เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตรและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกฝั่งจนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564 เนื่องจากร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง

อนึ่ง พายุโซนร้อน "โกนเซิน" (CONSON) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงอ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 12-13 กันยายน 2564


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 9 ? 10 ก.ย. 64 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.ย. 64 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นมาพาดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นตลอดช่วง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อน "โกนเซิน" (CONSON) บริเวณตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงอ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 12-13 กันยายน 2564


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.ย. 64 ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ชาวสิเกาโอดเจอคลื่นกัดเซาะชายฝั่งหนักกว่าทุกปี วอนเร่งแก้ไขป้องกันส่วนที่เหลือด่วน



ตรัง - คลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านหัวหิน อ.สิเกา จ.ตรัง ปีนี้รุนแรงเพิ่มขึ้น จนทำให้ลานกีฬาพังเสียหายใกล้หมดแล้ว ขณะที่ผืนดินพังลงไปในทะเลกว่า 100 เมตร วอนเร่งแก้ไขป้องกันส่วนที่เหลือด่วน

ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และนายก อบต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง นำผู้สื่อข่าวลงตรวจสอบสภาพปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านหัวหิน หมู่ 6 ต.บ่อหิน อ.สิเกา ซึ่งมีระยะทางยาวตลอดแนวชายฝั่งกว่า 250 เมตร โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าลานกีฬาอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน จนถึงถนนเส้นรอบหมู่บ้าน ได้พบเห็นถึงสภาพความเสียหายที่รุนแรงที่สุด นับตั้งแต่มีการร้องเรียนมาตลอดระยะเวลาประมาณ 15 ปี เพราะทำให้ทั้งผืนดิน ทุ่งสวนสน และถนนเลียบชายหาดที่เป็นตัวหนอน ขณะนี้ได้ถูกคลื่นซัดหายไปทั้งหมดแล้ว

โดยเฉพาะผืนดินได้ถูกคลื่นกัดเซาะชายฝั่งหายกลายเป็นทะเลลึกเข้ามาไม่ต่ำกว่า 100 เมตรแล้ว ขณะที่ทุ่งสวนสนซึ่งเหลือเพียงไม่กี่ต้นกำลังจะล้มตาม ส่วนลานกีฬาก็พังยับเยินจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ใดๆ ได้อีกต่อไป และอีกไม่นานคลื่นจะกัดเซาะลามไปถึงอาคารศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว ซึ่งก่อสร้างพร้อมกับลานกีฬา อาคารที่พักนักท่องเที่ยว ห้องน้ำ และการปรับภูมิทัศน์ ด้วยงบประมาณรวม 4,978,000 บาท แม้ที่ผ่านมา อบต.บ่อหิน ร่วมกับชาวบ้านจะพยายามเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขป้องกันสิ่งก่อสร้างส่วนที่เหลือ แต่ไม่เป็นผล โดยปีนี้สภาพคลื่นลมมีความรุนแรงมากที่สุด



นอกจากนั้น ล่าสุดทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ยังได้เข้ามาสำรวจออกแบบการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ด้วยงบประมาณ 200 ล้านบาท และขณะนี้เรื่องอยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่าแล้ว พร้อมทั้งมีการว่าจ้างบริษัทเอกชนมาทำประชาพิจารณ์สอบถามความเห็นของประชาชนแล้ว 3 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดเรื่องเงียบหายไปกับสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ความเสียหายจากคลื่นกัดเซาะชายฝั่งกลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

ด้านนายจอมรวย เกลี้ยงช่วย นายก อบต.บ่อหิน กล่าวว่า ปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณดังกล่าวเกิดขึ้นสะสมนานแล้วตั้งแต่ปี 2549 โดยปีนี้มากที่สุด จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งด่วนดำเนินการ เพราะเสียหายหนักแล้ว เชื่อว่าอีก 1-2 ปี สิ่งก่อสร้างต่างๆ ริมชายหาดน่าจะถูกคลื่นกัดเซาะจนหมด รวมทั้งถนนเส้นทางสายหลักที่ใช้สัญจรไปมาเพื่อทำการเกษตรจะพังเสียหายทั้งหมดด้วย ชาวบ้านจะยิ่งได้รับความเดือดร้อนมากขึ้น ส่วนทาง อบต.ก็ตอบยาก เพราะเป็นงบประมาณของหน่วยงานนอก


https://mgronline.com/south/detail/9640000089081

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ภัยพิบัติธรรมชาติ โหดจัด! คร่าชีวิตกว่า 2 ล้านคน "รุนแรงขึ้น 5 เท่า ในรอบครึ่งศตวรรษ"


เหตุการณ์ไฟไหม้ป่าแคลิฟอร์เนีย ครั้งรุนแรงและยาวนาน เมื่อปี 2020 และแผ่นดินไหวถล่มเฮติ ในปีนี้ ที่ยังไม่นับรวมด้วย

รายงานฉบับใหม่โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกระบุว่า ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดบ่อยขึ้น 5 เท่า คร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 2 ล้านคน และทำเศรษฐกิจโลกเสียหายมากกว่า 100 ล้านล้านบาท

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เผยแพร่รายงานฉบับใหม่เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการวิเคราะห์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ว่าผลจากความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศของโลกประมาณ 11,000 เหตุการณ์ ในรอบ 50 ปี นับย้อนหลังตั้งแต่ปี1970 ถึง 2019 (พ.ศ. 2513-2562) ซึ่งรวมถึงวิกฤตภัยแล้งในเอธิโอเปีย เมื่อปี 1983 (พ.ศ.2526) ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 330,000 ราย และพายุเฮอริเคน "แคทรีนา" ที่ถล่มสหรัฐ เมื่อปี 2005 (พ.ศ.2548)


วิกฤตภัยแล้งในเอธิโอเปีย เมื่อปี 1983

ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีสาเหตุมาจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านความถี่ที่เกิดขึ้น และระดับของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า จากระยะเวลาช่วงเริ่มต้นของฐานข้อมูล คือปี 2513 มาจนถึงช่วงทศวรรษปัจจุบัน ซึ่งความถี่ของการเกิดภัยพิบัติธรรมชาติแปรสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อน


พายุเฮอริเคน ชื่อว่าแคทรีนา ในสหรัฐ เมื่อปี 2005

ขณะเดียวกัน การที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีความรุนแรงและสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจาก 175,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 5.67 ล้านล้านบาท ) ในช่วงเวลาเริ่มต้นของฐานข้อมูล เป็น 1.38 ล้านล้านดอลาร์สหรัฐ ( ราว 44.65 ล้านล้านบาท ) ในช่วงทศวรรษล่าสุดนับตั้งแต่ปี 2553 เนื่องจากสหรัฐเผชิญกับอิทธิพลของเฮอริเคนหลายลูก


คลื่นยักษ์สึนามิ ที่ญี่ปุ่น เมื่อปี 2011

ทั้งนี้ บทเรียนจากภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง "ล้วนมีราคาแพง" ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 117.68 ล้านล้านบาท ) ตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา แต่ทำให้มนุษย์เพิ่มการศึกษา มีการรับมือและการแก้ไขสถานการณ์ที่ดีขึ้น เห็นได้จากจำนวนผู้เสียชีวิตที่ลดลง จากเฉลี่ยปีละมากกว่า 50,000 ราย ในช่วงเริ่มต้นของการสำรวจ ลงมาอยู่ที่ประมาณ 18,000 รายต่อปี

อย่างไรก็ตาม รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกทิ้งท้ายว่า ประเทศที่ยากจนและกำลังพัฒนายังคงต้องการความสนับสนุนด้านระบบเตือนภัยสภาพอากาศ เนื่องจากมีเพียงสมาชิกดับเบิลยูเอ็มโอเพียงครึ่งเดียว จากทั้งหมด 193 ประเทศ ที่มีระบบเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ และ 91% จากจำนวน 2 ล้านรายของผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติบนโลกตลอด 50 ปีที่ผ่านมา อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านี้


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.npr.org/2021/09/07/10346...to-climate-cha

https://www.voanews.com/usa/un-study...-last-50-years



https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000089072

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:34


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger