#1
|
|||
|
|||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2563
กรมอุตุนิยมวิทยา
ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจจะมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีผลกระทบในวันที่ 3-4 มี.ค. 63 ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบในวันที่ 4-5 มี.ค. 63 จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและ ลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย พยากรณ์อากาศสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 1 ? 2 มี.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนบางแห่งบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 6 - 7 มี.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 3 - 5 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย |
#2
|
|||
|
|||
ผู้จัดการออนไลน์
อุตุฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่มไทย ฝนกระหน่ำ-ลูกเห็บตก-ลมกระโชกแรง อีสานเตรียมโดนก่อน กรมอุตุนิยมวิทยา เผย ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เตือน พายุฤดูร้อนพัดเข้าไทย ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก โดยภาคอีสานจะโดนพายุลูกนี้ก่อน และกระทบภาคอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง วันนี้ (2 มี.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 3-5 มี.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจจะมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกจะมีผลกระทบในวันที่ 3-4 มี.ค. 63 ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบในวันที่ 4-5 มี.ค. 63 จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยาเมื่อเวลา 04.00 น. หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้ มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย ฝุ่นละอองขนาดเล็กฝุ่นละอองในระยะนี้ ลมที่พัดปกคลุมภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีกำลังอ่อน แต่จะมีฝนเกิดขึ้นบางพื้นที่ ทำให้การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันลดลง ส่วนภาคเหนืออากาศลอยตัวขึ้นได้ไม่ดีและลมอ่อน ทำให้มีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควัน ค่อนข้างมาก พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. ภาคเหนืออากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และพิจิตร อุณหภูมิต่ำสุด 17-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมอ่อน ความเร็ว 5-10 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ภาคกลางอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ภาคตะวันออกเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง และจันทบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) เมฆบางส่วน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย แมลงปอ : 02-03-2020 เมื่อ 07:12 |
#3
|
|||
|
|||
มติชน
กรุงเทพฯ?ปริมณฑลท้องฟ้าแจ่มใส เหนือ 2 สถานียังน่าห่วง ไทยพีบีเอส ปิดภูกระดึง 6 เดือน ฟื้นป่าไฟไหม้ ปิดภูกระดึง 6 เดือนเร็วกว่ากำหนดให้ป่าฟื้นตัวเองหลังไฟไหม้เสียหายหนัก 3,400 ไร่ เริ่มตั้งแต่ เม.ย.-ก.ย.นี้ มั่นใจฝนแรกจะช่วยให้ป่าสน เฟิร์นและทุ่งหญ้าฟื้นฟู ขณะที่กรมอุทยานฯ ระบุยังมีปัญหาเข้าดับไฟพื้นที่แนวตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา วันนี้ (1 มี.ค.2563) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ไฟป่า บนพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย หลังเกิดไฟป่าเสียหายกว่า 3,400 ไร่ ทั้งนี้ขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ไฟป่าบนภูกระดึงทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังช่วยกันควบคุม และดับไฟป่าและไม่ขยายวงกว้างความเสียหายไปมากกว่านี้ ?สาเหตุไฟป่าเกิดจากความมักง่ายของมนุษย์จนธรรมชาติบนภูกระดึงเสียหายถึงร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด จากการเดินสำรวจพบสภาพต้นสนที่เสียหายจากไฟป่าเริ่มฟื้นตัวเองแตกกิ่งแตกหน่อใหม่? ปิดภูกระดึง 6 เดือนรอป่าฟื้นตัวเอง นายวราวุธ กล่าวอีกว่า ถือเป็นข่าวดีที่สภาพป่าที่เสียหายสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ร้อยละ 80 แล้ว แต่ต้องรอน้ำฝนแรกมาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ด้วย เนื่องจากภูกระดึงกำลังประสบปัญหาภัยแล้งและมีปริมาณน้ำบนภูกระดึงน้อยมาก ทำให้ปีนี้ต้องปิดการท่องเที่ยวบนภูกระดึงเร็วกว่าเดิม 2 เดือน โดยจะปิดในปีนี้ระยะเวลา 6 เดือนเฉพาะปีนี้จากเดิมจะปิดช่วง มิ.ย.-ก.ย.ของทุกปี ?รวมปิดทั้งหมด 6 เดือนเริ่ม เม.ย.-ก.ย.จากปกติปิด 4 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย.-ก.ย.นี เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง? นายวราวุธ กล่าวว่า ในระยะสั้นจะมีการทำแนวกันไฟป่าพื้นที่ด้านบนภูกระดึง 100 กิโลเมตร หรือบริเวณหลังแป 37,500 ไร่ และพื้นที่ด้านเชิงเขา-หน้าผาจนถึงด้านพื้นล่าง 750 กิโลเมตร ประมาณ 100,000 ไร่ ด้วยการทำแนวกั้นไฟความกว้าง 20 - 50 เมตร ยกเว้นแนวทุ่งหญ้าต้องทำความกว้าง 50 เมตรขึ้นไป แต่ต้องกำจัดเชื้อเพลิงออกให้หมดก่อนทุกครั้ง นอกจากนี้มาตรการฟื้นฟูภูกระดึงระยะยาวให้เร่งทำแนวกั้นไฟป้องกันไฟป่า และช่วยป้องกันน้ำฝนท่วมถนน สิ่งสำคัญต้องเพิ่มอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าให้เพียงพอและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเจ้าหน้าที่ปกป้องผืนป่า ขณะที่ประชาชนเองถือเป็นกำลังสำคัญต้องช่วยกันปกป้องผืนป่าของตนเองและเป็นหูเป็นตาเสริมให้กับเจ้าหน้าที่ไม่ให้เกิดการเผาป่าขึ้นอีก ไทยพีบีเอสออนไลน์ บินสำรวจจุดไฟไหม้บริเวณหลังแป และหลังนาน้อย ผาหมากดูกพบร่องรอยไฟไหม้สีดำกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ขณะที่การสำรวจแปลงสนสองใบบริเวณผานาน้อย ต้นสนสองใบที่ยืนต้นตายเป็นวงกว้าง ต้นเฟิร์นแห้งตาย เนื่องจากไฟไหม้บริเวณโคนต้น บางจุด รอฝนแรกฟื้นป่าภูกระดึงหลังไฟไหม้ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ขณะนี้สามารถควบคุมไฟป่าบนยอดภูกระดึงได้ 100% แล้วโดยมีพื้นที่เสียหายรวมทั้งหมด 3,400 ไร่ โดยแบ่งเป็นจุดที่เสียหายมากถึง 2-3 โซน โดยจุดที่เสียหายบริเวณป่าสนสามใบแถวผานาน้อย ประมาณ 1,400 ไร่ บริเวณหลังแปและหมากดูก ถือเป็นเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าสนเสียหายหนักในรอบ 7 ปีคาดว่าหลังเจอฝนแรกของเดือน มี.ค.นี้โอกาสที่ป่าจะฟื้นฟูได้เร็ว 80% คิดว่ารอด ส่วนข้อเสนอของนายศศิน เฉลิมลาภ ที่ต้องการให้ป่าฟื้นฟูตัวเองนั้น อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า แนวทางการฟื้นฟูจะขอพูดคุยกับนักวิชาการจากหลายภาคให้รอบด้าน ว่าแท้จริงอยากให้ภูกระดึงเป็นอย่างไร เพราะบนภูกระดึงสนสองใบธรรมชาติเดิมในธรรมชาติหนาแน่น มีทุ่งหญ้า มีต้นเฟริ์นที่มีความสูงบางแห่งหนาเป็นเมตร ถือเป็นเชื้อไฟอย่างดี "ตราด" ไฟป่าแนวตะเข็บเข้าถึงพื้นที่ยาก นายธัญญา กล่าวอีกว่า ส่วนสถานการณ์ไฟไหม้ในป่าอนุรักษ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และทับลาน ตอนนี้ควบคุมสถานการณ์รอบนอกเพื่อไม่ให้ไฟลามขึ้นโซนบนได้ และส่งกำลังเสริมเข้าไปช่วยดับไฟป่า ตอนนี้ยังกังวลปัญหาการดับไฟในพื้นที่ จ.ตราด มีปัญหาเข้าถึงพื้นที่บริเวณตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งมีกับระเบิดฝังอยู่ทำให้เข้าไปดับไฟตามแนวชายแดนยากแม้แต่การขอกำลังทหารเข้าไป ทั้งนี้กำชับเรื่องความปลอดภัยของเจ้าหน้าเป็นหลัก แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย แมลงปอ : 02-03-2020 เมื่อ 07:28 |
|
|