เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 01-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน)ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำประเทศจีนในวันนี้(1 ส.ค. 2563) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่สะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ส.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ส่วนในวันที่ 5-6 ส.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชัน (ระดับ 2) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 2 - 3 ส.ค. 63


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 1 - 4 ส.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุระดับ 2(ดีเปรสชัน) ในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน (มีผลกระทบถึง 4 สิงหาคม 2563)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 01 สิงหาคม 2563

เมื่อเวลา 04.00 น. พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.0 องศาตะวันออก กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนตัวจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 2-3 สิงหาคม 2563 โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ประกอบมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

สำหรับ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 1 - 4 ส.ค. 2563 โดยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว

พื้นที่ที่คาดว่าจะได้ผลกระทบมีดังนี้


วันที่ 1 ส.ค.

ภาคเหนือ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิ

ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ ระนอง พังงา ภูเก็ต เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช


วันที่ 2 ส.ค.

ภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา และชัยภูมิ

ภาคกลาง ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี

ภาคตะวันออก ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช


วันที่ 3 - 4 ส.ค.

ภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์

ภาคกลาง ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี

ภาคตะวันออก ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ ระนอง พังงา ภูเก็ต เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 01-08-2020 เมื่อ 03:47
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 01-08-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


ผลตรวจ "ปลาหมึกแห้ง" พบปนเปื้อนแคดเมียมเกินเกณฑ์ 7 ตัวอย่าง

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สุ่มตรวจปลาหมึกแห้ง 7 ใน13 ตัวอย่าง ไม่พบสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซินและการตกค้างของยาฆ่าแมลง แต่พบแคดเมียมปนเปื้อนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอาหาร แนะบริโภคพอเหมาะ ไม่บ่อยเกินไป



วันนี้ (31 ก.ค. 2563) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เผยผลทดสอบ การสุ่มเก็บตัวอย่างปลาหมึกแห้ง จำนวน 13 ตัวอย่าง จากตลาดสด ร้านค้า และห้างออนไลน์ เมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค.2563 ส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา การตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มไพรีทอยด์ ปริมาณโซเดียม และโลหะหนัก (ปรอท ตะกั่ว และแคดเมียม)

ผลการตรวจวิเคราะห์ ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา Aflatoxin B1, B2, G1, G2 และ Total Aflatoxin และ การตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์

ส่วนผลทดสอบการปนเปื้อนของตะกั่วและปรอท ในปลาหมึกแห้งที่นำมาทดสอบนั้น ทุกตัวอย่างไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นผลทดสอบแคดเมียม พบว่าปลาหมึกแห้ง จำนวน 7 ตัวอย่าง ที่ส่งตรวจมีการปนเปื้อนของแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง กำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในอาหารบางชนิด สอดคล้องกับมาตรฐานโคเด็ก (Codex) ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม


ภาพ:มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ผลทดสอบค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมจากหมึกแห้ง 13 ตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1,097.27 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทย ตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัมโซเดียมที่เราจะได้รับในแต่ละวันขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทาน

"อาหารจานเดียวที่เรารับประทานมีโซเดียมตั้งแต่ประมาณ 360 ?1,600 มิลลิกรัม ดังนั้น การรับประทานที่เหมาะสม ควรจะคำนึงถึงปริมาณโซเดียมที่จะได้รับจากปลาหมึกแห้ง 200 มิิลิกรัมต่อ 20 กรัม ร่วมกับปริมาณโซเดียมในอาหารอื่นที่เรารับประทานร่วมด้วยในแต่ละวันด้วย"

อย่างไรก็ตาม อาหารทะเล เช่น หมึกแห้ง ไม่อาจเลี่ยงการพบโลหะหนักปนเปื้อน เนื่องจากเป็นการตกค้างจากสภาพแวดล้อมทางทะเลที่ยากต่อการจัดการ ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคจะทำได้ ก็คือ การเลือกบริโภคหมึกแห้งอย่างพอเหมาะ ไม่บ่อยครั้งจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้โลหะหนักสะสมในร่างกาย


https://news.thaipbs.or.th/content/295074

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:33


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger