#1
|
||||
|
||||
ตามรอยการค้นพบ 'ไอ้เท่ง'
ตามรอยการค้นพบ 'ไอ้เท่ง' ทากทะเลไทยสปีชีส์ใหม่ของโลก!! ด้วยความอุดมสมบูรณ์ความหลากหลายของสภาพธรรมชาติผืนป่าและท้องทะเลของไทย ล่าสุด มีข่าวน่ายินดีในการค้นพบ “ไอ้เท่ง” (Aiteng) ทากทะเลสปีชีส์ใหม่และวงศ์ใหม่ของโลกจากป่าชายเลนทะเลไทยติดอันดับท็อปเท นการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ของโลกปี ค.ศ. 2009 !! ในการประกาศดังกล่าว สืบเนื่องมาจากที่สถาบันนานาชาติเพื่อการสำรวจสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต สหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการนักอนุกรมวิธานนานาชาติ ได้คัดเลือกสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่จากทั่วโลกที่มีความโดดเด่นพิจารณาโดยคัดเลือกเหลือเพียง 10 สปีชีส์เพื่อขึ้นบัญชีการค้นพบสปีชีส์ใหม่แห่งปี ค.ศ. 2009 ซึ่งการประกาศเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาโดยหนึ่งในนั้นมีทากทะเลชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบในประเทศไทยติดอันดับรวมอยู่ด้วย จากความสำเร็จในการค้นพบซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ดร.คอร์เน ลิส สเวนเนน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยาทางทะเล จากประเทศเนเธอร์แลนด์ และสมศักดิ์ บัวทิพย์ นักวิทยาศาสตร์ แผนกชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พร้อมทีมวิจัย ซึ่งก่อนได้รับการประกาศ สมศักดิ์ บัวทิพย์ นักวิทยาศาสตร์เล่าย้อนถึงการค้นพบว่า จากการศึกษาความสนใจของทีมนักวิจัยซึ่งศึกษาเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้พบเจอสิ่งมีชีวิตใหม่ดังกล่าว “การศึกษาวิจัยในเรื่องของนก ปลา หอยหรือเรื่องอื่นๆมีผู้สนใจศึกษากันมากมาย แต่สำหรับเรื่องทากทะเลโดยเฉพาะทากทะเลที่พบในป่าชายเลนนั้นมีผู้ให้ความ สนใจค่อนข้างน้อย และจากที่ ดร.สเวนเนนผู้เชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยาทางทะเลมีความสนใจในเรื่องทากทะเลมายาวนาน โดยก่อนหน้าจะมีการตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องไอ้เท่ง มีผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับทากทะเลชนิดใหม่หลายเรื่องและในการเดินทางมาเมืองไทยที่มหาวิทยาลัยฯ อย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการริเริ่มโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทากทะเลในบริเวณป่าชายเลนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยร่วมกัน” นอกจากนี้ นักวิจัยบางคนคิดว่าในพื้นที่ป่าชายเลนไม่มีทากทะเลอาศัย มีเฉพาะตามแนวปะการังหรือดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นน้ำทะเลที่สะอาดและใส แต่การค้นพบครั้งนี้เป็นการพบเจอที่ป่าชายเลนซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อยอด บอกได้ถึงเรื่องราวระบบนิเวศของป่าชายเลน มีความหมายต่อการศึกษาระบบนิเวศของป่าชายเลน ซึ่งในรายละเอียดเฉพาะตัวของไอ้เท่งเวลานี้ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมอยู่ว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง “โครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของทากทะเลซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 ปี ก่อนจะพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ชื่อ ไอ้เท่ง ที่ป่าชายเลน อ.ปากพนัง จังหวัดนคร ศรีธรรมราช ได้มีการสำรวจในหลายพื้นที่นับแต่จังหวัดชุมพรไล่เรื่อยมาแต่ก็ไม่พบ การค้นพบเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาจากนั้นก็ได้มีการเสนอและเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีการประกาศให้ได้ทราบทั่วกัน” เมื่อค้นพบก็มีลำดับ การศึกษาข้อมูล ทั้งการตรวจสอบเบื้องต้น หาฟัน วัดขนาด สเกตช์รูปร่างลักษณะภายนอก ระบุตำแหน่งของอวัยวะต่างๆที่สังเกตเห็นได้โดยใช้แว่นขยายส่อง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอาหารมีการเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงที่ห้องปฏิบัติการ สร้างระบบนิเวศให้คล้ายคลึงกับพื้นที่จริงโดยตักดินกลับมา ใส่น้ำในปริมาณที่ไม่ท่วมดินทั้งหมด เนื่องจากสังเกตพบว่าตัวอย่างที่เก็บได้ส่วนใหญ่คลานอยู่บนบก ทดลองให้อาหารและจากการศึกษาพบว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ ไอ้เท่งพบในป่าชายเลนที่เป็นดินโคลนปกคลุมด้วยต้นโกงกาง แสมทะเล ตาตุ่มทะเลและปรงทะเล ฯลฯ บริเวณที่เป็นร่องน้ำ รูปู แอ่งที่มีน้ำท่วมขัง รวมถึงบริเวณที่มีการทับถมของใบไม้และไม้ผุเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลงและแม้จะมีขนาดเล็กแต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่เห็นในรายละเอียด อีกทั้งถ้าไม่รู้จักหรือศึกษามาบ้างก็จะดูไม่ออกว่าคือ ทากไอ้เท่ง ทั้งนี้เพราะด้วยตัวของทากเป็นสีดำดูเผินๆจะไม่รู้ว่าเป็นตัวอะไร “ทากทะเลไอ้เท่ง (Aiteng) เป็นทากทะเลสปีชีส์ใหม่และวงศ์ใหม่ จัดอยู่ในวงศ์ไอ้เท่งจิเด (Aitengidae) ค้นพบเมื่อปีที่ผ่านมา มีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำ กินแมลงในระยะดักแด้เป็นอาหาร แตกต่างกับชนิดอื่นๆที่ส่วนใหญ่จะกินสาหร่ายหรือหญ้าทะเลเป็นอาหาร สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก โดยมีการขับเมือกหุ้มห่อร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้น คล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วๆไปซึ่งความพิเศษนี้พบได้น้อยมากกับทากทะเลอื่นๆที่มีการค้นพบหรือมีการศึกษาอยู่แล้วในปัจจุบัน” สำหรับชื่อ ไอ้เท่ง มีที่มาโดยนักวิทยาศาสตร์คนเดิมเล่าว่า ครั้งแรกของชื่อมาจากตอนที่เรากลับจากการเก็บตัวอย่างซึ่งหลังจากที่ ดร.สเวนเนน เห็นรูปปั้นของเท่ง แต่ ก็ไม่รู้ถึงความหมายที่มา ว่าหมายถึงอะไร พวกเราก็อธิบายว่าเป็นตัวหนังตะลุงของปักษ์ใต้เป็นการแสดงวัฒนธรรมของชาวใต้ ก็พอดีมีส่วนคล้ายตรงกับสิ่งที่เราพบ ก็เลยเรียกชื่อทากที่เราพบกันว่า ไอ้เท่ง ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไอ้เท่ง เอเตอร์ (Aiteng ater) ซึ่งชื่อสกุล Aiteng มาจากชื่อตัวหนังตะลุงของปักษ์ใต้ที่มีลักษณะตัวสีดำ และมีตาคล้ายกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ส่วน ater มาจากภาษาลาตินหมายถึง สีดำ หลังจากที่มีการค้นพบขณะนี้ดังที่กล่าวได้มีการศึกษาเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งการตรวจดูระบบโครงสร้างภายในอย่างส่วนของระบบอาหาร ระบบหายใจ ฯลฯ ตรวจหาอวัยวะของสัตว์ชนิดนี้ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังศึกษาในเรื่องระบบประสาท ฯลฯ ซึ่งหากศึกษาครบจะสามารถบอกอะไรได้เพิ่มขึ้น อาทิ การศึกษาเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหารก็จะแสดงให้เห็น ถึงการดำรงชีวิต ทราบว่ามีลักษณะแบบใดกินพืชหรือ กินสัตว์ซึ่งสามารถศึกษาจากสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ แต่โดยภาพรวมแล้ว นับว่ามีประโยชน์มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน อีกทั้งยังมีความหมายต่อการศึกษาวิจัยช่วยเพิ่มความสมดุลให้กับธรรมชาติเป็นอีกความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ไทย. จาก เดลินิวส์ คอลัมน์ วาไรตี้ วันที่ 10 มิถุนายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
จำได้ว่าคุณนกกินเปรี้ยวเคยมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังมาครั้งหนึ่งแล้ว นี่เป็นการมาเสริมรายละเอียดให้ทราบเพิ่มขึ้น....
ติดใจตรงทากพันธุ์นี้ในวัยเด็ก (เขาใช้คำว่าดักแด้)กินแมลงเป็นอาหาร....แปลกดีค่ะ... แล้วกินอย่างไร....ด้วยวิธีไหน....อยากรู้จัง.............
__________________
Saaychol |
#3
|
||||
|
||||
เหอๆๆๆๆๆๆ หน้าตาตอนอยู่บนขอนไม้ เหมือนทากที่อยู่ในป่ามั่กๆๆๆ .....บรื๋อออออ แต่นั่นมันกินเลือดอ๊ะค่ะ
|
#4
|
||||
|
||||
หน้าตาพิลึกดีแฮะแต่ถ้าเข้าไปเห็นจริงๆก็คงดูไม่ออกว่าเป็นทากคงคิดว่าเป็น
เม็ดต้นไม้ในป่าโกงกาง |
|
|