#1
|
||||
|
||||
มาตราน้ำ เดือนมกราคม-ธันวาคม 2566
มาตราน้ำสำหรับปี 2566 ......... ตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2566 ที่ทำเป็นแถบสีพาดไว้ คือ วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษ โดยเรียงลำดับดังนี้ ... ด้านอ่าวไทย : 01. เกาะสีชัง (ชลบุรี) 02. อ่าวสัตหีบ (ชลบุรี) 03. ปากน้ำระยอง (ระยอง) 04. แหลมสิงห์ (จันทบุรี) 05. แหลมงอบ (ตราด) 06. ปากน้ำท่าจีน (สมุทรสาคร) 07. ปากน้ำแม่กลอง (สมุทรสงคราม) 08. เกาะหลัก (ประจวบคีรีขันธ์) 09. เกาะมัตโพน (ชุมพร) 10. เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี) 11. ปากน้ำปัตตานี (ปัตตานี) 12. ปากน้ำบางนรา (นราธิวาส) ด้านอันดามัน : 13. ปากน้ำระนอง (ระนอง) 14. คุระบุรี (พังงา) 15. อ่าวทับละมุ (พังงา) 16. เกาะตะเภาน้อย (ภูเก็ต) 17. ปากน้ำกระบี่ (กระบี่) 18. ปากน้ำตรัง (ตรัง) 19. เกาะตะรุเตา (สตูล) *** ข้อมูลทั้งหมด มาจากหนังสือ "มาตราน้ำ น่านน้ำไทย แม่น้ำเจ้าพระยา - อ่าวไทย - ทะเลอันดามัน พ.ศ.2566" จัดทำโดย กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-02-2024 เมื่อ 15:15 |
#2
|
||||
|
||||
สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับมาตราน้ำ และกระแสน้ำ
1. คำว่า "เด." ย่อมาจาก "เดซิเมตร" ตามมาตรวัดความยาวหรือระยะทางในระบบเมตริก ซึ่งตอนเด็กๆ เราจะท่องว่า 10 เซนติเมตร = 1 เดซิเมตร 10 เดซิเมตร = 1 เมตร 2. ใน มาตราน้ำ (Tide Table) ที่ออกโดยกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ จะแสดงตัวเลขระดับ "สูงของน้ำทำนายเป็นเมตรเหนือจุดน้ำลงต่ำที่สุด" ของสถานที่ต่างๆที่อยู่ติดกับปากแม่น้ำที่เชื่อมกับท ะเล และทะเลทั้งด้านอ่าวไทยและอันดามัน เป็นรายชั่วโมงของทุกๆวันในแต่ละเดือนของปี ตัวเลขที่ให้จะเป็น เมตร และ ทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งก็คือ "เดซิเมตร" นั่นเอง เช่น 1.5 เมตร...หมายความว่า ในขณะนั้นระดับน้ำสูง 1เมตร 5 เดซิเมตร เหนือจุดน้ำลงต่ำที่สุด ถ้า เรานำตัวเลขของระดับน้ำในแต่ละชั่วโมงที่ติดกันมาเปรียบเทียบกัน....เราจะ ได้ตัวเลขที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่เปลี่ยนแป ลงเลย ถ้า ตัวเลขสูงขึ้น......แสดงว่าน้ำกำลังขึ้น ถ้าตัวเลขลดลง.....แสดงว่าน้ำกำลังลง ถ้าตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลง....แสดงว่าน้ำไม่ขึ้นไม่ลง หรือที่เราเรียกว่า "น้ำตาย" 3. ใน ไทยเรานั้น มีทั้งจุดที่น้ำขึ้นน้ำลงทั้งแบบ วันละ 2 ครั้ง (น้ำคู่).....แบบวันละครั้ง (น้ำเดี่ยว) และ แบบน้ำผสม คือในแต่ละวัน น้ำขึ้นน้ำลงครั้งเดียวบ้างสองครั้งบ้าง การเปลี่ยนแปลงในแต่ละชั่วโมงส่วนมากจะเป็นแค่หลัก "เดซิเมตร" ซึ่งเรามักเรียกว่าน้ำเปลี่ยนแปลงเท่านั้นเท่านี้ "เด." (ซึ่งในความเป็นจริง ความเร็วของกระแสน้ำ ต้องวัดเป็น กม. หรือ ไมล์ หรือ น๊อต ต่อ ชม. 4. ระดับน้ำในแต่ละช่วงของวันมีความสัมพันธ์กับกระแสน้ำ .....ถ้า ระดับน้ำขึ้นหรือน้ำลงแตกต่างกันมากในระหว่างชั่วโมง กระแสน้ำก็จะแรงมาก ถ้าระดับน้ำแตกต่างกันน้อย กระแสน้ำก็จะอ่อน หรือถ้าไม่แตกต่างกันเลย กระแสน้ำก็แทบจะไม่มีหรือที่เรียกว่า "น้ำตาย" ซึ่งนักดำน้ำชอบมาก 5. อย่างไรก็ตาม เวลาและความสูงของน้ำไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนทิศทางของกระแสน้ำหรือน้ำเอ่อ บริเวณที่อยู่นอกฝั่งออกไปนั้น เวลาที่น้ำขึ้นหรือลงเต็มที่ กับเวลาที่กระแสน้ำเริ่มเปลี่ยนทิศทาง ย่อมต่างกันน้อยกว่าในช่องแคบหรือแม่น้ำ สรุป ความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์ของสถานที่ ทำให้ความแรงของกระแสน้ำแตกต่างกันไปด้วย ทั้งที่ระดับความแตกต่างของน้ำในช่วงเวลานั้นเหมือนกันหรือเท่ากัน
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
|||
|
|||
มีตารางน้ำขึ้นน้ำลงมั้ยค่ะ
|
#4
|
||||
|
||||
http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=6160
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
|||
|
|||
ขออ่าวสัตหีบ หน่อยครับ
|
#6
|
||||
|
||||
ตารางน้ำของที่ต่างๆ อยู่ในลิงค์ข้างล่างนี้ ผโดยสัตหีบ อยู่ในลำดับ 02 ของตารางน้ำปีนี้ค่ะ กดไปหาที่นี่ได้เลย http://www.saveoursea.net/forums/forumdisplay.php?f=6
__________________
Saaychol |
|
|