#1
|
||||
|
||||
เพิ่มทางรอดให้กับปลาการ์ตูนส้มขาว
เพิ่มทางรอดให้กับปลาการ์ตูนส้มขาว น.ส.ราตรี สุขสุวรรณ์ นักวิชาการประมงชำนาญการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและ ป่าชายเลนภูเก็ต กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งหนึ่งในทีมงานผู้วิจัยเกี่ยวกับ พฤติกรรมการปรับตัวของปลาการ์ตูนส้มขาวกับดอกไม้ทะเล กล่าวถึงการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มทางรอดให้กับปลาการ์ตูนส้มขาวในการปล่อย กลับลงสู่ทะเลซึ่งเป็นปลาการ์ตูนที่ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนภูเก็ต กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพาะขยายพันธ์ได้ ว่า ปลาการ์ตูนส้มขาวนั้น พบในเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของ ออสเตรเลีย และตอนใต้ของญี่ปุ่น ในไทยพบได้บ่อยในทะเลอันดามันและที่เกาะโลซินในอ่าวไทย ลักษณะภายนอกลำตัวสีส้มเข้มมีแถบสีขาว 3 แถบพาดบริเวณส่วนหัว ลำตัว และบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นเส้นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยที่ระดับความลึก 1–15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 11 เซนติเมตร อยู่กับดอกไม้ทะเลได้ 3 ชนิด ได้แก่ Heteractis magnifica, Stichodactyla gigantea และ Stichodactyla mertensii และมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ 6–8 ตัว ในดอกไม้ทะเลกอเดียวกัน “ปัจจุบันได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและ ฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล โดยการปล่อยปลาการ์ตูนคืนสู่ธรรมชาติจำนวนมาก แต่ปลาการ์ตูนที่นำไปปล่อยกลับสู่ทะเลนั้นเป็นลูกปลาที่ได้จากโรงเพาะฟักทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการเพาะฟัก และเลี้ยงในถังโดยไม่มีดอกไม้ทะเลซึ่งที่อยู่อาศัยของปลาการ์ตูนอยู่ด้วย ทำให้ปลาการ์ตูนไม่รู้จักวิธีการอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลเมื่อนำปลาการ์ตูนที่ เพาะเลี้ยงไปปล่อยลงสู่ทะเลพบว่าอัตราการรอดชีวิตของปลามีจำนวนน้อยเนื่อง จากไม่สามารถปรับตัวเข้าอยู่กับดอกไม้ทะเลในธรรมชาติได้ เพราะฉะนั้นเพื่อเพิ่มทางรอดของปลาการ์ตูนที่นำกลับไปปล่อยสู่ทะเลจึงได้ทำ การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาทดลองหาแนวทางสำหรับการปรับตัวของปลา การ์ตูนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงให้อยู่ได้กับดอกไม้ทะเลในธรรมชาติ เพื่อให้กิจกรรมการปล่อยปลาการ์ตูนคืนสู่ธรรมชาติได้มีอัตราการรอดที่เพิ่มขึ้น เป็นการฟื้นฟูความสมบูรณ์ให้กับแนวปะการังและท้องทะเลอย่างยั่งยืน น. ส.ราตรี กล่าวต่อไปว่า จากการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มทางรอดให้กับปลาการ์ตูนส้มขาวซึ่งรวมไปถึงปลา การ์ตูนชนิดอื่นๆ พบว่าในธรรมชาติปลาการ์ตูนไม่สามารถอยู่ได้ถ้าปราศจากดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนใช้ดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัย ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการปล่อยปลาการ์ตูนส้มขาวลงทะเล ครั้งล่าสุดเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าปลาสามารถว่ายน้ำเข้าหาดอกไม้ทะเลได้ทันที เนื่องจากก่อนที่จะมีการปล่อยปลาการ์ตูนทางเจ้าหน้าที่ได้สอนวิธีการอยู่และ การว่ายน้ำเข้าหาดอกไม้ทะเลให้กับปลาการ์ตูนส้มขาวแล้วโดยทำมาทดลองเลี้ยงใน ส่วนของโรงเพาะฟักประมาณ 1 เดือน ซึ่งเลือกทดลองตามอายุของปลา พบว่าปลาอายุ 15 วันสามารถที่จะว่ายเข้าหาดอกไม้ทะเลได้เร็วที่สุด ส่วนปลาอายุ 60 วันเข้าหาดอกไม้ทะเลช้าที่สุดซึ่งบางตัวต้องใช้เวลานานถึง 7 วัน ซึ่งการเข้าไปอาศัยอยู่ในดอกไม้ทะเลช้าอาจจะทำให้ปลาการ์ตูนตายได้เนื่อง จากอดอาหาร หรือกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำชนิดอื่นเนื่องจากไม่มีที่หลบภัย น. ส.ราตรี กล่าวต่อไปว่า จากผลงานการวิจัยและทดลองให้ปลาการ์ตูนอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลก่อนที่จะนำไป ปล่อยกลับสู่ทะเลนั้น พบว่าจำนวนการรอดชีวิตของปลาการ์ตูนมีสูงขึ้นซึ่งสามารถลดความสูญเสียไปได้ จำนวนมาก จาก : บ้านเมือง วันที่ 3 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ข่าวเดียวกัน.....น่าจะนำไปรวมไว้ในกระทู้นี้นะคะ http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=305
__________________
Saaychol |
|
|