เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 17-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 17-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


หายาก ชาวประมงไต้หวันจับฉลามปีศาจ ปลาโบราณจากยุคก่อนประวัติศาสตร์


ภาพจาก Taiwan Ocean Artistic Museum

ชาวประมงไต้หวันจับได้ปลาตัวใหญ่ หน้าตาสุดแปลกไม่เคยพบเห็นมาก่อน นักวิทยาศาสตร์บอกว่า เป็นปลาฉลามปีศาจ ที่ปกติแล้วอยู่ใต้น้ำลึก เป็นปลาสายพันธุ์โบราณตั้งแต่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ข้างในท้องยังมีลูกปลาอยู่ 6 ตัว

เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 เว็บไซต์ข่าวไต้หวัน นิวส์ รายงานว่า ชาวประมงในไต้หวันจับได้ปลาตัวใหญ่ มีลักษณะลำตัวยาว วัดได้ 4.7 เมตร น้ำหนัก 800 กิโลกรัม โดยบอกว่า อวนของเรือประมงจับปลาตัวนี้ขึ้นมาได้จากบริเวณนอกชายฝั่งของท่าเรือหนานฟาง ในเมืองอี้หลาน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา เขาบอกว่า มีอาชีพหาปลามานานหลายปี แต่ไม่เคยเห็นปลาหน้าตาสุดแปลกแบบนี้มาก่อน จึงได้สอบถามไปทางผู้เชี่ยวชาญว่ามันคือปลาอะไรกันแน่

โดยนักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะทางทะเลของไต้หวัน ได้เข้าไปตรวจสอบซากปลา แล้วบอกว่า นี่คือ "ฉลามก็อบลิน" (Goblin Shark) หรือที่เรียกกันว่าฉลามปีศาจ ที่เป็นสายพันธุ์เดียวกับปลาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อกว่า 125 ล้านปีก่อน ตามธรรมชาติของมันจะอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก และนี่เป็นฉลามปีศาจตัวใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจับได้ในไต้หวัน นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือ เมื่อผ่าท้องมันดูพบว่ามีลูกปลาอยู่ในนั้น 6 ตัว

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ตอนแรกชาวประมงบอกว่าจะขายปลาตัวนี้ให้กับร้านอาหาร แต่ล่าสุดก็ตัดสินใจยอมขายให้กับทางพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาอนุรักษ์สัตว์ทะเลต่อไป ซึ่งทางนักวิทยาศาสตร์จะทำการผ่าซากเพื่อศึกษาเพิ่มเติมและจะนำออกแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้ชม

ทั้งนี้ ที่ผ่านมานักอนุรักษ์ทางทะเลได้รณรงค์อย่างหนักเรื่องการทำประมงแบบลากอวนติดก้นทะเล ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศใต้ทะเล และเป็นการทำลายที่อยู่ของปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2702309
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 17-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ไขปริศนาเส้นทางการค้าในอดีตของจีน จากวัตถุโบราณในซากเรืออายุกว่า 700 ปี



งานเก็บกู้วัตถุโบราณนี้ใช้เรือดำน้ำแบบมีคนขับ ที่ชื่อ "นักรบแห่งทะเลลึก" (Deep Sea Warrior) วัตถุโบราณที่นำขึ้นมาแล้ว จะถูกทำความสะอาดและตรวจสอบต่อไป

นักโบราณคดีเก็บกู้วัตถุโบราณกว่า 100 ชิ้นจากซากเรือ 2 ลําที่พบในทะเลจีนใต้เมื่อปีที่ผ่านมา คาดว่าซากเรือโบราณอาจเป็นเรือในยุคกลางราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1644)? และน่าจะมีวัตถุโบราณนับ 100,000 ชิ้น ที่จมอยู่ในระดับความลึกประมาณ 1,500 เมตร?

ศูนย์วิจัยทางโบราณคดีของ NCHA ระบุว่า มีการเก็บกู้วัตถุโบราณกว่า 70 ชิ้นขึ้นมาจากซากเรือหมายเลข 1 และกว่า 20 ชิ้นจากซากเรือหมายเลข 2 วัตถุโบราณที่พบมีทั้งจาน ชาม และเครื่องเคลือบลายครามสีสันสวยงาม

งานเก็บกู้วัตถุโบราณนี้ใช้เรือดำน้ำแบบมีคนขับ ที่ชื่อ "นักรบแห่งทะเลลึก" (Deep Sea Warrior)? วัตถุโบราณที่นำขึ้นมาแล้ว จะถูกทำความสะอาดและตรวจสอบต่อไป? นักโบราณคดีหวังว่า การค้นพบทางโบราณคดีใต้น้ำนี้จะเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการค้าเซรามิก เส้นทางสายไหมทางทะเล และการค้ากับต่างประเทศในอดีต.


https://www.dailynews.co.th/news/2444591/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 17-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


โครงการนำร่อง Rigs-to-Reefs ครั้งแรกของเมืองไทย "พลิกบทบาทขาแท่นปิโตรเลียม" สู่บ้านปลาหลังใหม่ใต้ทะเล



หากผืนป่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางของระบบนิเวศบนผืนดิน ปะการังก็เรียกได้ว่าเป็นระบบนิเวศที่มีค่าที่สุดในผืนน้ำเสมือน "ผืนป่าแห่งท้องทะเล" โดยแม้จะครอบคลุมเพียง 0.1% ของพื้นมหาสมุทร แต่กลับเป็นบ้านของสัตว์ทะเลราวหนึ่งในสี่ และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง

อย่างไรก็ตาม ผลจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทำให้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวซึ่งนำไปสู่วิกฤตการณ์เงียบใต้ทะเลขึ้น เมื่อบ้านปลาในธรรมชาติลดน้อยลงไปได้สร้างผลกระทบเป็นห่วงโซ่ โดยประชากรกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกต่างอาศัยแนวปะการังเป็นแหล่งอาหารและรายได้หลัก ทั้งหล่อเลี้ยงชาวประมงจากรุ่นสู่รุ่นและการท่องเที่ยว

แนวคิดการสร้างแหล่งปะการังเทียมเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรใต้ท้องทะเลจึงได้ริเริ่มขึ้น โดยประเทศไทยได้เริ่มศึกษาพัฒนาแหล่งปะการังเทียมมากกว่า 20 ปีจากวัสดุที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนวัตกรรม "สร้างบ้านปลา" ที่โดดเด่น และเห็นผลสำเร็จอย่างเป็นที่ประจักษ์คือ โครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมเพื่อการจัดวางเป็นปะการังเทียม (Rigs-to-Reefs) บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งแรกของประเทศไทย


เปิดผลสำเร็จ 2 ปี เส้นทางขาแท่นหลุมปิโตรเลียม สู่ชีวิตใหม่ใต้ท้องทะเล

แม้การนำขาแท่นหลุมปิโตรเลียมมาจัดวางเป็นปะการังเทียมจะไม่ใช่เรื่องใหม่และเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นมาแล้วกว่า 40 ปี รวมถึงประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนอกชายฝั่งฟลอริด้า อ่าวเม็กซิโก บรูไน และมาเลเซีย แต่โครงการดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้นำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาพัฒนาและปฏิบัติจริง ผ่านความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัทพลังงานชั้นนำของโลก ได้บุกเบิกแนวคิดของโครงการฯ และร่วมมือกับสถาบันปิโตรเลียมและผู้ประกอบการปิโตรเลียมรายอื่นๆ ในอ่าวไทย ผ่านการนำโครงสร้างเหล็กจำลองวัสดุเดียวกับขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปวางไว้ในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำของเกาะพะงัน เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการศึกษาทดลองอย่างจริงจังร่วมกัน โดยได้ผลประจักษ์ของประชากรปลาและสิ่งมีชีวิตเกาะติดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินงานจริง

ทั้ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมเจ้าท่า กรมประมง กองทัพเรือ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จึงเกิดเป็นโครงการ นำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (โครงการนำร่องฯ) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลโครงการฯ ร่วมกับ เชฟรอน ผู้ส่งมอบขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วจำนวน 7 ขาแท่น ให้แก่ ทช. ในปี 2563 เพื่อนำไปจัดวางเป็นปะการังเทียม รวมทั้งให้การสนับสนุนในการจัดวางและงบประมาณการดำเนินโครงการฯ พร้อมด้วยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาทางวิชาการให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาการของทั้งในและต่างประเทศ จนนำมาสู่ผลสำเร็จจากการจัดวางขาแท่นปิโตรเลียมตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี ในวันนี้

"จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดจากคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากขาแท่นผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนการนำไปจัดการบนฝั่ง? นายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เล่าถึงที่มาของโครงการนำร่องฯ ว่า ?อ่าวไทยเปรียบเสมือนบ้านของเรา โดยตลอดกว่า 60 ปีของการดำเนินธุรกิจของเชฟรอนในประเทศไทย เราให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และได้วัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลมาตลอด เราสังเกตถึงความอุดมสมบูรณ์และการเติบโตของประชากรปลาในบริเวณ แท่นผลิตปิโตรเลียม โดยมีปลาหลากหลายชนิด รวมถึงฉลามวาฬเข้ามาแวะเวียนเสมอ โดยนอกจากบทบาทขณะที่อยู่กลางอ่าวไทยในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศแล้ว ขาแท่นหลุมปิโตรเลียมยังมีอีกหนึ่งบทบาทแฝงซึ่งทำหน้าที่เสมือนปะการังเทียมอยู่ตลอด จึงเกิดแนวคิดต่อยอดการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรทางทะเลรวมถึงประชากรปลาผ่านการพลิกบทบาทจากปลายทางของขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วสู่บ้านปลาแห่งใหม่ โดยแม้จะเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย แต่ในฐานะบริษัทพลังงานที่มีกิจการทั่วโลก เราจึงสามารถนำโครงการ Rigs-to-Reefs ที่เชฟรอนเคยทำจากต่างประเทศมาปรับใช้สำหรับโครงการนี้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้การต่อยอดโครงการในประเทศไทย"

จากทฤษฎีหลักการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อมีสิ่งของที่ใหญ่พอสมควรและอยู่นิ่งลงไปวาง แนวโน้มคือมีสิ่งมีชีวิตมาเกาะติด พร้อมสัตว์ทะเลเข้ามาอาศัยอยู่ โดยขาแท่นหลุ่มปิโตรเลียมที่นำไปจัดวางเป็นปะการังเทียมนั้นอยู่กับทะเลมายาวนานกว่า 30 ปี และเรียกได้ว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของท้องทะเลไปเสียแล้ว โดยจากลักษณะที่ซับซ้อน และวัสดุที่ทำจากเหล็กกล้าและมีพื้นที่ผิวแข็ง ทำให้มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเป็นที่อยู่อาศัยและที่หลบภัยของสัตว์ทะเลเป็นอย่างดี โดยมีการวางแผนงานและนำกระบวนการจัดการให้เป็นไปตามมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในโครงการ ซึ่งส่วนของขาแท่นดังกล่าวไม่เคยสัมผัสกับปิโตรเลียมมาก่อน และเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


ฟื้นฟูอ่าวโฉลกหลำกับความหวังใหม่ของธรรมชาติและชุมชน

โครงการดังกล่าวได้จุดประกายความหวังให้แก่ทุกชีวิตในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำ ด้วยความคาดหวังที่จะเห็นความ อุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติเพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนในชุมชนและเป็นบ้านใหม่ให้สัตว์ทะเลนานาชนิด โดยหลังจากจัดวางแท่นปะการังเทียมเป็นระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนตุลาคม 2565 เรียกได้ว่าความคาดหวังดังกล่าวเริ่มกลายเป็นความจริง โดยอ่าวโฉลกหลำบริเวณทางเหนือของเกาะพะงัน ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของโครงการนำร่อง เนื่องจากมีกายภาพที่เหมาะสม ทั้งความอุดมสมบูรณ์สำหรับสัตว์ทะเล ไปจนถึงเส้นทางที่เหมาะสมต่อการขนย้าย และสามารถเอื้อประโยชน์ต่อชุมชนในพื้นที่

รศ.ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ถึงความสำเร็จของโครงการฯ ว่า "จากการศึกษาติดตามอย่างใกล้ชิดพบว่าผลสำเร็จของโครงการฯ ออกมาในเชิงบวกทั้งมิติของธรรมชาติ และมิติของมนุษย์ โดยเราพบว่าคุณภาพน้ำทะเลและคุณภาพตะกอนพื้นท้องทะเลในบริเวณกองปะการังเทียมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม และพบแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลหลากหลายชนิด ส่งผลให้ความหลากหลายของปลาเพิ่มขึ้นจาก 15 ชนิด เป็น 36 ชนิด ซึ่งแม้ความหนาแน่นของประชากรปลาในบริเวณกองปะการังเทียมจะยังไม่เทียบเท่าแนวปะการังธรรมชาติ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือมวลชีวภาพของปลาในด้านขนาดและน้ำหนักจะมีมากกว่า โดยปลาที่สำรวจพบส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาหางแข็ง ปลากล้วย ปลาข้างเหลือง และยังพบปลาที่เคยหายไปจากพื้นที่ได้กลับเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ปะการังเทียม นอกจากนี้เรายังพบการปกคลุมของสิ่งมีชีวิตเกาะติด โดยมีปะการังดำเป็นกลุ่มเด่นอีกด้วย แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจะกลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าแนวปะการังธรรมชาติ รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชาวประมงในพื้นที่ในอนาคต"

ทางด้านชาวบ้านในชุมชน ต่างมีเสียงตอบรับในเชิงบวก เนื่องจากโครงการดังกล่าวเปรียบเสมือนความหวังในการ หล่อเลี้ยงอาชีพของคนในชุมชนทั้งในด้านการประมงและการท่องเที่ยวในอนาคต โดยนายพี พัฒนศิริ หรือพี่จาว เจ้าของร้าน Sunset Walk ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่เกาะพะงันกล่าวว่า ?การมีบ้านปลาเพิ่มมากขึ้นถือเป็นความฝันของชาวเกาะมาตั้งแต่ได้ยินโครงการนี้ครั้งแรก เมื่อก่อนที่บริเวณอ่าวเราก็ใช้วิธีสร้างปะการังเทียมเช่นเดียวกันแต่เป็นแท่งปูนบ้าง แท่งสี่เหลี่ยมบ้าง แต่พอเป็นโครงการ Rigs-to-Reefs นั้น ต่างจากบ้านปลาหลังเล็กๆ ที่เราเคยเอาไปวางกันเอง เพราะการเอาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม 7 แท่นไปวางเรียกได้ว่ากลายเป็นอาณาจักรปลาได้เลย ซึ่งแน่นอนว่าปลาหลายชนิดจะต้องแวะไปที่นั่นตั้งแต่นักล่าไปจนถึงผู้อยู่อาศัยและปลาสวยงาม แล้วก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ครั้งแรกที่ได้มีโอกาสไปเห็นก็คิดว่าเป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่มากและก็เป็นเรื่องที่ส่งผลประโยชน์ให้ชุมชนได้ ซึ่งตอนนี้ก็เหลือแต่การจัดสรรการใช้ประโยชน์ให้เกิดผลสูงสุดทั้งกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม?

"เราเห็นความแตกต่างระหว่างก่อนมีแท่นกับหลังทำโครงการฯ ซึ่งจากอาชีพหลักของเราที่เป็นชาวประมงอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้เราไม่ต้องออกไปจับปลาไกลเกินไป และมีกลุ่มปลาเศรษฐกิจอยู่เยอะขึ้น ซึ่งปลาบางชนิดที่แต่ก่อนไม่เคยมีมาก็เริ่มมีเข้ามามากขึ้น" นายคำนึง สิงหนาท หรือพี่ยุ่ง ชาวประมงในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำกล่าวเสริม


ถอดบทเรียน Rigs to Reefs แห่งแรกในไทย สู่องค์ความรู้ใหม่ของประเทศ

นอกจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวแล้ว แต่การรับฟังเสียงของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ถือเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินการในทุกย่างก้าว โดยนายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวถึงการกำกับดูแลของภาครัฐว่า "เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์และสำรวจโครงการฯ อย่างแม่นยำสำหรับการนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในอนาคต ทำให้เราจำเป็นต้องออกมาตรการให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่คุ้มครองก่อนในช่วง 1-2 ปีแรก หลังจากนั้นเรามีแผนที่จะเปิดให้พื้นที่ส่วนนี้สามารถทำประมงโดยใช้เครื่องมือที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น คันเบ็ด รวมถึงเปิดให้เป็นจุดดำน้ำสำคัญแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งเรามองว่ามีความสวยงามทัดเทียมกับจุดดำน้ำที่เกิดจากธรรมชาติ โดยหากผลสำรวจและเก็บข้อมูล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการรับรองจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้ว่าเป็นที่น่าพอใจ และให้ประโยชน์มากกว่าให้โทษ ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็จะตั้งเป้าแผนงานในการต่อยอดในพื้นที่อื่นต่อไป"

จากจุดเริ่มต้นของโครงการนำร่อง Rigs-to-Reefs ที่ได้ศึกษาแนวทางตลอดกว่าทศวรรษจากความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในพื้นที่ ทำให้วันนี้เราได้เห็นความสำเร็จแรกในประเทศไทยในการพลิกบทบาทขาแท่นหลุม ผลิตปิโตรเลียมสู่บ้านปลาหลังใหม่ใต้ท้องทะเล โดยมากกว่าผลสำเร็จของโครงการ คือ "ความหวังใหม่" ของประเทศไทยในการคืนชีวิตให้ผืนป่าแห่งท้องทะเลสีครามอีกครั้ง ดังเช่นที่ได้รับขนานนามว่าเป็นทะเลมรดกของโลก โดยโครงการดังกล่าว ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการอนุรักษ์ผืนน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของทุกชีวิตผ่านนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตของโลกนี้ให้สวยงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9660000054954

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 17-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


ซีมีโอสปาฟา-กรมศิลป์-ยูเนสโก อบรมอนุรักษ์ด้านโบราณคดีใต้น้ำในเซาท์อีสเอเชีย



ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภายใต้องค์การรัฐมนตรี ศึกษาธิการแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอสปาฟา) กรมศิลปากร ยูเนสโก และศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดีใต้น้ำ ณ เมืองซาดาร์ (ICUA) ประกาศความร่วมมือจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรใหม่ เน้นสร้างความแข็งแกร่ง ด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การฝึกอบรมครั้งนี้มีระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในหัวข้อ ?South-East Asian Sub-regional Introductory Course on Conservation and Restoration of Underwater Archaeological Finds? หลักสูตรเบื้องต้นด้านการอนุรักษ์และบูรณะโบราณวัตถุใต้น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันที่ 19-29 มิถุนายน ที่กรุงเทพฯ จ.ปทุมธานี และ จ.จันทบุรี นับเป็นการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ และบูรณะโบราณวัตถุครั้งแรกในภูมิภาค ที่ครอบคลุมวัสดุหลากหลายประเภทซึ่งมักพบในแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ

นายเขมชาติ เทพไชย ผู้อำนวยการศูนย์ซีมีโอสปาฟา กล่าวว่า การฝึกอบรมครั้งนี้ ซีมีโอสปาฟา กรมศิลปากร และยูเนสโก จะพัฒนาการอนุรักษ์และบูรณะ มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยบูรณาการความรู้ความชำนาญ และทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน รวมทั้ง ได้รับความอนุเคราะห์ ด้านองค์ความรู้ และทรัพยากรจำเป็นอื่นๆ จากศูนย์นานาชาติว่าด้วยโบราณคดีใต้น้ำ (ศูนย์นานาชาติประเภท 2 ที่จัดตั้งขึ้นด้วยความอุปถัมภ์จากยูเนสโก) ที่เมืองซาดาร์ สาธารณรัฐโครเอเชีย หน่วยงานสำคัญทั้ง 4 แห่งนี้ มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงพัฒนาศักยภาพของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้พร้อมต่อการดำเนินงานเพื่อปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป

"เราตั้งความหวังไว้ว่า การฝึกอบรมนี้จะช่วยสร้างบุคลากรรุ่นใหม่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความรู้ความชำนาญวิชาชีพด้านโบราณคดีใต้น้ำ และด้านอนุรักษ์ การฝึกอบรมครั้งนี้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ค.ศ.2001 ซึ่งรับรองในเดือนพฤศจิกายน 2544 ให้กำหนดกรอบกฎหมายร่วม และแนวปฏิบัติเพื่อให้แต่ละประเทศดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ทั้งการบ่งชี้มรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ การวิจัย มาตรการปกป้อง และการอนุรักษ์มรดก วัฒนธรรมใต้น้ำ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" นายเขมชาติ กล่าว

ฟรังกา โคล นักโบราณคดี นักอนุรักษ์ด้านโบราณคดี และวิทยากรร่วมบรรยายจากพิพิธภัณฑ์ซาราวัค (Sarawak Museum ? JMS) ประเทศมาเลเซีย กล่าวถึงแง่มุมของการอนุรักษ์โบราณวัตถุใต้น้ำ ฝึกอบรมผู้เข้าร่วมให้มีความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงอย่างครอบคลุมตามหลักการและเทคนิคการอนุรักษ์ และบูรณะวัสดุประเภทเครื่องดินเผาหรือเซรามิก แก้ว โลหะ ไม้ และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะสำคัญอันจะนำไปสู่การปกป้อง และสงวนรักษาโบราณวัตถุล้ำค่าเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป ว่า งานโบราณคดีใต้น้ำมีความท้าทายอย่างมากต่อกิจกรรมโลจิสติกส์ แต่สภาพแวดล้อมใต้น้ำกลับช่วยรักษาวัสดุอินทรีย์ และโบราณวัตถุในระดับที่พบได้น้อยมาก หรือไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยหากอยู่บนบก การวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อการอนุรักษ์เชิงคัดเลือก เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพียงวิธีเดียว ที่จะช่วยปรับเปลี่ยนเป้าหมายการวิจัย และการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมให้สมดุลกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถที่มีอยู่

น.ส.ชิฮิโระ นิชิกาวะ ผู้เชี่ยวชาญโครงการของยูเนสโก กล่าวว่า ยูเนสโกยินดีมากที่ได้กลับมาเปิดหลักสูตรฝึกอบรมด้านมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำในประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากเคยจัดฝึกอบรมในไทยมาหลายครั้ง ระหว่างปี 2552-2554 ทั้งนี้ อีก 10 ปีข้างหน้า ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีใต้น้ำ และมีทักษะด้านการอนุรักษ์เพียงพอที่จะปกป้อง และบริหารจัดการมรดกทาง วัฒนธรรมใต้น้ำได้อย่างยั่งยืน ตามอนุสัญญายูเนสโก ปี ค.ศ.2001


https://www.matichon.co.th/education...l/news_4032726
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 17-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


ภัยอาหารทะเล! ชายเสียชีวิต หลังจากกินหอยนางรมดิบ ทำติดเชื้อแบคทีเรีย

ภัยอาหารทะเล! ชายมะกันเสียชีวิต หลังจากกินหอยนางรมดิบ ทำติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio vulnificus เผยควรระมัดระวังการทานอาหารทะเลดิบ



สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน กรณีทางการแพทย์สุดสลบ หลังชายชาวมิสซูรีวัย 54 ปีเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อจากการกินหอยนางรมดิบ กรมสาธารณสุขเทศมณฑลเซนต์หลุยส์ประกาศ ชายล้มป่วยหลังจากซื้อหอยนางรมจากร้านผลไม้และอาหารทะเลในย่านชานเมืองเซนต์หลุยส์ เมืองแมนเชสเตอร์รัฐมิสซูรี

ชายคนนี้ติดเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Vibrio vulnificus ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารทะเลดิบหรือไม่สุก โดยมีอาการคลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, มีไข้, หนาวสั่น และถ่ายเหลวเป็นน้ำหลังจากกินอาหารทะเลที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ไปนานประมาณ 16 ชั่วโมง

กรมอนามัยกล่าวว่า ประมาณหนึ่งในห้าของผู้ที่ติดเชื้อนี้จะเสียชีวิต ซึ่งหาได้ยาก และมักเกิดขึ้นในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทั้งนี้ การติดเชื้อวิบริโอ วัลนิฟิคัส (Vibrio vulnificus) บางชนิดยังสามารถนำไปสู่ ??necrotising fasciitis ซึ่งเป็นภาวะที่รุนแรง

ตามศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDCP)มีคนประมาณ 80,000 คนที่ติดเชื้อ Vibrio vulnificus ทุกปี และทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 100 คนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาหารทะเลปนเปื้อนเชื้อ V. vulnificus ไม่อาจแยกแยะได้จากการดูจากภายนอกเพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง สี กลิ่น หรือรส

ดังนั้น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค แนะนำว่าสามารถหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยได้โดยการไม่รับประทานหอยนางรมหรือสัตว์ที่มีเปลือกดิบหรือยังไม่สุกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคตับหรือภูมิคุ้มกันไม่ปกติ ควรทำอาหารทะเลให้สุก อาหารจำพวกหอยจะต้องทำให้ สุกจนฝาหอยเปิดออก และต้มต่ออีก 5 นาทีหรือนึ่งต่ออีก 10 นาทีหลังจากที่ฝาหอยเปิดออก

รวมถึงควรล้างมือหลังจากจับหอยดิบ และไม่เหยียบเท้าลงไปในทะเลหรือน้ำกร่อยหากคุณมีบาดแผล เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการป่วยได้ ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อออกอย่างเร่งด่วนหรือการตัดแขนขา

นอกจากนี้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports พบว่าการติดเชื้อที่เกิดจากความเจ็บป่วยตามชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาอาจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น

รายงานระบุ "Vibrio vulnificus เกิดขึ้นตามธรรมชาติและพบแบคทีเรียแกรมลบได้ทั่วไปในน้ำทะเล ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในน้ำอุ่น น้ำกร่อย และมีความไวต่ออุณหภูมิสูง"


https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7718648

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 17-06-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


"โลมาหลังโหนก" แวะมาทักทาย บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จ.สตูล



เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ต้าวฝูงโลมาหลังโหนก จำนวน 6 ตัว ได้โผล่มาเล่นน้ำทักทายพี่ ๆ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ที่ออกลาดตระเวน เมื่อเวลา 11.40 น. ขณะกำลังวิ่งเรือออกจากเกาะลิดีเล็ก เพื่อกลับเข้าฝั่งบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จ.สตูล

"โลมาหลังโหนก" โลมาสีชมพู หรือโลมาเผือก เป็นโลมาที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Indo-Pacific Humpback Dolphin ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ???????????????????? ????????????????????????????????? ลำตัวมีสีต่างกันมากตามอายุ วัยเด็กจะมีสีเทาดำ และจางลงเมื่อโตขึ้น ตัวเต็มวัยบางตัวมีสีเทาประขาว เมื่ออายุมากขึ้นจะมีสีออกขาวเผือกหรือชมพู อาศัยตามชายฝั่งแม่น้ำ ปากแม่น้ำ และป่าชายเลนในเขตร้อน มีการแพร่กระจายตั้งแต่ตอนใต้ของจีน อินโดนีเซีย และประเทศไทย และมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535


https://www.mcot.net/view/OnXmAdVm

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:05


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger