#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 ? 19 ก.ค. 67 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 ? 24 ก.ค. 67 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21 ? 24 ก.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ซึ่งหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 ? 19 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ****************************************************************************************************** ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ฉบับที่ 14 (139/2567) (มีผลกระทบวันที่ 19 กรกฎาคม 2567) ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ อ่าวไทย ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมี ฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
น้ำบาดาลกำลังจะดื่มไม่ได้ เพราะโลกเดือดเกินควบคุม จนอุณหภูมิสูง และปนเปื้อนสารพิษ Summary - น้ำบาดาลเป็นน้ำที่อยู่ใต้ผิวโลกตามช่องว่างระหว่างหินและดิน สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในโลก ดังนั้น อุณหภูมิน้ำบาดาลมีผลต่อระบบนิเวศ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้สิ่งมีชีวิตที่พึ่งพาน้ำใต้ดินตกอยู่ในอันตราย - น้ำที่อุ่นขึ้นแม้เพียงแค่ 1 หรือ 2 องศาเซลเซียส สามารถเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของออกซิเจน ทำให้แบคทีเรียที่เป็นอันตรายเติบโตได้ดีขึ้น รวมถึงละลายโลหะหนัก เช่น สารหนู แมงกานีส ให้ปะปนออกมา - ไทยและประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร อยู่ในพื้นที่อุณหภูมิน้ำใต้ดินสูงที่สุด คือประมาณ 30 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิน้ำใต้ดินสูงขึ้นจนไม่สามารถใช้ได้ คนไทยจะได้รับผลกระทบอย่างมากแน่นอน เวลาพูดถึงโลกร้อน โลกเดือด โลกรวน หลายคนมักคิดเชื่อมโยงไปถึงภูมิอากาศเป็นหลัก แต่เมื่อความผิดปกติเกิดขึ้นกับ ?โลกทั้งใบ? สิ่งที่อยู่ใต้ดินก็ไม่รอดจากผลกระทบที่โลกบนดินกำลังเผชิญ ในด้านการวิจัย การศึกษาผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงมักมุ่งความสนใจไปที่น้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยละเลยน้ำบาดาลหรือน้ำที่อยู่ใต้ดิน ทั้งที่ผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กัน ทีมนักวิจัยที่ทำงานร่วมกันหลายสถาบันพัฒนาแบบจำลองอุณหภูมิน้ำบาดาลระดับโลก ภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ จากสภาวะโลกเดือด เปิดเผยผลการศึกษาว่า ภายในปี 2100 ประชากรโลกราว 590 ล้านคน จะไม่สามารถดื่มน้ำบาดาลได้ เพราะอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทำให้น้ำบาดาลเต็มไปด้วยสารพิษ โดยมีการประเมินว่า สภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจะทำให้น้ำบาดาลมีอุณหภูมิสูงขึ้นระหว่าง 2.1-3.5 องศาเซลเซียส ภาวะน้ำบาดาลอุณหภูมิสูงขึ้นนั้นน่ากังวลอย่างมาก ดีแลน เออร์วิน หนึ่งในนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ชาร์ลส์ ดาร์วิน ออสเตรเลีย กล่าวว่า น้ำบาดาลเป็นน้ำที่อยู่ใต้ผิวโลกตามช่องว่างระหว่างหินและดิน สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในโลก ดังนั้น อุณหภูมิน้ำบาดาลมีผลต่อระบบนิเวศ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทำให้สิ่งมีชีวิตที่พึ่งพาน้ำใต้ดินตกอยู่ในอันตราย เราจึงต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบของสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง น้ำที่อุ่นขึ้นแม้เพียงแค่ 1 หรือ 2 องศาเซลเซียส สามารถสร้างความเสียหายรุนแรง เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของออกซิเจน ทำให้แบคทีเรียที่เป็นอันตรายเติบโตได้ดีขึ้น รวมถึงละลายโลหะหนัก เช่น สารหนู แมงกานีส และฟอสฟอรัส ให้ปะปนออกมา โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลต่อกระบวนการสำคัญ เช่น กระบวนการทางเคมีของน้ำบาดาล การชะละลายของโลหะ และจุลชีววิทยา ซึ่งกระทบกับคุณภาพน้ำ นอกจากนี้แม่น้ำต่างๆ ยังพึ่งพาน้ำบาดาลให้สายน้ำไหลได้ในช่วงหน้าแล้ง น้ำที่อุ่นขึ้นทำให้ออกซิเจนละลายน้อยลง ซึ่งจะทำให้ปลาตาย หากอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจทำให้น้ำบาดาลอันตรายเกินกว่าจะดื่ม แบบจำลองคาดการณ์ว่าภายในปี 2099 ประชากร 59-588 ล้านคนทั่วโลกจะอยู่ในบริเวณที่น้ำบาดาลมีอุณหภูมิสูงที่สุด จนต้องมีการทำคู่มือสำหรับการนำไปใช้ดื่ม ยิ่งน้ำบาดาลอุ่นขึ้นเท่าไร เชื้อโรคจะยิ่งเติบโตได้ดีขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของน้ำดื่ม เศรษฐกิจก็ได้รับผลจากเรื่องนี้เช่นกัน อุตสาหกรรมที่สำคัญ ทั้งเกษตรกรรม โรงงานต่างๆ และอุตสาหกรรมพลังงาน ต่างก็อาศัยน้ำบาดาล เมื่อน้ำบาดาลร้อนเกินไป หรือปนเปื้อนสารพิษมากเกินไป ก็จะส่งผลต่อกระบวนการการผลิตจนอาจสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ในสถานการณ์เลวร้ายขั้นสุดจากปริมาณการปล่อยคาร์บอน ประชากร 588 ล้านคนอาจต้องบำบัดน้ำในท้องถิ่นก่อนดื่ม ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำบาดาลตื้นกว่ามีอัตราเสี่ยงกว่า ที่น่าเป็นห่วงก็คือชุมชนที่ปัจจุบันก็เข้าถึงน้ำสะอาดได้ยากอยู่แล้ว ซูซานน์ เบนซ์ นักธรณีวิทยา สถาบันเทคโนโลยี คาร์ลสรูห์ (Karlsruhe Institute of Technology: KIT) เยอรมนี หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ตอนนี้ประชากรราว 30 ล้านคนอยู่ในพื้นที่ซึ่งน้ำบาดาลอุ่นเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้จากเกณฑ์น้ำดื่มแล้ว นั่นหมายความว่า ไม่ปลอดภัยที่จะดื่มน้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการใดๆ อย่างน้อยๆ ควรจะต้องต้มก่อน นักวิจัยพัฒนาแอปพลิเคชันบน Google Earth เพื่อให้คนทั่วไปเข้าไปสำรวจว่ามีพื้นที่ใดบ้างจะได้รับผลกระทบ โดยแบบจำลองวัดอุณหภูมิน้ำที่ระดับความลึก 5 และ 30 เมตรใต้พื้นผิวดิน และชี้ว่าจุดที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนสูงที่สุดอยู่บริเวณตอนกลางของรัสเซีย ทางเหนือของจีน อเมริกาเหนือ และป่าเขตร้อนแอมะซอน นอกจากนี้ยังคาดว่าอุณหภูมิของน้ำบาดาลในทวีปออสเตรเลียจะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม พื้นที่ซึ่งน้ำบาดาลอยู่ลึกกว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า เช่น บริเวณเทือกเขาแอนดีสและร็อคกี้ อาจจะมีน้ำที่เย็นกว่าและปลอดภัยกว่า อ้างอิงจากแผนที่เดียวกันใน Google Earth จะพบว่า ไทยและประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร อยู่ในพื้นที่อุณหภูมิน้ำใต้ดินสูงที่สุด คือประมาณ 30 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิน้ำใต้ดินสูงขึ้นจนไม่สามารถใช้ได้ คนไทยจะได้รับผลกระทบอย่างมากแน่นอน อ้างอิงข้อมูลปี 2566 จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ไทยมีน้ำบาดาลอยู่ใต้ดิน 1,137,713 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 60,975 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำน้ำบาดาลมาใช้เพื่อในการเกษตร 12,741 ล้านลูกบาศก์เมตร อุปโภคบริโภค 1,223 ล้านลูกบาศก์เมตร และอุตสาหกรรม 777 ล้านลูกบาศก์เมตร อ้างอิง: University of Newcastle Australia, Science Alert, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/104609
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
สุดเศร้า! พบซาก 'เต่าตนุ' ในทางเดินอาหารพบหลอดพลาสติก-ยางวง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเผยภาพสุดเศร้า หลังพบซากเต่าทะเลเกยตื้นหาดแหลมเจริญ จ.ระยอง และในทางเดินอาหารพบขยะพวกหลอดพลาสติก ยางวง พลาสติกอ่อน แต่เนื่องจากสภาพซากเน่ามากจึงไม่สามารถสรุปสาเหตุการตายที่แน่ชัดได้ วันนี้ (18 ก.ค.) เพจ "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ?ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ กรณีพบซากเต่าทะเลเกยตื้นหาดแหลมเจริญ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ได้รับแจ้งจากศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยแบบฝังกลบ เทศบาลนครระยอง เรื่องมีผู้พบซากเต่าทะเลเกยตื้นหาดแหลมเจริญ ต.ปากน้ำระยอง อ.เมืองระยอง จ.ระยอง จากการตรวจสอบพบเป็นเต่าตนุ (Green turtle, Chelonia mydas) ขนาดกระดองกว้าง 37.5 เซนติเมตร ยาว 38 เซนติเมตร ไม่ทราบเพศ พบหมายเลขไมโครชิป 933.076400572072 จากการตรวจสอบพบเป็นเต่าอนุบาลที่ปล่อยจากเกาะมันใน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 อายุวันที่ปล่อย 1 ปี 1 เดือน สภาพซากเน่ามาก อวัยวะส่วนมากย่อยสลายแล้ว ในทางเดินอาหารพบขยะพวกหลอดพลาสติก ยางวง พลาสติกอ่อน แต่เนื่องจากสภาพซากเน่ามากจึงไม่สามารถสรุปสาเหตุการตายที่แน่ชัดได้ ทั้งนี้ได้ทำการฝังกลบทำลายซากเรียบร้อยแล้ว https://mgronline.com/onlinesection/.../9670000061157
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ทำความรู้จัก 5 "เอเลี่ยนสปีชีส์" ตัวท็อปของโลก โผล่ที่ไหน หายนะเกิดที่นั่น เผยโฉม 5 "เอเลี่ยนสปีชีส์" ตัวท็อปของโลก พวกมันมีต้นกำเนิดมาจากที่ไหนกันบ้าง แล้วทำไมถึงกลายเป็นสัตว์รุกราน ที่ชวนปวดหัวมากที่สุด สปริงนิวส์ชวนทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กัน เมื่อเดือนที่ผ่านมา มีรายงานของ IPBES หน่วยงานด้านนิเวศวิทยาของสหประชาชาติ เตือนว่า การรุกรานทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือเอเลี่ยนสปีชีส์ กำลังคุกคามชีวิตต่างๆบนพื้นโลก สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ ผลผลิตทางการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยชี้ว่า ปัจจุบันนี้มีเอเลี่ยนสปีชีส์มากถึงราว 37,000 สายพันธุ์ที่กำลังบุกรุกพื้นที่ใหม่ ๆ อยู่ ซึ่งมันยังส่งผลกระทบทำให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรงขึ้น และเข้าไปทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชและสัตว์ท้องถิ่นของพื้นที่นั้นๆ เมื่อปี 2019 เคยมีการสำรวจผลกระทบทางการเงินของการที่เอเลี่ยนสปีชีส์บุกรุกพื้นที่ใหม่ๆทั่วโลก พบว่ามีความเสียหายมากถึง 423,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานของสหประชาชาติก็เตือนว่า นี่อาจจะเป็นการคาดการณ์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่มาก ตัวอย่างสายพันธุ์ชนิดต่างถิ่นที่ทำอันตรายสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น ปลาสิงโต เป็นปลาสวยงามที่เต็มไปด้วยพิษร้าย มีถิ่นกำเนิดในอินโด-แปซิฟิก แต่มันกลายเป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในฝั่งทะเลด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะชนิด ปลาสิงโตปีกจุด (P. volitans) บริเวณแคริบเบียน, ชายฝั่งฟลอริดา ปลาสิงโตสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ โดยวางไข่ในป่าชายเลน ปลาหนึ่งตัวภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที สามารถกินลูกปลาหรือปลาขนาดเล็กไปได้ถึง 20 กว่าตัวเลยทีเดียว กระเพาะอาหารของปลาสิงโตสามารถขยายออกได้ถึง 30 เท่าของขนาดกระเพาะปกติ นอกจากนี้แล้วปลาสิงโตยังเป็นปลาที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ปลาสิงโตตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึงปีละ 2 ล้านฟอง การแพร่ระบาดของปลาสิงโตที่มหาสมุทรแอตแลนติกพบมีปลาสิงโตแทบทุกพื้นที่ จนมีการกำจัดที่บาฮามาสโดยรัฐบาลที่นั่นเพื่อควบคุมปริมาณในแนวปะการัง รวมถึงมีการแข่งขันจับมารับประทานเป็นอาหาร แตนยักษ์เอเชีย มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย แต่ขณะนี้กำลังกลายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐฯและยุโรป โดยแตนยักษ์เอเชียจะมีขนาดเล็กกว่าแตนท้องถิ่นของยุโรป มันไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่มันกำลังไล่ล่าทำร้ายชีวิตผึ้งจำนวนมาก รายงานระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว พบเห็นจำนวนประชากรแตนยักษ์เอเชียเพิ่มมากขึ้นในอังกฤษ โดยหน่วยงานดูแลผึ้งของอังกฤษได้ออกมาชี้ว่า พบเห็นปัญหาแตนยักษ์เอเชียทำลายรังผึ้งใน 56 พื้นที่ทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่ จะพบในเมืองเคนท์ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงลอนดอนมากนัก ด้านหน่วยงานด้านผึ้งแห่งชาติของอังกฤษได้ประกาศเตือนระดับสูง เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ สื่อของเบลเยียมก็รายงานว่า พบรังของแตนยักษ์เอเชียเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ด้วย กระรอกเทา เป็นสัตว์พื้นเมืองของแถบอเมริกาเหนือ โดยเริ่มพบเห็นกระรอกเทาถูกนำเข้ามาในอังกฤษครั้งแรกช่วงศตวรรษที่ 19 แต่มันทำให้เกิดปัญหารุกรานชีวิตของกระรอกแดง ซึ่งเป็นสัตวท้องถิ่นของอังกฤษ เนื่องจากพวกมันมีรูปแบบการหากินที่ใกล้เคียงกัน แต่กระรอกเทาสะสมอาหารเก่งกว่า แม้จะไม่มีรายงานว่า สัตว์สองสายพันธุ์มีการก้าวร้าวใส่กัน แต่กระรอกเทาก็ทำให้กระรอกแดงเกิดการไร้ที่อยู่อาศัย หอยนางรมแปซิฟิก มีถิ่นกำเนิดในชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในเอเชีย กลายเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ในนอร์เวย์ โดยปัจจุบันมีการไปพบอยู่หลายพื้นที่ตามบริเวณชายฝั่งตั้งแต่เมืองเอิสต์โฟลด์ไปจนถึงเมืองฮอร์ดาแลนด์ หอยนางรมชนิดนี้เข้ามายังนอร์เวย์ผ่านการนำมาเลี้ยง และผ่านกระแสน้ำทะเล แต่มันก็ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลริมชายฝั่ง การบริโภคหอยนางรมแปซิกทำให้เกิดความเป็นกังวลเกี่ยวกับสารแปลกปลอม พิษจากสาหร่ายและเชื้อโนโรไวรัส ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ โดยเฉพาะในกรณีที่รับประทานสดๆ คางคกอ้อย มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ เป็นคางคกขนาดใหญ่ ถูกนำเข้ามาในออสเตรเลียเมื่อปี 1935 เพื่อควบคุมสัตว์ที่มารังควานผลผลิตทางเกษตร แต่กลับไม่ได้ผล เพราะพวกมันปรับตัวได้เป็นอย่างดีเข้ากับสภาพแวดล้อมของออสเตรเลียและเริ่มขนาดพันธุ์อย่างรวดเร็ว คางคกอ้อยทำให้จำนวนประชากรแมลง กบ สัตว์เลื่อยคลานและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่นๆประจำถิ่นลดลง ที่สำคัญพวกมันยังมีพิษอีกด้วย ที่มา: Brusselstimes, Queensland Government, Daily Mail https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/851582
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|