#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านบริเวณประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 27 ? 31 พ.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2-3 เมตรส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 25 - 26 พ.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27 ? 31 พ.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านตอนบนของภาคเหนือเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 27-31 พ.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำฉลับพลัน น้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยว อช.หาดเจ้าไหม เพื่อความปลอดภัยในช่วงหน้ามรสุม ตรัง - อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ประกาศปิด 4 เกาะท่องเที่ยวชื่อดัง 4 เดือน และปิด ?ถ้ำมรกต? เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อความปลอดภัยในช่วงมรสุมที่มีคลื่นลมแรง และเพื่อพักฟื้นแหล่งท่องเที่ยว นายพริษฐ์ นราสฤษฏ์กุล เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง ได้ลงนามประกาศปิดการท่องเที่ยว และพักแรมในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ซึ่งดำเนินการขึ้นทุกปีในช่วงโลว์ซีซัน หรือช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวที่จะตรงกับหน้ามรสุมของภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่จะปิดการท่องเที่ยว และพักแรมในครั้งนี้ ได้แก่ บริเวณเกาะมุก เกาะกระดาน เกาะเชือก และเกาะแหวน ช่วงเวลาปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือปิดให้บริการเป็นระยะเวลา 4 เดือน และบริเวณถ้ำมรกต หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวสุดอันซีนของ จ.ตรัง ซึ่งจะปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2565 หรือจะปิดให้บริการเพียงแค่ 1 เดือน ทั้งนี้ การประกาศปิดการท่องเที่ยว และพักแรมในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมดังกล่าว ดำเนินการขึ้นเพื่อให้การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องอากาศในแต่ละฤดูกาล และความสามารถในการรองรับได้ของทรัพยากร ตลอดจนมีความชัดเจนสำหรับการดำเนินกิจกรรม หรือการอนุญาตเพื่อการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ที่สำคัญคือเป็นการเปิดโอกาสให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นตัวเป็นระยะเวลาถึง 4 เดือน รวมทั้งสร้างความปลอดภัยต่อการท่องเที่ยว เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นหน้ามรสุม อันไม่เหมาะสำหรับการออกไปท่องเที่ยวทางทะเล เพราะมีฝนตกหนัก และมีคลื่นลมแรง โดยอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีกำหนดเปิดให้บริการท่องเที่ยว และพักแรมอีกครั้งในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เพื่อเตรียมรับช่วงเปิดไฮซีซันหน้า https://mgronline.com/south/detail/9650000049607
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ฮือฮา! จีนพบ "แมงกะพรุนดอกท้อ" สัตว์หายาก อายุมากกว่าไดโนเสาร์ เป็นที่ฮือฮาในโซเชียล เมื่อทางจีนประกาศพบ "แมงกะพรุนดอกท้อ" แมงกะพรุนหายากที่ถือกำเนิดก่อนไดโนเสาร์ หลายร้อยตัวบริเวณแม่น้ำในมณฑลเหอหนาน สื่อได้ว่าน้ำในบริเวณนี้มีความสะอาดมาก เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่เมืองจู้หม่าเตี้ยน มณฑลเหอหนาน ได้พบ "แมงกะพรุนดอกท้อ" ซึ่งเป็นแมงกะพรุนน้ำจืดที่หายากในแม่น้ำ พวกมันมีจำนวนหลายร้อยตัว มีรูปทรงเป็นร่มกึ่งโปร่งใส และมีรูปลักษณ์ที่งดงามมาก แมงกะพรุนดอกท้อถือกำเนิดขึ้นก่อนไดโนเสาร์ ถูกขนานนามว่าเป็น "ฟอสซิลมีชีวิต" ในด้านการวิจัยวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และยังมีฉายาว่า "แพนด้ายักษ์ใต้น้ำ" อีกด้วย ที่แตกต่างกับแมงกะพรุนในทะเลก็คือ แมงกะพรุนดอกท้อมีพิษน้อยกว่าแมงกะพรุนในทะเลเป็นอย่างมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อีกทั้งยังต้องอยู่ในน้ำที่สะอาดมากดังนั้นการค้นพบแมงกะพรุนในแม่น้ำลำธารในเขตเมืองจู้หม่าเตี้ยนนั้นจึงบ่งบอกได้ว่าแหล่งน้ำของเมืองนี้มีคุณภาพที่ดีเยี่ยม https://mgronline.com/travel/detail/9650000049591
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
นักวิจัยพบ "กุ้งเต้นเจาะรากไม้" สกุลใหม่ของโลก วิวัฒนาการจากทะเลขึ้นมาบนบก พบ "กุ้งเต้นเจาะรากไม้" ชนิดใหม่ และสกุลใหม่ของโลกในป่าชายเลนอ่าวพร้าว เกาะกูด จ.ตราด โดยทีมนักวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ม.บูรพา และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา พร้อมให้ข้อมูลทั่วโลกมีรายงานเพียง 4 ชนิด ที่พบในไทยได้มีการวิวัฒนาการจากทะเลขึ้นมาบนบก ทีมงานนักวิจัยภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยบูรพา และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ได้ค้นพบ "กุ้งเต้นเจาะรากไม้" ชนิดใหม่และสกุลใหม่ของโลก ในป่าชายเลนอ่าวพร้าว เกาะกูด จ.ตราด การสำรวจในครั้งนี้ เป็นการสำรวจร่วมกันในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทางประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า "กุ้งเต้นเจาะรากไม้" (Thailandorchestia rhizophila) ชนิดใหม่และสกุลใหม่ของโลกนี้ เป็นสัตว์ในซับไฟลัมครัสเตเชียน คือกลุ่มเดียวกับกุ้ง ปู แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวแบนข้าง มีขาเดิน 7 คู่ ต่างจากกุ้งที่เรารู้จักกันที่มีขาเดิน 5 คู่ ปกติจะพบอาศัยในน้ำ แต่กุ้งเต้นชนิดนี้ เพิ่งวิวัฒนาการจากทะเลขึ้นมาบนบก แต่ยังมีลักษณะความเป็นสัตว์น้ำอยู่ คือหายใจด้วยเหงือก พบอาศัยบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำทะเลเช่นบริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน กุ้งเต้นเจาะไม้ เป็นกลุ่มที่หาได้ยาก โดยทั้งโลกมีรายงานการพบเพียง 4 ชนิด ทั้งหมดพบที่ทะเลเมดิเตอเรเนียนและมหาสมุทรแอตแลนติก ทีมวิจัยได้ตั้งชื่อว่า Thailandorchestia rhizophila โดยชื่อสกุลใหม่นี้มีความหมายมาจาก Thailand (ประเทศไทย) + orchestia (นักเต้น) ส่วน specific epithet มาจาก rhizo (รากไม้) + phila (รัก) ลักษณะสำคัญของกุ้งเต้นเจาะรากไม้ คืออาศัยอยู่กับรากไม้และไม้ผุตลอดชีวิต โดยจะเจาะเข้าไปด้านในสร้างเป็นห้องขนาดใหญ่ อยู่กันเป็นครอบครัว อาหารหลักที่กินคือไม้ผุ สำหรับผู้ค้นพบครั้งใหม่นี้ ประกอบด้วย ดร.กรอร วงษ์กำแหง , ดร.ทศพล แซ่ตั้ง กีฏพิชญกุล จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ น.ส.รัชนีวรรณ สุมิตรากิจ จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา https://mgronline.com/science/detail/9650000049638
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
กรมอุทยานฯ เก็บกู้ซากประมง-ขยะ เกาะเสม็ด-เกาะรัง ป้องแนวปะการังถูกทำลาย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เก็บกู้ซากอุปกรณ์ประมง-ขยะ เกาะเสม็ด เกาะรัง ปกป้องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สัตว์หายาก ป้องกันแนวปะการังถูกทำลาย 25 พ.ค. 65 ? นายสาธิต ปิ่นกุล ผู้อำนวยส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) โดย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง และอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ดำเนินการสำรวจแนวปะการัง เพื่อเก็บกู้เศษซากอุปกรณ์การประมง บริเวณหน่วยพิทักษ์ที่ กช. 5 ( เกาะรัง ) อ่าวระกำ เกาะมะปริง (หลังเกาะรัง) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จากการสำรวจพบเศษซากอวนประมง ประมาณ 11 กิโลกรัม และบริเวณอ่าวพร้าว อ่าวปลาต้ม เกาะเสม็ด ? อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด พบเศษซากอวนประมง ขยะทะเล ประเภทพลาสติก ประมาณ 23.5 กิโลกรัม โดยได้ทำการเก็บกู้และนำไปเข้าสู่ระบบการจัดการขยะทะเลที่ถูกต้องต่อไป นายสาธิต ระบุว่า ปัญหาขยะทะเล โดยเฉพาะขยะพลาสติก กำลังเป็นภัยคุกคามระบบนิเวศทางทะเลของโลก ทุกๆ ปีจะมีขยะพลาสติก 12 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่ทะเลและมหาสมุทร มีเพียง 5% ที่พบเห็นเป็นชิ้นส่วนลอยอยู่ในทะเล ส่วนที่เหลือจมอยู่ใต้น้ำหรือถูกกระแสน้ำพัดไปอยู่ใต้ท้องมหาสมุทรทั่วโลก โดยขยะทะเลเป็นประเด็นโลก เป็นปัญหามลพิษข้ามถิ่น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชัดเจน ทั้งสัตว์หายาก แนวปะการังถูกขยะปกคลุม เต่าทะเลและสัตว์น้ำอื่นๆ โดนอวนรัดบาดเจ็บถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ https://www.khaosod.co.th/lifestyle/travel/news_7069136
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|