เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง

ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนเพิ่มขึ้นและการระบายอากาศดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 16 - 18 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เว้นแต่บริเวณภาคเหนือยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 15 -16 พ.ค. 66

ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 21 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 15 ? 16 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 21 พ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้น สวนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 16-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สุดระทึก เรือคายัคของชาวประมงฮาวายถูกฉลามพุ่งโจมตี



เกิดเหตุการณ์ระทึกกับชาวประมงในฮาวาย ขณะใช้เรือคายัคออกหาปลาในทะเล โดยมีฉลามตัวใหญ่พุ่งเข้าโจมตีเรือแบบไม่ทันตั้งตัว จนเรือเกือบล่ม

โลกโซเชียลแชร์คลิปภาพเหตุการณ์ระทึก ที่เกิดขึ้นบริเวณนอกชายฝั่งเกาะโออาฮู ของรัฐฮาวาย ในประเทศสหรัฐฯ โดยขณะที่เรือคายัคซึ่งเป็นเรือประมง กำลังล่องเรือออกหาปลากลางทะเล แต่จู่ๆ ฉลามตัวใหญ่ก็มุ่งหน้าตรงเข้าหาเรือ ก่อนจะกระโดดขึ้นมากัดส่วนข้างของลำเรือ เคราะห์ดีที่ชาวประมงไม่ถูกกัด และเรือไม่พลิกคว่ำ มิเช่นนั้นอาจจะเกิดความสูญเสียขึ้นได้ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกไว้ได้โดยกล้องติดตัวชาวประมง ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ระทึกนี้ ชาวประมงบนเรือก็เปิดใจว่า ตามปกติแล้ว ฉลามจะไม่ค่อยโจมตีเรือแบบนี้ แต่คาดว่าเจ้าฉลามน่าจะเข้าใจว่าเรือเป็นแมวน้ำอาหารของมัน เลยพุ่งเข้ามาโจมตีอย่างที่เห็น ดีที่ไม่มีใครได้รับอันตรายแต่อย่างใด.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2694097

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 16-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation TV


เมื่อมหาสมุทรกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



รายงาน UNCTAD ชี้มหาสมุทรกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเผยทั่วโลกกำลังมีการลงทุนกว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อแก้ปัญหามหาสมุทรให้ยั่งยืนภายใต้ 4 แนวคิด

มหาสมุทร คิดเป็นกว่า 70% ของพื้นที่โลก ซึ่งมีคุณูปการแก่มนุษย์ตั้งแต่การบรรเทาสภาพอากาศที่รุนแรงไปจนถึงการสร้างออกซิเจนที่เราหายใจ เป็นแหล่งอาหาร จนถึงเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินที่เราสร้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นกลับคุกคามระบบนิเวศชายฝั่งและทะเลผ่านการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในมหาสมุทรและการละลายของน้ำแข็ง แต่เนื่องจากความจุอ่างกักเก็บคาร์บอนอย่างมหาสมุทรกว้างใหญ่เกินไป เราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของมหาสมุทรอย่างช้าๆ ซึ่งหากวัดค่าแค่รายวันหรือรายเดือนคงแยกไม่ออก

ปัจจุบันมหาสมุทรกำลังเผชิญกับวิกฤต ระบบนิเวศมหาสมุทรและทะเลที่อุดมสมบูรณ์กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการประมงเกินขนาด มลพิษพลาสติก การปนเปื้อนของสารพิษ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยคุกคามเหล่านี้ส่งผลให้ระบบนิเวศทางทะเลเสื่อมโทรม และเร่งให้สัตว์น้ำจำนวนมากต้องสูญพันธุ์หรือตกอยู่ในความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ อุตสาหกรรมการประมงต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องมหาสมุทรและทะเลของเรา

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ได้เผยแพร่รายงาน Trade and Environment Review 2023 วิเคราะห์เศรษฐกิจมหาสมุทร (ocean economy) ของโลก ซึ่งมีมูลค่าระหว่าง 3,000?6,000 ล้านดอลลาร์ และประเมินว่ากิจกรรมของมนุษย์และวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคส่วนต่างๆ เช่น การประมง อาหารทะเล การขนส่งและการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ง รายงานฉบับนี้ ได้นำเสนอในการประชุม UN Trade Forum ครั้งที่ 3 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 ? 9 พฤษภาคม 2566 เรียกร้องให้มีการค้าและการลงทุนระดับโลก "Blue Deal" เพื่อใช้มหาสมุทรอย่างยั่งยืน ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตอีกกว่าร้อยละ 80 ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร

ในรายงานเน้นย้ำถึงภาคส่วนที่มีผลต่อความยั่งยืน 2 ภาคส่วน ได้แก่ การทำฟาร์มสาหร่ายทะเล (seaweed farm) และวัสดุทางเลือกทดแทนพลาสติก (plastic substitutes) ซึ่งตลาดสาหร่ายทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าใน 2 ทศวรรษ โดยเพิ่มขึ้นจาก 4,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2543 เป็น 16,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 ซึ่งนับว่ามีการขยายตัวทางการตลาดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสาหร่ายทะเล เป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำจืดหรือปุ๋ยในการเจริญเติบโต

ทั้งนี้ รายงานของ UNCTAD พยายามชี้ให้เห็นว่า สาหร่ายทะเลสามารถนำไปปลูกได้ในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเป็นอาหาร เครื่องสำอาง และเชื้อเพลิงชีวภาพ และเป็นวัสดุทางเลือกทดแทนพลาสติก ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากพบว่าในแต่ละปีมีขยะพลาสติกไม่น้อยกว่า 11 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่มหาสมุทร จากรายงานพยายามสะท้อนให้เห็นว่ามีวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์พลาสติก อาทิ วัสดุเหลือใช้จากไม้ไผ่ กาบมะพร้าว ต้นกล้วย และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นต้น

การลงทุนเกิดใหม่ในภาคเศรษฐกิจมหาสมุทรสามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการกระจายการส่งออกสินค้าทางทะเล ซึ่งมูลค่าการส่งออกทั่วโลกของสินค้าทางทะเล เช่น อาหารทะเล เรือและอุปกรณ์ท่าเรือ และบริการต่างๆ รวมถึงการขนส่งทางเรือและการท่องเที่ยวชายฝั่ง มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2563 ซึ่งจากวิกฤตโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและการตั้งรับปรับตัวของบางภาคส่วน และความเปราะบางของภาคส่วนต่าง ๆ รายงานระบุว่ารัฐบาลควรตั้งเป้าหมายในการส่งเสริมเศรษฐกิจทางทะเลที่หลากหลายและยั่งยืนไว้ในกลยุทธ์การกู้คืนความเสียหายจากวิกฤต และการลดปัญหาและความพยายามในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ดี รายงานสะท้อนให้เห็นว่า ทรัพยากรทางทะเลกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลภาวะ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity loss) ซึ่งจากการประเมิน พบว่า ปัจจุบันมีการลงทุนมูลค่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับแก้ปัญหามหาสมุทรให้ยั่งยืน ทั้งสิ้น 4 วิธี ได้แก่

1. การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
2. การลดคาร์บอนของการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
3. การผลิตอาหารที่ได้จากทะเลอย่างยั่งยืน
4. การผลิตพลังงานจากกังหันลมนอกชายฝั่ง

ซึ่งคาดว่าหากแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จะให้ผลประโยชน์สูงสุดถึง 15.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2593 และหากไม่มีข้อตกลง "Global Blue Deal" คาดว่าผลประโยชน์ดังกล่าวและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG14 ทรัพยากรทางทะเล จะดำเนินการเป็นไปได้ยากขึ้น ซึ่งเวลานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะกำหนดแนวทางใหม่และเพิ่มการลงทุนที่มากขึ้น เพื่อสร้างเศรษฐกิจมหาสมุทรที่ยั่งยืน


https://www.nationtv.tv/gogreen/378915815

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:00


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger