ฟาร์มปลาเก๋า ปลาลิ้นหมา เดือดร้อนหนัก ปลาตายกว่าล้านตัว เหตุน้ำทะเลร้อนขึ้น ธุรกิจฟาร์มปลาและอาหารทะเล ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเมื่อไม่นานมานี้ที่ประเทศเกาหลีใต้ ผู้ประกอบการฟาร์มปลาเก๋า ปลาลิ้นหมาในจังหวัดช็อลลาใต้ ต้องปวดหัวหนัก เมื่อพบว่าปลาตายมากกว่า 1.05 ล้านตัว เนื่องจากอุณหภูมิน้ำในทะเลสูงขึ้น 5 องศาฯ จากภาวะโลกร้อน สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change กำลังรุนแรงและน่ากลัวขึ้นทุกขณะ UN ได้ประกาศว่ายุคโลกร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว เข้าสู่ยุคโลกเดือด และเมื่อโลกอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้มหาสมุทรต้องดูดซับความร้อนถึง 90% และทำให้น้ำทะเลร้อนขึ้น ซึ่งการที่ทะเลเดือดหรือมหาสมุทรร้อนขึ้นเป็นสัญญาณที่ไม่ดีกับโลกและสิ่งมีชีวิต จากภาวะโลกร้อน น้ำในมหาสมุทรอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลและแน่นอนว่าธุรกิจฟาร์มปลาและอาหารทะเล ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เมื่อไม่นานมานี้ที่ประเทศเกาหลีใต้ ผู้ประกอบการฟาร์มปลาเก๋า ปลาลิ้นหมาในจังหวัดช็อลลาใต้ต้องปวดหัวเมื่อพบว่าปลาตายมากกว่า 1.05 ล้านตัว เนื่องจากอุณหภูมิน้ำในทะเลสูงขึ้น 5 องศาเซลเซียส เจ้าของฟาร์มปลา เปิดเผยว่า จากการทำฟาร์มปลามา 20 ปี นี่เป็นครั้งแรกที่น้ำทะเลร้อนขนาดนี้ เครื่องวัดอุณหภูมิของน้ำระบุอุณหภูมิสูงถึง 28.2 องศาเซลเซียส ขณะที่ปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันอุณหภูมิอยู่ที่ 23.1 องศาเซลเซียส และจากที่อุณหภูมิน้ำทะเลร้อนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ติดกันหลายวันทำให้ปลาปรับสภาพไม่ได้และตายเป็นจำนวนมาก ส่วนของประเทศไทยเองก็พบกับเหตุการณ์ปลาในกระชังปลาตายเกลื่อนอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนเช่นกัน ซึ่งนักวิชาการประมงได้เผยว่า เมื่อน้ำอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ออกซิเจนในน้ำต่ำลง ส่งผลกับกระบวนการเผาผลาญอาหารและการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ข้อมูลของ "เบย์เลอร์ ฟอกซ์ เคมเปอร์" ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์โลก สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ มหาวิทยาลัยบราวน์ กล่าวว่า ร้อยละ 90 ของความร้อนบนโลกที่มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) สามารถพบได้ในมหาสมุทรที่อุ่นขึ้น และจากการสำรวจ พบว่า มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ ขอขอบคุณที่มา : World Forum https://www.nationtv.tv/gogreen/378928870
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|