#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 7 กันยายน 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาว ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 7 - 9 ก.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสูหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.ย. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 7 ? 9 ก.ย. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสมที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565 ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 9 กันยายน 2565)" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 07 กันยายน 2565 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาว ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมกำลังแรงเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 7 กันยายน 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ วันที่ 8-9 กันยายน 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 6-9 กันยายน 2565
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ถอดรหัสพันธุกรรมของแมงกะพรุนอมตะ แมงกะพรุนอมตะ (Immortal jellyfish) เป็นแมงกะพรุนขนาดเล็กที่อยู่ในความสนใจของนักวิจัยตลอดมาเนื่องจากเมื่อมันแก่ชราลง กลับเปลี่ยนคืนตัวเองกลับมาใหม่ได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านชีวเคมีและอณูชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยโอบิเอโด ในสเปน รายงานการถอดรหัสพันธุกรรมของแมงกะพรุนอมตะ ซึ่งหวังว่าความก้าวหน้าในการวิจัยนี้จะเป็นความหวังต่อการรักษาโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความชราของมนุษย์ ทีมวิจัยเผยว่าได้ทำแผนที่ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนมของแมงกะพรุนอมตะ ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Turritopsis dohrnii มาเปรียบเทียบกับแมงกะพรุน Turritopsis rubra ที่ไม่สามารถเปลี่ยนคืนตัวเองกลับมาได้ ทั้งนี้ แมงกะพรุนชนิดอื่นๆ มีความสามารถในการเปลี่ยนงอกตัวเองใหม่ได้เอง แต่ไม่ใช่หลังจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศอย่างที่แมงกะพรุนอมตะทำได้ ซึ่งจะว่าไปแมงกะพรุนอมตะก็คล้ายกับผีเสื้อ แทนที่จะตายไป ผีเสื้อกลับสามารถแปลงร่างกลับเป็นหนอนผีเสื้อ แล้วเปลี่ยนร่างเป็นผีเสื้อที่โตเต็มวัยได้อีกครั้ง ทีมวิจัยระบุว่าหลังจากเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมของแมงกะพรุนทั้ง 2 ชนิด ก็พบว่ารหัสพันธุกรรมที่สำคัญที่เฉพาะเจาะจง ช่วยให้แมงกะพรุนอมตะสามารถเปลี่ยนร่างตัวเองได้ แม้ว่าจะสืบพันธุ์แล้วก็ตาม พวกมันมียีนที่เกี่ยวข้องกับการจำลองและซ่อมแซมดีเอ็นเอและการต่ออายุเซลล์ต้นกำเนิด ซึ่งเซลล์ของมันสามารถพัฒนาเป็นเซลล์ประเภทใดก็ได้ที่จำเป็น อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเผยว่ายังจำเป็นต้องมีการวิจัยเรื่องนี้เพิ่มเติมมากขึ้น. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2490942 ********************************************************************************************************************************************************* หอยมุกภูเก็ต ชนิดใหม่ของโลก ประมงค้นพบที่เกาะดอกไม้ นักวิจัยคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ พบหอยมุกชนิดใหม่ของโลก ที่เกาะดอกไม้ จ.ภูเก็ต อาศัยอยู่ในทะเลที่ความลึกประมาณ 5-10 เมตร กระจายพันธุ์ได้เร็ว ลักษณะคล้ายหอยมุกแกลบ แต่ขนาดเล็กกว่า นำมาเลี้ยงในฟาร์มผลิตมุก จะเกิดลูกหอยกระจายทั่ว ผิวมีความวาวสูง มีประกายเป็นสีรุ้ง เหมาะทำมุกกลมขนาดเล็ก มีคุณภาพดี ลุ้นขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของภูเก็ต ที่คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อ วันที่ 6 ก.ย. ทีมวิจัยคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย น.ส.สุพรรณี สมรูป นิสิตปริญญาโท หลักสูตรสองปริญญา "KU-OUC Dual Degree Program" ภายใต้การดูแลของ ศ.ดร.หลิว ซื่อไค (Liu Shikai) จาก Ocean University of China และ ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เมืองใหม่ ภาควิชาชีววิทยาประมง ดร.อัครศิริ แสงสว่าง ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดร.ณิชนันทน์ แมคมิลแลน ดร.สุพนิดา วินิจฉัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และนายจิตติ อินทรเจริญ จากอินทรฟาร์ม ได้ค้นพบหอยมุกชนิดใหม่ของโลก มีชื่อว่า "หอยมุกภูเก็ต" Pinctada phuketensis sp. nov. จากเกาะดอกไม้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนทุนวิจัยบางส่วนจากรัฐบาลจีน คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และอินทรฟาร์ม ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เมืองใหม่ หนึ่งในทีมผู้วิจัย เปิดเผยว่า การค้นพบหอยมุกชนิดใหม่นี้ มีจุดเริ่มต้นจากโครงการวิจัย "การเพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้และของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมการเลี้ยงหอยมุกสู่การต่อยอดเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพและความงาม" โดย ดร.สุพนิดา วินิจฉัย ร่วมกับอินทรฟาร์ม ได้ทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) เพื่อศึกษาชนิดและพันธุกรรมของหอยมุกบริเวณ จ.ภูเก็ต และได้เก็บตัวอย่างหอยมุกเพิ่มเติมจากอินทรฟาร์มและบริเวณเกาะดอกไม้ จ.ภูเก็ต จากการเปรียบเทียบข้อมูลทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรม พบว่าตัวอย่างหอยมุกที่เก็บได้จากเกาะดอกไม้มีลักษณะที่แตกต่างจากหอยมุกชนิดอื่นๆ จึงรายงานเป็นหอยมุกชนิดใหม่ของโลก ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์กล่าวอีกว่า สำหรับหอยมุกภูเก็ตชนิดใหม่นี้ อาศัยอยู่ในทะเลที่ความลึกประมาณ 5-10 เมตร ลักษณะเปลือกและรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกับหอยมุกแกลบ (Pinctada fucata) แต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีฟันบานพับ (hinge teeth) เปลือกด้านในเรียบและเป็นสีขาวมันวาว การวิเคราะห์ข้อมูลพันธุกรรมจากยีนในนิวเคลียส และไมโทคอนเดรีย (COI) ยืนยันว่าหอยมุกภูเก็ตเป็นหอยมุกชนิดใหม่ ปัจจุบันทางอินทรฟาร์มมีการผลิตมุกเลี้ยงโดยการฝังแกนมุกเข้าไปในอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของหอยมุกชนิดใหม่นี้ ซึ่งมุกที่ได้มีคุณภาพดีและค่อนข้างเป็นที่ต้องการของตลาด และลักษณะหอยสามารถพบในพื้นที่น้ำไม่ลึกมาก กระจายพันธุ์ได้เร็ว เมื่อเก็บจากน้ำลึกมาไว้ในฟาร์มจะเกิดลูกหอยกระจายไปทั่ว ผิวมีความวาวสูง มีประกายเป็นสีรุ้ง ลักษณะฝาแบนกว่า จึงเหมาะในการทำมุกกลมขนาดเล็ก 2-6 มม. ดังนั้นการผลิตมุกจากหอยมุกชนิดใหม่นี้ควรได้รับการพัฒนาทั้งวิธีการผลิตและการปรับปรุงพันธุ์หอยมุกเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้ามุก และผลักดันให้ไปสู่การขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI ของจังหวัดภูเก็ต ในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ การค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง จากทะเลอันดามันเป็นการตอกย้ำถึงความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมทางทะเลของไทยที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการอนุรักษ์คุณค่าและความงดงามของท้องทะเลไทยเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและพื้นที่อย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง https://www.thairath.co.th/news/local/south/2493207
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ตะลึง! เครื่องโซนาร์จับภาพใต้ทะเลคล้าย ?ฉลามยักษ์ล้านปี? สัตว์กินเนื้อใหญ่ที่สุดในโลก ทีมวิจัยฉลามต้องตกตะลึง เมื่อพวกเขาเห็นภาพหน้าจอที่แสดงผลจากการตรวจจับคลื่นเสียงใต้น้ำ เป็นรูปทรงคล้ายฉลามยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อหลายล้านปีก่อน เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2565 ศูนย์วิจัยสายพันธุ์ฉลาม 'The Atlantic Shark Institute' ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐโรดไอแลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่โพสต์บนหน้าเพจเฟซบุ๊กของสถาบัน พร้อมภาพประกอบเป็นภาพหน้าจอที่แสดงผลที่ได้จากเครื่องโซนาร์ ซึ่งจะตรวจจับสภาพใต้ท้องทะเลโดยอาศัยการสะท้อนของคลื่นเสียง โดยภาพดังกล่าวดูคล้ายกับรูปร่างของฉลามยักษ์ 'เมกาโลดอน'? ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เมกาโลดอน เป็นสายพันธุ์ฉลามยักษ์ มีขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวราว 50 ฟุต หรือประมาณ 15.2 เมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 40 ตัน จุดเด่นคือฟันอันแหลมคมที่ความยาวถึงซี่ละ 7 นิ้ว ทำให้มันเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา แต่มันสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 3.6 ล้านปีก่อน ถึงจะรู้อย่างนั้น แต่ภาพที่ได้จากเครื่องโซนาร์ ซึ่งตรวจเจอในบริเวณชายฝั่งของพื้นที่เขตนิวอิงแลนด์ ก็ทำให้ทีมวิจัยอดตกตะลึงไม่ได้ ในเมื่อภาพโครงร่างที่เห็นนั้นคล้ายกับเมกาโลดอนอย่างมาก ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีทั้งครีบและหางครบถ้วน จากการติดตามของเครื่องโซนาร์ ซึ่งกินเวลานานหลายนาทีพบว่า ปลาพิศวงขนาดยักษ์ตัวนี้มุ่งหน้ามายังเรือของทีม ในจังหวะนั้น ทางศูนย์วิจัยได้โพสต์ข้อความแสดงความสงสัยว่า เมกาโลดอนอาจยังไม่ได้สูญพันธุ์ไปจริง ๆ? แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นกลับกลายเป็นเรื่องสุดฮา ขณะเดียวกันก็ทำให้ทีมวิจัยรู้สึกผิดหวังอย่างมาก เพราะเมื่อเครื่องโซนาร์เคลื่อนเข้าไปตรวจดูใกล้ ๆ ก็พบว่ารูปทรงของ 'ปลายักษ์' เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จนในที่สุดก็มองเห็นชัดเจนว่าเป็นเพียงภาพของฝูงปลาแอตแลนติก แมคเคอเรล ฝูงใหญ่มากเท่านั้น ฝูงปลาดังกล่าวว่ายวนอยู่รอบตัวเรือประมาณ 15 นาที แล้วก็จากไป ทางศูนย์วิจัยฯ ได้โพสต์ข้อความแสดงความเสียดายที่มันไม่ใช่เมกาโลดอนตัวจริง แต่ก็ทำเอาหลงเชื่อไปหลายนาทีว่ายังอาจจะมีปลาพันธุ์นี้หลงเหลืออยู่ในโลก อนึ่ง ศูนย์วิจัย The Atlantic Shark Institute มีสำนักงานใหญ่อยู่ในรัฐโรดไอแลนด์ มีหน้าที่สนับสนุนและเป็นแหล่งข้อมูลวิจัยสำหรับนักวิจัยฉลามผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานอยู่ในอาณาเขตน่านน้ำฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก แหล่งข่าว : miamiherald.com https://www.dailynews.co.th/news/1441122/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|