#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-11 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ยังคงหนาวเย็นในตอนเช้าในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในวันที่ 7 - 8 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 12 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 15 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 9 - 13 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้ภาคเหนือมีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 ? 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 10 องศาเซลเซียส และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 15 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 10 ? 13 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง โดยคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพที่ยังคงหนาวเย็นในตอนเช้าตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 9 ? 13 ม.ค. 67 ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 9 ม.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
รมว.ทส. สั่งกรมทะเลชายฝั่ง-กรมอุทยานฯ เร่งลงพื้นที่สำรวจ เฝ้าระวังวาฬเผือกในกระบี่ รมว.ทส. สั่งกรมทะเลชายฝั่ง-กรมอุทยานฯ เร่งลงพื้นที่สำรวจ ศึกษา เฝ้าระวังวาฬเผือก ในพื้นที่กระบี่ จากกรณีเมื่อวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีเรือนำเที่ยวชื่อ Happy Ours Phuket พานักท่องเที่ยวออกไปท่องทะเลใกล้กับเกาะพีพี แล้วเจอ ?วาฬเผือก? ขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 7 เมตร โผล่ขึ้นมาโชว์ตัว จนนักท่องเที่ยวบนเรือต่างก็ตื่นเต้น เนื่องจากวาฬนั้นจะหาดูได้ยากแล้ว สีของวาฬยังเป็นสีขาวทั้งตัว ซึ่งวาฬตัวนี้ไม่เคยพบเห็นในพื้นที่มาก่อน โดย น.ส.ประภากร ลิ่มมณี นักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวได้บันทึกภาพไว้ได้ แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นวาฬชนิดใดนั้น โดยวันที่ 6 มกราคม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่าได้รับรายงานจากนายยุทธพงค์ ดำศรีสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี รายงานปฏิบัติการค้นหาวาฬโอมูระ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติฯ และพื้นที่ใกล้เคียง สืบเนื่องจากปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ได้นำเรือตรวจการณ์พร้อมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ออกสำรวจพื้นที่ทางทะเล ตามที่ได้รับรายงานว่าพบเจอวาฬโอมูระ ในพื้นที่เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะปิกะนอก โดยการปฏิบัติการค้นหายังไม่พบวาฬ ดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในวันที่ 7 มกราคม จะดำเนินการประสานงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมโดย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเรือตรวจการณ์ พร้อมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) จัดชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจในการร่วมสำรวจข้อมูลในพื้นที่ที่ได้รับแจ้งว่ามีการพบการปรากฏตัวของวาฬเผือก วาฬโอมูระ เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติ?สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า? พ.ศ.?2562 โดยวาฬโอมูระเป็นวาฬขนาดกลางที่เป็นวาฬซี่กรอง? มีลักษณะคล้ายวาฬบรูด้า? แต่ต่างกันที่จำนวนสันบนหัว? โดยวาฬโอ?มู?ระ?จะมี? 1 สัน? ส่วนวาฬบรูด้าบนหัวจะมี? 2 สัน? วาฬโอมูระสามารถพบได้บริเวณฝั่งตะวันออกของมหาสมุทร?อินเดียและ? ด้านฝั่งตะวันตกของมหาสมุทร?แปซิฟิก? ในประเทศไทย?มีการพบวาฬชนิดนี้บริเวณ?จังหวัดระนอง? หมู่เกาะสิมิลันและหมู่เกาะสุรินทร์? จังหวัดพังงา? จังหวัดภูเก็ต? และสามารถพบการเกยตื้นของวาฬโอมูระตลอดแนวชายฝั่งของประเทศไทย นายปิ่นสักก์กล่าวว่า วันที่ 7 มกราคม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) นำโดย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัด ทช. จะร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่สำรวจบริเวณดังกล่าว พร้อมนำเรือตรวจการณ์ และเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจ นอกจากนี้ จะสำรวจสัตว์ทะเลหายากชนิดอื่นเพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูล และกำหนดแนวทางการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก ทั้งนี้ ขอความร่วมมือเรือนำเที่ยว และเรือประมงในพื้นที่ ให้เพิ่มความระมัดระวังในการขับเรือ ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับวาฬดังกล่าวด้วย ซึ่งการปรากฏตัวของวาฬสะท้อนให้เห็นว่าระบบนิเวศทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านทะเลชายฝั่ง รวมถึงสัตว์ทะเลหายากได้ตลอด ที่สายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร 1362 https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_4363087 ****************************************************************************************************** กรมอุทยานฯ แจงภาพดำน้ำ ยัน จนท.เก็บกู้ขยะทะเล ไม่ได้สำรวจ 'วาฬเผือก' จากกรณีที่มีภาพภารกิจสำรวจ วาฬเผือก ซึ่งเป็นภาพกลุ่มเจ้าหน้าที่กำลังดำน้ำอยู่ในทะเล ทำให้มีการเข้าใจผิดว่าเป็นปฏิบัติการสำรวจวาฬนั้น เมื่อวันที่ 7 มกราคม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขอชี้แจงว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 ซึ่งเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติงานใต้น้ำอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง กำลังดำเนินการเก็บกู้ซากอวน หลังได้รับแจ้งจากนักดำน้ำในพื้นที่บริเวณอ่าวนุ้ย ด้านทิศตะวันตก พบเศษอวนที่ติดปะการังน้ำหนักรวมทั้งหมดประมาณ 30 กิโลกรัม เจ้าหน้าที่ทีมดำน้ำจึงได้เก็บกู้ขยะทะเลเหล่านี้ขึ้นมา ซึ่งขยะทะเลมีหลากหลายประเภทและส่วนใหญ่เป็นเศษเครื่องมือจากการทำประมง มีผลกระทบต่อสมดุลของระบบนิเวศ ก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากรทางทะเลในบริเวณแนวปะการังและบริเวณใกล้เคียง ไม่ใช่เป็นภาพดำน้ำเพื่อสำรวจวาฬแต่อย่างใด สำหรับการสำรวจ วาฬเผือก นั้น ปฏิบัติการเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จ.ตรัง ได้นำเรือตรวจการณ์พร้อมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ออกสำรวจพื้นที่ทางทะเล ในพื้นที่เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะปิกะนอก โดยการปฏิบัติการค้นหายังไม่พบวาฬดังกล่าว โดยในวันนี้ (7 มกราคม) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมโดย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเรือตรวจการณ์ พร้อมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) จัดชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจในการร่วมสำรวจข้อมูลในพื้นที่ที่ได้รับแจ้งว่ามีการพบการปรากฏตัวของวาฬเผือกอีกครั้ง https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_4363964
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
พัชรวาทสั่งตะลุยสำรวจ?วาฬเผือก? เก็บภาพ-ข้อมูลศึกษา หลังโผล่เส้นทางภูเก็ต-เกาะพีพี 'พล.ต.อ.พัชรวาท' สั่งกรมอุทยานฯและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผนึกกำลังสำรวจหา 'วาฬเผือก' เพื่อเก็บภาพและข้อมูลเพื่อการศึกษา 7 มกราคม 2567 เฟซบุ๊ก "กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช" ระบุข้อความว่า ตามที่ปรากฏคลิปวีดิโอวาฬสีขาวในทะเลอันดามัน บริเวณเส้นทางระหว่างภูเก็ตและเกาะพีพี ซึ่งถ่ายได้จากเรือนำเที่ยวขณะนำนักท่องเที่ยวออกไปเที่ยว ทางตอนใต้ของเกาะคอรัล (เกาะเฮ) จังหวัดภูเก็ต จากการสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญทราบว่า ปรากฏการณ์ในการค้นพบวาฬชนิดดังกล่าว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก มีโอกาสน้อยมากที่จะได้เห็นวาฬที่มีสีขาวทั้งตัว (Albino whale) นับเป็นรายงานแรกในประเทศไทย ล่าสุด พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผนึกกำลังเร่งสำรวจหาวาฬเผือกดังกล่าว เพื่อเก็บภาพ เป็นข้อมูลเพื่อทำการศึกษาทางวิชาการ โดยในวันที่ 6 มกราคม 2567 นายอรรถพล เจิญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายยุทธพงค์ ดำศรีสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี รายงานปฏิบัติการค้นหาวาฬโอมูระ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติฯ และพื้นที่ใกล้เคียง สืบเนื่องจากปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ได้นำเรือตรวจการณ์พร้อมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ออกสำรวจพื้นที่ทางทะเล ตามที่ได้รับรายงานว่าพบเจอวาฬโอมูระ ในพื้นที่เกาะพีพีดอน เกาะพีพีเล เกาะปิกะนอก โดยการปฏิบัติการค้นหายังไม่พบวาฬ ดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ ในวันที่ 7 มกราคม 2567 จะดำเนินการประสานงานร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมโดย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเรือตรวจการณ์ พร้อมอากาศยานไร้คนขับ (Drone) จัดชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจในการร่วมสำรวจข้อมูลในพื้นที่ที่ได้รับแจ้งว่ามีการพบการปรากฏตัวของวาฬเผือก สำหรับวาฬโอมูระ มีสถานะเป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 วาฬโอมูระ Omura?s whale จัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammals) ที่อาศัยในทะเล ตัวเต็มวัยมีขนาด 10-11.5 เมตร น้ำหนักไม่เกิน 20 ตัน ส่วนใหญ่พบการกระจายในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการพบวาฬโอมูระทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยว เรือประมง หากพบเจอสัตว์ชนิดดังกล่าว โปรดรักษาระยะห่าง และถ่ายภาพเก็บข้อมูล พร้อมทั้งแจ้งให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อลงเก็บข้อมูลทางวิชาการ ต่อไป https://www.naewna.com/likesara/779224 ****************************************************************************************************** ใครเคยเห็นบ้าง!? หนุ่มโพสต์ภาพ 'ไข่ปลาฉลาม' หน้าตาคล้ายลูกไม้-เปลือกไม้ เมื่อวันที่ 7ธ.ค.2567 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก "รู้แล้ว แต่ไม่ทำ" ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก "นี่ตัวอะไร" โดยระบุว่า "ไข่ปลาฉลาม ถ้าเราพบเห็นแบบนี้ตามชายหาดหรือเกาะ อย่างคิดว่าเป็นลูกไม้ เปลือกไม้นะครับ นี่คือไข่ของปลาฉลามครับ(น่าจะฉลามทราย) ถ้าเราสงสัยว่าไข่ยังดีอยู่มั้ย ยังมีตัวอยู่หรือเปล่า ให้เราจับดูครับถ้าข้างในมีน้ำแสดงว่าเขายังเป็นไข่อ่อน หรือเอามาส่องกับแดดก็เห็นลูกฉลามเลย ถ้าไข่ไม่มีน้ำ หรือแตกแสดงว่า ไข่ฝ่อ หรือลูกฉลามออกจากไข่ไปแล้วครับ(ที่ถ่ายรูปเป็นไข่ที่ลูกฉลามออกจากไข่แล้วครับ) " ขอบคุณภาพและโพสต์จากเฟซบุ๊ก : รู้แล้ว แต่ไม่ทำ https://www.naewna.com/likesara/779293
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
สึนามิในไทย แม้พยากรณ์ไม่ได้แต่รักษาชีวิตได้ ............ โดย อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สึนามิในไทย แม้พยากรณ์ไม่ได้แต่รักษาชีวิตได้ | อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กระแสการเกิดสึนามิในทะเลอันดามันกลับมาอีกครั้ง หลังจากเพิ่งเกิดเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น และหลังจากนั้นก็มีคนเจอปลาพญานาค (Oar Fish) ซึ่งเป็นปลาทะเลลึกขึ้นมาตายบนชายหาด จ.สตูล ในช่วงนี้หลังจากเพิ่งเกิดเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น และหลังจากนั้นก็มีคนเจอปลาพญานาค (Oar Fish) ซึ่งเป็นปลาทะเลลึกขึ้นมาตายบนชายหาด จ.สตูล ซึ่งปลาชนิดนี้มีบางคนเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับการจะเกิดแผ่นดินไหวในทะเล (แต่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ยืนยัน) จึงทำให้กระแสการเกิดสึนามิในทะเลอันดามันกลับมาอีกครั้ง โดยแบ่งได้เป็น 2 ขั้ว ขั้วแรกเน้นการอนุมานเอาเลยว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นและนำไปสู่คลื่นสึนามิ ส่วนอีกขั้วหนึ่งก็เน้นว่าวงรอบของการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในมหาสมุทรอินเดียตะวันออกนั้นมันยาวมาก เราเพิ่งเกิดไปเมื่อปี 2547 นี่เอง โอกาสจะเกิดในปีนี้จึงน้อยมาก พื้นฐานความคิดของทั้งสองขั้วนี้ก็ดูจะไม่ค่อยจะเป็นวิทยาศาสตร์เท่าไรนักทั้งคู่ การรับมือกับภัยจากคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องของการรอว่าจะมีใครมาพยากรณ์ว่าจะมีแผ่นดินไหวในทะเลเมื่อใด เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของโลกในปัจจุบันยังไม่สามารถทำนายการเกิดแผ่นดินไหวได้ในระดับปฏิบัติการ แต่เรามีความรู้ทางธรณีวิทยามากพอที่จะบอกได้ว่า ตำแหน่งที่แผ่นดินไหวขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นได้นั้นอยู่ที่ใหนบ้าง แนวที่จะสามารถเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ในมหาสมุทรอินเดียที่อยู่ใกล้ประเทศไทยที่สุดนั้น ก็ยังอยู่ห่างถึงประมาณ 1,000 กิโลเมตร ซึ่งคลื่นสินามิที่เกิดขึ้นจะใช้เวลาเดินทางถึงประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งเพียงพอต่อการแจ้งเตือนและการอพยพ นับว่าประเทศเราโชคดีกว่าหลายพื้นที่ในประเทศอย่างอินโดนีเซีย ซึ่งแนวการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ใกล้ชายฝั่งมาก คลื่นใช้เวลาเดินทางเพียงไม่กี่นาที การเตือนภัยและการอพยพจึงมักจะไม่ทันการณ์ ถ้าเกิดแผ่นดินไหวในที่ใดๆ บนโลก เครือข่ายการตรวจวัดความสั่นสะเทือน ซึ่งมีสถานีวัดกระจายอยู่ทั่วโลกจะประมวลผลข้อมูล และจะแจ้งตำแหน่งกับขนาดของแรงสั่นสะเทือนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการเตือนภัยในประเทศต่างๆ ภายในเวลาไม่กี่นาทีหลังจากการเกิดแผ่นดินไหว ในประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาเป็นหน่วยงานหลักที่รับข้อมูลนี้อย่างเป็นทางการ โดยมีศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติในการแจ้งเตือนในระดับพื้นที่ก็จะเข้าถึงข้อมูลนี้แบบ real time ด้วยเช่นกัน หน่วยงานทั้งสองนี้จะมีทั้งระบบอัตโนมัติและเจ้าหน้าที่เวรตลอด 24 ชั่วโมงที่จะแจ้งเตือนต่างๆ ทั้งหอเตือนภัย วิทยุ โทรทัศน์ sms โซเชียลมีเดีย และช่องทางสื่อสารอื่นๆ จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันทั้ง 6 จังหวัดล้วนมีความเสี่ยงต่อคลื่นสึนามิหากมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาด 5 ริกเตอร์ขึ้นไป) ในมหาสมุทรอินเดีย แต่ จ.พังงาและภูเก็ตด้านตะวันตกมีโอกาสได้รับคลื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดอื่นๆ โดยพื้นที่ที่มีความเสี่ยงคือพื้นที่ชายฝั่งทะเล (ทั้งที่เป็นชายฝั่งเปิดและชายฝั่งที่อยู่ในอ่าวหรือมีเกาะบังก็มีความเสี่ยงเช่นกัน) แต่ก็เฉพาะพื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับทะเลไม่เกิน 10 เมตร กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำป้ายแสดงแนวพื้นเสี่ยงและพื้นที่ปลอดภัยเอาไว้แล้ว อาคารสูงชายทะเลที่แข็งแรงตามมาตรฐานทางวิศวกรรม ตั้งแต่ชั้น 5 ขึ้นไป ก็ถือว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย หากเกิดการแจ้งเตือนสินามิ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง (อยู่ในพื้นที่ต่ำใกล้ชายฝั่งทะเล) ต้องอพยพทันที โดยเฉพาะคนชรา คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพควรจัดเตรียมให้หยิบฉวยง่ายและมีเฉพาะเท่าที่จำเป็น ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยง (คืออยู่บนที่สูงเพียงพอ) ก็ควรอยู่ในที่ตั้งไม่ออกมาให้เกะกะการอพยพของผู้ที่จำเป็น การที่มีการมาพูดเรื่องสึนามิในสื่อต่างๆ ในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องดี ที่ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งการเตือนภัย การอพยพ การจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัย รวมถึงประชาชนและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันจะได้ตรวจสอบเครื่องมือ เส้นทางอพยพและระบบต่างๆ รวมถึงทบทวนความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์ขึ้น เพราะแผ่นดินไหวและสึนามิเป็นสิ่งที่คาดการณ์พยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้ แต่ประเทศไทยยังโชคดีที่ถ้ามันเกิด เรายังพอมีเวลาในการอพยพเพื่อรักษาชีวิตได้. https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1107246 ****************************************************************************************************** Climate action"ความยั่งยืน" ลงมือทำทันทีก่อนไม่มีวันพรุ่งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและรูปแบบสภาพอากาศในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1800 กิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ซึ่งเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อสภาวะที่เรียกว่า "กักความร้อนของดวงอาทิตย์ไว้ในโลกไว้ทำให้อุณทหภูมิเพิ่มสูงขึ้น" ข้อมูลจาก สหประชาชาติ ระบุว่า ในด้านภูมิอากาศได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีส่วนรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อนเกือบทั้งหมดในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมของมนุษย์ดังที่กล่าวมาข้างต้นก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้นเร็วกว่าครั้งใดๆ ในรอบอย่างน้อยสองพันปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกขณะนี้อุ่นขึ้นกว่าช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประมาณ 1.1?C และอุ่นขึ้นกว่าครั้งใดๆ ในช่วง 100,000 ปีที่ผ่านมา ทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2563) เป็นช่วงที่มีอากาศอบอุ่นที่สุดเป็นประวัติการณ์ "หลายคนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหมายถึงอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นเป็นหลัก แต่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเรื่องราวเท่านั้น เนื่องจากโลกเป็นระบบที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกัน การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่หนึ่งจึงสามารถมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่อื่นๆ ทั้งหมดได้"ดังนั้น การร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ต้องทำวันนี้ ตอนนี้ และเดี่ยวนี้ " เนื่องจากผลที่ตามมาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ภัยแล้งที่รุนแรง การขาดแคลนน้ำ ไฟไหม้รุนแรง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย พายุภัยพิบัติ และความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง ผู้คนกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่างๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจส่งผลต่อสุขภาพ ความสามารถในการปลูกอาหาร ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัย และการทำงาน และมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศเกาะเล็กๆ และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ สภาวะต่างๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลและการรุกล้ำของน้ำเค็มได้ก้าวหน้าไปถึงจุดที่ชุมชนทั้งหมดต้องย้ายที่อยู่ และความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการอดอยาก ในอนาคต คาดว่าจำนวนผู้พลัดถิ่นจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP 28) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการประชุมระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค. 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะเป็นการสานงานต่อจากการประชุม COP26 ที่ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์มุ่งสู่เป้าหมายจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ.2608 (ค.ศ.2065) และลดก๊าซเรือนกระจกเป็น 40% ภายในปี พ.ศ. 2573(ค.ศ.2030) สำหรับการประชุมCOP28 ประเทศไทยโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่าถึงประเด็นการเจรจาที่สำคัญได้แก่ การประเมินสถานการณ์ดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake: GST),การจัดทำเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Global Goal on Adaptation: GGA) "เป้าหมายด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งภาคีประเทศกำลังพัฒนายังคงเรียกร้องให้เร่งระดมเงินให้ได้ 100,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี ค.ศ.2025 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC 2030) ให้บรรลุเป้าหมายตามที่แต่ละภาคีได้ให้คำมั่นไว้" นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนสำหรับการสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Loss & Damage Facility) เพื่อช่วยประเทศที่มีความเปราะบาง ลดการสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม การกำหนดเป้าหมายเพียงอย่างเดียวยังไม่ใช่ การTake Action now ที่มากพอเพราะข้อมูลจากสหประชาชาติระบุว่า ประเทศต่างๆ มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องลดลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 เพื่อรักษาภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 1.5?C ซึ่งการบรรลุสิ่งนี้หมายถึงการลดลงอย่างมากในการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ โดยมากกว่า 2 ใน 3 ของเชื้อเพลิงฟอสซิลได้สำรวจแล้วจะต้องเก็บไว้อย่างนั้น เพื่อป้องกันระดับหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ให้สูงขึ้น วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์อาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทย กล่าวว่า ในประเทศไทยนั้นมีการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเพราะภาคพลังงานนั้นปล่อยคาร์บอนมากที่สุดการเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ในธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็จะมีมาตรการบังคับจากต่างประเทศ อย่างการส่งสินค้าไปสหภาพยุโรป(อียู)ก็มีมาตราการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เพื่อปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของอียู แม้ปัจจุบันยังบังคับในวงจำกัด แต่คาดว่าจะมีการบังคับใช้จริงอย่างกว้างขวางเร็ววันนี้ "ตอนนี้ผู้ประกอบการก็ลงมือทำแล้ว ในหลายส่วนแม้ที่มาจากการลงมือทำเพราะกติกาทางการค้า แต่ในทางปฎิบัติการลงมือทำก็จะช่วยให้เป้าหมายลดผลกระทบสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จได้" หลายๆประเทศก็จะมีการนำมาตรการนี้ไปใช้ในการนำเข้าสินค้าแต่ประเทศ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตมีการลดคาร์บอนในการผลิตสินค้าลง หากผู้ประกอบการทำไม่ได้ก็ต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตชดเชย ส่วนภาคการผลิตโดยรวมได้นำหลักการ Circular Economy มาใช้ รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน เพราะการลดปัญหาสภาพอากาศไม่ใช่แค่ไม่ปล่อยคาร์บอนเพื่อสร้างก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ต้องไม่เบียดเบียนใช้ทรัพยากรอย่างสุรุ่ย สุร่าย ด้วย รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้เราทุกคนกำลังอยู่ใน ยุค "ภาวะโลกเดือด" (Global Boiling)ซึ่งเป็นยุคของสภาพภูมิอากาศของโลกหลังจากความเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ที่รุนแรงมากขึ้นหลังการสิ้นสุดยุคของ "ภาวะโลกร้อน" (Global Warming) ดังนั้น การลงมือทำเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะทำให้โลกใบเก่าสดใสขึ้นได้นั้นต้องลงมือทำในทันที Take Action Now https://www.bangkokbiznews.com/environment/1104736
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|