เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปการประชุม "ความร่วมมือเพื่อพาอ่าวไทยผ่านวิกฤติน้ำท่วม"


ความร่วมมือเพื่อพาอ่าวไทยผ่านวิกฤติน้ำท่วม


เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2554 ที่ห้องประชุมของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (1) สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย (2) มูลนิธิดร.สุรพล สุดารา และ (3) สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ได้รวมกันจัดประชุมระดมสมองเพื่อประเมินสถานการณ์อ่าวไทยอันเนื่องจากวิกฤติน้ำท่วม และแนวทางการจัดการเพื่อเผชิญกับภาวะดังกล่าว โดยมีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมสาขาต่างๆ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมประมาณ 25 คน



สถานการณ์ทะเลอ่าวไทย

ผู้เข้าร่วมประชุมได้รายงานถึงการสำรวจ และศึกษาวิจัยสถานภาพของทรัพยากร และลักษณะทางชีวภาพ เคมี และฟิสิกส์ของอ่าวไทยและชายฝั่ง ว่ามีการดำเนินการโดยครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทย และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังมีสถานีสำรวจถาวรอยู่โดยรอบชายฝั่งอ่าวไทย ทั้งนี้ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงช่วงกลางเดือนตุลาคม การศึกษาสำรวจพบลักษณะที่สำคัญคือ

• ในหลายพื้นที่ของอ่าวไทยตอนในน้ำทะเลมีค่าความเค็มต่ำ (น้ำจืดมาก) ซึ่งเป็นภาวะที่พบเห็นเป็นปกติในบริเวณใกล้ปากแม่น้ำทั้งสี่สายในช่วงกลางถึงท้ายฤดูฝนของทุกปี

• น้ำทะเลในหลายพื้นที่มีค่า DO ต่ำมาก (DO = Dissolved Oxygen คือค่าออกซิเจนละลาย) ที่มีค่าต่ำเนื่องจากน้ำจืดที่ไหลออกสู่ทะเลมีสารอาหารปริมาณสูง เป็นภาวะที่เอื้อให้แพลงก์ตอนขยายปริมาณเร็ว จึงมีการใช้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำมากตามไปด้วย ทั้งนี้การลดลงของ DO ในปีปัจจุบันซึ่งมีปัญหาน้ำท่วม มีสภาวะน่าเป็นห่วงกว่าในปีปกติ

• หอยในธรรมชาติ และหอยที่มีการเพาะเลี้ยงในบริเวณปากอ่าวมีการตายลงอย่างมากส่วนหลักล่อหอยใหม่ก็ไม่พบว่ามีลูกหอยลงเกาะ

• ปลาทะเลหลายชนิดทั้งจากการเพาะเลี้ยงและธรรมชาติมีการตายลงเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้การสำรวจในช่วงในช่วงเดือนกันยายน และตุลาคม พบว่าน้ำจืด และน้ำที่มี DO ต่ำแพร่ไปถึงบริเวณเกาะสีชัง ส่วนการสำรวจในช่วงเดือนปลายตุลาคม และต้นพฤศจิกายน บริเวณชายฝั่งชลบุรีมีระดับความเค็มและ DO เข้าสู่ภาวะปกติ โดยน้ำจืด และน้ำที่มี DO ต่ำจะแพร่ไปในทิศตะวันตกมากกว่า (บริเวณ จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม จ.เพชรบุรี) เนื่องจากหลังช่วงปลายตุลาคม จะเริ่มเข้าสู่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมวลน้ำในอ่าวไทยจะมีการไหลสุทธิในทิศทวนเข็มนาฬิกา

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ภาพที่ 1 การไหลเวียนของน้ำในอ่าวไทยจากอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
(ที่มา: www.mkh.in.th)


การคาดการณ์สถานการณ์ในช่วงต่อไป

สืบเนื่องจากปริมาณน้ำจากแม่น้ำที่จะไหลลงสู่ทะเลจะยังมีปริมาณสูงมากกว่าปีปกติ และจะยังคงสูงต่อเนื่องไปอีกนานเป็นเดือน และมีคุณภาพต่ำ นักวิชาการที่เข้าร่วมประชุมคาดการณ์สถานการณ์ช่วงต่อไปในเบื้องต้นดังนี้

• สัตว์ทะเลที่เคลื่อนที่ไม่ได้อาทิเช่น หอยทั้งในธรรมชาติและที่มีการเพาะเลี้ยงจะมีปริมาณลดลง โดยเฉพาะหอยแมลงภู่ ซึ่งมีช่วงของการลงเกาะของตัวอ่อนในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม นอกจากนั้นยังจะมีผลต่อหอยชนิดอื่นๆ เช่นหอยแครง หอยหลอด เป็นต้น

• ผลกระทบต่อประมงชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบน เนื่องจากสัตว์ทะเลที่เคลื่อนที่ได้จะถอยร่นห่างฝั่งออกไปไกลมาก ส่งผลกระทบต่อชาวประมงทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น หรืออาจทำให้ไม่สามารถออกไปถึงแหล่งประมงหากเป็นเรือขนาดเล็ก

• การบริโภคสัตว์ทะเลยังมีความปลอดภัย เนื่องจากในสภาพปัจจุบัน ยังไม่พบปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายในการบริโภคสัตว์น้ำที่จับได้ในลักษณะปกติ

• ปะการังจะได้รับผลกระทบจากน้ำจืดในระดับมาก อย่างไรก็ดีเนื่องจากมวลน้ำในอ่าวไทยตอนบนในช่วงต่อจากนี้จะมีทิศไปทางตะวันตก (ภาพที่ 1) ดังนั้นแนวปะการังทางด้านอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (แนวแรกบริเวณเกาะสีชัง)จะไม่ได้รับผลกระทบมากกว่าที่เป็นอยู่ และเป็นที่คาดการณ์ว่ามวลน้ำจืดจะไปถึงแนวปะการังกลุ่มแรกทางด้านอ่าวไทยฝั่งตะวันตก (บ้านกรูด) น้อยมาก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลปริมาณน้ำท่วมขังที่จะไหลลงสู่ทะเลจากหน่วยงานต่างๆ มีค่าไม่ชัดเจน ทำให้การประมาณระดับของสถานการณ์ไม่แน่นอนตามไปด้วย นอกจากนั้นในช่วงต่อไปน้ำจะเริ่มเป็นน้ำที่สูบออกจากพื้นที่ท่วมขัง ซึ่งมีค่า BOD สูง และอาจปนเปื้อนสารอินทรีย์ โลหะหนักที่มีภาวะเป็นพิษ ที่ประชุมได้เสนอแนะให้มีการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังสภาพน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งให้ใกล้ชิด เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนสำหรับการแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบอย่างเหมาะสม

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 18-11-2011 เมื่อ 13:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default



การดำเนินการต่อไป

• กรมทรัพยาการทางทะเลและชายฝั่ง รับผิดชอบในการติดตามตรวจวัดคุณภาพน้ำทะเลครอบคลุมพื้นที่อ่าวไทยตอนบน การเก็บตัวอย่าง โดยมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าร่วมในการสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูล

• เครือข่ายอนุรักษ์ของชุมชนชายฝั่ง (เครือข่ายรักษ์อ่าวไทย) ร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการสำรวจคุณภาพน้ำ และสิ่งมีชีวิตในทะเลในบริเวณใกล้ฝั่ง อย่างต่อเนื่อง

• ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จะรับผิดชอบในการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และข้อมูลจากดาวเทียมทำการประเมินการเคลื่อนที่ของมวลน้ำจืดจากแม่น้ำทั้งสี่สาย

• สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบในการออกตรวจติดตามวัดคุณภาพน้ำในบริเวณอ่าวไทยตอนบนเบื้องต้น ประมวล วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลที่เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ

• มูลนิธิดร.สุรพล สุดารา และสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย รับผิดชอบในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานยิ่งขึ้น



การประสานงาน และการติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม

รองศาสตราจารย์ ดร. อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 9 อาคารสถาบัน 3 ปทุมวัน กรุงเทพฯ
โทร. 02-218-8177 โทรสาร 02-254-4259
e-mail: ajcharaporn.p@chula.ac.th
Web site: www.arri.chula.ac.th
: www.mkh.in.th


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 18-11-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


ภาพและข้อมูลเพิ่มเติมจากอาจารย์บอย ค่ะ...

http://www.facebook.com/photo.php?fb...type=1&theater




ภาพจากดาวเทียม Theos วันที่ 16 พ.ย. 54


เป็นครั้งแรกที่มวลน้ำจากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำบางปะกง ปรากฎเด่นชัดว่า กำลังมีน้ำจืดจากแผ่นดิน ไหลออกมาเป็นจำนวนมาก หลังจากช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีน้ำจืดไหลออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานแล้ว แต่เป็นมวลน้ำประเภทแรกเป็นส่วนใหญ่ แต่มวลน้ำที่กำลังออกมาช่วงนี้ สะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของมวลน้ำที่ผ่านชุมชนต่างๆ ลงแม่น้ำทั้งสองสาย เป็นมวลน้ำอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผมบรรยายไว้ในหน้ารวมของอัลบัมนี้


ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยา ปรากฏเด่นชัดมานานแล้ว เพราะเป็นเส้นทางสายหลักในการระบายน้ำลงทะเล


สำหรับมาตรการเร่งด่วน ที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการประมง ต้องดำเนินการต่อ เมื่อคืนนี้ ช่วยกันคิดกับ ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คือ


1. การวางแผนและดำเนินการติดตาม เก็บข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล ประมวลวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทย (กำหนดจุดเก็บตัวอย่าง ประเภทตัวอย่าง พารามิเตอร์ ความถี่ ฯลฯ)
หน่วยงานหลัก : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมประมง และกรมควบคุมมลพิษ


หน่วยงานสนับสนุน : สมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย ประสานงานเครือข่ายสถาบันต่างๆ ที่มีการศึกษาวิจัยทางทะเลและชายฝั่ง เช่น สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยมหิดล SEA START เป็นต้น


2. การเสนอมาตรการลดกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศและทรัพยากรชายฝั่ง ชุมชนประมงชายฝั่ง ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


3. การเสนอมาตรการและแนวทางเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ ทรัพยากร และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง


4. การสรุปบทเรียน จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในระยะยาว
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 18-11-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



ภาพและเรื่องราวเพิ่มเติม จากอาจารย์บอย หาอ่านได้ที่...



http://www.facebook.com/media/set/?s...8994198&type=3
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 19-11-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



ชาวประมงชายฝั่ง และนักวิชาการ เขาพูดถึงน้ำเน่าไหลลงทะเลกันว่าอย่างไร ศึกษาได้จากที่นี่ค่ะ

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 19-11-2011 เมื่อ 11:51
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:23


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger