เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 01-01-2012
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default โครงเหล็กไฟฟ้า...คืนชีพแนวปะการัง


โครงเหล็กไฟฟ้า...คืนชีพแนวปะการัง ....................... เรื่องเล่าจากเอเชีย



การจับปลาด้วยการใช้ไซยาไนด์และอุณหภูมิของน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปะการังในท้องทะเลของบาหลีถูกทำลายไปอย่างรวดเร็ว แต่เพราะความห่วงใยในแหล่งท่องเที่ยวที่ประทับใจของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันด้วยการนำเอาเทคนิคทางสถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกับที่เคยใช้กับท้องทะเลแห่งอื่นของโลกมาแล้ว โลกใต้ทะเลที่นี่กำลังจะกลับคืนมาดังเดิม

ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “ไบโอร็อค” (Biorock) ที่ประสบความสำเร็จมากแล้วกว่า 20 ประเทศทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ทะเลแคริบเบียน, มหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก

ในท้องทะเลสีเทอร์คอยส์ของปีนูเทอราน ชายฝั่งทางเหนือของบาหลี ณ ที่นั้นโครงการที่ว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2000 โครงเหล็กที่ถูกเรียกว่า เดอะแคร็บ ที่หมายถึงก้ามปู ถูกปกคลุมไปด้วย

ปะการังขนาดใหญ่ที่ส่องแสงแวววาวอยู่ท่ามกลางปลานับร้อยที่อาศัยใช้เป็นบ้าน

“มันน่าตื่นเต้นมากไม่ใช่หรือ” รานี มอร์โรว-วิจค์ บอกอย่างภูมิใจ ชาวเยอรมันวัย 60 ปีผู้นี้เดินทางมาดำน้ำที่นี่ครั้งแรกในปี 1992 และได้เห็นแนวปะการังอันสวยงามสมบูรณ์แบบ

ทว่าในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นส่งผลต่อแนวปะการัง และยิ่งเมื่อมาเจอกับการจับปลาด้วยการใช้ไซยาไนด์และการระเบิดปลาด้วยแล้ว แนวปะการังแถวนี้ก็แทบไม่เหลือ

“มันเป็นการทำลายล้างแบบง่ายๆ ปะการังทั้งหมดตายเหลือเพียงก้อนกรวดและหาดทราย”

แต่เมื่อสถาปนิกชาวเยอรมันและนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล วูล์ฟ ฮิลเบิร์ทซ์ บอกให้รานีรู้ถึงการค้นพบของพวกเขาเมื่อปี 1970 นักดำน้ำอย่างรานีก็หูผึ่ง

ฮิลเบิร์ทซ์พยายามหาวัสดุที่จะนำไปก่อสร้างในทะเล และในที่สุดก็ค้นพบว่า โครงสร้างเหล็กที่มีน้ำหนักมาก โดยมีการต่อกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายให้ไหลผ่าน ซึ่งพบว่ากระแสไฟนั้นทำให้หินปูนเกาะโครงเหล็กเร็วขึ้น

ระหว่างการทดลองในหลุยเซียน่า สหรับอเมริกานั้น ฮิลเบิร์ทซ์พบว่า เพียง 2 เดือนหอยนางรมก็พากันมาเกาะอาศัยโครงสร้างทั้งหมด ก่อนจะสร้างอาณานิคมด้วยหินปูน แต่นั่นก็ยังไม่น่าตื่นเต้นเท่ากับการที่ปะการังมาเรวมอยู่ด้วย

“ปะการังโตเร็วขึ้นราว 2-6 เท่า เราคิดว่าภายในเวลาแค่ 2-3 ปีแนวปะการังก็จะกลับคืนมา” โธมัส เจ. โกโรว์ นักชีววิทยาทางทะเลชาวจาไมก้า บอกเล่า

โกโรว์เริ่มทำงานกับฮิลเบิร์ทซ์กลางปี 1980 เพื่อพัฒนาไบโอร็อค ก่อนที่เขาจะเริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีนี้อีกครั้งหลังจากฮิลเบิร์ทซ์เสียชีวิตไปเมื่อ 4 ปีก่อน และเมื่อรานีได้เห็นผลงานนี้เธอก็รู้ทันทีว่าจะปกป้องอ่าวของเธอไว้ได้อย่างไร

รานีใช้ทุนทรัพย์ของตัวเองและวางแผนที่จะวางโครงสร้างทั้งหมด 22 ชิ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจากทามัน ซารี ฮอลิเดย์ รีสอร์ทที่อยู่หน้าพื้นที่วางแนวปะการังเทียมของโครงการ จนวันนี้มีโครงข่ายแบบนี้กว่า 60 ชิ้นในอ่าวปีนูเทอรานในพื้นที่กว่า 2 เฮคเตอร์ ซึ่งไม่เพียงแนวปะการังจะไม่ตายแต่ยังมีสภาพดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ

ไบโอร็อคไม่เพียงฟื้นคืนกลับมา แต่มันยังสร่งภูมิคุ้มกันให้กับพวกมันที่ต้องเผชิญกับภาวะปะการังฟอกขาวและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนด้วย

“ไบโอร็อคไม่เพียงช่วยให้ปะการังอยู่รอดจากอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น แต่นังรอดจากปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นได้มากถึง 16-50 เท่าด้วย” โกโรว์ บอกเล่า

รานีบอกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ณ ปีนูเทอรานคือข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุด เราผ่านพ้นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเมื่อ 2 ปีก่อนมาได้ ขณะที่น้ำมีอุณหภูมิถึง 34 องศาเซลเซียสแทนที่จะเป็น 30 องศาดังเดิม มีปะการังเพียง 10% เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบและมีเพียง 2 % ที่ตาย ขณะที่เมื่อปี 1998 พวกมันทั้งหมดตายเรียบ

ชุมชนในปีนูเทอรานเองก็ฉลองชัยชนะนี้อยู่เงียบ ๆ และเห็นความสำคัญของโครงการนี้ ทั้งที่เริ่มแรกนั้นพวกเขาคิดว่าพวกผิวขาวบ้า ๆ พวกนี้กำลังทำลายท้องทะเลด้วยการเอาเหล็กโยนลงไป แต่ในปี 2000 โกมัง แอสติก้า ก็เป็นอีกคนที่เปลี่ยนความคิดนั้นและเข้าร่วมโครงการหลังจบจากวิทยาลัย

วันนี้เขาคือครูสอนดำน้ำและผู้จัดการของศูนย์ข้อมูลไบโอร็อคที่ตั้งอยู่ที่ชายหาดปีนูเทอราน ซึ่งมีกผู้ให้การสนับสนุนในการตั้งกองทุน “Adopt a baby coral” ขณะที่นักท่องเที่ยวเองก็เพิ่มขึ้นทั้งที่ที่นี่เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงที่ค่อนข้างจนเมื่อครั้งแรกที่รานีมาถึง แต่ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมามีร้านดำน้ำผุดขึ้นเกือบเท่าตัว

ขณะที่ชาวประมงในเขตนี้ไม่ค่อยพอใจนักเมื่อมีการทำโครงการในช่วงแรก เพราะคิดว่าจะมีผลกับการทำการประมงของพวกเขา

“ตอนแรกชาวประมงไม่ต้องการไบโอร็อคเพราะคิดว่ามันจะทำให้พวกเขาจับปลาไม่ได้ เขาบอกว่านี่คือมหาสมุทรของพวกเขา แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปแล้วเมื่อเห็นว่าปลากลับมาและนักท่องเที่ยวก็แห่มาชมความสวยงาม” แอสติก้า ทิ้งท้าย.




จาก ...................... เดลินิวส์ วันที่ 1 มกราคม 2555
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 01-01-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



น่าชื่นใจแทนชาวบ้าน ที่ได้ร่วมโครงการดีๆเพื่อทะเล โครงการนี้จริงๆค่ะ

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:12


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger