#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 20 กรกฏาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 20 - 23 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 - 22 ก.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในช่วงวันที่ 24 - 25 ก.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
'วราวุธ' ดำน้ำฉลองวันเกิด เจอเอง "ลอบดักปลา" ผิดกฎหมาย เพจเฟซบุ๊ก TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา โพสต์ภาพ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขณะกำลังดำน้ำกับครอบครัวที่เกาะเต่า ได้พบ "ลอบดักปลา" ผิดกฏหมาย จึงโพสต์เตือนชาวประมงว่ามีโทษหนักทั้งจำและปรับ สุดสัปดาห์นี้ ผมและครอบครัว มาดำน้ำที่เกาะเต่า เพื่อชมธรรมชาติใต้ทะเลเป็นของขวัญวันเกิดให้ตัวเองสักหน่อย แต่ก็มีเรื่องให้ต้องทำงานจนได้ครับ ระหว่างดำน้ำ ผมพบ"ลอบดักปลา"ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาผิดกฏหมาย จึงได้ประสานงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มาเก็บกู้ เพื่อนำไปเป็นหลักฐานสืบหาเจ้าของต่อไป... ผมขอย้ำนะครับ การทำประมงด้วยเครื่องมือผิดกฏหมายเหล่านี้ ได้แก่ อวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์ โพงพาง อวนล้อมจับที่มีขนาดช่องตาเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ลอบ อวนลากที่มีช่องตาอวนก้นถุงเล็กกว่า 5 เซนติเมตร มีโทษหนักจำคุก 5 ปี ปรับ 1-5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ครับ https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000074071
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
ขยะหาดบางแสนแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง นักวิชาการเตือนอ่าวไทยปนเปื้อนไมโครพลาสติกขั้นวิกฤต นักวิชาการเผย ขยะเกยหาดบางแสนส่วนใหญ่ไหลมาจากพื้นที่อื่น กระทบภูมิทัศน์ ส่งผลลบการท่องเที่ยว ซ้ำร้ายขยะทะเลชิ้นใหญ่หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นผงไมโครพลาสติกปนเปื้อนระบบนิเวศมหาสมุทร เข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ด้านนายกเทศมนตรีฯ วอนส่วนกลางภาครัฐเข้ามาแก้ปัญหาขยะทะเลอย่างจริงจังกว่านี้ ภายหลังจากภาพหาดบางแสน ชายหาดตากอากาศยอดนิยมของชาวไทยใน จ.ชลบุรี ที่เต็มไปด้วยขยะได้ถูกแชร์ไปอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียลมีเดีย ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนนำไปสู่กระแสความกังวลถึงผลกระทบขยะจากนักท่องเที่ยว และกระทบถึงภาพลักษณ์เมืองบางแสน ขยะทะเลภาพชายหาดบางแสนที่เกลื่อนกลาดไปด้วยขยะที่ถูกลมและกระแสน้ำพัุดมาเกยตื้น //ขอบคุณภาพจาก: ณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม ผศ.ดร.ถนอมศักดิ์ บุญภักดี อาจารย์จากภาควิชาวาริชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ขยะที่พบเกลื่อนกลาดหาดบางแสนเมื่อไม่นานมานี้ แท้จริงแล้วส่วนใหญ่เป็นขยะจากพื้นที่อื่นที่รั่วไหลมาตามแม่น้ำ และถูกกระแสน้ำและลมทะเลพัดมาเกยตื้นที่หาดบางแสน "เวลาเห็นขยะ คนก็จะโทษว่ามาจากนักท่องเที่ยว คนทิ้งบนชายหาด มันก็อาจจะมีอย่างนั้นบ้าง แต่บอกเลยว่าน้อยมาก ขยะที่มากองบนชายหาดที่เห็นตามข่าว คือ ขยะที่มาจากทะเล คลื่นซัดพาขยะเข้ามาตอนน้ำขึ้น พอน้ำลงก็ไม่ได้พาขยะกลับไปด้วย ขยะเลยกองบนหาด" ผศ.ดร.ถนอมศักดิ์ กล่าว "ต้นกำเนิดขยะทะเลเหล่านี้ยืนยันชัดเจนว่ามาจากบนบก ขยะที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดตามถนนพอมีลมก็จะพัดขยะลงท่อระบายน้ำ ไหลสู่คลองธรรมชาติ สุดท้ายก็ลงสู่ทะเล นี่แหละแหล่งที่มาของขยะที่เกิดขึ้น" เขาระบุ ผศ.ดร.ถนอมศักดิ์ ชี้ว่า ขยะเหล่านี้ยังนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่กว่า โดยหลังจากล่องลอยอยู่ในทะเลระยะหนึ่ง ขยะพลาสติกจะถูกย่อยสลายโดยแสง UV กลายเป็นเศษพลาสติกขนาดจิ๋วจำนวนมาก หรือ "ไมโครพลาสติก" ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในทะเล ยังสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารถึงมนุษย์ผ่านการบริโภคอาหารทะเล และอาจสะสมในร่างกายจนก่อความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้ "ไมโครพลาสติกจะมีคุณสมบัติเป็น ไฮโดรโฟบิก (Hydrophobic) ที่จะไม่ละลายน้ำ และสามารถจับกับสารเคมีชนิดอื่นที่ก็เป็นไฮโดรโฟบิก เช่น อนุพันธ์ปิโตรเลียม ดังนั้น ไมโครพลาสติกอาจทำหน้าที่เป็นนิวเคลียสที่มีสารละลายอื่น ๆ มาเกาะ และหากไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยไมโครพลาสติก ก็อาจพาสารพิษอันตรายข้างต้นเข้าสู่ร่างกายได้" เขากล่าว "ไมโครพลาสติกยังมักมาคู่กับสาร BPA หรือ Bisphenol A ซึ่งเป็นที่ใช้ในการผลิตขวดพลาสติก สารชนิดนี้ถือเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์รุนแรงและสามารถยับยั้งการทำงานของต่อมไร้ท่อได้" นอกจากไมโครพลาสติกที่เกิดจากการสลายตัวของขยะพลาสติกชิ้นใหญ่ เขายังเผยว่า ไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในทะเลจำนวนมหาศาลยังมาจากน้ำทิ้งจากบนบก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำทิ้งจากการซักผ้าตามบ้านเรือน ซึ่งปนเปื้อนเส้นใยไมโครพลาสติกจากเนื้อผ้า โดยจากการศึกษาไมโครพลาสติกในน้ำทิ้งที่ปล่อยลงทะเลในท้องที่ จ.ชลบุรี พบว่ามีไมโครพลาสติกรั่วไหลลงทะเลถึงกว่าล้านล้านชิ้นต่อวัน "ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของอ่าวไทยตอนบนที่เป็นทะเลกึ่งปิด ทำให้เกิดการหมักหมมขยะและมลพิษในทะเลได้ง่าย ดังนั้นอาหารทะเลแทบทุกชนิดจึงมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนไมโครพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์จำพวกหอย" เขากล่าว "ผมไม่ได้อยากทำให้เกิดความตื่นตระหนกว่าหอยไหนห้ามกิน เพียงแต่อยากให้สังคมรับทราบ เพราะทุกคนมีส่วนร่วมทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้น และควรหาทางว่าจะแก้ไขอย่างไรให้ทุกคนยอมรับได้ เช่น กำหนดโซนว่าตรงนี้ห้ามจับห้ามเลี้ยง แต่ทางแก้ที่ดีที่สุดคือการกำจัดตั้งแต่ต้นทาง อย่าให้ไมโครพลาสติกลงทะเล" อย่างไรก็ดี ผศ.ดร.ถนอมศักดิ์ ชี้ว่า พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย แต่การจัดการขยะพลาสติกอย่างไม่เหมาะสมต่างหากที่เป็นปัญหา เขาชี้ว่า แนวทางแก้ปัญหาไมโครพลาสติกที่ดีที่สุดคือต้องจัดการตั้งแต่ต้นทาง โดยกา่รแยกขยะพลาสติกที่รีไซเคิลได้นำกลับไปใช้อีกครั้ง และกำจัดขยะที่เหลืออย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดขยะไหลงทะเล เขายังเสนอให้มีระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่สามารถกรองไมโครพลาสติกได้ ด้าน ณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข ระบุว่า ขยะที่เกยอยู่บริเวณหาดบางแสน มักเป็นขยะที่ถูกพัดมาจากปากแม่น้ำอ่าวไทย ซึ่งก็ไหลมาจากลำคลองเขตชุมชน มีทั้งขยะจากการประมง ขยะการเกษตร และขยะในครัวเรือน บางแสนเป็นเพียงพื้นที่ปลายน้ำที่ได้รับผลกระทบ "แม้เราเป็นเมืองท่องเที่ยวด้วย แต่เราก็มีขยะจากภาคท่องเที่ยวไม่เกิน 30% เพราะขยะส่วนใหญ่มาจากแม่น้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทย ซึ่งก็มาจากประชาชน และโรงงานอุตสาหกรรมพื้นที่เหนือน้ำ เราเป็นพื้นที่ปลายน้ำ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการที่คนทิ้งขยะไม่ถูกที่ เราก็มีหน้าที่ตั้งรับปลายทางได้อย่างเดียว" ณรงค์ชัย กล่าว ทั้งนี้ เขาระบุว่า ปัญหาขยะพลาสติกไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นแค่ในบางแสน เพราะพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่มีใครทราบ และไม่ได้รับการถ่ายทอดมากนัก บางแสนเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองแสนสุขกำลังทำความสะอาดหาดบางแสน //ขอบคุณภาพจาก: ณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม ปัจจุบัน นายกเทศมนตรีฯ ใช้วิธีวางแผนจัดเก็บตามหน้างาน โดยใช้อุปกรณ์ใหม่ เช่น รถกวาดขยะ เป็นต้น เขาระบุว่าปัญหาขยะพลาสติกตามแนวชายฝั่งทะเลในภาคตะวันออกจะต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ ซึ่งก็ไม่ได้มีต้นตอจากท้องถิ่นเท่านั้น หน่วยงานระดับเทศบาลจึงไม่มีอำนาจหน้าที่มากพอ หากต้องเป็นระดับชาติ เขาต้องการให้ภาครัฐส่วนกลาง จัดการเรื่องข้อบังคับกฎหมายให้ชัดเจนเข้มงวดขึ้น ให้ปฏิบัติและบังคับใช้จริงจังมากขึ้น และต้องเป็นหน้าที่ในระดับกระทรวง หรือเป็นนโยบายในระดับประเทศ "ขยะทะเลไม่ได้กระทบแค่สิ่งแวดล้อมชายฝั่ง แต่กระทบสัตว์ด้วย ล่าสุดมีเต่าเกยตื้นเพราะกินพลาสติก กินเชือก ปีที่แล้วเกยตื้น 10 กว่าตัว เพราะกินวัสดุที่นึกว่าเป็นอาหาร กินเชือกเพราะนึกว่าเป็นไส้เดือน เศษปลา หรือโดนอวนรัดจนบาดเจ็ด ผมเลยมองว่าเทศบาลแก้ปัญหาได้แค่การรณรงค์ เพราะเป็นปลายน้ำ และอยากฝากไปสู่ระดับกระทรวง" "ปัญหาขยะพลาสติกที่บางแสน ถ้าภาครัฐไม่ได้คิดจะแก้ ผมคิดว่า ยังไงบางแสนก็จะเป็นอย่างนี้ ต่อให้มีคนที่เก่งกว่าผมเป็นสิบเท่าร้อยเท่าก็แก้ไม่ได้ เพราะต้นตอไม่ได้เกิดจากเรา ขยะมันก็เกิดมาจากที่อื่น ถ้าไม่มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแลควบคุม ปัญหาขยะทะเลในไทยก็จะไม่มีทางหายเลย" นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข กล่าว https://greennews.agency/?p=21427
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
UNODC เผยรายงานใหม่ ชี้การล่าค้าสัตว์พืชหายากยังหนัก ก่อโรคร้าย ปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เปิดเผย ขบวนการลักลอบล่า-ค้าสัตว์ป่าข้ามชาติยังคงเป็นภัยคุกคามใหญ่ต่อความอยู่รอดของสัตว์และพืชหายากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวลิ่น ชิ้นส่วนเสือ และไม้พะยูง ทั้งยังก่อปัญหาความรุนแรง และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคระบาดใหม่ ย้ำทุกประเทศต้องยกระดับกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อร่วมกันปราบปรามเครือข่ายอาชญากรรมค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2563 UNODC เปิดตัวรายงานอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าทั่วโลก (The World Wildlife Crime Report 2020) ซึ่งได้เผยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ? พ.ศ.2562 มีการตรวจยึดซากและชิ้นส่วนสัตว์และพืชหายากราว 6,000 ชนิดพันธุ์ รวมกว่า 180,000 รายการ ที่ถูกลักลอบล่าค้าโดยเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่โยงใยกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอแรดชิ้นส่วนนอแรดที่ถูกตรวจยึดได้ //ภาพจาก: wikimedia UNODC ย้ำว่า ข้อมูลจากรายงานดังกล่าว นอกจากจะชี้ให้เห็นถึงความร้ายแรงของปัญหาการลักลอบล่าค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ที่ส่งผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศ ทั้งทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่งคง และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ยังสร้างความเสี่ยงโรคระบาดอุบัติใหม่ที่เกิดจากการเกิดการกระโดดข้ามของโรคระบาดจากสัตว์ป่าสู่มนุษย์ ดังเช่นการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกในปี้นี้ โดยรายงานฉบับนี้ได้ชี้ว่า การลักลอบค้าตัวลิ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์ต้องสงสัยว่าเป็นพาหะของโคโรนาไวรัส ต้นตอการระบาด COVID-19 ทั่วโลก ได้เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าระหว่างช่วงปี พ.ศ.2554 ? พ.ศ.2561 และขึ้นแท่นเป็นสัตว์ที่ถูกลักลอบล่าค้ามากที่สุดในโลก ดังนั้นการยุติการค้าสัตว์ป่าจึงเป็นก้าวสำคัญในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก "ในขณะที่เครือข่ายอาชญากรรมค้าสัตว์ป่าข้ามชาติกำลังกอบโกยผลกำไรมหาศาลจากการลักลอบล่าค้าสัตว์และพืชหายาก คนยากจนท้องถิ่นต้องทนทุกข์กับผลกระทบจากอาชญากรรมของคนเหล่านี้" Ghada Waly ผู้อำนวยการ UNODC กล่าว "ดังนั้นเพื่อที่จะคุ้มครองผู้คนและโลกใบนี้ภายใต้วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างอนาคตที่เข้มแข็งกว่าเดิมหลังวิกฤต COVID-19 เราจึงไม่อาจมองข้ามปัญหาอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายได้" Waly กล่าวว่า เธอหวังว่ารายงานอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าทั่วโลกฉบับนี้ จะทำให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความจำเป็นในการเร่งยกระดับมาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในการยุติปัญหาการลักลอบล่าค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายข้ามชาติ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) Arnold Kreilhuber ระบุว่า การปราบปรามขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าข้ามชาติมีความสำคัญอย่างยิ่งในการผดุงความสงบเรียบร้อย ปกป้องประชาชน และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะว่าเครือข่ายเหล่านี้มักประกอบอาชญากรรมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตั้งตัวเป็นแก๊งค์ผู้มีอิทธิพล ฟอกเงิน เลี่ยงภาษี และคอรัปชัน Kreilhuber กล่าวว่า ปัญหาหลักในการปราบปรามเครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ คือการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้ามประเทศ เช่น ระหว่างสำนักงานศุลกากร หรือสำนักอัยการของแต่ละประเทศ ในขณะที่ความท้าทายอีกข้อหนึ่งก็คือกฎหมายและระบบตรวจสอบเฝ้าระวังการลักลอบค้าสัตว์ป่าของหลายๆ ประเทศยังคงอ่อนแอเกินกว่าที่จะป้องกันปราบปรามการล่าค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ รายงานของ UNODC เปิดเผยว่า เครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายได้อาศัยโลกออนไลน์เป็นช่องทางในการซื้อขายสัตว์ป่ามากขึ้น อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีเช่น การใช้แอปส่งข้อความเข้ารหัส ทำให้การตรวจสอบการกระทำผิดเป็นไปได้ยากลำบากขึ้น งาช้างงาช้างที่ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดงตรวจยึดได้ //ขอบคุณภาพจาก: ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง รายงานฉบับดังกล่าว ยังได้เปิดเผยสถานการณ์ตลาดการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายล่าสุด โดยระบุว่า แนวโน้มการลักลอบล่าช้างและแรดเพื่อเอางาและนอแรดมีแนวโน้มดีขึ้น จากความต้องการงาช้างแอฟริกาและนอแรดที่ลดลง ทำให้ขณะนี้ตลาดค้างาช้างและนอแรดเถื่อนเล็กลงตามไปด้วย โดยพบว่ารายได้ที่มาจากการค้างาช้างและนอแรดที่ผิดกฏหมายลดลงจาก 2 ปีที่แล้ว กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2559 มีมูลค่า 12,000 ล้านบาท แต่ในปี พ.ศ. 2561 มีมูลค่าลดลงเหลือเพียง 7,200 ล้านบาท ในขณะที่รายงานได้เผยว่า ความต้องการไม้พะยูงที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดขบวนการมอดไม้พะยูงแอฟริกาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เช่นเดียวกับการลักลอบค้าชิ้นส่วนเสือที่พบว่ามีการตรวจจับได้มากขึ้นในช่วงทีผ่านมา อย่างไรก็ตาม หน่วยงานตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานข้างต้นว่า การที่ UNODC รายงานว่า การค้างาช้างและนอแรดเถื่อนมี 'แนวโน้มลดลง' นั้นเป็น 'การด่วนสรุปและก่อให้เกิดความเข้าใจผิด' Mary Rice กรรมการบริหารของ EIA กล่าวว่า ในขณะที่พวกเราดีใจกับก้าวสำคัญในเรื่องของการค้าผิดกฏหมาย แต่พวกเราก็เกิดข้อกังวลว่ารัฐบาลจะอ้างข้อสรุปนี้ในการลดระดับการปกป้องช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ "ด้วยเหตุนี้เราจึงขอส่งเสริมวิธีการป้องกัน ให้เกิดการจัดการกับปัญหาด้านธรรมาภิบาลและการคอรัปชั่นซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้นการลักลอบล่าและค้าช้าง" Rice กล่าว EIA ได้อ้างอิงถึงรายงานจาก Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า อัตราการรุกล้ำช้างในแอฟริกาไม่ได้ลดลง ซ้ำยังสูงขึ้นในแอฟริกาตะวันตก กลาง และใต้ ในขณะที่รายงานของ UNODC ระบุว่า แนวโน้มจำนวนและตลาดของแรดแอฟริกาใต้ลดลง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แอฟริกาใต้เองไม่ได้เปิดเผยประชากรแรดประจำปีใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดสินว่าอัตราการรุกล้ำของแรดประจำปีในประเทศนั้นลดลง ยิ่งไปกว่านั้นในปี พ.ศ.2561 แรดอย่างน้อย 58 ตัวจากประมาณ 502 ตัวที่อาศัยอยู่ในบอตสวานาถูกล่า และหากการรุกล้ำยังคงดำเนินต่อไปในอัตราปัจจุบัน บอตสวานาอาจเสี่ยงต่อการสูญเสียประชากรแรดดำทั้งหมดภายในสิ้นปี เสือเสือโคร่งในฟาร์มเสือมีความเสี่ยงที่จะถูกเลี้ยงเพื่อเอาหนังและชิ้นส่วนไปขายในตลาดมืด //ขอบคุณภาพจาก: EIA นอกจากนี้ Debbie Banks หัวหน้าฝ่ายรณรงค์อาชญากรรมสัตว์ป่าและเสือของ EIA ยังวิพากษ์รายงานของ UNODC ว่า ไม่กล้าที่จะเปิดเผยตัวผู้กระทำ ทั้งยังเปิดช่องให้รัฐบาลอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมต่อสัตว์ป่า เช่น การผสมในที่กักขัง (Captive breeding) ได้ "น่าเสียดายว่าข้อมูลสหประชาชาติในส่วนของ เสือในตระกูลแมวใหญ่ ถูกจำกัด มันจะถูกรายงานว่าเป็นกระดูกเสือเนื่องจากการให้ข้อมูลโดยรัฐบาล แต่ข้อมูลที่รวบรวมโดย NGO ต่าง ๆ พบว่าการค้าหนังเสือในตระกูลแมวใหญ่ นั้นแพร่ขยายมากกว่าที่รายงานระบุไว้" เขากล่าว http://www.saveoursea.net/forums/new...uote=1&p=60168
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|