#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 - 6 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งของประเทศมาเลเซียจะเคลื่อนลงช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในวันที่ 7 - 9 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมแรงในระยะแรก หลังจากนั้นอุณภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียสและมีอากาศเย็นโดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้ผลกระทบในระยะต่อไปโดยอุณภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 7 ? 9 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
ปลาน้ำจืดทั่วโลกราวหนึ่งในสามกำลังเผชิญภาวะใกล้สูญพันธุ์ วันที่ 3 พฤศจิกายน เฟชบุ๊ก มูลนิธิสืบ นาคเสถียร โดย รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ได้เขียนรางานเรื่อง "ปลาที่โลกลืม (The World?s Forgotten Fishes)" ที่จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature ? WWF) และองค์การอนุรักษ์สัตว์ป่าทั่วโลก (Global Wildlife Conservation) ระบุว่าปลาน้ำจืดกว่า 80 ชนิดพันธุ์ได้สูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ โดยที่ 16 ชนิดพันธุ์ถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ภายในปี พ.ศ. 2563 เพียงปีเดียวเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันต่อประชากรปลาน้ำจืดทั่วโลกจากภัยคุกคามต่างๆ ตั้งแต่ที่อยู่อาศัยเสื่อมโทรม การก่อสร้างเขื่อน และผันน้ำและทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ มลภาวะ การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น อาชญากรรมสัตว์ป่า และความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รายงานฉบับดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ประชากรปลาน้ำจืดที่ต้องอพยพลดลงกว่า 3 ใน 7 นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1970s ขณะที่ประชากรของปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 27 กิโลกรัมมีปริมาณลดลงในระดับ หายนะ คือราว 94% โดย ปลาน้ำจืดมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศแม่น้ำ ทะเลสาบ และพื้นที่ชุ่มน้ำที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งประชากรหลายล้านคนทั่วโลกต่างต้องพึ่งพาปลาน้ำจืดเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารและการดำรงชีพ โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชาติพันธุ์ รายงานดังกล่าวได้สรุปว่าการลดลงของปลาน้ำจืดในอัตราที่น่ากังวลย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจครั้งใหญ่ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้ทำการวิเคราะห์สถานะของชนิดพันธุ์ปลาน้ำจืดกว่า 10,000 ชนิดและพบว่ากว่า 30 % จัดอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลปลาแซลมอลในบางพื้นที่ตายก่อนฤดูวางไข่ การศึกษาชิ้นนี้มองว่าปลาน้ำจืดถูก "ด้อยค่า" โดยสจวร์ต ออร์ (Stuart Orr) จาก WWF แสดงความเห็นว่า ปลาน้ำจืดมักถูกมองข้ามในการถกเถียงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงการพัฒนาทั่วโลก "ผมคิดว่ารายงานฉบับนี้ที่มีองค์กรทำงานร่วมกันกว่า 16 แห่งมีจุดประสงค์หนึ่งเพื่อเน้นย้ำความอัศจรรย์ในแง่ความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุ์ปลาน้ำจืด อีกทั้งย้ำเตือนคนทั่วไปว่าชนิดพันธุ์เหล่านี้ที่กำลังลดจำนวนลงเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความมั่นคงทางอาหาร วิถีชีวิต อาชีพ และวัฒนธรรม การศึกษาชิ้นนี้เรียกร้องให้มีแผนฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนให้แหล่งน้ำจืดกลับมามีสภาพสมบูรณ์เช่นเหมือนหลายทศวรรษก่อน รวมถึงการคุ้มครองและรื้อฟื้นการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ แหล่งอาศัยที่สำคัญ และการแก้ไขปัญหาการประมงเกินขนาด"สจวร์ต กล่าว https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_3024463
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
'ตู่' โพสต์ โลกกำลังป่วย ไทยกระทบโลกร้อน อันดับ 9 ของโลก 'ตู่' โพสต์ โลกกำลังป่วย ไทยกระทบโลกร้อน อันดับ 9 ของโลก โวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวเต็มกำลัง มุ่งมั่นใช้พลังงานสะอาด-พลังงานทางเลือก วันที่ 4 พ.ย.64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ความว่า คำว่า "โลกกำลังป่วย" นั้น ไม่ได้เป็นคำพูดที่เกินจริงเลย ไม่เพียงแต่วิกฤตโควิดที่กำลังเป็นภัยคุกคามต่อชาวโลกอยู่ในขณะนี้ โดยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อคนไทย ทุกอาชีพ ทุกวัย และ ต่างก็รู้ซึ้งกันดีแล้ว นอกจากนี้ "ภาวะโลกร้อน" ก็เป็นอีกภัยเงียบ ที่กำลังส่งเสียงคำราม ดังขึ้นๆ ทุกวัน จนเป็น Code Red ที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางธรรมชาติที่เราเห็นได้ชัด ดังนั้น ผมและผู้นำจาก 197 ประเทศทั่วโลก จึงได้มาทำ "ภารกิจเพื่อมวลมนุษยชาติ" ร่วมกัน ในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ท่านรู้หรือไม่ว่า หากปล่อยให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นเฉลี่ยทั่วโลก 1.1 เมตร ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างหนักในเมืองต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพมหานคร ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงจากน้ำท่วมตามแนวชายฝั่งและการทรุดตัวของดิน โดยมีการคาดการณ์ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด เป็นลำดับที่ 9 ของโลก ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง พายุรุนแรง ที่ส่งผลต่อพืชผลทางการเกษตร และความเป็นอยู่ของคนไทยทุกคนด้วย ผมถือว่าการมาประชุม COP26 ในครั้งนี้ เป็นภารกิจที่สำคัญเพื่อลูกหลานและอนาคตของประเทศไทย หากเราไม่เริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้ วันหน้าอาจจะสายเกินไป ที่ผ่านมารัฐบาลนั้นตระหนักดีถึงภัยคุกคามทางธรรมชาติที่ร้ายแรงนี้ และได้พยายามอย่างเต็มที่ จนบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ ในการประชุม ครม.ทุกครั้ง จะต้องมีวาระสำคัญเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อม ทั้งการติดตามเร่งรัดโครงการสืบเนื่อง และการนำเสนอโครงการใหม่ที่ป้องกันแก้ไขปัญหาในอนาคต ผลสำคัญที่ผมอยากจะเรียนแจ้งก็คือ เราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคพลังงานและขนส่งได้จริง คิดเป็นร้อยละ 17.49 จากกรณีปกติ หรือคิดเป็น 64.20 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2562 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย 2 เท่า และเร็วกว่าแผน 1 ปี แต่เราต้องไม่พอใจเพียงเท่านี้ รัฐบาลจึงเห็นชอบให้มีการเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย "BCG" อย่างเต็มกำลัง ซึ่งก็คือแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ให้เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ โดยผมได้นำเสนอนโยบายนี้ต่อผู้นำทั่วโลกในที่ประชุม COP26 นี้ และผลักดันให้เป็นวาระหลักในการประชุม APEC ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพในปีหน้าอีกด้วย นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีความมุ่งมั่นในการใช้พลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก เช่น โซลาร์ฟาร์ม ไบโอดีเซล แทนพลังงานจากฟอสซิล ในรูปแบบเดิมที่ก่อให้เกิดมลภาวะ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยแก้วิกฤต climate change เช่น การผลิตและการส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศให้มากขึ้น เป็นต้น ภารกิจการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาโลกร้อนนี้ ถือว่าเป็นภารกิจต่อเนื่องยาวนาน ที่ทุกคน ทุกภาคส่วนต้องร่วมแรงร่วมใจกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาควิชาการ และเราทุกคน โดยเฉพาะพลังบริสุทธิ์จากเยาวชน ที่จะทำงานเชื่อมโยงกับนโยบายที่รัฐบาลได้วางไว้ ผ่านกลไกและรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างความตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาโลกร้อน และจิตสำนึกสีเขียวที่รักและหวงแหนสิ่งแวดล้อม การให้ความรู้ การสร้างนวัตกรรมที่มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นมิตรต่อโลก การขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนความสมดุลของการปกป้องและไม่ทำลายธรรมชาติ ซึ่งเรารอช้าไม่ได้อีกแล้วที่ทุกคนต้องร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตของโลก และของลูกหลานเราทุกคนครับ https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6713325
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|